
นิทรรศการ 10 ปี ก้าวไม่หยุด
Zone 1
กว่าจะเป็น SiPH
- ปี 2546 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลริเริ่ม “โครงการพัฒนาศิริราชสู่การเป็นสถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในระดับเอเชียอาคเนย์”
-
ปี 2549 เปิดให้บริการ “The Heart by Siriraj”
-
ปี 2555 โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (SiPH) เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการวันที่ 26 เมษายน 2555
SiPH ก่อตั้งเพื่อ
- เฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 9
- เป็นศูนย์กลางการแพทย์ที่มีมาตรฐานระดับสากล
- เป็นต้นแบบโรงพยาบาลรัฐในการออกนอกระบบราชการ
- นำรายได้กลับคืนคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- เพิ่มแรงจูงใจบุคลากรทางการแพทย์
สู่การเป็น “ผู้รับ” และ “ผู้ให้” ในเวลาเดียวกัน
"ผู้รับ" บริการทางการแพทย์ด้วยคุณภาพศิริราช มาตรฐานสากล
"ผู้ให้" รายได้จากผลประกอบการคืนกลับสู่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยด้อยโอกาสของศิริราช
การออกแบบที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้รับบริการ
อาคารที่ออกแบบตามมาตรฐานสากลและทันสมัย โครงสร้างที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน ผนังอาคารออกแบบให้เหมือนหลอดด้ายหลากหลายสี ได้รับแรงบันดาลใจจากวงการแพทย์ที่สามารถถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ได้ ภายในสัมผัสได้ถึงความอบอุ่น ผ่อนคลาย และปลอดภัย
- ระบบปรับอากาศเพื่อสุขภาพที่ดี
- ระบบหมุนเวียนอากาศ
- ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
- ระบบผนังป้องกันไฟในแนวราบ
- ระบบอาคารจ่ายน้ำเย็นจากศูนย์กลาง
Zone 2
เทคโนโลยีที่ก้าวไม่หยุด
Robot ช่วยผ่าตัดต่อมลูกหมาก
" หุ่นยนต์เป็นเสมือนผู้ช่วยให้ทีมแพทย์ผ่าตัดบริเวณที่ซับซ้อนและเข้าถึงได้ยากได้ดียิ่งขึ้น
โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของแพทย์ในการควบคุมหุ่นยนต์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ "
หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด da Vinci เพื่อรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดได้ดีกว่าในที่แคบและลึก ทำให้ผู้ป่วยเจ็บแผลน้อย เนื่องจากแผลมีขนาดเล็ก เสียเลือดน้อย และฟื้นตัวได้เร็วกว่า ช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศหลังการผ่าตัด เพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ
- ชุดควบคุมหรือสั่งการ (console) ศัลยแพทย์นั่งประจำที่ console เพื่อทำการผ่าตัดผ่านจอภาพ 3 มิติ ระบบจะถ่ายทอดสัญญาณการเคลื่อนไหวจากมือศัลยแพทย์ไปยังมือกลที่กำลังผ่าตัด
- กล้องขยายภาพ 3 มิติ มีความลึกและคมชัด ทำให้มองเห็นรายละเอียดของอวัยวะภายในร่างกาย ได้อย่างชัดเจน
- แขนกล (wristed instruments)
แขนที่ 1 แสดงภาพอวัยวะภายในของผู้ป่วยแบบ Real Time ไปยังมอนิเตอร์
แขนที่ 2 และ 3 ช่วยตัด ผูก และเย็บเนื้อเยื่อ
แขนที่ 4 ดึงรั้งเนื้อเยื่อเพื่อช่วยในการผ่าตัด
Hapy Bot ขนส่งอัจฉริยะ
หุ่นยนต์อัจฉริยะ Happy Bot นำมาใช้เพื่อช่วยจัดส่งยาให้กับผู้ป่วย OPD เพื่อประสิทธิภาพในการให้บริการที่สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก สามารถสื่อสารกับผู้ใช้งานโดยผ่านจอมอนิเตอร์ที่ถูกควบคุมด้วยเครือข่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบการขนส่งในโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการนำ Happy Bot มาใช้ในการส่งเวชภัณฑ์และเอกสารทางการแพทย์
ประสิทธิภาพของ Hapy Bot
- สะดวก รวดเร็ว ลดระยะเวลาในการขนส่งจากห้องยาไปถึงศูนย์/คลินิก
-
แม่นยำ ปลอดภัย มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับยาถูกต้อง และช่วยป้องกันยาสูญหายได้
Robot ช่วยผ่าตัดข้อเทียม
“ปวดน้อย ฟื้นตัวเร็ว ยืดอายุการใช้งานข้อ”
หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดข้อเทียม เป็นการผ่าตัดที่ช่วยให้การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แผลผ่าตัดเล็ก เจ็บน้อย ปลอดภัย ใช้เทคนิคการระงับความรู้สึกที่ทำให้สามารถฟื้นตัวได้เร็วและมีผลข้างเคียงน้อย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย
ประสิทธิภาพของ Robot ช่วยผ่าตัดข้อเทียม
- คอมพิวเตอร์ประมวลผล : คำนวณสรีระร่างกายของคนไข้ก่อนผ่าตัด ช่วยศัลยแพทย์วางแผนในการผ่าตัด สามารถวัดผลการผ่าตัดได้อย่างแม่นยำทันที
- แขนกล : ที่สามารถเคลื่อนไหว ปรับให้โค้งงอ และหมุนได้ ทำให้การผ่าตัดในตำแหน่งที่เข้าถึงยากหรือมีความซับซ้อนเป็นเรื่องง่ายขึ้น ซึ่งช่วยในการลดภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดได้
- ระบบ Haptic : ป้องกันข้อผิดพลาด ช่วยปรับสมดุลของข้อเทียมได้ในระดับมิลลิเมตร ทำให้ข้อใหม่ใส่ได้พอดีสามารถใช้งานได้นานขึ้น
“SiAM” Robot จ่ายยา
“SIAM” Robot ระบบจ่ายยาอัตโนมัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยในการลดความผิดพลาดเรื่องการจ่ายยา ตามมาตรฐาน JCI โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2558 ถือเป็นโรงพยาบาลแห่งที่ 3 ในประเทศไทยที่นำระบบดังกล่าวมาใช้
ประสิทธิภาพของ “SiAM” Robot จ่ายยา
- ถูกชนิด ถูกจำนวน ถูกเวลา ด้วยคอมพิวเตอร์ควบคุมคำสั่งการจัดยาอัตโนมัติ ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาที่ถูกต้อง
- Photo check ผ่านการตรวจสอบโดยการถ่ายรูปยาทุกซองเทียบกับฐานข้อมูลยา มั่นใจได้ถึงความถูกต้องสูงสุด
- ลดความซ้ำซ้อนในการรับยา กรณีผู้ป่วยรับบริการหลายศูนย์
- คุณภาพยา ด้วยเทคโนโลยี Beacon หรือ Bluetooth low energy 4.0 (BLE 4.0) ควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ช่วยให้การจัดเก็บยามีคุณภาพ
CAD/CAM ระบบจำลองการผ่าตัด
CAD/CAM หรือ Computer-Aided Design & Computer-Aided Manufacturing เทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาช่วยในการจำลองการผ่าตัด เพื่อให้ได้รูปร่างเฉพาะเจาะจงที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล หรือเรียกว่า “การแพทย์แบบจำเพาะบุคคล (Personalized Medicine)” สำหรับการรักษาความผิดปกติของกะโหลกศีรษะและกระดูกใบหน้า เช่น เนื้องอกบริเวณขากรรไกร
ประสิทธิภาพของ ระบบจำลองการผ่าตัด
- แม่นยำ เที่ยงตรง ช่วยออกแบบเพื่อสร้างอุปกรณ์จำลอง 3 มิติ เสมือนการผ่าตัดจำลองก่อนการผ่าตัดจริง ทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำมากขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนและความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างผ่าตัด
- การซ่อมแซมอวัยวะให้ใกล้เคียงของเดิม รูปลักษณ์และรูปทรงของตำแหน่งที่ผ่าตัดมีลักษณะใกล้เคียงอวัยวะเดิมมากที่สุด ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้ดีดังเดิม และมีความมั่นใจมากขึ้น
- อวัยวะฟื้นตัวเร็ว การผ่าตัดอวัยวะที่ใช้สำหรับบดเคี้ยวและกลืนอาหาร กลับไปทำงานได้เร็วขึ้น
การผ่าตัดปลูกถ่ายไต Kidney Transplantation
เป็นวิธีบำบัดทดแทนไตที่เหมือนธรรมชาติมากที่สุด เป็นการปลูกถ่ายไตให้กับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เพื่อทำหน้าที่แทนไตเดิม หลังการปลูกถ่ายไตผู้ป่วยจะมีไตเพิ่มจากเดิม 1 ข้าง ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ
ชีวิตใหม่หลังปลูกถ่ายไต
- ไม่ต้องมาที่โรงพยาบาลบ่อยๆ
- สุขภาพที่แข็งแรงกว่า
- มีข้อจำกัดในการเลือกอาหารลดลง
- สามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากขึ้น
Pulmonic Valve เปลี่ยนลิ้นหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด
การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมผ่านทางสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด หนึ่งในวิธีการรักษาโรคลิ้นหัวใจเส้นเลือดไปปอดตีบ (Pulmonic Valve Stenosis) เป็นชนิดหนึ่งของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจในช่วงการสร้างอวัยวะในระหว่างตั้งครรภ์ของมารดา หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน
ข้อดีของการการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมผ่านทางสายสวน
- แผลเล็กเพียง 2 เซนติเมตร ใช้สายสวนหัวใจขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตร ใส่เข้าไปบริเวณขาหนีบ
- เสียเลือดน้อย ลดการติดเชื้อ ฟื้นตัวเร็วเพียง 1 - 2 วัน
- ลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด เมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิดอก
Robot ดินสอเฝ้าระวังผู้ป่วย
“Robot ดินสอ” นวัตกรรมการดูแลผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด เช่น ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ หรือญาติที่เฝ้ามีเกณฑ์พลัดตกหกล้ม ถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยี AI ที่ควบคุมการทำงานผ่าน Application เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐาน JCI
Robot ดินสอดีอย่างไร?
- แจ้งเตือนทันทีเมื่อลุกจากเตียง กล้องและเซ็นเซอร์ทำหน้าที่ติดตามความเคลื่อนไหวของผู้ป่วย หากตรวจพบความผิดปกติจะส่งสัญญาณให้พยาบาลทราบทันที
- ติดต่อเจ้าหน้าที่ดินสอเรียกให้ กรณีต้องการความช่วยเหลือสามารถกดรีโมทเรียกพยาบาลได้ทัน
- ความบันเทิงดินสอจัดให้ ผู้ป่วยสามารถเลือกความบันเทิงได้หลากหลาย เช่น ฟังธรรมมะ สวดมนต์ เล่นเกม
ผ่าตัดกล้ามเนื้อหลอดอาหารผ่านกล้อง (POEM) ไร้รอยแผล
POEM หัตถการช่วยรักษาโรคอะคาเลเซีย (Achalasia)
POEM หรือ Peroral Endoscopic Myotomy เป็นการผ่าตัดกล้ามเนื้อหลอดอาหารส่วนปลายด้วยการส่องกล้อง เพื่อรักษาโรคอะคาเลเซีย (Achalasia) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดส่วนปลายของหลอดอาหารไม่คลายตัว ทำให้ผู้ป่วยกลืนลำบาก เพราะอาหารไม่สามารถลงไปสู่กระเพาะได้ การรักษาเริ่มจากการใส่กล้องเข้าไปทางปากขณะที่ผู้ป่วยดมยาสลบ เพื่อเข้าไปตัดกล้ามเนื้อหูรูดให้คลายตัวลง ให้อาหารผ่านลงกระเพาะสะดวกขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยกลับไปทานอาหารได้อย่างปกติ
“POEM เป็นหัตถการที่มีความปลอดภัย และเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยโดยความเชี่ยวชาญของแพทย์ทางการส่องกล้องชั้นสูง”
POEM ดีกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องอย่างไร?
- สะดวกรวดเร็วกว่าการรักษาด้วยวิธีอื่น
- ไม่มีบาดแผลหน้าท้อง
- ใช้ระยะเวลาพักฟื้นน้อย
- ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด
Super microsurgery กล้องขยายช่วยการผ่าตัด
เป็นเทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้วยอุปกรณ์เครื่องมือพิเศษ และไหมเย็บขนาดเล็กกว่าเส้นผม
ประสิทธิภาพของ Super microsurgery
- ผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ มีกำลังขยายถึง 40 เท่า เทคโนโลยีการผ่าตัดที่มีความละเอียดสูง ด้วยเทคนิคจุลศัลยกรรมที่ใช้อุปกรณ์เครื่องมือพิเศษ
- เส้นไหมมีขนาดเล็กกว่าเส้นผม ขนาดเล็กกว่า 0.8 มิลลิเมตร เข็มเย็บขนาดเล็ก 50 – 80 ไมครอน
- ลดระยะเวลาการผ่าตัดลง 1-2 ชั่วโมง ใช้เวลาผ่าตัดน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว
- แผลมีขนาดเล็ก สามารถกลับบ้านได้เลย เสียเลือดน้อย บาดแผลเล็ก ลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
Rapid Arc เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค
เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค Rapid Arc เทคโนโลยีรักษาโรคมะเร็งที่มีความซับซ้อนได้อย่างตรงจุด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งศีรษะและลำคอ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ลดผลข้างเคียงจากการฉายรังสี
- ฉายรังสีได้แม่นยำ ตรงจุด ลดอัตราการกระจายรังสีไปอวัยวะข้างเคียง
- ลดภาวะแทรกซ้อนหลังการฉายรังสี เช่น น้ำลายแห้ง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือการถ่ายเป็นเลือด
แม่นยำ มีประสิทธิภาพการรักษาสูง
- มีระบบภาพนำวิถี OBI ภายในเครื่องสามารถฉายรังสีได้ตรงตามแผนที่วางไว้
สะดวกสบาย รวดเร็ว
- ลดระยะเวลาการฉายแสงเหลือ 2 - 5 นาที จากเดิม 15 - 20 นาที ช่วยให้ผู้ป่วยไม่มีอาการปวดเมื่อยจากการนอนรักษานาน ๆ
ระบบสารสนเทศเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (HIS - Hospital Information Systems) เป็นระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการด้านการดูแลรักษาและการบริการเพื่อรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น SiPH จึงมีการพัฒนาระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความผิดพลาด ด้วยระบบที่ได้มาตรฐานสากลและมีความปลอดภัยสูง ทั้งยังช่วยให้การทำงานของทุกฝ่ายเป็นไปในทางเดียวกัน โดยเริ่มใช้ระบบสารสนเทศรูปแบบใหม่เมื่อเดือนกรกฎาคม 2559
เป้าหมาย 4 ด้าน เพื่อการบริการที่ดียิ่งขึ้น
- Service & Speed คุณภาพและเวลาในการบริการ มีความสะดวกรวดเร็ว ลดขั้นตอนการทำงานซับซ้อนของเจ้าหน้าที่ และระยะเวลาการรอคอยของผู้รับบริการ
- Right alert การแจ้งเตือนที่ถูกต้อง โดยมีระบบ Clinical decision support ที่ช่วยแจ้งเตือนการแพ้ยาของผู้ป่วย และการสั่งยาที่อาจมีความซ้ำซ้อน
- JCI มาตรฐานระดับสากล ป้องกันข้อมูลรั่วไหล โดยเปลี่ยนการบันทึกข้อมูลของผู้รับบริการจากกระดาษให้เป็นระบบสารสนเทศรูปแบบใหม่
- Management การจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผู้บริหารสามารถเห็นข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เพื่อนำไปพัฒนาการบริการต่อไป
จากวิกฤต Covid-19 สู่โอกาส “ใกล้หมอ”
“Application ใกล้หมอ” แพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อผู้รับบริการให้เข้าถึงข้อมูลการรักษาที่ง่ายขึ้น อีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์ในยุค Social Distancing เนื่องจากสถานการณ์ Covid-19 สามารถรองรับ Telemedicine ดูข้อมูลการนัดหมาย ผลแล็บ คำแนะนำและประวัติการใช้ยา ค่าใช้จ่าย และมีความปลอดภัยสูง ทำให้ผู้รับบริการสามารถดูข้อมูลต่างๆ ได้ทุกที่ ทุกเวลา
โครงการ “ออมเพื่อให้ตามรอยพ่อ”
กิจกรรมเพื่อสังคม ต่อยอดการเป็นผู้รับและผู้ให้ตามแนวคิดของโรงพยาบาล โดยได้รับแรงบันดาลจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์นักออม
โครงการออมเพื่อให้ตามรอยพ่อ มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกจิตสำนึกและสร้างวินัยการออม โดยนำเงินจากกระปุกเงินออมมาแลกกระปุกที่ระลึก เพื่อร่วมสมทบทุนสร้างและจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ อาคารนวมิทรบพิตร ๘๔ พรรษา ซึ่งเป็นอาคารศูนย์การแพทย์หลังสุดท้ายที่ได้รับพระราชทานนามจากรัชกาลที่ 9
กระปุกทรงงานรำลึกพระราชจริยวัตรรัชกาลที่ 9
วิทยุสื่อสาร
แรงบันดาลใจจากพระราชอัจฉริยภาพด้านการสื่อสาร ทรงคิดค้นและวางระบบการติดต่อทางไกล เพื่อเชื่อมต่อสัญญาณวิทยุสื่อสารให้ติดต่อครอบคลุมทั่วประเทศ
กล้องถ่ายรูป
พระราชกรณียกิจอดิเรกที่พระองค์ทรงโปรดมาก ทรงเป็นนักถ่ายภาพที่มีฝีพระหัตถ์ยอดเยี่ยม พระองค์มิได้ถ่ายภาพเพื่องานศิลปะแต่เพียงอย่างเดียว แต่ทรงมีพระราชดำรัสให้ใช้ภาพให้เกิดคุณค่าแก่สังคม และเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม
รถจี๊ป
พระราชพาหนะทรงงานในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรที่อยู่ห่างไกลในถิ่นทุรกันดาร ด้วยพระราชปณิธานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของราษฎร
สานต่อการให้ สร้างวินัยการออม
- ปีที่ 1 ระยะเวลาโครงการ 3 สิงหาคม – 20 ตุลาคม 2560 ยอดเงินออมสมทบทุนทั้งสิ้น 111 ล้านบาท
- ปีที่ 2 ระยะเวลาโครงการ 16 พฤศจิกายน 2561 – 22 มกราคม 2562 ยอดเงินออมสมทบทุนทั้งสิ้น 130 ล้านบาท
JCI หัวใจแห่งบริการ มาตรฐานสากล
ทำไมต้อง JCI ?
ด้วยความตั้งใจของ SiPH ที่จะพัฒนาศักยภาพทางการแพทย์และมุ่งมั่นที่จะเป็นโรงพยาบาลที่มีคุณภาพ เพื่อให้คนไทยได้รับบริการทางการแพทย์ในมาตรฐานระดับสากล Joint Commission International หรือ JCI ซึ่งเป็นสถาบันของสหรัฐอเมริกาที่ได้การยอมรับระดับโลก โดยประยุกต์ใช้มาตรฐานในระดับนานาชาติ (Global Standard) และวัดผลได้ด้วยตัวชี้วัด เป้าหมายคือเพื่อความปลอดภัยในการดูแลรักษาพยาบาล โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
การเยี่ยมสำรวจและการตรวจประเมินของ JCI ครอบคลุมตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ามารักษา จนกระทั่งออกจากโรงพยาบาล โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ การเคารพสิทธิผู้ป่วยและครอบครัว การเข้าถึงและความต่อเนื่องของการดูแล การประเมินแรกรับ การดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง การให้ข้อมูลและความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนการผ่าตัดหรือทำหัตถการ การจัดการด้านยาและการใช้ยา ตลอดจนการปฏิบัติที่ถูกต้องในทุก ๆ กระบวนการ เพื่อให้การดูแลรักษาเกิดผลลัพธ์ที่ให้ประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย
มาตรฐานที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
- ปฏิบัติตามเป้าหมายความปลอดภัยผู้ป่วยสากล 6 ข้อ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยในทุกขั้นตอนของการรักษา (IPSG)
- เคารพสิทธิผู้ป่วย โดยขอความยินยอมจากผู้ป่วยก่อนการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมและตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาได้ดีขึ้น (PCC)
- บุคลากรทุกคนร่วมวางแผนการรักษาด้วยความร่วมมือและบูรณาการระหว่างทีมที่ให้การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง (COP)
- กระบวนการจัดการยาที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การคัดเลือก จัดหา เก็บรักษา จ่ายยา การบันทึก และติดตามการใช้เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย (MMU)
- การจัดบริการที่สอดคล้องตรงตามความต้องการด้านสุขภาพของผู้ป่วย วางแผนเมื่อผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล และนัดติดตามตรวจรักษา เพื่อทำให้ผลการรักษาดีขึ้น (ACC)
- การประเมินผู้ป่วยแรกรับ เช่น สภาวะของผู้ป่วย อายุ ความต้องการด้านสุขภาพ ความพึงใจของผู้ป่วย เพื่อเข้าใจความต้องการของผู้ป่วยเฉพาะราย (AOP)
- การวางแผนการดูแลเพื่อระงับความรู้สึกก่อนการทำผ่าตัด หรือหัตถการ การติดตามอาการก่อน ระหว่าง หลังการทำผ่าตัด หรือหัตถการ (ASC)
มาตรฐานการจัดการสถานพยาบาล
- สร้างความปลอดภัยในองค์กร และสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการดูแลผู้ป่วย รวมถึงกำหนดแนวทางแก้ไขเมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงที่มีผลกระทบต่อผู้ป่วยอย่างทันท่วงที (QPS)
- ทีมผู้บริหารทุกระดับกำกับดูแลกิจการ กำหนดทิศทาง แผนการดำเนินงานให้ครอบคลุม เพื่อให้เกิดคุณภาพ ความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย และผู้มารับบริการในโรงพยาบาล (GLD)
- กำหนดและตรวจสอบคุณสมบัติของบุคลากรที่จะรับเข้ามาทำงานอย่างเหมาะสม รวมถึงการอบรมที่จำเป็นในวิชาชีพและความรู้พื้นฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย (SQE)
- กำหนดแผนการป้องการและควบคุมการติดเชื้อ ทั้งเชิงรุกและเชิงรับเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ รวมทั้งให้ความรู้แก่บุคลากรทั่วทั้งโรงพยาบาล (PCI)
- จัดการอาคารสถานที่ให้เหมาะสมและมีความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย ดูแลเครื่องมือแพทย์ให้พร้อมใช้ วางแผนรองรับภัยพิบัติหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น (FMS)
- ใช้สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการดูแลรักษาผู้ป่วย ทั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์ และกระดาษ การจำกัดสิทธิ์การเข้าถึง เพื่อรักษาความลับของผู้ป่วย รวมถึงการตรวจสอบบันทึก การจัดเก็บ การทำลายเมื่อครบกำหนด (MOI)
Zone 1
กว่าจะเป็น SiPH
- ปี 2546 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลริเริ่ม “โครงการพัฒนาศิริราชสู่การเป็นสถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในระดับเอเชียอาคเนย์”
-
ปี 2549 เปิดให้บริการ “The Heart by Siriraj”
-
ปี 2555 โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (SiPH) เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการวันที่ 26 เมษายน 2555
SiPH ก่อตั้งเพื่อ
- เฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 9
- เป็นศูนย์กลางการแพทย์ที่มีมาตรฐานระดับสากล
- เป็นต้นแบบโรงพยาบาลรัฐในการออกนอกระบบราชการ
- นำรายได้กลับคืนคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- เพิ่มแรงจูงใจบุคลากรทางการแพทย์
สู่การเป็น “ผู้รับ” และ “ผู้ให้” ในเวลาเดียวกัน
"ผู้รับ" บริการทางการแพทย์ด้วยคุณภาพศิริราช มาตรฐานสากล
"ผู้ให้" รายได้จากผลประกอบการคืนกลับสู่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยด้อยโอกาสของศิริราช
การออกแบบที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้รับบริการ
อาคารที่ออกแบบตามมาตรฐานสากลและทันสมัย โครงสร้างที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน ผนังอาคารออกแบบให้เหมือนหลอดด้ายหลากหลายสี ได้รับแรงบันดาลใจจากวงการแพทย์ที่สามารถถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ได้ ภายในสัมผัสได้ถึงความอบอุ่น ผ่อนคลาย และปลอดภัย
- ระบบปรับอากาศเพื่อสุขภาพที่ดี
- ระบบหมุนเวียนอากาศ
- ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
- ระบบผนังป้องกันไฟในแนวราบ
- ระบบอาคารจ่ายน้ำเย็นจากศูนย์กลาง
Zone 2
เทคโนโลยีที่ก้าวไม่หยุด
Robot ช่วยผ่าตัดต่อมลูกหมาก
" หุ่นยนต์เป็นเสมือนผู้ช่วยให้ทีมแพทย์ผ่าตัดบริเวณที่ซับซ้อนและเข้าถึงได้ยากได้ดียิ่งขึ้น
โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของแพทย์ในการควบคุมหุ่นยนต์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ "
หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด da Vinci เพื่อรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดได้ดีกว่าในที่แคบและลึก ทำให้ผู้ป่วยเจ็บแผลน้อย เนื่องจากแผลมีขนาดเล็ก เสียเลือดน้อย และฟื้นตัวได้เร็วกว่า ช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศหลังการผ่าตัด เพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ
- ชุดควบคุมหรือสั่งการ (console) ศัลยแพทย์นั่งประจำที่ console เพื่อทำการผ่าตัดผ่านจอภาพ 3 มิติ ระบบจะถ่ายทอดสัญญาณการเคลื่อนไหวจากมือศัลยแพทย์ไปยังมือกลที่กำลังผ่าตัด
- กล้องขยายภาพ 3 มิติ มีความลึกและคมชัด ทำให้มองเห็นรายละเอียดของอวัยวะภายในร่างกาย ได้อย่างชัดเจน
- แขนกล (wristed instruments)
แขนที่ 1 แสดงภาพอวัยวะภายในของผู้ป่วยแบบ Real Time ไปยังมอนิเตอร์
แขนที่ 2 และ 3 ช่วยตัด ผูก และเย็บเนื้อเยื่อ
แขนที่ 4 ดึงรั้งเนื้อเยื่อเพื่อช่วยในการผ่าตัด
Hapy Bot ขนส่งอัจฉริยะ
หุ่นยนต์อัจฉริยะ Happy Bot นำมาใช้เพื่อช่วยจัดส่งยาให้กับผู้ป่วย OPD เพื่อประสิทธิภาพในการให้บริการที่สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก สามารถสื่อสารกับผู้ใช้งานโดยผ่านจอมอนิเตอร์ที่ถูกควบคุมด้วยเครือข่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบการขนส่งในโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการนำ Happy Bot มาใช้ในการส่งเวชภัณฑ์และเอกสารทางการแพทย์
ประสิทธิภาพของ Hapy Bot
- สะดวก รวดเร็ว ลดระยะเวลาในการขนส่งจากห้องยาไปถึงศูนย์/คลินิก
-
แม่นยำ ปลอดภัย มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับยาถูกต้อง และช่วยป้องกันยาสูญหายได้
Robot ช่วยผ่าตัดข้อเทียม
“ปวดน้อย ฟื้นตัวเร็ว ยืดอายุการใช้งานข้อ”
หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดข้อเทียม เป็นการผ่าตัดที่ช่วยให้การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แผลผ่าตัดเล็ก เจ็บน้อย ปลอดภัย ใช้เทคนิคการระงับความรู้สึกที่ทำให้สามารถฟื้นตัวได้เร็วและมีผลข้างเคียงน้อย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย
ประสิทธิภาพของ Robot ช่วยผ่าตัดข้อเทียม
- คอมพิวเตอร์ประมวลผล : คำนวณสรีระร่างกายของคนไข้ก่อนผ่าตัด ช่วยศัลยแพทย์วางแผนในการผ่าตัด สามารถวัดผลการผ่าตัดได้อย่างแม่นยำทันที
- แขนกล : ที่สามารถเคลื่อนไหว ปรับให้โค้งงอ และหมุนได้ ทำให้การผ่าตัดในตำแหน่งที่เข้าถึงยากหรือมีความซับซ้อนเป็นเรื่องง่ายขึ้น ซึ่งช่วยในการลดภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดได้
- ระบบ Haptic : ป้องกันข้อผิดพลาด ช่วยปรับสมดุลของข้อเทียมได้ในระดับมิลลิเมตร ทำให้ข้อใหม่ใส่ได้พอดีสามารถใช้งานได้นานขึ้น
“SiAM” Robot จ่ายยา
“SIAM” Robot ระบบจ่ายยาอัตโนมัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยในการลดความผิดพลาดเรื่องการจ่ายยา ตามมาตรฐาน JCI โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2558 ถือเป็นโรงพยาบาลแห่งที่ 3 ในประเทศไทยที่นำระบบดังกล่าวมาใช้
ประสิทธิภาพของ “SiAM” Robot จ่ายยา
- ถูกชนิด ถูกจำนวน ถูกเวลา ด้วยคอมพิวเตอร์ควบคุมคำสั่งการจัดยาอัตโนมัติ ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาที่ถูกต้อง
- Photo check ผ่านการตรวจสอบโดยการถ่ายรูปยาทุกซองเทียบกับฐานข้อมูลยา มั่นใจได้ถึงความถูกต้องสูงสุด
- ลดความซ้ำซ้อนในการรับยา กรณีผู้ป่วยรับบริการหลายศูนย์
- คุณภาพยา ด้วยเทคโนโลยี Beacon หรือ Bluetooth low energy 4.0 (BLE 4.0) ควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ช่วยให้การจัดเก็บยามีคุณภาพ
CAD/CAM ระบบจำลองการผ่าตัด
CAD/CAM หรือ Computer-Aided Design & Computer-Aided Manufacturing เทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาช่วยในการจำลองการผ่าตัด เพื่อให้ได้รูปร่างเฉพาะเจาะจงที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล หรือเรียกว่า “การแพทย์แบบจำเพาะบุคคล (Personalized Medicine)” สำหรับการรักษาความผิดปกติของกะโหลกศีรษะและกระดูกใบหน้า เช่น เนื้องอกบริเวณขากรรไกร
ประสิทธิภาพของ ระบบจำลองการผ่าตัด
- แม่นยำ เที่ยงตรง ช่วยออกแบบเพื่อสร้างอุปกรณ์จำลอง 3 มิติ เสมือนการผ่าตัดจำลองก่อนการผ่าตัดจริง ทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำมากขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนและความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างผ่าตัด
- การซ่อมแซมอวัยวะให้ใกล้เคียงของเดิม รูปลักษณ์และรูปทรงของตำแหน่งที่ผ่าตัดมีลักษณะใกล้เคียงอวัยวะเดิมมากที่สุด ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้ดีดังเดิม และมีความมั่นใจมากขึ้น
- อวัยวะฟื้นตัวเร็ว การผ่าตัดอวัยวะที่ใช้สำหรับบดเคี้ยวและกลืนอาหาร กลับไปทำงานได้เร็วขึ้น
การผ่าตัดปลูกถ่ายไต Kidney Transplantation
เป็นวิธีบำบัดทดแทนไตที่เหมือนธรรมชาติมากที่สุด เป็นการปลูกถ่ายไตให้กับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เพื่อทำหน้าที่แทนไตเดิม หลังการปลูกถ่ายไตผู้ป่วยจะมีไตเพิ่มจากเดิม 1 ข้าง ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ
ชีวิตใหม่หลังปลูกถ่ายไต
- ไม่ต้องมาที่โรงพยาบาลบ่อยๆ
- สุขภาพที่แข็งแรงกว่า
- มีข้อจำกัดในการเลือกอาหารลดลง
- สามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากขึ้น
Pulmonic Valve เปลี่ยนลิ้นหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด
การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมผ่านทางสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด หนึ่งในวิธีการรักษาโรคลิ้นหัวใจเส้นเลือดไปปอดตีบ (Pulmonic Valve Stenosis) เป็นชนิดหนึ่งของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจในช่วงการสร้างอวัยวะในระหว่างตั้งครรภ์ของมารดา หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน
ข้อดีของการการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมผ่านทางสายสวน
- แผลเล็กเพียง 2 เซนติเมตร ใช้สายสวนหัวใจขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตร ใส่เข้าไปบริเวณขาหนีบ
- เสียเลือดน้อย ลดการติดเชื้อ ฟื้นตัวเร็วเพียง 1 - 2 วัน
- ลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด เมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิดอก
Robot ดินสอเฝ้าระวังผู้ป่วย
“Robot ดินสอ” นวัตกรรมการดูแลผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด เช่น ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ หรือญาติที่เฝ้ามีเกณฑ์พลัดตกหกล้ม ถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยี AI ที่ควบคุมการทำงานผ่าน Application เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐาน JCI
Robot ดินสอดีอย่างไร?
- แจ้งเตือนทันทีเมื่อลุกจากเตียง กล้องและเซ็นเซอร์ทำหน้าที่ติดตามความเคลื่อนไหวของผู้ป่วย หากตรวจพบความผิดปกติจะส่งสัญญาณให้พยาบาลทราบทันที
- ติดต่อเจ้าหน้าที่ดินสอเรียกให้ กรณีต้องการความช่วยเหลือสามารถกดรีโมทเรียกพยาบาลได้ทัน
- ความบันเทิงดินสอจัดให้ ผู้ป่วยสามารถเลือกความบันเทิงได้หลากหลาย เช่น ฟังธรรมมะ สวดมนต์ เล่นเกม
ผ่าตัดกล้ามเนื้อหลอดอาหารผ่านกล้อง (POEM) ไร้รอยแผล
POEM หัตถการช่วยรักษาโรคอะคาเลเซีย (Achalasia)
POEM หรือ Peroral Endoscopic Myotomy เป็นการผ่าตัดกล้ามเนื้อหลอดอาหารส่วนปลายด้วยการส่องกล้อง เพื่อรักษาโรคอะคาเลเซีย (Achalasia) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดส่วนปลายของหลอดอาหารไม่คลายตัว ทำให้ผู้ป่วยกลืนลำบาก เพราะอาหารไม่สามารถลงไปสู่กระเพาะได้ การรักษาเริ่มจากการใส่กล้องเข้าไปทางปากขณะที่ผู้ป่วยดมยาสลบ เพื่อเข้าไปตัดกล้ามเนื้อหูรูดให้คลายตัวลง ให้อาหารผ่านลงกระเพาะสะดวกขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยกลับไปทานอาหารได้อย่างปกติ
“POEM เป็นหัตถการที่มีความปลอดภัย และเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยโดยความเชี่ยวชาญของแพทย์ทางการส่องกล้องชั้นสูง”
POEM ดีกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องอย่างไร?
- สะดวกรวดเร็วกว่าการรักษาด้วยวิธีอื่น
- ไม่มีบาดแผลหน้าท้อง
- ใช้ระยะเวลาพักฟื้นน้อย
- ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด
Super microsurgery กล้องขยายช่วยการผ่าตัด
เป็นเทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้วยอุปกรณ์เครื่องมือพิเศษ และไหมเย็บขนาดเล็กกว่าเส้นผม
ประสิทธิภาพของ Super microsurgery
- ผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ มีกำลังขยายถึง 40 เท่า เทคโนโลยีการผ่าตัดที่มีความละเอียดสูง ด้วยเทคนิคจุลศัลยกรรมที่ใช้อุปกรณ์เครื่องมือพิเศษ
- เส้นไหมมีขนาดเล็กกว่าเส้นผม ขนาดเล็กกว่า 0.8 มิลลิเมตร เข็มเย็บขนาดเล็ก 50 – 80 ไมครอน
- ลดระยะเวลาการผ่าตัดลง 1-2 ชั่วโมง ใช้เวลาผ่าตัดน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว
- แผลมีขนาดเล็ก สามารถกลับบ้านได้เลย เสียเลือดน้อย บาดแผลเล็ก ลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
Rapid Arc เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค
เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค Rapid Arc เทคโนโลยีรักษาโรคมะเร็งที่มีความซับซ้อนได้อย่างตรงจุด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งศีรษะและลำคอ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ลดผลข้างเคียงจากการฉายรังสี
- ฉายรังสีได้แม่นยำ ตรงจุด ลดอัตราการกระจายรังสีไปอวัยวะข้างเคียง
- ลดภาวะแทรกซ้อนหลังการฉายรังสี เช่น น้ำลายแห้ง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือการถ่ายเป็นเลือด
แม่นยำ มีประสิทธิภาพการรักษาสูง
- มีระบบภาพนำวิถี OBI ภายในเครื่องสามารถฉายรังสีได้ตรงตามแผนที่วางไว้
สะดวกสบาย รวดเร็ว
- ลดระยะเวลาการฉายแสงเหลือ 2 - 5 นาที จากเดิม 15 - 20 นาที ช่วยให้ผู้ป่วยไม่มีอาการปวดเมื่อยจากการนอนรักษานาน ๆ
>>> อ่านข้อมูลเพิ่มเติม คลิก!!
ระบบสารสนเทศเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (HIS - Hospital Information Systems) เป็นระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการด้านการดูแลรักษาและการบริการเพื่อรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น SiPH จึงมีการพัฒนาระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความผิดพลาด ด้วยระบบที่ได้มาตรฐานสากลและมีความปลอดภัยสูง ทั้งยังช่วยให้การทำงานของทุกฝ่ายเป็นไปในทางเดียวกัน โดยเริ่มใช้ระบบสารสนเทศรูปแบบใหม่เมื่อเดือนกรกฎาคม 2559
เป้าหมาย 4 ด้าน เพื่อการบริการที่ดียิ่งขึ้น
- Service & Speed คุณภาพและเวลาในการบริการ มีความสะดวกรวดเร็ว ลดขั้นตอนการทำงานซับซ้อนของเจ้าหน้าที่ และระยะเวลาการรอคอยของผู้รับบริการ
- Right alert การแจ้งเตือนที่ถูกต้อง โดยมีระบบ Clinical decision support ที่ช่วยแจ้งเตือนการแพ้ยาของผู้ป่วย และการสั่งยาที่อาจมีความซ้ำซ้อน
- JCI มาตรฐานระดับสากล ป้องกันข้อมูลรั่วไหล โดยเปลี่ยนการบันทึกข้อมูลของผู้รับบริการจากกระดาษให้เป็นระบบสารสนเทศรูปแบบใหม่
- Management การจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผู้บริหารสามารถเห็นข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เพื่อนำไปพัฒนาการบริการต่อไป
จากวิกฤต Covid-19 สู่โอกาส “ใกล้หมอ”
“Application ใกล้หมอ” แพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อผู้รับบริการให้เข้าถึงข้อมูลการรักษาที่ง่ายขึ้น อีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์ในยุค Social Distancing เนื่องจากสถานการณ์ Covid-19 สามารถรองรับ Telemedicine ดูข้อมูลการนัดหมาย ผลแล็บ คำแนะนำและประวัติการใช้ยา ค่าใช้จ่าย และมีความปลอดภัยสูง ทำให้ผู้รับบริการสามารถดูข้อมูลต่างๆ ได้ทุกที่ ทุกเวลา
โครงการ “ออมเพื่อให้ตามรอยพ่อ”
กิจกรรมเพื่อสังคม ต่อยอดการเป็นผู้รับและผู้ให้ตามแนวคิดของโรงพยาบาล โดยได้รับแรงบันดาลจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์นักออม
โครงการออมเพื่อให้ตามรอยพ่อ มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกจิตสำนึกและสร้างวินัยการออม โดยนำเงินจากกระปุกเงินออมมาแลกกระปุกที่ระลึก เพื่อร่วมสมทบทุนสร้างและจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ อาคารนวมิทรบพิตร ๘๔ พรรษา ซึ่งเป็นอาคารศูนย์การแพทย์หลังสุดท้ายที่ได้รับพระราชทานนามจากรัชกาลที่ 9
กระปุกทรงงานรำลึกพระราชจริยวัตรรัชกาลที่ 9
วิทยุสื่อสาร
แรงบันดาลใจจากพระราชอัจฉริยภาพด้านการสื่อสาร ทรงคิดค้นและวางระบบการติดต่อทางไกล เพื่อเชื่อมต่อสัญญาณวิทยุสื่อสารให้ติดต่อครอบคลุมทั่วประเทศ
กล้องถ่ายรูป
พระราชกรณียกิจอดิเรกที่พระองค์ทรงโปรดมาก ทรงเป็นนักถ่ายภาพที่มีฝีพระหัตถ์ยอดเยี่ยม พระองค์มิได้ถ่ายภาพเพื่องานศิลปะแต่เพียงอย่างเดียว แต่ทรงมีพระราชดำรัสให้ใช้ภาพให้เกิดคุณค่าแก่สังคม และเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม
รถจี๊ป
พระราชพาหนะทรงงานในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรที่อยู่ห่างไกลในถิ่นทุรกันดาร ด้วยพระราชปณิธานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของราษฎร
สานต่อการให้ สร้างวินัยการออม
- ปีที่ 1 ระยะเวลาโครงการ 3 สิงหาคม – 20 ตุลาคม 2560 ยอดเงินออมสมทบทุนทั้งสิ้น 111 ล้านบาท
- ปีที่ 2 ระยะเวลาโครงการ 16 พฤศจิกายน 2561 – 22 มกราคม 2562 ยอดเงินออมสมทบทุนทั้งสิ้น 130 ล้านบาท
JCI หัวใจแห่งบริการ มาตรฐานสากล
ทำไมต้อง JCI ?
ด้วยความตั้งใจของ SiPH ที่จะพัฒนาศักยภาพทางการแพทย์และมุ่งมั่นที่จะเป็นโรงพยาบาลที่มีคุณภาพ เพื่อให้คนไทยได้รับบริการทางการแพทย์ในมาตรฐานระดับสากล Joint Commission International หรือ JCI ซึ่งเป็นสถาบันของสหรัฐอเมริกาที่ได้การยอมรับระดับโลก โดยประยุกต์ใช้มาตรฐานในระดับนานาชาติ (Global Standard) และวัดผลได้ด้วยตัวชี้วัด เป้าหมายคือเพื่อความปลอดภัยในการดูแลรักษาพยาบาล โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
การเยี่ยมสำรวจและการตรวจประเมินของ JCI ครอบคลุมตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ามารักษา จนกระทั่งออกจากโรงพยาบาล โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ การเคารพสิทธิผู้ป่วยและครอบครัว การเข้าถึงและความต่อเนื่องของการดูแล การประเมินแรกรับ การดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง การให้ข้อมูลและความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนการผ่าตัดหรือทำหัตถการ การจัดการด้านยาและการใช้ยา ตลอดจนการปฏิบัติที่ถูกต้องในทุก ๆ กระบวนการ เพื่อให้การดูแลรักษาเกิดผลลัพธ์ที่ให้ประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย
มาตรฐานที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
- ปฏิบัติตามเป้าหมายความปลอดภัยผู้ป่วยสากล 6 ข้อ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยในทุกขั้นตอนของการรักษา (IPSG)
- เคารพสิทธิผู้ป่วย โดยขอความยินยอมจากผู้ป่วยก่อนการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมและตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาได้ดีขึ้น (PCC)
- บุคลากรทุกคนร่วมวางแผนการรักษาด้วยความร่วมมือและบูรณาการระหว่างทีมที่ให้การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง (COP)
- กระบวนการจัดการยาที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การคัดเลือก จัดหา เก็บรักษา จ่ายยา การบันทึก และติดตามการใช้เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย (MMU)
- การจัดบริการที่สอดคล้องตรงตามความต้องการด้านสุขภาพของผู้ป่วย วางแผนเมื่อผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล และนัดติดตามตรวจรักษา เพื่อทำให้ผลการรักษาดีขึ้น (ACC)
- การประเมินผู้ป่วยแรกรับ เช่น สภาวะของผู้ป่วย อายุ ความต้องการด้านสุขภาพ ความพึงใจของผู้ป่วย เพื่อเข้าใจความต้องการของผู้ป่วยเฉพาะราย (AOP)
- การวางแผนการดูแลเพื่อระงับความรู้สึกก่อนการทำผ่าตัด หรือหัตถการ การติดตามอาการก่อน ระหว่าง หลังการทำผ่าตัด หรือหัตถการ (ASC)
มาตรฐานการจัดการสถานพยาบาล
- สร้างความปลอดภัยในองค์กร และสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการดูแลผู้ป่วย รวมถึงกำหนดแนวทางแก้ไขเมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงที่มีผลกระทบต่อผู้ป่วยอย่างทันท่วงที (QPS)
- ทีมผู้บริหารทุกระดับกำกับดูแลกิจการ กำหนดทิศทาง แผนการดำเนินงานให้ครอบคลุม เพื่อให้เกิดคุณภาพ ความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย และผู้มารับบริการในโรงพยาบาล (GLD)
- กำหนดและตรวจสอบคุณสมบัติของบุคลากรที่จะรับเข้ามาทำงานอย่างเหมาะสม รวมถึงการอบรมที่จำเป็นในวิชาชีพและความรู้พื้นฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย (SQE)
- กำหนดแผนการป้องการและควบคุมการติดเชื้อ ทั้งเชิงรุกและเชิงรับเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ รวมทั้งให้ความรู้แก่บุคลากรทั่วทั้งโรงพยาบาล (PCI)
- จัดการอาคารสถานที่ให้เหมาะสมและมีความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย ดูแลเครื่องมือแพทย์ให้พร้อมใช้ วางแผนรองรับภัยพิบัติหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น (FMS)
- ใช้สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการดูแลรักษาผู้ป่วย ทั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์ และกระดาษ การจำกัดสิทธิ์การเข้าถึง เพื่อรักษาความลับของผู้ป่วย รวมถึงการตรวจสอบบันทึก การจัดเก็บ การทำลายเมื่อครบกำหนด (MOI)