อาหารสำหรับเด็กที่เป็นโรคไต

รู้หรือไม่? เด็กๆ ก็เป็นโรคไตได้ โรคไตที่พบบ่อยในเด็กไทย ได้แก่

1. การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ อาจเกิดจากการขับถ่ายปัสสาวะไม่ถูกสุขลักษณะ หรือความผิดปกติของโครงสร้างของไตและระบบทางเดินปัสสาวะตั้งแต่กำเนิด

2. กลุ่มอาการเนโฟรติกหรือโรคไตรั่ว เด็กจะสูญเสียโปรตีนไข่ขาวไปทางปัสสาวะทำให้บวมไปทั้งตัว

3. โรคไตอักเสบ อาจเกิดภายหลังการติดเชื้อแบคทีเรียที่ลำคอหรือผิวหนัง หรือเกิดจากโรคเอสแอลอี (โรคภูมิต้านทำลายเนื้อเยื่อตนเอง) ผู้ป่วยจะมีอาการบวมหรือปัสสาวะเป็นเลือด/สีน้ำล้างเนื้อ

เด็กที่เป็น “โรคไตเรื้อรัง” ควรรับประทานอาหารสำหรับเด็กที่เป็นโรคไต โดยได้รับพลังงานและสารอาหารอย่างเพียงพอ ซึ่งต้องปรับเลือกชนิดและปริมาณของอาหารให้เหมาะสมกับสภาวะของโรคในผู้ป่วยแต่ละคน การรับประทานอาหารให้เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนและชะลอการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เด็กเป็นโรคไตเรื้อรังควรควบคุมและหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดเนื่องจากไตไม่สามารถทำงานได้ปกติ การได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลร้ายต่อไตได้

1. ปริมาณพลังงานและโปรตีน

เด็กที่เป็นโรคไตเรื้อรังควรได้รับพลังงานและโปรตีนเท่ากับเด็กปกติทั่วไป เพราะสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ เด็กอาจมีอาการเบื่ออาหารทำให้รับประทานได้น้อย และในกรณีเด็กที่ต้องรับการล้างไตทางช่องท้องควรได้รับโปรตีนเพิ่มเพื่อทดแทนส่วนที่เสียจากการล้างไต

2. ปริมาณน้ำและเกลือ (โซเดียม)

เด็กที่เป็นโรคไตเรื้อรังจะมีความต้องการน้ำและเกลือมากน้อยแตกต่างกันไป โรคไตเรื้อรังจากสาเหตุบางอย่างอาจทำให้ปัสสาวะมากจนร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือทางไตมากเกินควร จึงจำเป็นต้องได้รับน้ำและอาหารที่มีเกลือทดแทน ส่วนในผู้ป่วยที่ปัสสาวะน้อยและผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายจะมีน้ำและเกลือในร่างกายเกินความต้องการ อาจต้องจำกัดปริมาณน้ำและอาหารที่มีเกลือสูง

3. ปริมาณโพแทสเซียม

โดยทั่วไปผู้ป่วยมักไม่จำเป็นต้องจำกัดโพแทสเซียม ยกเว้นผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ในรายที่มีปัญหาปัสสาวะออกน้อยหรือมีโพแทสเซียมสูงในเลือด อาจต้องจำกัดโพแทสเซียมโดยการงดอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง และอาจใช้ยาเพิ่มการขับถ่ายโพแทสเซียมออกจากร่างกาย

4. ปริมาณฟอสเฟต

เมื่อการทำงานของไตเสื่อมลง ผู้ป่วยมักมีปัญหาฟอสเฟตในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ทำให้กระดูกเปราะ และมีการเจริญเติบโตผิดปกติ แพทย์จะพิจารณาให้ใช้ยาจับฟอสเฟตในทางเดินอาหาร และขับทิ้งไปพร้อมอุจจาระ ยากลุ่มนี้จึงต้องรับประทานพร้อมมื้ออาหาร พร้อมมื้อนมและของว่างที่มีฟอสเฟตสูง โดยทั่วไปแพทย์มักแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสเฟตสูง แต่ในผู้ป่วยเด็กยังคงแนะนำให้รับประทานเนื้อสัตว์และนมจากสัตว์เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโต

*** โรคไตเรื้อรังสามารถทำให้เกิดการเสื่อมของไตเพิ่มมากขึ้นได้ตามระยะเวลา อาหารสำหรับเด็กที่เป็นโรคไตควรปรึกษาแพทย์เป็นระยะเพื่อขอรับคำแนะนำทางโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับตนเอง

#ศูนย์โรคไต #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์  #โรคไตเรื้อรัง #โรคไต #โรคไตในเด็ก #การรับประทานเมื่อเป็นโรคไต #อาหารเด็กที่เป็นโรคไต #ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ #โรคไตรั่ว #โรคไตอักเสบ #อาหารโรคไต #อาหารที่มีเกลือ #Food for Kids Kidney

ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาหารสำหรับเด็กที่เป็นโรคไตเรื้อรัง

อาหารที่มีเกลือ (โซเดียม) สูง

  • เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสหอยนางรม ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ เต้าเจี้ยว น้ำจิ้มสุกี้ ผงชูรส
  • อาหารตากแห้ง เช่น ปลาเค็ม กุ้งแห้ง หมูเค็ม เนื้อเค็ม
  • อาหารหมักดอง เช่น กะปิ ไข่เค็ม เต้าหู้ยี้ ผัก และผลไม้ดอง
  • เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ แหนม หมูแผ่น หมูหยอง ปลากระป๋อง ปลาเส้น
  • อาหารกึ่งสำเร็งรูป เช่น โจ๊กผง ข้าวต้มผง บะหมี่กึ่งสำเร็งรูป ซุปผง ซุปก้อน
  • ผงฟูที่ใช้ทำขนมอบต่างๆ เช่น ขนมปัง แพนเค้ก วาฟเฟิล มัฟฟิน ขนมเค้ก และสารกันบูด
  • อาหารที่มีการโรยเกลือโดยตรง เช่น ข้าวโพดคั่ว มันฝรั่งทอด

อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง

  • เห็ด มันฝรั่ง มันเทศ แครอท หน่อไม้ฝรั่ง บรอคโคลี มะเขือเทศ ดอกกะหล่ำ แขนงกะหล่ำ ผักโขม ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักตำลึง ผักคะน้า
  • กล้วย ขนุน ทุเรียน ฝรั่ง กระท้อน น้อยหน่า มะขามหวาน มะละกอ มะม่วง ลำไย ลูกพลับ ลูกพรุน มะปราง แอปริคอท อะโวคาโด แคนตาลูป กีวี
  • น้ำมะพร้าว น้ำแครอท น้ำส้ม

อาหารที่มีฟอสเฟตสูง

  • เนื้อสัตว์ต่างๆ ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก และไข่แดง
  • เมล็ดธัญพืช ถั่วต่างๆ และผลิตภัณฑ์จากถั่ว
  • นมและผลิตภัณฑ์จากนม
  • ช็อกโกแลตและผงโกโก้
  • เครื่องดื่มประเภทโคล่า

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C

รู้หรือไม่? เด็กๆ ก็เป็นโรคไตได้ โรคไตที่พบบ่อยในเด็กไทย ได้แก่

1. การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ อาจเกิดจากการขับถ่ายปัสสาวะไม่ถูกสุขลักษณะ หรือความผิดปกติของโครงสร้างของไตและระบบทางเดินปัสสาวะตั้งแต่กำเนิด

2. กลุ่มอาการเนโฟรติกหรือโรคไตรั่ว เด็กจะสูญเสียโปรตีนไข่ขาวไปทางปัสสาวะทำให้บวมไปทั้งตัว

3. โรคไตอักเสบ อาจเกิดภายหลังการติดเชื้อแบคทีเรียที่ลำคอหรือผิวหนัง หรือเกิดจากโรคเอสแอลอี (โรคภูมิต้านทำลายเนื้อเยื่อตนเอง) ผู้ป่วยจะมีอาการบวมหรือปัสสาวะเป็นเลือด/สีน้ำล้างเนื้อ

เด็กที่เป็น “โรคไตเรื้อรัง” ควรรับประทานอาหารสำหรับเด็กที่เป็นโรคไต โดยได้รับพลังงานและสารอาหารอย่างเพียงพอ ซึ่งต้องปรับเลือกชนิดและปริมาณของอาหารให้เหมาะสมกับสภาวะของโรคในผู้ป่วยแต่ละคน การรับประทานอาหารให้เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนและชะลอการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เด็กเป็นโรคไตเรื้อรังควรควบคุมและหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดเนื่องจากไตไม่สามารถทำงานได้ปกติ การได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลร้ายต่อไตได้

1. ปริมาณพลังงานและโปรตีน

เด็กที่เป็นโรคไตเรื้อรังควรได้รับพลังงานและโปรตีนเท่ากับเด็กปกติทั่วไป เพราะสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ เด็กอาจมีอาการเบื่ออาหารทำให้รับประทานได้น้อย และในกรณีเด็กที่ต้องรับการล้างไตทางช่องท้องควรได้รับโปรตีนเพิ่มเพื่อทดแทนส่วนที่เสียจากการล้างไต

2. ปริมาณน้ำและเกลือ (โซเดียม)

