การผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์
ต่อมอะดีนอยด์ (Adenoid)
เป็นต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ในส่วนหลังของโพรงจมูก มีโครงสร้างภายในใกล้เคียงกับต่อมทอนซิล (Tonsils) มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรคและผลิตเซลล์สร้างภูมิคุ้มกันในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ต่อมอะดีนอยด์มีความสำคัญมากสำหรับเด็กในช่วงวัย 1-10 ปี และจะทำหน้าที่น้อยลงเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น หลังจากนั้นจะลดขนาดลงและไม่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์ (Adenoid)
ต่อมอะดีนอยด์จะมีขนาดโต หรือมีการอักเสบเรื้อรังในผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง หูชั้นกลางอักเสบ โรคหวัด หรือเป็นหวัดบ่อยๆ เนื่องจากมีการอักเสบและระคายเคืองของโพรงหลังจมูก ทำให้ผู้ป่วยมีน้ำมูก ไอ มีเสมหะลงคอ ซึ่งมีอาการเรื้อรังหรือเป็นๆ หายๆ หรือมีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดอาการนอนกรนและเกิดภาวะแทรกซ้อนของการอุดกั้นทางเดินหายใจต่อระบบอื่นๆ ของร่างกาย ทำให้รบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ปกครอง
การผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์
- ผู้ป่วยควรมีร่างกายแข็งแรงก่อนได้รับการผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์ คือ ไม่เป็นหวัด หรือมีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน และพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- ผู้ป่วยที่รับประทานยาบางชนิด เช่น แอสไพริน (Aspirin) หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด แพทย์อาจสั่งให้หยุดยาก่อนทำการผ่าตัดเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน
- ผู้ป่วยต้องงดน้ำและอาหารก่อนผ่าตัด 6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักอาหารลงปอดขณะดมยาสลบ
- แพทย์จะใส่เครื่องมือทางช่องปากและช่องจมูก โดยไม่มีแผลภายนอก
- ผู้ป่วยจะได้รับยาฆ่าเชื้อ ยาแก้ปวด ยาหยอดจมูกเพื่อหยุดเลือด และยาบ้วนปาก
- ผู้ป่วยควรรักษาความสะอาดของแผลผ่าตัดอย่างเคร่งครัด
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์
1. หลังการผ่าตัดจะมีแผลที่หลังโพรงจมูก อาจมีอาการเจ็บข้างในคอ หรือมีน้ำลาย น้ำมูกปนเลือดเล็กน้อย
2. หลังการผ่าตัด 1-2 วัน ควรหลีกเลี่ยงการไอ จามแรงๆ การออกแรงมาก และยกของหนัก เพราะอาจทำให้มีเลือดออกได้
3. หากเลือดออกให้ประคบเย็นที่ลำคอและหน้าผาก นอนพักโดยยกศีรษะให้สูงร่วมกับอมน้ำแข็งประมาณ 10 นาทีสลับกับประคบเย็น หากเลือดออกไม่หยุดควรรีบมาพบแพทย์ ซึ่งแผลผ่าตัดจะหายสนิทภายใน 3 สัปดาห์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์หู คอ จมูก ชั้น 3 โซน D
ต่อมอะดีนอยด์ (Adenoid)
เป็นต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ในส่วนหลังของโพรงจมูก มีโครงสร้างภายในใกล้เคียงกับต่อมทอนซิล (Tonsils) มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรคและผลิตเซลล์สร้างภูมิคุ้มกันในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ต่อมอะดีนอยด์มีความสำคัญมากสำหรับเด็กในช่วงวัย 1-10 ปี และจะทำหน้าที่น้อยลงเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น หลังจากนั้นจะลดขนาดลงและไม่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์ (Adenoid)
ต่อมอะดีนอยด์จะมีขนาดโต หรือมีการอักเสบเรื้อรังในผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง หูชั้นกลางอักเสบ โรคหวัด หรือเป็นหวัดบ่อยๆ เนื่องจากมีการอักเสบและระคายเคืองของโพรงหลังจมูก ทำให้ผู้ป่วยมีน้ำมูก ไอ มีเสมหะลงคอ ซึ่งมีอาการเรื้อรังหรือเป็นๆ หายๆ หรือมีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดอาการนอนกรนและเกิดภาวะแทรกซ้อนของการอุดกั้นทางเดินหายใจต่อระบบอื่นๆ ของร่างกาย ทำให้รบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ปกครอง
การผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์
- ผู้ป่วยควรมีร่างกายแข็งแรงก่อนได้รับการผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์ คือ ไม่เป็นหวัด หรือมีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน และพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- ผู้ป่วยที่รับประทานยาบางชนิด เช่น แอสไพริน (Aspirin) หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด แพทย์อาจสั่งให้หยุดยาก่อนทำการผ่าตัดเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน
- ผู้ป่วยต้องงดน้ำและอาหารก่อนผ่าตัด 6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักอาหารลงปอดขณะดมยาสลบ
- แพทย์จะใส่เครื่องมือทางช่องปากและช่องจมูก โดยไม่มีแผลภายนอก
- ผู้ป่วยจะได้รับยาฆ่าเชื้อ ยาแก้ปวด ยาหยอดจมูกเพื่อหยุดเลือด และยาบ้วนปาก
- ผู้ป่วยควรรักษาความสะอาดของแผลผ่าตัดอย่างเคร่งครัด
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์
1. หลังการผ่าตัดจะมีแผลที่หลังโพรงจมูก อาจมีอาการเจ็บข้างในคอ หรือมีน้ำลาย น้ำมูกปนเลือดเล็กน้อย
2. หลังการผ่าตัด 1-2 วัน ควรหลีกเลี่ยงการไอ จามแรงๆ การออกแรงมาก และยกของหนัก เพราะอาจทำให้มีเลือดออกได้
3. หากเลือดออกให้ประคบเย็นที่ลำคอและหน้าผาก นอนพักโดยยกศีรษะให้สูงร่วมกับอมน้ำแข็งประมาณ 10 นาทีสลับกับประคบเย็น หากเลือดออกไม่หยุดควรรีบมาพบแพทย์ ซึ่งแผลผ่าตัดจะหายสนิทภายใน 3 สัปดาห์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์หู คอ จมูก ชั้น 3 โซน D