ผงชูรสทานอย่างไรให้เหมาะสม

คุณอาจเคยสงสัยว่าผงชูรสที่อยู่ในอาหารนั้นสามารถรับประทานได้มากน้อยแค่ไหน วันนี้นักกำหนดอาหารได้หาคำตอบมาให้

ทานผงชูรสอย่างไร เสี่ยงอันตราย?

แม้ว่าจะได้รับการยืนยันว่า ผงชูรสผลิตมาจากวัตถุดิบธรรมชาติ ดังนั้นจึงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเรา แต่หากรับประทานผงชูรสมากเกินไป ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมมากเกินไป ส่งผลต่อความดันโลหิตที่สูงขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและโรคไตเรื้อรัง นอกจากนี้ การรับประทานผงชูรสมากเกินไป อาจเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ เช่น เกิดอาการลิ้นชา ปากแห้ง คอแห้ง กระหายน้ำ หรืออาจมีอาการแพ้ผงชูรส หรือโรคภัตตาคารจีน (Chinese Restaurant Syndrome หรือ CRS) ที่ ทำให้รู้สึกชาที่ปาก ลิ้น ปวดกล้ามเนื้อบริเวณโหนกแก้ม ต้นคอ หน้าอก หัวใจเต้นช้าลง หายใจไม่สะดวก ปวดท้องคลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ ส่วนผู้ที่แพ้ผงชูรสมาก ๆ จะเกิดอาการชาบริเวณใบหน้า หู วิงเวียน หัวใจเต้นเร็ว จนอาจเป็นอัมพาตตามแขนขาชนิดชั่วคราวได้ แต่อาการเหล่านี้จะหายเองภายในเวลา 2 ชั่วโมง รวมถึงไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ อีก โดยเฉพาะหญิงมีครรภ์ไม่ควรกินผงชูรสเด็ดขาด เพราะอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ สำหรับทารกแรกเกิดถึง 3 เดือนนั้น หากได้กินผงชูรสเข้าไปจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสมองในเด็กวัยนี้อีกด้วย

ทานผงชูรสอย่างไรให้ปลอดภัย

หากต้องการรับประทานผงชูรสให้ปลอดภัย แนะนำให้ปรุงประกอบอาหารเอง เนื่องจากเราสามารถกำหนดและควบคุมปริมาณผงชูรสได้ โดยปริมาณผงชูรสที่รับประทานได้ ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคไตเรื้อรัง คือ ปริมาณ 1 ช้อนชาต่อมื้อ โดยไม่ใส่เครื่องปรุงอื่นๆเพิ่ม การปรุงอาหารประเภทน้ำซุป ควรใช้น้ำต้มกระดูกในการต้มทำน้ำสต็อกแทนการใส่ผงชูรสมากๆ แต่หากไม่สามารถปรุงประกอบอาหารได้เอง จำเป็นต้องทานอาหารนอกบ้าน แนะนำให้เลือกรับประทานอาหารจากร้านที่ไม่มีการใช้ผงชูรส หรือสามารถแจ้งความประสงค์ได้ว่า ไม่ใส่ผงชูรส แต่หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงอาหารที่มีผงชูรสได้จริงๆ แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสชาติจัดจ้าน เช่น พวกอาหารปิ้งย่าง ยำ ส้มตำ ต้มยำ แกงที่มีเครื่องแกง อาหารที่ทานคู่กับน้ำจิ้ม เนื่องจากอาหารเหล่านี้มักใส่ผงชูรสและเครื่องปรุงอื่นๆ ในปริมาณมาก เกินจากคำแนะนำ

นักกำหนดอาหารแนะนำให้หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำในอาหาร เช่น น้ำซุป น้ำยำ น้ำราด น้ำจิ้ม เนื่องจากโซเดียมในผงชูรสและเครื่องปรุงอื่นๆ ละลายได้ในน้ำ ดังนั้นการรับประทานน้ำในอาหารลดลง ก็จะช่วยให้ร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมน้อยลงได้ หากไม่ทานผงชูรสมากเกินไป เราก็จะสามารถลิ้มรสชาติอร่อยกลมกล่อมจากการทานอาหารใส่ผงชูรสได้อย่างปลอดภัย

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร

คุณอาจเคยสงสัยว่าผงชูรสที่อยู่ในอาหารนั้นสามารถรับประทานได้มากน้อยแค่ไหน วันนี้นักกำหนดอาหารได้หาคำตอบมาให้

ทานผงชูรสอย่างไร เสี่ยงอันตราย?

แม้ว่าจะได้รับการยืนยันว่า ผงชูรสผลิตมาจากวัตถุดิบธรรมชาติ ดังนั้นจึงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเรา แต่หากรับประทานผงชูรสมากเกินไป ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมมากเกินไป ส่งผลต่อความดันโลหิตที่สูงขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและโรคไตเรื้อรัง นอกจากนี้ การรับประทานผงชูรสมากเกินไป อาจเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ เช่น เกิดอาการลิ้นชา ปากแห้ง คอแห้ง กระหายน้ำ หรืออาจมีอาการแพ้ผงชูรส หรือโรคภัตตาคารจีน (Chinese Restaurant Syndrome หรือ CRS) ที่ ทำให้รู้สึกชาที่ปาก ลิ้น ปวดกล้ามเนื้อบริเวณโหนกแก้ม ต้นคอ หน้าอก หัวใจเต้นช้าลง หายใจไม่สะดวก ปวดท้องคลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ ส่วนผู้ที่แพ้ผงชูรสมาก ๆ จะเกิดอาการชาบริเวณใบหน้า หู วิงเวียน หัวใจเต้นเร็ว จนอาจเป็นอัมพาตตามแขนขาชนิดชั่วคราวได้ แต่อาการเหล่านี้จะหายเองภายในเวลา 2 ชั่วโมง รวมถึงไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ อีก โดยเฉพาะหญิงมีครรภ์ไม่ควรกินผงชูรสเด็ดขาด เพราะอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ สำหรับทารกแรกเกิดถึง 3 เดือนนั้น หากได้กินผงชูรสเข้าไปจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสมองในเด็กวัยนี้อีกด้วย

ทานผงชูรสอย่างไรให้ปลอดภัย

หากต้องการรับประทานผงชูรสให้ปลอดภัย แนะนำให้ปรุงประกอบอาหารเอง เนื่องจากเราสามารถกำหนดและควบคุมปริมาณผงชูรสได้ โดยปริมาณผงชูรสที่รับประทานได้ ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคไตเรื้อรัง คือ ปริมาณ 1 ช้อนชาต่อมื้อ โดยไม่ใส่เครื่องปรุงอื่นๆเพิ่ม การปรุงอาหารประเภทน้ำซุป ควรใช้น้ำต้มกระดูกในการต้มทำน้ำสต็อกแทนการใส่ผงชูรสมากๆ แต่หากไม่สามารถปรุงประกอบอาหารได้เอง จำเป็นต้องทานอาหารนอกบ้าน แนะนำให้เลือกรับประทานอาหารจากร้านที่ไม่มีการใช้ผงชูรส หรือสามารถแจ้งความประสงค์ได้ว่า ไม่ใส่ผงชูรส แต่หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงอาหารที่มีผงชูรสได้จริงๆ แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสชาติจัดจ้าน เช่น พวกอาหารปิ้งย่าง ยำ ส้มตำ ต้มยำ แกงที่มีเครื่องแกง อาหารที่ทานคู่กับน้ำจิ้ม เนื่องจากอาหารเหล่านี้มักใส่ผงชูรสและเครื่องปรุงอื่นๆ ในปริมาณมาก เกินจากคำแนะนำ

นักกำหนดอาหารแนะนำให้หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำในอาหาร เช่น น้ำซุป น้ำยำ น้ำราด น้ำจิ้ม เนื่องจากโซเดียมในผงชูรสและเครื่องปรุงอื่นๆ ละลายได้ในน้ำ ดังนั้นการรับประทานน้ำในอาหารลดลง ก็จะช่วยให้ร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมน้อยลงได้ หากไม่ทานผงชูรสมากเกินไป เราก็จะสามารถลิ้มรสชาติอร่อยกลมกล่อมจากการทานอาหารใส่ผงชูรสได้อย่างปลอดภัย

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง