ข้อไหล่ติด ขยับไม่ได้

สาเหตุของข้อไหล่ติด

เกิดจากการที่ถุงหุ้มข้อไหล่ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆข้อไหล่ เกิดการอักเสบ การติดยึด และการสร้างแถบเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ทำให้ข้อไหล่ขยับได้น้อยลงและมีอาการปวด หรือเกิดจากสาเหตุภายในข้อไหล่ เช่น เอ็นฉีกขาด กระดูกงอกภายในข้อไหล่ เป็นต้น

อาการข้อไหล่ติด

เกิดอาการปวดเจ็บตื้อๆ โดยอาการปวดจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว อาการที่เด่นชัดคือไม่สามารถขยับข้อไหล่ได้ มีอาการปวดเวลานอนทับ หรือในเวลากลางคืน อาการของโรคข้อไหล่ติดมี 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 ระยะเจ็บปวด อาการเจ็บปวดจะค่อยๆเพิ่มขึ้น อาจมีอาการปวดแม้ไม่ได้ทำกิจกรรม ระยะนี้มักปวดนาน 6 สัปดาห์ - 9 เดือน มุมการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลง

ระยะที่ 2 ระยะข้อยึด อาการปวดระยะแรกยังคงอยู่ แต่จะอาการปวดลดลง การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลงอย่างชัดเจน   โดยทั่วไประยะนี้อาจนาน 4 - 9 เดือน หรืออาจนานกว่านี้ก็ได้

ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว อาการปวดจะลดลง และการเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะค่อยๆ ดีขึ้นในช่วง 5 เดือน - 2 ปี

ท่าออกกำลังกายข้อไหล่ติด

 

 

 

1. ท่านิ้วไต่กำแพง

ยืนหันหน้าเข้าผนัง เอาฝ่ามือวางที่ผนังแล้วใช้นิ้วไต่ผนังขึ้นไปเรื่อยๆ ให้สูงที่สุดเท่าที่จะทนปวดได้ ทำซ้ำ 10 ครั้ง และทำเครื่องหมายไว้ วันต่อมาพยายามทำให้สูงกว่าเดิม โดยพยายามอย่าเขย่งหรือเอียงตัว จากนั้นให้ทำท่าเดียวกัน โดยให้ยืนหันลำตัวเข้ากำแพง

 

 

 

 

 

2. ท่าหมุนข้อไหล่

ยืนก้มลงเล็กน้อย (อาจใช้มืออีกข้างจับโต๊ะเพื่อพยุงตัว) แล้วปล่อยแขนข้างที่มีไหล่ติดห้อยลงตรงๆ ค่อยๆหมุนแขนเป็นวงกลมทำช้าๆ ทำซ้ำ 10 ครั้ง

 

 

 

 

 

 

3. ผ้าถูหลัง
ใช้มือจับผ้าทางด้านหลัง โดยใช้มือข้างหนึ่งอยู่ด้านล่าง และอีกข้างอยู่ด้านบน
ใช้มือที่อยู่ด้านบน ดึงผ้าขึ้นให้ได้มากที่สุด ค้างไว้นับ 1-10 ทำ 10 ครั้ง

 

 

 

 

 

4. ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื่อไหล่และสะบัก

นอนตะแคงเอาข้างไหล่ติดขึ้น ถือน้ำหนักเท่าที่สามารถทำได้ยกน้ำหนักขึ้นลงดังรูปโดยเริ่มจากพื้นจนขนานกับพื้น เวลายกขึ้นลงให้ทำช้าๆ 10 ครั้ง

 

การดูแลตนเองเบื้องต้น

 

1. ลดการใช้แขน ไหล่ข้างนั้น โดยพยายามไม่ให้มีการกระตุ้นให้เกิดอาการปวดจากการใช้งาน และหลีกเลี่ยงการใช้งานแขนและไหล่ที่ไม่เหมาะสมที่เป็นสาเหตุให้มีอาการปวดมากขึ้น

 

2. ทำกายภาพบำบัดอย่างง่ายด้วยตนเอง เช่น ประคบเย็นด้วยถุงน้ำแข็งผสมน้ำในอัตราส่วนอย่างละครึ่งหนึ่งเป็นระยะเวลาประมาณ 15 - 20 นาที เมื่อมีอาการปวดและบวม หากมีอาการปวดบวมมาก อาจจะทำการประคบทุกวันในสัปดาห์แรก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 3 โซน C

สาเหตุของข้อไหล่ติด

เกิดจากการที่ถุงหุ้มข้อไหล่ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆข้อไหล่ เกิดการอักเสบ การติดยึด และการสร้างแถบเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ทำให้ข้อไหล่ขยับได้น้อยลงและมีอาการปวด หรือเกิดจากสาเหตุภายในข้อไหล่ เช่น เอ็นฉีกขาด กระดูกงอกภายในข้อไหล่ เป็นต้น

อาการข้อไหล่ติด

เกิดอาการปวดเจ็บตื้อๆ โดยอาการปวดจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว อาการที่เด่นชัดคือไม่สามารถขยับข้อไหล่ได้ มีอาการปวดเวลานอนทับ หรือในเวลากลางคืน อาการของโรคข้อไหล่ติดมี 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 ระยะเจ็บปวด อาการเจ็บปวดจะค่อยๆเพิ่มขึ้น อาจมีอาการปวดแม้ไม่ได้ทำกิจกรรม ระยะนี้มักปวดนาน 6 สัปดาห์ - 9 เดือน มุมการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลง

ระยะที่ 2 ระยะข้อยึด อาการปวดระยะแรกยังคงอยู่ แต่จะอาการปวดลดลง การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลงอย่างชัดเจน   โดยทั่วไประยะนี้อาจนาน 4 - 9 เดือน หรืออาจนานกว่านี้ก็ได้

ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว อาการปวดจะลดลง และการเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะค่อยๆ ดีขึ้นในช่วง 5 เดือน - 2 ปี

ท่าออกกำลังกายข้อไหล่ติด

 

1. ท่านิ้วไต่กำแพง

ยืนหันหน้าเข้าผนัง เอาฝ่ามือวางที่ผนังแล้วใช้นิ้วไต่ผนังขึ้นไปเรื่อยๆ ให้สูงที่สุดเท่าที่จะทนปวดได้ ทำซ้ำ 10 ครั้ง
และทำเครื่องหมายไว้ วันต่อมาพยายามทำให้สูงกว่าเดิม โดยพยายามอย่าเขย่งหรือเอียงตัว
จากนั้นให้ทำท่าเดียวกัน โดยให้ยืนหันลำตัวเข้ากำแพง

 

 

2. ท่าหมุนข้อไหล่

ยืนก้มลงเล็กน้อย (อาจใช้มืออีกข้างจับโต๊ะเพื่อพยุงตัว) แล้วปล่อยแขนข้างที่มีไหล่ติดห้อยลงตรงๆ
ค่อยๆหมุนแขนเป็นวงกลมทำช้าๆ ทำซ้ำ 10 ครั้ง

 

3. ผ้าถูหลัง
ใช้มือจับผ้าทางด้านหลัง โดยใช้มือข้างหนึ่งอยู่ด้านล่าง และอีกข้างอยู่ด้านบน
ใช้มือที่อยู่ด้านบน ดึงผ้าขึ้นให้ได้มากที่สุด ค้างไว้นับ 1-10 ทำ 10 ครั้ง

 

4. ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื่อไหล่และสะบัก

นอนตะแคงเอาข้างไหล่ติดขึ้น ถือน้ำหนักเท่าที่สามารถทำได้ยกน้ำหนักขึ้นลงดังรูปโดยเริ่มจากพื้นจนขนานกับพื้น
เวลายกขึ้นลงให้ทำช้าๆ 10 ครั้ง

 

 

การดูแลตนเองเบื้องต้น

1. ลดการใช้แขน ไหล่ข้างนั้น โดยพยายามไม่ให้มีการกระตุ้นให้เกิดอาการปวดจากการใช้งาน และหลีกเลี่ยงการใช้งานแขนและไหล่ที่ไม่เหมาะสมที่เป็นสาเหตุให้มีอาการปวดมากขึ้น

2. ทำกายภาพบำบัดอย่างง่ายด้วยตนเอง เช่น ประคบเย็นด้วยถุงน้ำแข็งผสมน้ำในอัตราส่วนอย่างละครึ่งหนึ่งเป็นระยะเวลาประมาณ 15 - 20 นาที เมื่อมีอาการปวดและบวม หากมีอาการปวดบวมมาก อาจจะทำการประคบทุกวันในสัปดาห์แรก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 3 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง