การรักษาโรคหัวใจแต่กำเนิด โดยการสวนหัวใจ
โรคหัวใจแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease)
เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจในช่วงขั้นตอนการสร้างอวัยวะขณะตั้งครรภ์ของมารดา ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 1 ของทารกแรกเกิด และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อาการที่พบของโรคกลุ่มนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยบางรายอาจไม่แสดงอาการผิดปกติ บางรายมีอาการเหนื่อยหอบเนื่องจากหัวใจต้องทำงานหนักขึ้น หรือบางรายมีอาการตัวเขียว บางกลุ่มโรคผู้ป่วยอาจมีอาการดีขึ้นเอง แต่ในบางรายยังต้องได้รับการรักษาด้วยยาเพื่อช่วยให้อาการดีขึ้น ซึ่งไม่ได้เป็นการแก้ไขความผิดปกติของโรคที่มีอยู่ การรักษาในผู้ป่วยกลุ่มโรคนี้ ได้แก่ การผ่าตัดเพื่อแก้ความผิดปกติ และการรักษาผ่านทางสายสวน สามารถรักษาโดยการใส่อุปกรณ์พิเศษเพื่อปิดรูรั่ว บอลลูน เพื่อขยายลิ้นหัวใจและหลอดเลือดที่ตีบ และใส่ขดลวดเพื่อขยายส่วนที่ตีบได้
การรักษาโรคหัวใจแต่กำเนิด โดยการสวนหัวใจ (Transcatheter Intervention)
เป็นการรักษาโดยใช้สายสวนหัวใจ ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร ใส่เข้าไปในเส้นเลือด โดยทั่วไปมักใช้เส้นเลือดบริเวณขาหนีบ แล้วค่อยๆ ปล่อยสายสวนหัวใจผ่านไปตามเส้นเลือดจนปลายสายสวนเข้าไปถึงหัวใจ เพื่อทำการวัดความดันในตำแหน่งต่างๆ ของหัวใจ และดูดเลือดจากบริเวณต่างๆ ของหัวใจมาทำการตรวจวิเคราะห์
หลังจากนั้นจะทำการถ่ายภาพเอกซเรย์พร้อมฉีดสารทึบรังสีเพื่อแสดงความผิดปกติต่างๆ ในหัวใจ การรักษาทางสายสวนหัวใจสามารถทดแทนการผ่าตัดได้ โดยอัตราเสี่ยงและผลสำเร็จในการรักษาใกล้เคียงกับการผ่าตัด แต่ผู้ป่วยเจ็บแผลน้อยกว่า ไม่มีแผลผ่าตัด ระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาลและการพักฟื้นหลังการรักษาน้อยกว่า
ชนิดของโรคหัวใจแต่กำเนิดที่สามารถรักษาโดยการปิดรูรั่วโดยผ่านสายสวน
- โรคหัวใจที่มีรูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจด้านล่าง (Ventricular Septal Defect: VSD)
พบได้บ่อยที่สุดในบรรดาโรคหัวใจแต่กำเนิด เป็นผลจากการมีรูรั่วที่ผนังกั้นห้องหัวใจห้องล่าง ทำให้เลือดแดงจากหัวใจห้องล่างซ้ายผ่านรูรั่วไปยังหัวใจห้องล่างขวา และออกสู่หลอดเลือดแดงของปอด ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ไปสู่ปอดมากขึ้น รวมถึงปริมาณเลือดที่กลับเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้ายเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ทำให้หัวใจห้องซ้ายทำงานหนักขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจวายได้ โดยทั่วไปมักเกิดอาการหรือตรวจพบในช่วงอายุ 2-3 เดือนแรก ในรายที่มีรูรั่วขนาดเล็กมักไม่เกิดอาการ อาจตรวจพบแต่เสียงฟู่ของหัวใจ (Murmur)
- โรคหัวใจที่มีรูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจด้านบน (Atrial Septal Defect: ASD)
รูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจด้านบนเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดที่พบได้บ่อยเป็นอันดับที่ 2 ซึ่งพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย รูรั่วนี้ทำให้เกิดการไหลของเลือดจากซ้ายไปขวา (Left to Right Shunt) โดยเลือดแดงจากหัวใจห้องบนซ้ายไหลไปสู่หัวใจห้องบนขวา และลงสู่หัวใจห้องล่างขวาแล้วไปยังปอด ทำให้เลือดไปที่ปอดมากขึ้น มักตรวจพบโดยบังเอิญจากการฟังได้ยินเสียงฟู่ของหัวใจ ส่วนใหญ่จะยังไม่แสดงอาการจนกระทั่งเป็นเด็กโตหรือวัยรุ่น บางรายอาจแสดงอาการเมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว
รูปภาพแสดงการใช้อุปกรณ์ Amplatzer Septal Occluder ในการรักษาผู้ป่วย Atrial septal defect (ASD)
อุปกรณ์ทำด้วย Nitinol wire ซึ่งเป็นโลหะผสมชนิดพิเศษมีความคงทนและยืดหยุ่นอย่างมาก โดยอุปกรณ์เป็น
self centering device มีการปล่อย left และ right atrial disc เพื่อประกบรู ASD
- โรคหัวใจที่มีเส้นเลือดแดงเกินผิดปกติระหว่างปอดและหัวใจ (Patent Ductus Arteriosus: PDA)
โดยปกติหลอดเลือดแดงใหญ่จะปิดภายในอายุ 10 วัน แต่สำหรับผู้ที่มีความผิดปกติหลอดเลือดแดงดังกล่าวจะคงอยู่ เส้นเลือดแดงที่เกินมานี้จะเชื่อมระหว่างหลอดเลือดแดงใหญ่ของร่างกายและปอด เลือดแดงส่วนหนึ่งจากหลอดเลือดแดงใหญ่ของร่างกายจะไหลผ่านไปยังหลอดเลือดแดงของปอด ปริมาณเลือดที่ไปปอดจึงเพิ่มขึ้นและไหลกลับเข้าสู่หัวใจห้องซ้ายเพิ่มขึ้น ลักษณะคล้ายโรคหัวใจที่มีรูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจห้องล่าง
ชนิดของโรคหัวใจแต่กำเนิดที่สามารถรักษาโดยบอลลูนผ่านสายสวน
- โรคลิ้นหัวใจเส้นเลือดไปปอดตีบ (Pulmonic Valve Stenosis)
เนื่องจากผู้ป่วยมีลิ้นหัวใจตีบ ทำให้หัวใจห้องล่างขวาซึ่งทำหน้าที่บีบเลือดไปฟอกที่ปอดต้องทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้มีหัวใจโตได้ ผู้ป่วยมักมีความผิดปกติตั้งแต่เกิด แต่อาจตรวจพบเสียงหัวใจฟู่ (Heart Murmur) ได้ในภายหลัง ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ แต่บางรายอาจจะมีอาการหน้ามืด เป็นลม หรือเจ็บหน้าอกได้ การรักษาโดยการใช้บอลลูนเพื่อขยายลิ้นหัวใจได้ผลดีมากเทียบเท่ากับการผ่าตัด
- โรคลิ้นหัวใจเส้นเลือดไปร่างกายตีบ (Aortic Valve Stenosis)
ลิ้นหัวใจถือได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นลิ้นของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงร่างกาย ซึ่งคนปกติจะมีลิ้นหัวใจทั้งหมด 3 บาน แต่ผู้ป่วยอาจมีความผิดปกติจากการที่มีลิ้นหัวใจเพียงแค่ 2 บาน หรือลิ้นหัวใจมีการผิดรูปตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์ สามารถพบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก หน้ามืด เป็นลม บางครั้งอาจมีอาการรุนแรงได้ การรักษาโดยการสวนหัวใจได้ผลดีในเด็กและวัยรุ่นเท่านั้น
- โรคหลอดเลือดใหญ่เลี้ยงร่างกายตีบ (Coarctation of Aorta)
เส้นเลือดดังกล่าวจะเกิดความผิดปกติตั้งแต่ในครรภ์ บางรายที่มีอาการมากอาจตรวจพบตั้งแต่เป็นทารก เช่น มีอาการของภาวะหัวใจวาย แต่บางรายอาจพบเมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว โดยตรวจพบจากเสียงหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตสูงในคนอายุน้อย การรักษาอาจทำได้โดยการใช้บอลลูนขยายหลอดเลือด ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดการตีบซ้ำได้ จึงจำเป็นต้องใส่ขดลวดขยายเส้นเลือดไว้
- โรคเส้นเลือดไปปอดตีบ (Pulmonary Artery Stenosis)
เส้นเลือดที่ไปปอดอาจเกิดการตีบได้ตั้งแต่ในครรภ์ หรืออาจเป็นผลหลังการผ่าตัดแก้ไขโรคหัวใจแต่กำเนิด การรักษาสามารถทำได้โดยการบอลลูนเส้นเลือดและการใส่ขดลวดขยายเส้นเลือด
การปฏิบัติตัวหลังทำการรักษาผ่านทางสายสวน ขณะพักในหอผู้ป่วยเฉพาะทางโรคหัวใจ
1. ผู้ป่วยจะได้รับการติดตามผลหลังทำการปิดรูรั่วหัวใจเพื่อสังเกตอาการประมาณ 1 วัน หากไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆ สามารถกลับบ้านได้ในวันรุ่งขึ้น
2. ผู้ป่วยต้องนอนราบและห้ามงอขาข้างที่ใส่สายสวนอย่างน้อย 6-10 ชั่วโมง เพื่อป้องกันภาวะเลือดออก หรือมีก้อนเลือดใต้ผิวหนังบริเวณแผลใส่สายสวน
3. หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ เวียนศีรษะ มีไข้ มีเลือดออก หรือคลำพบก้อนเลือดใต้ผิวหนังบริเวณแผลที่ใส่สายสวน ควรแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบทันที
4. ภายหลังทำการใส่สายสวนประมาณ 1-2 ชั่วโมง หากไม่มีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารอ่อนได้ และควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยขับสารทึบรังสีออกทางปัสสาวะ
5. ผู้ป่วยจะได้รับยาปฏิชีวนะชนิดฉีดทางหลอดเลือดดำ 1 วัน ขณะอยู่โรงพยาบาล หรือยาแก้ปวดเมื่อมีอาการปวด
6. แพทย์จะเข้าตรวจเยี่ยมอาการผู้ป่วยในวันรุ่งขึ้น ทำแผลบริเวณที่ใส่สายสวนหัวใจและตรวจดูตำแหน่งของอุปกรณ์พิเศษอีกครั้งด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านผนังทรวงอก (Echocardiogram) หากไม่พบอาการผิดปกติใดๆ แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้
7. แพทย์และพยาบาลจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการรักษา และคำแนะนำต่างๆ ในการปฏิบัติตัวภายหลังการรักษา
การปฏิบัติตัวหลังทำการรักษาผ่านทางสายสวนเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
1. ผู้ป่วยที่ได้รับการใส่อุปกรณ์พิเศษเพื่อปิดผนังกั้นหัวใจรวมถึงขดลวด ต้องรับประทานยา Aspirin อย่างน้อย 6 เดือน หากมีความจำเป็นต้องหยุดยาควรติดต่อแพทย์ผู้ทำการรักษาก่อนทุกครั้ง ควรรับประทานยาให้ครบและต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์
2. ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ผู้ป่วยเด็กสามารถไปโรงเรียนได้ แต่ในระยะ 1-2 วันแรกไม่ควรเดินบ่อย และไม่ควรให้แผลถูกน้ำ ให้สังเกตบริเวณแผลหากพบอาการผิดปกติ เช่น แผลบวมแดง มีก้อนใต้ผิวหนังและกดเจ็บ มีหนองหรือน้ำเหลืองออกจากแผล มีไข้ ควรรีบมาพบแพทย์ทันที
3. แพทย์จะนัดผู้ป่วยเพื่อติดตามผลการรักษาภายใน 2-4 สัปดาห์ ควรมาตรวจให้ตรงตามเวลาที่แพทย์นัดหมายอย่างต่อเนื่อง
4. ควรดูแลสุขภาพในช่องปากและฟันเพื่อป้องกันฟันผุ หากฟันผุควรรีบปรึกษาทันตแพทย์ก่อนทำการรักษา โดยต้องรับประทานยาปฏิชีวนะตามดุลยพินิจของแพทย์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน รวมไปถึงการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจและผนังหัวใจ
5. ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่หากมีโรคอื่นๆ ร่วมด้วยควรงดอาหารที่จำกัดเฉพาะโรค
6. ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้ตามปกติแต่ไม่ควรหักโหมจนเกินไป ผู้ป่วยที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้หลังปิดรูรั่วหัวใจประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาเพื่อความปลอดภัย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C
โรคหัวใจแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease)
เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจในช่วงขั้นตอนการสร้างอวัยวะขณะตั้งครรภ์ของมารดา ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 1 ของทารกแรกเกิด และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อาการที่พบของโรคกลุ่มนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยบางรายอาจไม่แสดงอาการผิดปกติ บางรายมีอาการเหนื่อยหอบเนื่องจากหัวใจต้องทำงานหนักขึ้น หรือบางรายมีอาการตัวเขียว บางกลุ่มโรคผู้ป่วยอาจมีอาการดีขึ้นเอง แต่ในบางรายยังต้องได้รับการรักษาด้วยยาเพื่อช่วยให้อาการดีขึ้น ซึ่งไม่ได้เป็นการแก้ไขความผิดปกติของโรคที่มีอยู่ การรักษาในผู้ป่วยกลุ่มโรคนี้ ได้แก่ การผ่าตัดเพื่อแก้ความผิดปกติ และการรักษาผ่านทางสายสวน สามารถรักษาโดยการใส่อุปกรณ์พิเศษเพื่อปิดรูรั่ว บอลลูน เพื่อขยายลิ้นหัวใจและหลอดเลือดที่ตีบ และใส่ขดลวดเพื่อขยายส่วนที่ตีบได้
การรักษาโรคหัวใจแต่กำเนิด โดยการสวนหัวใจ (Transcatheter Intervention)
เป็นการรักษาโดยใช้สายสวนหัวใจ ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร ใส่เข้าไปในเส้นเลือด โดยทั่วไปมักใช้เส้นเลือดบริเวณขาหนีบ แล้วค่อยๆ ปล่อยสายสวนหัวใจผ่านไปตามเส้นเลือดจนปลายสายสวนเข้าไปถึงหัวใจ เพื่อทำการวัดความดันในตำแหน่งต่างๆ ของหัวใจ และดูดเลือดจากบริเวณต่างๆ ของหัวใจมาทำการตรวจวิเคราะห์
หลังจากนั้นจะทำการถ่ายภาพเอกซเรย์พร้อมฉีดสารทึบรังสีเพื่อแสดงความผิดปกติต่างๆ ในหัวใจ การรักษาทางสายสวนหัวใจสามารถทดแทนการผ่าตัดได้ โดยอัตราเสี่ยงและผลสำเร็จในการรักษาใกล้เคียงกับการผ่าตัด แต่ผู้ป่วยเจ็บแผลน้อยกว่า ไม่มีแผลผ่าตัด ระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาลและการพักฟื้นหลังการรักษาน้อยกว่า
ชนิดของโรคหัวใจแต่กำเนิดที่สามารถรักษาโดยการปิดรูรั่วโดยผ่านสายสวน
- โรคหัวใจที่มีรูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจด้านล่าง (Ventricular Septal Defect: VSD)
พบได้บ่อยที่สุดในบรรดาโรคหัวใจแต่กำเนิด เป็นผลจากการมีรูรั่วที่ผนังกั้นห้องหัวใจห้องล่าง ทำให้เลือดแดงจากหัวใจห้องล่างซ้ายผ่านรูรั่วไปยังหัวใจห้องล่างขวา และออกสู่หลอดเลือดแดงของปอด ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ไปสู่ปอดมากขึ้น รวมถึงปริมาณเลือดที่กลับเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้ายเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ทำให้หัวใจห้องซ้ายทำงานหนักขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจวายได้ โดยทั่วไปมักเกิดอาการหรือตรวจพบในช่วงอายุ 2-3 เดือนแรก ในรายที่มีรูรั่วขนาดเล็กมักไม่เกิดอาการ อาจตรวจพบแต่เสียงฟู่ของหัวใจ (Murmur)
- โรคหัวใจที่มีรูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจด้านบน (Atrial Septal Defect: ASD)
รูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจด้านบนเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดที่พบได้บ่อยเป็นอันดับที่ 2 ซึ่งพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย รูรั่วนี้ทำให้เกิดการไหลของเลือดจากซ้ายไปขวา (Left to Right Shunt) โดยเลือดแดงจากหัวใจห้องบนซ้ายไหลไปสู่หัวใจห้องบนขวา และลงสู่หัวใจห้องล่างขวาแล้วไปยังปอด ทำให้เลือดไปที่ปอดมากขึ้น มักตรวจพบโดยบังเอิญจากการฟังได้ยินเสียงฟู่ของหัวใจ ส่วนใหญ่จะยังไม่แสดงอาการจนกระทั่งเป็นเด็กโตหรือวัยรุ่น บางรายอาจแสดงอาการเมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว
รูปภาพแสดงการใช้อุปกรณ์ Amplatzer Septal Occluder ในการรักษาผู้ป่วย Atrial septal defect (ASD)
อุปกรณ์ทำด้วย Nitinol wire ซึ่งเป็นโลหะผสมชนิดพิเศษมีความคงทนและยืดหยุ่นอย่างมาก โดยอุปกรณ์เป็น
self centering device มีการปล่อย left และ right atrial disc เพื่อประกบรู ASD
- โรคหัวใจที่มีเส้นเลือดแดงเกินผิดปกติระหว่างปอดและหัวใจ (Patent Ductus Arteriosus: PDA)
โดยปกติหลอดเลือดแดงใหญ่จะปิดภายในอายุ 10 วัน แต่สำหรับผู้ที่มีความผิดปกติหลอดเลือดแดงดังกล่าวจะคงอยู่ เส้นเลือดแดงที่เกินมานี้จะเชื่อมระหว่างหลอดเลือดแดงใหญ่ของร่างกายและปอด เลือดแดงส่วนหนึ่งจากหลอดเลือดแดงใหญ่ของร่างกายจะไหลผ่านไปยังหลอดเลือดแดงของปอด ปริมาณเลือดที่ไปปอดจึงเพิ่มขึ้นและไหลกลับเข้าสู่หัวใจห้องซ้ายเพิ่มขึ้น ลักษณะคล้ายโรคหัวใจที่มีรูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจห้องล่าง
ชนิดของโรคหัวใจแต่กำเนิดที่สามารถรักษาโดยบอลลูนผ่านสายสวน
- โรคลิ้นหัวใจเส้นเลือดไปปอดตีบ (Pulmonic Valve Stenosis)
เนื่องจากผู้ป่วยมีลิ้นหัวใจตีบ ทำให้หัวใจห้องล่างขวาซึ่งทำหน้าที่บีบเลือดไปฟอกที่ปอดต้องทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้มีหัวใจโตได้ ผู้ป่วยมักมีความผิดปกติตั้งแต่เกิด แต่อาจตรวจพบเสียงหัวใจฟู่ (Heart Murmur) ได้ในภายหลัง ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ แต่บางรายอาจจะมีอาการหน้ามืด เป็นลม หรือเจ็บหน้าอกได้ การรักษาโดยการใช้บอลลูนเพื่อขยายลิ้นหัวใจได้ผลดีมากเทียบเท่ากับการผ่าตัด
- โรคลิ้นหัวใจเส้นเลือดไปร่างกายตีบ (Aortic Valve Stenosis)
ลิ้นหัวใจถือได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นลิ้นของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงร่างกาย ซึ่งคนปกติจะมีลิ้นหัวใจทั้งหมด 3 บาน แต่ผู้ป่วยอาจมีความผิดปกติจากการที่มีลิ้นหัวใจเพียงแค่ 2 บาน หรือลิ้นหัวใจมีการผิดรูปตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์ สามารถพบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก หน้ามืด เป็นลม บางครั้งอาจมีอาการรุนแรงได้ การรักษาโดยการสวนหัวใจได้ผลดีในเด็กและวัยรุ่นเท่านั้น
- โรคหลอดเลือดใหญ่เลี้ยงร่างกายตีบ (Coarctation of Aorta)
เส้นเลือดดังกล่าวจะเกิดความผิดปกติตั้งแต่ในครรภ์ บางรายที่มีอาการมากอาจตรวจพบตั้งแต่เป็นทารก เช่น มีอาการของภาวะหัวใจวาย แต่บางรายอาจพบเมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว โดยตรวจพบจากเสียงหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตสูงในคนอายุน้อย การรักษาอาจทำได้โดยการใช้บอลลูนขยายหลอดเลือด ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดการตีบซ้ำได้ จึงจำเป็นต้องใส่ขดลวดขยายเส้นเลือดไว้
- โรคเส้นเลือดไปปอดตีบ (Pulmonary Artery Stenosis)
เส้นเลือดที่ไปปอดอาจเกิดการตีบได้ตั้งแต่ในครรภ์ หรืออาจเป็นผลหลังการผ่าตัดแก้ไขโรคหัวใจแต่กำเนิด การรักษาสามารถทำได้โดยการบอลลูนเส้นเลือดและการใส่ขดลวดขยายเส้นเลือด
