การตรวจลานสายตา ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

 

Thermage นวัตกรรมยกกระชับผิวโดยไม่ต้องผ่าตัด โดย ศ.นพ.วรพงษ์ มนัสเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศูนย์ผิวหนัง โรงพยาาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

 

ลานสายตา คือ บริเวณที่เรามองเห็น เมื่อตาเรามองไปข้างหน้าจะเห็นบริเวณด้านบน ด้านล่าง ด้านซ้ายและด้านขวาของสิ่งที่เรามองเห็นด้วย การตรวจลานสายตาเป็นการตรวจเพื่อประเมินว่าผู้ป่วยมีลานสายตากว้างหรือแคบมากน้อยเพียงใด ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคต้อหิน หรือภาวะสงสัยโรคต้อหิน โรคของระบบประสาทและสมอง และผู้ป่วยที่ทานยาคลอโรควิน (Choloroquine) เป็นต้น

ประโยชน์ของการตรวจลานสายตา

1. ช่วยในการวินิจฉัยโรค

2. บอกระดับความรุนแรงของโรค

การตรวจลานสายตา (Perimetry) ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการตรวจลานสายตา

1. เจ้าหน้าที่ทำการประเมินการมองเห็นเบื้องต้น กรณีผู้ป่วยมีการมองเห็นไม่ชัดเจน เนื่องจากมีความผิดปกติจากค่าสายตา เจ้าหน้าที่จะวัดค่าสายตาก่อนตรวจ

2. การตรวจลานสายตาจะตรวจในห้องมืดและตรวจทีละข้าง โดยทั่วไปมักเริ่มตรวจจากตาข้างขวาก่อน ผู้ป่วยที่มีภาวะหนังตาตกจะใช้อุปกรณ์ช่วยดึงหนังตาขึ้นก่อนตรวจ

3. ผู้ป่วยนั่งหน้าเครื่องตรวจ เจ้าหน้าที่จะใช้อุปกรณ์ปิดตาข้างซ้ายเพื่อตรวจตาข้างขวา ให้ผู้ป่วยวางคางลงบนที่วางคางหน้าผากโน้มชิดกับเครื่องและให้ถือปุ่มกดในมือข้างที่ถนัด

4. ให้ผู้ป่วยจ้องมองไฟสีเหลืองตรงกลาง โดยเจ้าหน้าที่จะให้สัญญาณเริ่มการตรวจ ในระหว่างการตรวจจะมีจุดไฟสีขาว (บางโปรแกรมเป็นสีแดงหรือสีน้ำเงิน) สว่างขึ้นมาในบริเวณต่างๆ (สว่างขึ้นและหายไป) จุดไฟจะมีขนาดเล็ก–ใหญ่ เข้ม–จาง ใกล้–ไกล และจังหวะการสว่างที่เร็ว–ช้าแตกต่างกัน

5. เมื่อผู้ป่วยสังเกตเห็นไฟที่สว่างขึ้น ให้กดปุ่มสัญญาณในมือโดยไม่กลอกตาไปมอง (เห็น 1 ครั้ง กด 1 ครั้ง) จนกระทั้งตรวจเสร็จ ในระหว่างการตรวจสามารถกระพริบตาได้ตามปกติ ไม่ควรหลับตา หรือห้ามกลอกตาไป–มา หากกลอกตาจะมีสัญญาณเตือน

6. เปลี่ยนมาตรวจตาข้างซ้าย โดยปิดตาข้างขวาและทำตามขั้นตอนเช่นเดียวกับข้างขวา ปกติจะใช้เวลาการตรวจข้างละประมาณ 6–10 นาที

คำแนะนำในการตรวจลานสายตา

วิธีการตรวจลานสายตาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและสมาธิของผู้ป่วยอย่างมาก ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวดังนี้

1. ก่อนมารับการตรวจควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

2. ทำจิตใจให้สบาย ไม่วิตกกังวล

3. นั่งในท่าที่สบาย หลังพิกพนักเก้าอี้ ปรับความสูง–ต่ำ ของเก้าอี้ให้พอดีกับผู้ป่วย ไม่เกร็งต้นคอและหลัง

4. มีสมาธิในการตรวจ

5. หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่เทคนิเชียนจักษุได้ตลอดเวลา

6. หากผลการตรวจได้ผลไม่สมบูรณ์สามารถตรวจใหม่ได้

สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A

 

Thermage นวัตกรรมยกกระชับผิวโดยไม่ต้องผ่าตัด โดย ศ.นพ.วรพงษ์ มนัสเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศูนย์ผิวหนัง โรงพยาาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

 

ลานสายตา คือ บริเวณที่เรามองเห็น เมื่อตาเรามองไปข้างหน้าจะเห็นบริเวณด้านบน ด้านล่าง ด้านซ้ายและด้านขวาของสิ่งที่เรามองเห็นด้วย การตรวจลานสายตาเป็นการตรวจเพื่อประเมินว่าผู้ป่วยมีลานสายตากว้างหรือแคบมากน้อยเพียงใด ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคต้อหิน หรือภาวะสงสัยโรคต้อหิน โรคของระบบประสาทและสมอง และผู้ป่วยที่ทานยาคลอโรควิน (Choloroquine) เป็นต้น

ประโยชน์ของการตรวจลานสายตา

1. ช่วยในการวินิจฉัยโรค

2. บอกระดับความรุนแรงของโรค

การตรวจลานสายตา (Perimetry) ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการตรวจลานสายตา

1. เจ้าหน้าที่ทำการประเมินการมองเห็นเบื้องต้น กรณีผู้ป่วยมีการมองเห็นไม่ชัดเจน เนื่องจากมีความผิดปกติจากค่าสายตา เจ้าหน้าที่จะวัดค่าสายตาก่อนตรวจ

2. การตรวจลานสายตาจะตรวจในห้องมืดและตรวจทีละข้าง โดยทั่วไปมักเริ่มตรวจจากตาข้างขวาก่อน ผู้ป่วยที่มีภาวะหนังตาตกจะใช้อุปกรณ์ช่วยดึงหนังตาขึ้นก่อนตรวจ

3. ผู้ป่วยนั่งหน้าเครื่องตรวจ เจ้าหน้าที่จะใช้อุปกรณ์ปิดตาข้างซ้ายเพื่อตรวจตาข้างขวา ให้ผู้ป่วยวางคางลงบนที่วางคางหน้าผากโน้มชิดกับเครื่องและให้ถือปุ่มกดในมือข้างที่ถนัด

4. ให้ผู้ป่วยจ้องมองไฟสีเหลืองตรงกลาง โดยเจ้าหน้าที่จะให้สัญญาณเริ่มการตรวจ ในระหว่างการตรวจจะมีจุดไฟสีขาว (บางโปรแกรมเป็นสีแดงหรือสีน้ำเงิน) สว่างขึ้นมาในบริเวณต่างๆ (สว่างขึ้นและหายไป) จุดไฟจะมีขนาดเล็ก–ใหญ่ เข้ม–จาง ใกล้–ไกล และจังหวะการสว่างที่เร็ว–ช้าแตกต่างกัน

5. เมื่อผู้ป่วยสังเกตเห็นไฟที่สว่างขึ้น ให้กดปุ่มสัญญาณในมือโดยไม่กลอกตาไปมอง (เห็น 1 ครั้ง กด 1 ครั้ง) จนกระทั้งตรวจเสร็จ ในระหว่างการตรวจสามารถกระพริบตาได้ตามปกติ ไม่ควรหลับตา หรือห้ามกลอกตาไป–มา หากกลอกตาจะมีสัญญาณเตือน

6. เปลี่ยนมาตรวจตาข้างซ้าย โดยปิดตาข้างขวาและทำตามขั้นตอนเช่นเดียวกับข้างขวา ปกติจะใช้เวลาการตรวจข้างละประมาณ 6–10 นาที

คำแนะนำในการตรวจลานสายตา

วิธีการตรวจลานสายตาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและสมาธิของผู้ป่วยอย่างมาก ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวดังนี้

1. ก่อนมารับการตรวจควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

2. ทำจิตใจให้สบาย ไม่วิตกกังวล

3. นั่งในท่าที่สบาย หลังพิกพนักเก้าอี้ ปรับความสูง–ต่ำ ของเก้าอี้ให้พอดีกับผู้ป่วย ไม่เกร็งต้นคอและหลัง

4. มีสมาธิในการตรวจ

5. หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่เทคนิเชียนจักษุได้ตลอดเวลา

6. หากผลการตรวจได้ผลไม่สมบูรณ์สามารถตรวจใหม่ได้

สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง