
ใส่ใจลูกรัก รู้ทันโรคคาวาซากิ
เมื่อเด็กๆ มีไข้สูงต่อเนื่องหลายวัน ผู้ปกครองควรดูแลใส่ใจเป็นพิเศษเพราะนอกจากโรคติดเชื้อต่างๆ ที่ระบาดตามฤดูกาลแล้ว อีกโรคหนึ่งที่มีความสำคัญและควรได้รับการวินิจฉัยในเวลาที่เหมาะสม คือ
โรคคาวาซากิ (Kawasaki) ซึ่งพบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง โรคคาวาซากิอาจทำให้เกิดการอักเสบของหัวใจและหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หลอดเลือดหัวใจมีลักษณะโป่งพอง ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เสียชีวิตเฉียบพลันได้ ผู้ปกครองควรสังเกตอาการ และพามาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรกจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
อาการบ่งชี้ของโรคคาวาซากิ
โรคคาวาซากิมักมีไข้สูง โดยมากมักเป็นไข้นานเกิน 5 วัน ร่วมกับมีอาการบ่งชี้ ดังนี้
- ตาขาวแดงทั้ง 2 ข้าง แต่ไม่มีขี้ตา
- ริมฝีปากแห้ง แดง ลิ้นแดงเป็นตุ่มๆ คล้ายผิวสตรอเบอร์รี่
- มีผื่นตามตัวแต่มักไม่มีตุ่มน้ำและอาจหายไปเอง
- ฝ่ามือ ฝ่าเท้าบวม
- ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต มักเป็นข้างเดียวและไม่มีอาการเจ็บ
** อาจพบอาการแสดงอื่นๆ ที่เกิดร่วม เช่น ข้ออักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ท้องเสีย ปวดท้อง
การวินิจฉัยโรค
- วินิจฉัยจากอาการไข้นานเกิน 5 วัน ร่วมกับกลุ่มอาการของโรค 3-4 ข้อ ใน 5 ข้อ ประกอบกับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการช่วยสนับสนุน
- และจะมีการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) เพื่อประเมินลักษณะหลอดเลือดหัวใจ ช่วยในการประกอบการวินิจฉัยเพิ่มเติม
วิธีการรักษา
1. ให้ยาแกมม่า โกลบูลิน (Intravenous immunoglobulin, IVIG) ทางหลอดเลือดดำ
มีผลช่วยลดอาการอักเสบของหลอดเลือดหัวใจ ลดโอกาสเกิดเส้นเลือดหัวใจโป่งพอง แต่อาจมีผลข้างเคียงหรืออาการแพ้รุนแรงได้ในบางราย โดยแพทย์จะเฝ้าระวังผลข้างเคียงอย่างไกล้ชิดขณะให้ยา
2. ในช่วงระยะเฉียบพลันให้ยาแอสไพรินขนาดสูง
เพื่อช่วยลดการอักเสบจากนั้นลดขนาดยาแอสไพรินและให้ยาต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 6-8 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะความผิดปกติของเส้นหลอดเลือดหัวใจ
หลักสำคัญหลังการรักษา
- ควรเข้ารับการตรวจอาการตามที่แพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ
- เลื่อนการรับวัคซีนชนิดเชื้อเป็น ออกไปอย่างน้อย 11 เดือน หลังได้รับยาอิมมูโนโกลบูลิน เช่น วัคซีนหัด คางทูม หัดเยอรมัน และสุกใส วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็น
- รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ลดไขมัน และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E
เมื่อเด็กๆ มีไข้สูงต่อเนื่องหลายวัน ผู้ปกครองควรดูแลใส่ใจเป็นพิเศษเพราะนอกจากโรคติดเชื้อต่างๆ ที่ระบาดตามฤดูกาลแล้ว อีกโรคหนึ่งที่มีความสำคัญและควรได้รับการวินิจฉัยในเวลาที่เหมาะสม คือ
โรคคาวาซากิ (Kawasaki) ซึ่งพบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง โรคคาวาซากิอาจทำให้เกิดการอักเสบของหัวใจและหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หลอดเลือดหัวใจมีลักษณะโป่งพอง ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เสียชีวิตเฉียบพลันได้ ผู้ปกครองควรสังเกตอาการ และพามาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรกจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
อาการบ่งชี้ของโรคคาวาซากิ
โรคคาวาซากิมักมีไข้สูง โดยมากมักเป็นไข้นานเกิน 5 วัน ร่วมกับมีอาการบ่งชี้ ดังนี้
- ตาขาวแดงทั้ง 2 ข้าง แต่ไม่มีขี้ตา
- ริมฝีปากแห้ง แดง ลิ้นแดงเป็นตุ่มๆ คล้ายผิวสตรอเบอร์รี่
- มีผื่นตามตัวแต่มักไม่มีตุ่มน้ำและอาจหายไปเอง
- ฝ่ามือ ฝ่าเท้าบวม
- ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต มักเป็นข้างเดียวและไม่มีอาการเจ็บ
** อาจพบอาการแสดงอื่นๆ ที่เกิดร่วม เช่น ข้ออักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ท้องเสีย ปวดท้อง
การวินิจฉัยโรค
- วินิจฉัยจากอาการไข้นานเกิน 5 วัน ร่วมกับกลุ่มอาการของโรค 3-4 ข้อ ใน 5 ข้อ ประกอบกับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการช่วยสนับสนุน
- และจะมีการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) เพื่อประเมินลักษณะหลอดเลือดหัวใจ ช่วยในการประกอบการวินิจฉัยเพิ่มเติม
วิธีการรักษา
1. ให้ยาแกมม่า โกลบูลิน (Intravenous immunoglobulin, IVIG) ทางหลอดเลือดดำ
มีผลช่วยลดอาการอักเสบของหลอดเลือดหัวใจ ลดโอกาสเกิดเส้นเลือดหัวใจโป่งพอง แต่อาจมีผลข้างเคียงหรืออาการแพ้รุนแรงได้ในบางราย โดยแพทย์จะเฝ้าระวังผลข้างเคียงอย่างไกล้ชิดขณะให้ยา
2. ในช่วงระยะเฉียบพลันให้ยาแอสไพรินขนาดสูง
เพื่อช่วยลดการอักเสบจากนั้นลดขนาดยาแอสไพรินและให้ยาต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 6-8 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะความผิดปกติของเส้นหลอดเลือดหัวใจ
หลักสำคัญหลังการรักษา
- ควรเข้ารับการตรวจอาการตามที่แพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ
- เลื่อนการรับวัคซีนชนิดเชื้อเป็น ออกไปอย่างน้อย 11 เดือน หลังได้รับยาอิมมูโนโกลบูลิน เช่น วัคซีนหัด คางทูม หัดเยอรมัน และสุกใส วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็น
- รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ลดไขมัน และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E