
ผู้เป็นเบาหวานทำไมถึงต้องดูแลเท้า
ผู้เป็นเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆในร่างกาย รวมถึงขาและเท้า พบว่าผู้เป็นเบาหวานมีโอกาสเกิดแผลเรื้อรังที่เท้าสูง นำไปสู่การถูกตัดนิ้วเท้า เท้า หรือขาได้ โดยสาเหตุที่ผู้เป็นเบาหวานเกิดแผลที่เท้าง่าย เกิดได้จาก
- ระบบประสาทส่วนปลายเสื่อม หรือบางคนอาจเรียกว่า “เบาหวานลงเท้า” ภาวะนี้มีอาการได้หลากหลาย ในระยะแรก มักมาด้วยอาการปวดแสบปวดร้อน โดยเฉพาะตอนกลางคืน แต่อาการที่พบบ่อยกว่า คือ อาการชา ผู้เป็นเบาหวานมักมีอาการทั้งสองข้างพร้อมๆ กัน โดยเริ่มชาจากปลายนิ้วเท้าก่อน แล้วเริ่มชาไล่ขึ้นไปบริเวณหลังเท้าและขาทั้งสองข้าง เมื่อมีอาการชา อาจเหยียบของมีคมโดยไม่รู้สึกตัวทำให้เกิดแผลได้ง่าย นอกจากนั้นอาการชาอาจทำให้ผู้ป่วยเดินลงน้ำหนักที่บริเวณแผล ทำให้แผลถูกกดทับตลอดเวลาและไม่สามารถหายได้ เมื่อระบบประสาทส่วนปลายเสื่อมนานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อเล็กๆ บางมัดบริเวณเท้าฝ่อลง เกิดเท้าบิดผิดรูป ทำให้บางส่วนของเท้ามีการรับน้ำหนักผิดปกติทำให้เกิดแผลที่เท้าตามมาได้
- ระบบประสาทอัตโนมัติเสื่อม ทำให้ผิวหนังบริเวณเท้าแห้ง คัน ทำให้เกิดแผลได้ง่าย
- หลอดเลือดส่วนปลายที่ขาตีบ ทำให้แผลที่เท้าหายยากขึ้น และนำไปสู่การสูญเสียเท้าหรือขาตามมาได้
ลักษณะความผิดปกติของเท้าที่อาจพบได้ในผู้เป็นเบาหวาน
- เท้าผิดรูป
- ผิวหนังที่เท้าผิดปกติ ผิวแห้ง มีหนังแข็งหรือตาปลาที่บริเวณเท้า
- แผลที่เท้า
ปัจจัยเสี่ยงการเกิดแผลที่เท้า และการถูกตัดเท้าหรือขาในผู้เป็นเบาหวาน
- เพศชาย
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ที่สูบบุหรี่
- ผู้ที่เคยมีแผลที่เท้า หรือถูกตัดเท้าหรือขามาก่อน
- ผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทส่วนปลายจากโรคเบาหวาน หรือมีหลอดเลือดส่วนปลายที่ขาตีบ
- ผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดขนาดเล็กจากเบาหวาน เช่น จอประสาทตาเสื่อม ไตเสื่อม
- ผู้ที่มีเท้าผิดรูป หนังแข็ง หรือเล็บเท้าผิดปกติ
- ผู้ที่เป็นเบาหวานมานานมากกว่า 10 ปี หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี
- ผู้ที่สวมรองเท้าไม่เหมาะสม หรือมีพฤติกรรมการดูแลเท้าที่ไม่ถูกต้อง
วิธีการดูแลเท้าสำหรับผู้เป็นเบาหวาน เพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้า
คำแนะนำทั่วไป
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- มาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสำรวจและตรวจเท้า
- หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง เนื่องจากอาจกดทับเส้นประสาทที่บริเวณเข่าได้
- ห้ามสูบบุหรี่
- หากพบว่ามีแผลแม้เพียงเล็กน้อย ให้ทำความสะอาดทันทีและควรรีบมาพบแพทย์
การสำรวจเท้าสำหรับผู้เป็นเบาหวาน
- สำรวจเท้าตนเองทุกวัน โดยสำรวจอย่างละเอียดทั้งบริเวณหลังเท้า ฝ่าเท้า ส้นเท้า และระหว่างซอกนิ้วทุกๆนิ้ว ว่ามีรอยแดงที่ผิดปกติ รอยแผลถลอก บาดแผล หนังด้านแข็ง รอยแตก การติดเชื้อรา หรือสิ่งผิดปกติที่อาจมีอยู่ใต้ฝ่าเท้าโดยที่เราไม่ทราบหรือไม่มีอาการเจ็บมาก่อนหรือไม่
- หากไม่สามารถก้มสำรวจเท้าได้เอง ควรใช้กระจกสะท้อนส่องดู
- หากมีปัญหาเรื่องการมองเห็นควรให้ญาติหรือผู้ใกล้ชิดสำรวจเท้าแทน
- หากมีหนังด้านแห้ง หูด ตาปลา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา ไม่ควรตัดหรือใช้สารเคมีลอกด้วยตนเอง
การทำความสะอาดเท้าสำหรับผู้เป็นเบาหวาน
- ทำความสะอาดเท้า โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้าทุกวันด้วยน้ำสะอาดและสบู่อ่อน วันละ 2 ครั้ง รวมทั้งทำความสะอาดทันทีที่เท้าสกปรก หลังทำความสะอาดควรเช็ดเท้าให้แห้งทันทีด้วยผ้าเช็ดตัวหรือผ้านุ่มที่สะอาด
- ห้ามใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดเท้า เนื่องจากจะทำให้ผิวเท้าแห้งยิ่งขึ้น
- ห้ามแช่เท้าในน้ำร้อนหรือในน้ำอุณหภูมิสูงมาก
การทาโลชั่นบริเวณเท้าหลังการทำความสะอาดเท้า
- ผู้เป็นเบาหวานมักมีผิวหนังแห้งหรือค่อนข้างแห้ง อาจทำให้คันและเกิดแผลได้ ควรใช้โลชั่นหรือครีมทาบาง ๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น โดยเลือกโลชั่นชนิดใดก็ได้ แต่ควรเป็นโลชั่นที่ซึมซับเข้าสู่ผิวหนังได้อย่างรวดเร็วและไม่ลื่น
- แนะนำให้ทาโลชั่นบริเวณหลังเท้า ฝ่าเท้า ส้นเท้า และบริเวณเล็บเท้า หลีกเลี่ยงการทาบริเวณซอกนิ้วเท้าเนื่องจากจะก่อให้เกิดความอับชื้นได้ง่าย
- ระหว่างการทาโลชั่นที่เท้าสามารถใช้ฝ่ามือลูบบริเวณฝ่าเท้าที่เรามองไม่เห็น ว่าผิวสัมผัสเรียบปกติหรือไม่ ถ้าผิวสัมผัสไม่เรียบ บ่งชี้ว่าอาจมีสิ่งผิดปกติอยู่บริเวณฝ่าเท้า
- ควรทิ้งเวลาให้โลชั่นที่ทาซึมเข้าสู่ผิวหนัง ก่อนการสวมถุงเท้าหรือรองเท้า
การใส่ถุงเท้าและรองเท้า
- ผู้เป็นเบาหวานควรสวมถุงเท้าและรองเท้าเสมอ ทั้งขณะเดินในบ้านและนอกบ้าน ไม่ควรเดินเท้าเปล่า
- ควรสวมถุงเท้าก่อนสวมรองเท้าเสมอ โดยเลือกถุงเท้าที่ไม่รัดแน่นเกินไป ไม่มีตะเข็บ (หากถุงเท้ามีตะเข็บให้กลับด้านในออก) และควรเปลี่ยนทุกวัน
- สำรวจภายในรองเท้าก่อนสวมทุกครั้งว่ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่หรือไม่ เพื่อป้องกันการเหยียบสิ่งแปลกปลอมจนเกิดแผล
- หากสวมรองเท้าใหม่ ควรสวมประมาณครึ่งชั่วโมงในวันแรกๆ วันต่อไปค่อยๆเพิ่มเป็นหนึ่งชั่วโมง โดยสวมสลับกับรองเท้าคู่เก่า เพื่อให้รองเท้าค่อยๆขยายปรับตัวจนเข้ากับเท้าได้ดี
การเลือกรองเท้าที่เหมาะสม
- เลือกสวมรองเท้าที่มีขนาดพอดี เหมาะสมกับรูปเท้า ไม่หลวมหรือคับเกินไป ไม่มีหน้าแคบจนบีบหน้าเท้า
- เนื่องจากรองเท้าเบอร์เดียวกันอาจมีขนาดแตกต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อ และคนส่วนใหญ่มักมีขนาดเท้าสองข้างไม่เท่ากัน จึงควรลองสวมรองเท้าทั้งสองข้างและลองเดินก่อนเลือกซื้อรองเท้าเสมอ
- ควรเลือกรองเท้าหุ้มส้นเพื่อช่วยป้องกันอันตรายที่เท้า ไม่มีตะเข็บหรือมีตะเข็บน้อยเพื่อมิให้ตะเข็บกดผิวหนัง และมีเชือกผูกหรือมีแถบ Velcro เพื่อช่วยให้สามารถปรับความพอดีกับเท้าได้มากขึ้น
- หลีกเลี่ยงรองเท้าแตะแบบคีบหรือรองเท้าแตะที่ทำด้วยหนังหรือพลาสติกแข็ง
การตัดเล็บ
- ควรใช้กรรไกรตัดเล็บขอบตรงตัดตามแนวขอบเล็บเท่านั้นโดยให้ปลายเล็บเสมอกับปลายนิ้ว แล้วใช้ตะไบขัดเพื่อลบรอบคมและป้องกันการเกิดเล็บขบ
- ห้าม ตัดเล็บสั้นเกินไปและลึกถึงจมูกเล็บ
- ห้าม ตัดเนื้อเพราะอาจเกิดแผลและมีเลือดออก
- ถ้าเล็บหนาไม่สามารถตัดเล็บเองได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลเท้าตัดเล็บให้
การออกกำลังกายเท้า
ควรออกกำลังกายเท้าอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และกระตุ้นการไหลเวียนเลือดมาปลายเท้า อย่างน้อยวันละ 3 รอบ รอบละ 10 ครั้ง
- กระดกข้อเท้าขึ้นลงสลับกัน
- หมุนข้อเท้า โดยหมุนเข้าและออกสลับกัน
- ใช้นิ้วเท้าจิกผ้าที่วางอยู่บนพื้นเพื่อบริหารกล้ามเนื้อเล็กๆในเท้า
- นั่งบนเก้าอี้ ยกขาขึ้น เหยียดเข่าตึง และกระดกข้อเท้าขึ้นค้างไว้นับ 1 ถึง 10 นับเป็น 1 ครั้ง
ระดับความเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้าสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน
- ระดับความเสี่ยงต่ำ ได้แก่ ผู้เป็นเบาหวานที่ไม่มีแผลที่เท้าขณะประเมิน ไม่มีประวัติการเป็นแผลที่เท้าหรือถูกตัดขา / เท้า / นิ้วเท้า ไม่มีผิวหนังและรูปเท้าผิดปกติ ผลการประเมินการรับความรู้สึกในการป้องกันตนเองที่เท้าและชีพจรปกติ
- ระดับความเสี่ยงปานกลาง ได้แก่ ผู้เป็นเบาหวานที่ตรวจพบผลการประเมินการรับความรู้สึกในการป้องกันตนเองที่เท้าผิดปกติและ/หรือ ชีพจรเท้าเบาลง ควรพิจารณาอุปกรณ์เสริมในรองเท้าหรือรองเท้าที่เหมาะสมและนัดตรวจเท้าอย่างละเอียดทุก 6 เดือน
- ระดับความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้เป็นเบาหวานที่มีประวัติมีแผลที่เท้าหรือถูกตัดขา / เท้า / นิ้วเท้า หรือมีความเสี่ยงปานกลางร่วมกับพบเท้าผิดรูป ควรพิจารณาตัดรองเท้าพิเศษ และนัดตรวจเท้าอย่างละเอียดทุก 3 เดือน
ตรวจบทความโดย: นพ.ณัฐพงศ์ เลาห์ทวีรุ่งเรื่อง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D
ผู้เป็นเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆในร่างกาย รวมถึงขาและเท้า พบว่าผู้เป็นเบาหวานมีโอกาสเกิดแผลเรื้อรังที่เท้าสูง นำไปสู่การถูกตัดนิ้วเท้า เท้า หรือขาได้ โดยสาเหตุที่ผู้เป็นเบาหวานเกิดแผลที่เท้าง่าย เกิดได้จาก
- ระบบประสาทส่วนปลายเสื่อม หรือบางคนอาจเรียกว่า “เบาหวานลงเท้า” ภาวะนี้มีอาการได้หลากหลาย ในระยะแรก มักมาด้วยอาการปวดแสบปวดร้อน โดยเฉพาะตอนกลางคืน แต่อาการที่พบบ่อยกว่า คือ อาการชา ผู้เป็นเบาหวานมักมีอาการทั้งสองข้างพร้อมๆ กัน โดยเริ่มชาจากปลายนิ้วเท้าก่อน แล้วเริ่มชาไล่ขึ้นไปบริเวณหลังเท้าและขาทั้งสองข้าง เมื่อมีอาการชา อาจเหยียบของมีคมโดยไม่รู้สึกตัวทำให้เกิดแผลได้ง่าย นอกจากนั้นอาการชาอาจทำให้ผู้ป่วยเดินลงน้ำหนักที่บริเวณแผล ทำให้แผลถูกกดทับตลอดเวลาและไม่สามารถหายได้ เมื่อระบบประสาทส่วนปลายเสื่อมนานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อเล็กๆ บางมัดบริเวณเท้าฝ่อลง เกิดเท้าบิดผิดรูป ทำให้บางส่วนของเท้ามีการรับน้ำหนักผิดปกติทำให้เกิดแผลที่เท้าตามมาได้
- ระบบประสาทอัตโนมัติเสื่อม ทำให้ผิวหนังบริเวณเท้าแห้ง คัน ทำให้เกิดแผลได้ง่าย
- หลอดเลือดส่วนปลายที่ขาตีบ ทำให้แผลที่เท้าหายยากขึ้น และนำไปสู่การสูญเสียเท้าหรือขาตามมาได้
ลักษณะความผิดปกติของเท้าที่อาจพบได้ในผู้เป็นเบาหวาน
- เท้าผิดรูป
- ผิวหนังที่เท้าผิดปกติ ผิวแห้ง มีหนังแข็งหรือตาปลาที่บริเวณเท้า
- แผลที่เท้า
ปัจจัยเสี่ยงการเกิดแผลที่เท้า และการถูกตัดเท้าหรือขาในผู้เป็นเบาหวาน
- เพศชาย
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ที่สูบบุหรี่
- ผู้ที่เคยมีแผลที่เท้า หรือถูกตัดเท้าหรือขามาก่อน
- ผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทส่วนปลายจากโรคเบาหวาน หรือมีหลอดเลือดส่วนปลายที่ขาตีบ
- ผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดขนาดเล็กจากเบาหวาน เช่น จอประสาทตาเสื่อม ไตเสื่อม
- ผู้ที่มีเท้าผิดรูป หนังแข็ง หรือเล็บเท้าผิดปกติ
- ผู้ที่เป็นเบาหวานมานานมากกว่า 10 ปี หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี
- ผู้ที่สวมรองเท้าไม่เหมาะสม หรือมีพฤติกรรมการดูแลเท้าที่ไม่ถูกต้อง
วิธีการดูแลเท้าสำหรับผู้เป็นเบาหวาน เพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้า
คำแนะนำทั่วไป
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- มาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสำรวจและตรวจเท้า
- หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง เนื่องจากอาจกดทับเส้นประสาทที่บริเวณเข่าได้
- ห้ามสูบบุหรี่
- หากพบว่ามีแผลแม้เพียงเล็กน้อย ให้ทำความสะอาดทันทีและควรรีบมาพบแพทย์
การสำรวจเท้าสำหรับผู้เป็นเบาหวาน
- สำรวจเท้าตนเองทุกวัน โดยสำรวจอย่างละเอียดทั้งบริเวณหลังเท้า ฝ่าเท้า ส้นเท้า และระหว่างซอกนิ้วทุกๆนิ้ว ว่ามีรอยแดงที่ผิดปกติ รอยแผลถลอก บาดแผล หนังด้านแข็ง รอยแตก การติดเชื้อรา หรือสิ่งผิดปกติที่อาจมีอยู่ใต้ฝ่าเท้าโดยที่เราไม่ทราบหรือไม่มีอาการเจ็บมาก่อนหรือไม่
- หากไม่สามารถก้มสำรวจเท้าได้เอง ควรใช้กระจกสะท้อนส่องดู
- หากมีปัญหาเรื่องการมองเห็นควรให้ญาติหรือผู้ใกล้ชิดสำรวจเท้าแทน
- หากมีหนังด้านแห้ง หูด ตาปลา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา ไม่ควรตัดหรือใช้สารเคมีลอกด้วยตนเอง
การทำความสะอาดเท้าสำหรับผู้เป็นเบาหวาน
- ทำความสะอาดเท้า โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้าทุกวันด้วยน้ำสะอาดและสบู่อ่อน วันละ 2 ครั้ง รวมทั้งทำความสะอาดทันทีที่เท้าสกปรก หลังทำความสะอาดควรเช็ดเท้าให้แห้งทันทีด้วยผ้าเช็ดตัวหรือผ้านุ่มที่สะอาด
- ห้ามใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดเท้า เนื่องจากจะทำให้ผิวเท้าแห้งยิ่งขึ้น
- ห้ามแช่เท้าในน้ำร้อนหรือในน้ำอุณหภูมิสูงมาก
การทาโลชั่นบริเวณเท้าหลังการทำความสะอาดเท้า
- ผู้เป็นเบาหวานมักมีผิวหนังแห้งหรือค่อนข้างแห้ง อาจทำให้คันและเกิดแผลได้ ควรใช้โลชั่นหรือครีมทาบาง ๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น โดยเลือกโลชั่นชนิดใดก็ได้ แต่ควรเป็นโลชั่นที่ซึมซับเข้าสู่ผิวหนังได้อย่างรวดเร็วและไม่ลื่น
- แนะนำให้ทาโลชั่นบริเวณหลังเท้า ฝ่าเท้า ส้นเท้า และบริเวณเล็บเท้า หลีกเลี่ยงการทาบริเวณซอกนิ้วเท้าเนื่องจากจะก่อให้เกิดความอับชื้นได้ง่าย
- ระหว่างการทาโลชั่นที่เท้าสามารถใช้ฝ่ามือลูบบริเวณฝ่าเท้าที่เรามองไม่เห็น ว่าผิวสัมผัสเรียบปกติหรือไม่ ถ้าผิวสัมผัสไม่เรียบ บ่งชี้ว่าอาจมีสิ่งผิดปกติอยู่บริเวณฝ่าเท้า
- ควรทิ้งเวลาให้โลชั่นที่ทาซึมเข้าสู่ผิวหนัง ก่อนการสวมถุงเท้าหรือรองเท้า
การใส่ถุงเท้าและรองเท้า
- ผู้เป็นเบาหวานควรสวมถุงเท้าและรองเท้าเสมอ ทั้งขณะเดินในบ้านและนอกบ้าน ไม่ควรเดินเท้าเปล่า
- ควรสวมถุงเท้าก่อนสวมรองเท้าเสมอ โดยเลือกถุงเท้าที่ไม่รัดแน่นเกินไป ไม่มีตะเข็บ (หากถุงเท้ามีตะเข็บให้กลับด้านในออก) และควรเปลี่ยนทุกวัน
- สำรวจภายในรองเท้าก่อนสวมทุกครั้งว่ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่หรือไม่ เพื่อป้องกันการเหยียบสิ่งแปลกปลอมจนเกิดแผล
- หากสวมรองเท้าใหม่ ควรสวมประมาณครึ่งชั่วโมงในวันแรกๆ วันต่อไปค่อยๆเพิ่มเป็นหนึ่งชั่วโมง โดยสวมสลับกับรองเท้าคู่เก่า เพื่อให้รองเท้าค่อยๆขยายปรับตัวจนเข้ากับเท้าได้ดี
การเลือกรองเท้าที่เหมาะสม
- เลือกสวมรองเท้าที่มีขนาดพอดี เหมาะสมกับรูปเท้า ไม่หลวมหรือคับเกินไป ไม่มีหน้าแคบจนบีบหน้าเท้า
- เนื่องจากรองเท้าเบอร์เดียวกันอาจมีขนาดแตกต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อ และคนส่วนใหญ่มักมีขนาดเท้าสองข้างไม่เท่ากัน จึงควรลองสวมรองเท้าทั้งสองข้างและลองเดินก่อนเลือกซื้อรองเท้าเสมอ
- ควรเลือกรองเท้าหุ้มส้นเพื่อช่วยป้องกันอันตรายที่เท้า ไม่มีตะเข็บหรือมีตะเข็บน้อยเพื่อมิให้ตะเข็บกดผิวหนัง และมีเชือกผูกหรือมีแถบ Velcro เพื่อช่วยให้สามารถปรับความพอดีกับเท้าได้มากขึ้น
- หลีกเลี่ยงรองเท้าแตะแบบคีบหรือรองเท้าแตะที่ทำด้วยหนังหรือพลาสติกแข็ง
การตัดเล็บ
- ควรใช้กรรไกรตัดเล็บขอบตรงตัดตามแนวขอบเล็บเท่านั้นโดยให้ปลายเล็บเสมอกับปลายนิ้ว แล้วใช้ตะไบขัดเพื่อลบรอบคมและป้องกันการเกิดเล็บขบ
- ห้าม ตัดเล็บสั้นเกินไปและลึกถึงจมูกเล็บ
- ห้าม ตัดเนื้อเพราะอาจเกิดแผลและมีเลือดออก
- ถ้าเล็บหนาไม่สามารถตัดเล็บเองได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลเท้าตัดเล็บให้
การออกกำลังกายเท้า
ควรออกกำลังกายเท้าอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และกระตุ้นการไหลเวียนเลือดมาปลายเท้า อย่างน้อยวันละ 3 รอบ รอบละ 10 ครั้ง
- กระดกข้อเท้าขึ้นลงสลับกัน
- หมุนข้อเท้า โดยหมุนเข้าและออกสลับกัน
- ใช้นิ้วเท้าจิกผ้าที่วางอยู่บนพื้นเพื่อบริหารกล้ามเนื้อเล็กๆในเท้า
- นั่งบนเก้าอี้ ยกขาขึ้น เหยียดเข่าตึง และกระดกข้อเท้าขึ้นค้างไว้นับ 1 ถึง 10 นับเป็น 1 ครั้ง
ระดับความเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้าสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน
- ระดับความเสี่ยงต่ำ ได้แก่ ผู้เป็นเบาหวานที่ไม่มีแผลที่เท้าขณะประเมิน ไม่มีประวัติการเป็นแผลที่เท้าหรือถูกตัดขา / เท้า / นิ้วเท้า ไม่มีผิวหนังและรูปเท้าผิดปกติ ผลการประเมินการรับความรู้สึกในการป้องกันตนเองที่เท้าและชีพจรปกติ
- ระดับความเสี่ยงปานกลาง ได้แก่ ผู้เป็นเบาหวานที่ตรวจพบผลการประเมินการรับความรู้สึกในการป้องกันตนเองที่เท้าผิดปกติและ/หรือ ชีพจรเท้าเบาลง ควรพิจารณาอุปกรณ์เสริมในรองเท้าหรือรองเท้าที่เหมาะสมและนัดตรวจเท้าอย่างละเอียดทุก 6 เดือน
- ระดับความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้เป็นเบาหวานที่มีประวัติมีแผลที่เท้าหรือถูกตัดขา / เท้า / นิ้วเท้า หรือมีความเสี่ยงปานกลางร่วมกับพบเท้าผิดรูป ควรพิจารณาตัดรองเท้าพิเศษ และนัดตรวจเท้าอย่างละเอียดทุก 3 เดือน
ตรวจบทความโดย: นพ.ณัฐพงศ์ เลาห์ทวีรุ่งเรื่อง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D