การปฏิบัติตัวหลังทำการรักษาผ่านทางสายสวน ขณะพักในหอผู้ป่วยเฉพาะทางโรคหัวใจ
1. ผู้ป่วยจะได้รับการติดตามผลหลังทำการปิดรูรั่วหัวใจเพื่อสังเกตอาการประมาณ 1 วัน หากไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆ สามารถกลับบ้านได้ในวันรุ่งขึ้น
2. ผู้ป่วยต้องนอนราบและห้ามงอขาข้างที่ใส่สายสวนอย่างน้อย 6-10 ชั่วโมง เพื่อป้องกันภาวะเลือดออก หรือมีก้อนเลือดใต้ผิวหนังบริเวณแผลใส่สายสวน
3. หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ เวียนศีรษะ มีไข้ มีเลือดออก หรือคลำพบก้อนเลือดใต้ผิวหนังบริเวณแผลที่ใส่สายสวน ควรแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบทันที
4. ภายหลังทำการใส่สายสวนประมาณ 1-2 ชั่วโมง หากไม่มีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารอ่อนได้ และควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยขับสารทึบรังสีออกทางปัสสาวะ
5. ผู้ป่วยจะได้รับยาปฏิชีวนะชนิดฉีดทางหลอดเลือดดำ 1 วัน ขณะอยู่โรงพยาบาล หรือยาแก้ปวดเมื่อมีอาการปวด
6. แพทย์จะเข้าตรวจเยี่ยมอาการผู้ป่วยในวันรุ่งขึ้น ทำแผลบริเวณที่ใส่สายสวนหัวใจและตรวจดูตำแหน่งของอุปกรณ์พิเศษอีกครั้งด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านผนังทรวงอก (Echocardiogram) หากไม่พบอาการผิดปกติใดๆ แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้
7. แพทย์และพยาบาลจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการรักษา และคำแนะนำต่างๆ ในการปฏิบัติตัวภายหลังการรักษา
การปฏิบัติตัวหลังทำการรักษาผ่านทางสายสวนเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
1. ผู้ป่วยที่ได้รับการใส่อุปกรณ์พิเศษเพื่อปิดผนังกั้นหัวใจรวมถึงขดลวด ต้องรับประทานยา Aspirin อย่างน้อย 6 เดือน หากมีความจำเป็นต้องหยุดยาควรติดต่อแพทย์ผู้ทำการรักษาก่อนทุกครั้ง ควรรับประทานยาให้ครบและต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์
2. ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ผู้ป่วยเด็กสามารถไปโรงเรียนได้ แต่ในระยะ 1-2 วันแรกไม่ควรเดินบ่อย และไม่ควรให้แผลถูกน้ำ ให้สังเกตบริเวณแผลหากพบอาการผิดปกติ เช่น แผลบวมแดง มีก้อนใต้ผิวหนังและกดเจ็บ มีหนองหรือน้ำเหลืองออกจากแผล มีไข้ ควรรีบมาพบแพทย์ทันที
3. แพทย์จะนัดผู้ป่วยเพื่อติดตามผลการรักษาภายใน 2-4 สัปดาห์ ควรมาตรวจให้ตรงตามเวลาที่แพทย์นัดหมายอย่างต่อเนื่อง
4. ควรดูแลสุขภาพในช่องปากและฟันเพื่อป้องกันฟันผุ หากฟันผุควรรีบปรึกษาทันตแพทย์ก่อนทำการรักษา โดยต้องรับประทานยาปฏิชีวนะตามดุลยพินิจของแพทย์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน รวมไปถึงการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจและผนังหัวใจ
5. ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่หากมีโรคอื่นๆ ร่วมด้วยควรงดอาหารที่จำกัดเฉพาะโรค
6. ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้ตามปกติแต่ไม่ควรหักโหมจนเกินไป ผู้ป่วยที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้หลังปิดรูรั่วหัวใจประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาเพื่อความปลอดภัย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C