แผลเล็ก เจ็บน้อย การผ่าตัดข้อด้วยวิธีส่องกล้อง

   ในยุคที่เทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้า นวัตกรรมในการผ่าตัดก็เป็นสิ่งที่ทางการแพทย์จำเป็นต้องพัฒนาขึ้นมาเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ในยุคสมัยใหม่ ที่แพทย์ไม่จำเป็นต้องเปิดแผลยาวอีกต่อไป แต่สามารถที่จะตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคผ่านกล้องได้เลย ซึ่งในปัจจุบันวิธีนี้เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูงมาก ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับผู้ป่วยในการผ่าตัดรักษาโรค การผ่าตัดหลายอย่างก็มีการปรับเปลี่ยนเทคนิคจากการผ่าตัดแบบเปิดแผลมาเป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้อง หากเป็นการผ่าตัดภายในข้อด้วยวิธีการส่องกล้อง ทางการแพทย์จะเรียกว่า “arthroscopic surgery” ซึ่งในอดีต แพทย์ต้องใช้ตามองโครงสร้างภายในข้อ ผ่านกล้อง แต่ในปัจจุบันนั้นสามารถถ่ายทอดสัญญาณออกมาในจอภาพขนาดใหญ่ที่มีความคมชัดระดับ HD หรือ 4K กันเลยทีเดียว

   เทคนิคพื้นฐานการผ่าตัดข้อด้วยการส่องกล้องนั้น จะต้องมีแผลผ่าตัดขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร อย่างน้อย 2 แผล แผลหนึ่งจะเป็นทางเข้าสำหรับกล้องส่องข้อซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าด้ามปากกาลูกลื่นเล็กน้อย เพื่อใช้สำหรับดูภาพภายในข้อ และอีกแผลหนึ่งจะเป็นทางสำหรับใส่เครื่องมือต่าง ๆ เข้าไปทำหัตถการภายในข้อ โดยในการผ่าตัดนั้นจะต้องมีการใช้น้ำเกลือใส่เข้าไปในข้อเพื่อถ่างขยายเพิ่มปริมาตรของข้อ ทำให้มีพื้นที่ในการทำงานมากขึ้น และช่วยในการห้ามเลือด

   การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อรักษาพยาธิสภาพภายในข้อที่มีการพัฒนาต่อเนื่องกันมาเป็นเวลายาวนานก็จะเป็นการผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า และข้อไหล่ ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าในด้านเครื่องมือและวิธีการผ่าตัดทำให้แพทย์สามารถใช้การผ่าตัดส่องกล้องสำหรับข้อที่มีขนาดเล็กได้ เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า หัตถการที่ทำได้ด้วยการผ่าตัดส่องกล้องสามารถแบ่งกลุ่มได้เป็น การตัดแต่ง การซ่อมแซม และการสร้างขึ้นใหม่

 

 

    การตัดแต่งเนื้อเยื่อภายในข้อ เป็นหัตถการพื้นฐานที่มีการทำกันบ่อย เช่น การตัดแต่งกระดูกอ่อนผิวข้อที่มีการบาดเจ็บ การคีบเอาเศษชิ้นลอยที่ขัดอยู่ภายในข้อออก การตัดแต่งเยื่อหุ้มข้อที่มีการอักเสบในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบออกเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดข้อของผู้ป่วย และเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อการวินิจฉัยโรค ทำให้สามารถให้ยารักษาได้ตรงกับโรค

   การเย็บซ่อมเนื้อเยื่อ เช่น การเย็บซ่อมหมอนรองข้อเข่าที่มีการฉีกขาดจากอุบัติเหตุ การรักษาปัญหาข้อไหล่เคลื่อนหลุดซ้ำซาก ซึ่งมีการฉีกขาดของกระดูกอ่อนขอบเบ้าข้อไหล่ ทำให้ข้อไหล่เสียความมั่นคง การผ่าตัดส่องกล้องก็สามารถใช้อุปกรณ์พิเศษที่สามารถไปเย็บซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่มีการบาดเจ็บนี้ได้

   การสร้างเส้นเอ็นใหม่ทดแทนเส้นเอ็นที่มีการฉีกขาดไป เส้นเอ็นที่พบการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาได้บ่อย คือ เอ็นไขว้หน้าของข้อเข่า ซึ่งเมื่อเกิดการบาดเจ็บขึ้นแล้วจะทำให้นักกีฬามีปัญหากับกิจกรรมซึ่งต้องมีการเคลื่อนที่ บิดหมุนตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการเข่าทรุด หรือรู้สึกเหมือนข้อเข่าเคลื่อน หลักการผ่าตัดคือ การยืมเอาเอ็นส่วนอื่นของร่างกายมายึดตรึงภายในข้อเข่าทดแทนเส้นเอ็นไขว้หน้าที่มีการฉีกขาดไป ทำให้ข้อเข่ากลับมามีความมั่นคงในระหว่างการทำกิจกรรมต่าง ๆ และกลับมาเล่นกีฬาได้

   เนื่องจากการผ่าตัดส่องกล้องต้องใช้น้ำเกลือในการถ่างขยายข้อต่อ หลังการผ่าตัดอาจพบการบวมของข้อและเนื้อเยื่อข้างเคียงได้บ้าง ซึ่งจะยุบลงด้วยเวลาไม่นานนัก ในภาพรวมนั้นการผ่าตัดส่องกล้องนั้นเป็นการผ่าตัดที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด ทำให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว

ข้อมูลจาก : รศ. นพ.พิสิฏฐ์  เลิศวานิช

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A และ ศูนย์ศัลยกรรม ชั้น 2 โซน E

   ในยุคที่เทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้า นวัตกรรมในการผ่าตัดก็เป็นสิ่งที่ทางการแพทย์จำเป็นต้องพัฒนาขึ้นมาเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ในยุคสมัยใหม่ ที่แพทย์ไม่จำเป็นต้องเปิดแผลยาวอีกต่อไป แต่สามารถที่จะตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคผ่านกล้องได้เลย ซึ่งในปัจจุบันวิธีนี้เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูงมาก ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับผู้ป่วยในการผ่าตัดรักษาโรค การผ่าตัดหลายอย่างก็มีการปรับเปลี่ยนเทคนิคจากการผ่าตัดแบบเปิดแผลมาเป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้อง หากเป็นการผ่าตัดภายในข้อด้วยวิธีการส่องกล้อง ทางการแพทย์จะเรียกว่า “arthroscopic surgery” ซึ่งในอดีต แพทย์ต้องใช้ตามองโครงสร้างภายในข้อ ผ่านกล้อง แต่ในปัจจุบันนั้นสามารถถ่ายทอดสัญญาณออกมาในจอภาพขนาดใหญ่ที่มีความคมชัดระดับ HD หรือ 4K กันเลยทีเดียว

   เทคนิคพื้นฐานการผ่าตัดข้อด้วยการส่องกล้องนั้น จะต้องมีแผลผ่าตัดขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร อย่างน้อย 2 แผล แผลหนึ่งจะเป็นทางเข้าสำหรับกล้องส่องข้อซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าด้ามปากกาลูกลื่นเล็กน้อย เพื่อใช้สำหรับดูภาพภายในข้อ และอีกแผลหนึ่งจะเป็นทางสำหรับใส่เครื่องมือต่าง ๆ เข้าไปทำหัตถการภายในข้อ โดยในการผ่าตัดนั้นจะต้องมีการใช้น้ำเกลือใส่เข้าไปในข้อเพื่อถ่างขยายเพิ่มปริมาตรของข้อ ทำให้มีพื้นที่ในการทำงานมากขึ้น และช่วยในการห้ามเลือด

   การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อรักษาพยาธิสภาพภายในข้อที่มีการพัฒนาต่อเนื่องกันมาเป็นเวลายาวนานก็จะเป็นการผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า และข้อไหล่ ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าในด้านเครื่องมือและวิธีการผ่าตัดทำให้แพทย์สามารถใช้การผ่าตัดส่องกล้องสำหรับข้อที่มีขนาดเล็กได้ เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า หัตถการที่ทำได้ด้วยการผ่าตัดส่องกล้องสามารถแบ่งกลุ่มได้เป็น การตัดแต่ง การซ่อมแซม และการสร้างขึ้นใหม่

    การตัดแต่งเนื้อเยื่อภายในข้อ เป็นหัตถการพื้นฐานที่มีการทำกันบ่อย เช่น การตัดแต่งกระดูกอ่อนผิวข้อที่มีการบาดเจ็บ การคีบเอาเศษชิ้นลอยที่ขัดอยู่ภายในข้อออก การตัดแต่งเยื่อหุ้มข้อที่มีการอักเสบในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบออกเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดข้อของผู้ป่วย และเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อการวินิจฉัยโรค ทำให้สามารถให้ยารักษาได้ตรงกับโรค

   การเย็บซ่อมเนื้อเยื่อ เช่น การเย็บซ่อมหมอนรองข้อเข่าที่มีการฉีกขาดจากอุบัติเหตุ การรักษาปัญหาข้อไหล่เคลื่อนหลุดซ้ำซาก ซึ่งมีการฉีกขาดของกระดูกอ่อนขอบเบ้าข้อไหล่ ทำให้ข้อไหล่เสียความมั่นคง การผ่าตัดส่องกล้องก็สามารถใช้อุปกรณ์พิเศษที่สามารถไปเย็บซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่มีการบาดเจ็บนี้ได้

   การสร้างเส้นเอ็นใหม่ทดแทนเส้นเอ็นที่มีการฉีกขาดไป เส้นเอ็นที่พบการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาได้บ่อย คือ เอ็นไขว้หน้าของข้อเข่า ซึ่งเมื่อเกิดการบาดเจ็บขึ้นแล้วจะทำให้นักกีฬามีปัญหากับกิจกรรมซึ่งต้องมีการเคลื่อนที่ บิดหมุนตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการเข่าทรุด หรือรู้สึกเหมือนข้อเข่าเคลื่อน หลักการผ่าตัดคือ การยืมเอาเอ็นส่วนอื่นของร่างกายมายึดตรึงภายในข้อเข่าทดแทนเส้นเอ็นไขว้หน้าที่มีการฉีกขาดไป ทำให้ข้อเข่ากลับมามีความมั่นคงในระหว่างการทำกิจกรรมต่าง ๆ และกลับมาเล่นกีฬาได้

   เนื่องจากการผ่าตัดส่องกล้องต้องใช้น้ำเกลือในการถ่างขยายข้อต่อ หลังการผ่าตัดอาจพบการบวมของข้อและเนื้อเยื่อข้างเคียงได้บ้าง ซึ่งจะยุบลงด้วยเวลาไม่นานนัก ในภาพรวมนั้นการผ่าตัดส่องกล้องนั้นเป็นการผ่าตัดที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด ทำให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว

ข้อมูลจาก : รศ. นพ.พิสิฏฐ์  เลิศวานิช

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A และ ศูนย์ศัลยกรรม ชั้น 2 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง