แมมโมแกรม ตรวจเร็ว แม่นยำ ปลอดภัย
มะเร็งเต้านมเกิดจากอะไร?
เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ที่อยู่ภายในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม อาจแพร่กระจายไปตามทางเดินน้ำเหลืองสู่อวัยวะใกล้เคียง เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ และสามารถแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย เช่น กระดูก ปอด ตับ และสมอง
การตรวจ “แมมโมแกรม” ดีอย่างไร?
การตรวจ “แมมโมแกรม” (Mammogram) เป็นการตรวจทางรังสีชนิดพิเศษ คล้ายการตรวจเอกซเรย์ มีประสิทธิภาพในการตรวจมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ทำให้การรักษาได้ผลดี และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงจากการเป็นมะเร็งเต้านม การตรวจแมมโมแกรมจึงเป็นวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ดีที่สุดในปัจจุบัน สามารถตรวจพบหินปูนที่มีลักษณะผิดปกติในเต้านม หรือรอยโรคที่มีขนาดเล็กได้ ใช้เวลาตรวจเพียง 30 นาที และไม่ต้องงดน้ำ หรืออาหารก่อนเข้ารับการตรวจอีกด้วย
อัลตราซาวนด์เต้านม ร่วมด้วยดีอย่างไร?
การตรวจอัลตราซาวนด์ควบคู่กับแมมโมแกรมจะช่วยเพิ่มความแม่นยำและวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น การตรวจอัลตราซาวนด์เป็นการใช้คลื่นความถี่สูงผ่านเข้าไปในเนื้อเต้านม เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ จะสะท้อนกลับมาเกิดเป็นสภาพที่เครื่องตรวจ ทำให้สามารถดูองค์ประกอบได้ว่า สิ่งแปลกปลอมในเต้านมนั้นเป็นถุงน้ำหรือก้อนเนื้อ โดยเฉพาะกรณี ผู้ที่มีเนื้อเต้านมแน่น เช่น ในผู้หญิงอายุน้อย แต่การอัลตราซาวนด์ไม่สามารถแทนที่การตรวจแมมโมแกรมได้ เพราะไม่สามารถตรวจพบหินปูนได้
ใครควรตรวจแมมโมแกรมบ้าง?
- ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ขึ้นไป ควรเริ่มตรวจเป็นประจำทุกปี
- ในกรณีที่บุคคลในครอบครัวมีประวัติสายตรงป่วยเป็นมะเร็งเต้านมก่อนวัยหมดประจำเดือน ควรเริ่มตรวจเร็วขึ้นตั้งแต่อายุ 30 ปี
- บุคคลที่มีประวัติตรวจยีนผิดปกติ (Gene mutation) ได้แก่ ยีน BRCA1 และ BRCA2 หรือมีญาติสายตรงที่ตรวจพบยีนผิดปกติให้เริ่มตรวจเป็นประจำทุกปีตั้งแต่อายุ 25 ปี
- บุคคลที่มีประวัติฉายแสงบริเวณทรวงอก ขณะอายุ 10-30 ปี ให้เริ่มตรวจเป็นประจำทุกปี หลังจากได้รับการฉายแสงเสร็จสิ้นแล้ว 8 ปี (แต่อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี)
- บุคคลที่คลำพบก้อนเนื้อ มีเลือดออกที่หัวนม หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ที่เต้านม
- บุคคลที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเนื้องอกในเต้านม เพื่อติดตามผลการรักษา
การเตรียมตัวก่อนตรวจแมมโมแกรม
- รับประทานอาหาร และดื่มน้ำได้ตามปกติ โดยใช้เวลาตรวจทั้งสิ้นประมาณ 30 นาที
- ห้ามทาโลชั่น แป้งฝุ่น บริเวณเต้านมและรักแร้ รวมถึงยาและสเปรย์ระงับกลิ่นตัว
- แต่งกายด้วยชุดแบบ 2 ชิ้น (ท่อนบน-ล่าง) เพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนเสื้อผ้า
- หากเคยตรวจแมมโมแกรมมาก่อน ควรนำผลตรวจภาพแมมโมแกรมเดิม เพื่อมาเปรียบเทียบดูความเปลี่ยนแปลง
- หากมีอาการผิดปกติของเต้านม ควรแจ้งให้รังสีแพทย์ที่ทำการตรวจทราบ
ขั้นตอนการตรวจแมมโมแกรม
- นักรังสีเทคนิคการแพทย์จะใช้อุปกรณ์บีบเต้านมเข้าหากันแล้วทำการถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมข้างละ 2 รูป
- กรณีพบจุดสงสัย อาจมีการถ่ายรูปเพิ่มเพื่อความชัดเจน
- แพทย์จะพิจารณาตรวจด้วยอัลตราซาวด์ร่วมด้วยในบางราย
- แมมโมแกรมควรตรวจเป็นประจำทุกปี หรือหากพบความผิดปกติ แพทย์จะพิจารณานัดตรวจเพื่อติดตามผลเป็นประจำทุก 3 - 6 เดือน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E
มะเร็งเต้านมเกิดจากอะไร?
เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ที่อยู่ภายในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม อาจแพร่กระจายไปตามทางเดินน้ำเหลืองสู่อวัยวะใกล้เคียง เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ และสามารถแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย เช่น กระดูก ปอด ตับ และสมอง
การตรวจ “แมมโมแกรม” ดีอย่างไร?
การตรวจ “แมมโมแกรม” (Mammogram) เป็นการตรวจทางรังสีชนิดพิเศษ คล้ายการตรวจเอกซเรย์ มีประสิทธิภาพในการตรวจมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ทำให้การรักษาได้ผลดี และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงจากการเป็นมะเร็งเต้านม การตรวจแมมโมแกรมจึงเป็นวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ดีที่สุดในปัจจุบัน สามารถตรวจพบหินปูนที่มีลักษณะผิดปกติในเต้านม หรือรอยโรคที่มีขนาดเล็กได้ ใช้เวลาตรวจเพียง 30 นาที และไม่ต้องงดน้ำ หรืออาหารก่อนเข้ารับการตรวจอีกด้วย
อัลตราซาวนด์เต้านม ร่วมด้วยดีอย่างไร?
การตรวจอัลตราซาวนด์ควบคู่กับแมมโมแกรมจะช่วยเพิ่มความแม่นยำและวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น การตรวจอัลตราซาวนด์เป็นการใช้คลื่นความถี่สูงผ่านเข้าไปในเนื้อเต้านม เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ จะสะท้อนกลับมาเกิดเป็นสภาพที่เครื่องตรวจ ทำให้สามารถดูองค์ประกอบได้ว่า สิ่งแปลกปลอมในเต้านมนั้นเป็นถุงน้ำหรือก้อนเนื้อ โดยเฉพาะกรณี ผู้ที่มีเนื้อเต้านมแน่น เช่น ในผู้หญิงอายุน้อย แต่การอัลตราซาวนด์ไม่สามารถแทนที่การตรวจแมมโมแกรมได้ เพราะไม่สามารถตรวจพบหินปูนได้
ใครควรตรวจแมมโมแกรมบ้าง?
- ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ขึ้นไป ควรเริ่มตรวจเป็นประจำทุกปี
- ในกรณีที่บุคคลในครอบครัวมีประวัติสายตรงป่วยเป็นมะเร็งเต้านมก่อนวัยหมดประจำเดือน ควรเริ่มตรวจเร็วขึ้นตั้งแต่อายุ 30 ปี
- บุคคลที่มีประวัติตรวจยีนผิดปกติ (Gene mutation) ได้แก่ ยีน BRCA1 และ BRCA2 หรือมีญาติสายตรงที่ตรวจพบยีนผิดปกติให้เริ่มตรวจเป็นประจำทุกปีตั้งแต่อายุ 25 ปี
- บุคคลที่มีประวัติฉายแสงบริเวณทรวงอก ขณะอายุ 10-30 ปี ให้เริ่มตรวจเป็นประจำทุกปี หลังจากได้รับการฉายแสงเสร็จสิ้นแล้ว 8 ปี (แต่อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี)
- บุคคลที่คลำพบก้อนเนื้อ มีเลือดออกที่หัวนม หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ที่เต้านม
- บุคคลที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเนื้องอกในเต้านม เพื่อติดตามผลการรักษา
การเตรียมตัวก่อนตรวจแมมโมแกรม
- รับประทานอาหาร และดื่มน้ำได้ตามปกติ โดยใช้เวลาตรวจทั้งสิ้นประมาณ 30 นาที
- ห้ามทาโลชั่น แป้งฝุ่น บริเวณเต้านมและรักแร้ รวมถึงยาและสเปรย์ระงับกลิ่นตัว
- แต่งกายด้วยชุดแบบ 2 ชิ้น (ท่อนบน-ล่าง) เพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนเสื้อผ้า
- หากเคยตรวจแมมโมแกรมมาก่อน ควรนำผลตรวจภาพแมมโมแกรมเดิม เพื่อมาเปรียบเทียบดูความเปลี่ยนแปลง
- หากมีอาการผิดปกติของเต้านม ควรแจ้งให้รังสีแพทย์ที่ทำการตรวจทราบ
ขั้นตอนการตรวจแมมโมแกรม
- นักรังสีเทคนิคการแพทย์จะใช้อุปกรณ์บีบเต้านมเข้าหากันแล้วทำการถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมข้างละ 2 รูป
- กรณีพบจุดสงสัย อาจมีการถ่ายรูปเพิ่มเพื่อความชัดเจน
- แพทย์จะพิจารณาตรวจด้วยอัลตราซาวด์ร่วมด้วยในบางราย
- แมมโมแกรมควรตรวจเป็นประจำทุกปี หรือหากพบความผิดปกติ แพทย์จะพิจารณานัดตรวจเพื่อติดตามผลเป็นประจำทุก 3 - 6 เดือน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E