เด็กที่เป็นโรคไตเรื้อรังจะมีความต้องการน้ำและเกลือมากน้อยแตกต่างกันไป โรคไตเรื้อรังจากสาเหตุบางอย่างอาจทำให้ปัสสาวะมากจนร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือทางไตมากเกินควร จึงจำเป็นต้องได้รับน้ำและอาหารที่มีเกลือทดแทน ส่วนในผู้ป่วยที่ปัสสาวะน้อยและผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายจะมีน้ำและเกลือในร่างกายเกินความต้องการ อาจต้องจำกัดปริมาณน้ำและอาหารที่มีเกลือสูง

3. ปริมาณโพแทสเซียม

โดยทั่วไปผู้ป่วยมักไม่จำเป็นต้องจำกัดโพแทสเซียม ยกเว้นผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ในรายที่มีปัญหาปัสสาวะออกน้อยหรือมีโพแทสเซียมสูงในเลือด อาจต้องจำกัดโพแทสเซียมโดยการงดอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง และอาจใช้ยาเพิ่มการขับถ่ายโพแทสเซียมออกจากร่างกาย

4. ปริมาณฟอสเฟต

เมื่อการทำงานของไตเสื่อมลง ผู้ป่วยมักมีปัญหาฟอสเฟตในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ทำให้กระดูกเปราะ และมีการเจริญเติบโตผิดปกติ แพทย์จะพิจารณาให้ใช้ยาจับฟอสเฟตในทางเดินอาหาร และขับทิ้งไปพร้อมอุจจาระ ยากลุ่มนี้จึงต้องรับประทานพร้อมมื้ออาหาร พร้อมมื้อนมและของว่างที่มีฟอสเฟตสูง โดยทั่วไปแพทย์มักแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสเฟตสูง แต่ในผู้ป่วยเด็กยังคงแนะนำให้รับประทานเนื้อสัตว์และนมจากสัตว์เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโต

*** โรคไตเรื้อรังสามารถทำให้เกิดการเสื่อมของไตเพิ่มมากขึ้นได้ตามระยะเวลา อาหารสำหรับเด็กที่เป็นโรคไตควรปรึกษาแพทย์เป็นระยะเพื่อขอรับคำแนะนำทางโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับตนเอง

#ศูนย์โรคไต #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์  #โรคไตเรื้อรัง #โรคไต #โรคไตในเด็ก #การรับประทานเมื่อเป็นโรคไต #อาหารเด็กที่เป็นโรคไต #ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ #โรคไตรั่ว #โรคไตอักเสบ #อาหารโรคไต #อาหารที่มีเกลือ #Food for Kids Kidney

ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาหารสำหรับเด็กที่เป็นโรคไตเรื้อรัง

อาหารที่มีเกลือ (โซเดียม) สูง

  • เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสหอยนางรม ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ เต้าเจี้ยว น้ำจิ้มสุกี้ ผงชูรส
  • อาหารตากแห้ง เช่น ปลาเค็ม กุ้งแห้ง หมูเค็ม เนื้อเค็ม
  • อาหารหมักดอง เช่น กะปิ ไข่เค็ม เต้าหู้ยี้ ผัก และผลไม้ดอง
  • เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ แหนม หมูแผ่น หมูหยอง ปลากระป๋อง ปลาเส้น
  • อาหารกึ่งสำเร็งรูป เช่น โจ๊กผง ข้าวต้มผง บะหมี่กึ่งสำเร็งรูป ซุปผง ซุปก้อน
  • ผงฟูที่ใช้ทำขนมอบต่างๆ เช่น ขนมปัง แพนเค้ก วาฟเฟิล มัฟฟิน ขนมเค้ก และสารกันบูด
  • อาหารที่มีการโรยเกลือโดยตรง เช่น ข้าวโพดคั่ว มันฝรั่งทอด

อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง

  • เห็ด มันฝรั่ง มันเทศ แครอท หน่อไม้ฝรั่ง บรอคโคลี มะเขือเทศ ดอกกะหล่ำ แขนงกะหล่ำ ผักโขม ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักตำลึง ผักคะน้า
  • กล้วย ขนุน ทุเรียน ฝรั่ง กระท้อน น้อยหน่า มะขามหวาน มะละกอ มะม่วง ลำไย ลูกพลับ ลูกพรุน มะปราง แอปริคอท อะโวคาโด แคนตาลูป กีวี
  • น้ำมะพร้าว น้ำแครอท น้ำส้ม

อาหารที่มีฟอสเฟตสูง

  • เนื้อสัตว์ต่างๆ ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก และไข่แดง
  • เมล็ดธัญพืช ถั่วต่างๆ และผลิตภัณฑ์จากถั่ว
  • นมและผลิตภัณฑ์จากนม
  • ช็อกโกแลตและผงโกโก้
  • เครื่องดื่มประเภทโคล่า

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง