ยาแก้แพ้ ใช้อย่างไรเมื่อมีอาการแพ้รุนแรง

แผนการดูแลผู้มีอาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis หรือ อนาฟัยแลกซิส)

1. อาการรุนแรงอย่างหนึ่งอย่างใดหรือเกิดขึ้นมากกว่า 1 ระบบ ให้ฉีดอะดรีนาลีนหรืออีพิเพ็น (Adrenaline / Epipen) และรีบไปพบแพทย์

ผิวหนัง

ลมพิษทั่วตัว ตัวแดง

ปาก

ลิ้นบวม ปากบวม

คอ

แน่นคอ เสียงแหบ
หายใจลำบาก กลืนลำบาก

หัวใจ

หน้าซีด หน้าเขียว
เป็นลม วิงเวียน

ปอด

หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก
หายใจวีด

กระเพาะ หรือลำไส้

อาเจียนรุนแรง
ท้องเสียรุนแรง

สมอง

รู้สึกแย่ ซึม
หรือสับสน

 

2. อาการเล็กน้อยแต่เกิดขึ้นมากกว่า 1 ระบบ (Adrenaline / Epipen) และรีบไปพบแพทย์

 

ผิวหนัง

ลมพิษ 2 – 3 จุด
คันเล็กน้อย

ปาก

คันปาก

จมูก

คัน น้ำมูกไหล จาม

กระเพาะ หรือลำไส้

  คลื่นไส้เล็กน้อย ท้องอืด

 

 

3. อาการเล็กน้อยเพียงระบบเดียว ให้รับประทานยาแก้แพ้และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

ขนาดยาที่แพทย์ให้ใช้ได้ 

วิธีการฉีดอีพิเพ็น (Epipen)

ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือท่านอนอย่าลุกนั่ง

1. แกะอีพิเพ็น (Epipen) ออกจากหลอดพลาสติกใส

2. ปลดตัวล็อคสีน้ำเงินออกโดยดึงออกตรงๆ ไม่ต้องบิดหรือหมุน

3. ปักและกดปลายสีส้มของอีพิเพ็น (Epipen) แน่นๆ ตั้งฉากกับผิวหนังที่ตรงกึ่งกลางของกล้ามเนื้อต้นขาด้านข้างจนกว่าจะได้ยินเสียงคลิก

4. กดแน่นๆ ค้างไว้ 3 วินาที (โดยนับ 1-2-3 ช้าๆ)

5. ถอนอีพิเพ็น (Epipen) ออกและนวดคลึงบริเวณที่ฉีด 10 วินาที

*หลังจากฉีดยาให้รีบไปพบแพทย์

วิธีการฉีดอะดรีนาลีน (Adrenaline)

โดยแพทย์จะเตรียมใส่กระบอกฉีดยาไว้ให้ ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือท่านอนอย่าลุกนั่ง

1. ปลดปลอกเข็มพลาสติกออก 

2. ปักเข็มตั้งฉากทะลุผิวหนังตรงกึ่งกลางของกล้ามเนื้อต้นขาด้านข้างจนมิดความยาวของเข็ม

3. ดันแกนพลาสติกสีขาวเพื่อเดินยาเข้าไปจนหมดกระบอกฉีดยา

4. ดึงเข็มฉีดยาออกและกดห้ามเลือดไว้ประมาณ 1 นาที

5. กำจัดเข็มทิ้งในที่ที่ปลอดภัย

*หลังจากฉีดยาให้รีบไปพบแพทย์

สิ่งที่ต้องรู้

1. ผู้ป่วยควรนอนราบและยกขาสูงเล็กน้อย ยกเว้นผู้ที่มีอาการเหนื่อย หายใจลำบากให้นั่งได้ ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ควรนอนตะแคงซ้าย ห้ามลุกขึ้นยืนเร็วเกินไป

2. หากมีความจำเป็นในทุกกรณีสามารถฉีดอะดรีนาลีนหรืออีพิเพ็น (Adrenaline / Epipen) ทะลุผ่านเสื้อได้เลย

3. การฉีดอะดรีนาลีนหรืออีพิเพ็น (Adrenaline / Epipen) ต้องฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นขาด้านข้าง หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 5 นาที สามารถฉีดซ้ำได้อีกครั้ง

4. สามารถให้ยาแก้แพ้และยาขยายหลอดลมได้ตามอาการ แต่ยาเหล่านี้ไม่สามารถรักษาอาการแพ้รุนแรงได้

5. หากมีอาการรุนแรงหรืออาการมากกว่า 1 ระบบ ผู้ป่วยหรือญาติควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด อย่าประมาทเพราะอาการอาจแย่ลงอย่างเฉียบพลันได้

สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคภูมิแพ้ ชั้น 3 โซน D

แผนการดูแลผู้มีอาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis หรือ อนาฟัยแลกซิส)

1. อาการรุนแรงอย่างหนึ่งอย่างใดหรือเกิดขึ้นมากกว่า 1 ระบบ ให้ฉีดอะดรีนาลีนหรืออีพิเพ็น (Adrenaline / Epipen) และรีบไปพบแพทย์

ผิวหนัง

ลมพิษทั่วตัว ตัวแดง

ปาก

ลิ้นบวม ปากบวม

คอ

แน่นคอ เสียงแหบ

หายใจลำบาก กลืนลำบาก

หัวใจ

หน้าซีด หน้าเขียว

เป็นลม วิงเวียน

 

ปอด

หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก

หายใจวีด

กระเพาะ หรือลำไส้

อาเจียนรุนแรง

ท้องเสียรุนแรง

สมอง

รู้สึกแย่ ซึม

หรือสับสน

2. อาการเล็กน้อยแต่เกิดขึ้นมากกว่า 1 ระบบ (Adrenaline / Epipen) และรีบไปพบแพทย์

ผิวหนัง

ลมพิษ 2 – 3 จุด

คันเล็กน้อย

ปาก

คันปาก

จมูก

คัน น้ำมูกไหล จาม

กระเพาะ หรือลำไส้

  คลื่นไส้เล็กน้อย ท้องอืด

 

3. อาการเล็กน้อยเพียงระบบเดียว ให้รับประทานยาแก้แพ้และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

ขนาดยาที่แพทย์ให้ใช้ได้ 

วิธีการฉีดอีพิเพ็น (Epipen)

ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือท่านอนอย่าลุกนั่ง

1. แกะอีพิเพ็น (Epipen) ออกจากหลอดพลาสติกใส

2. ปลดตัวล็อคสีน้ำเงินออกโดยดึงออกตรงๆ ไม่ต้องบิดหรือหมุน

3. ปักและกดปลายสีส้มของอีพิเพ็น (Epipen) แน่นๆ ตั้งฉากกับผิวหนังที่ตรงกึ่งกลางของกล้ามเนื้อต้นขาด้านข้างจนกว่าจะได้ยินเสียงคลิก

4. กดแน่นๆ ค้างไว้ 3 วินาที (โดยนับ 1-2-3 ช้าๆ)

5. ถอนอีพิเพ็น (Epipen) ออกและนวดคลึงบริเวณที่ฉีด 10 วินาที

*หลังจากฉีดยาให้รีบไปพบแพทย์

วิธีการฉีดอะดรีนาลีน (Adrenaline)

โดยแพทย์จะเตรียมใส่กระบอกฉีดยาไว้ให้ ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือท่านอนอย่าลุกนั่ง

1. ปลดปลอกเข็มพลาสติกออก 

2. ปักเข็มตั้งฉากทะลุผิวหนังตรงกึ่งกลางของกล้ามเนื้อต้นขาด้านข้างจนมิดความยาวของเข็ม

3. ดันแกนพลาสติกสีขาวเพื่อเดินยาเข้าไปจนหมดกระบอกฉีดยา

4. ดึงเข็มฉีดยาออกและกดห้ามเลือดไว้ประมาณ 1 นาที

5. กำจัดเข็มทิ้งในที่ที่ปลอดภัย

*หลังจากฉีดยาให้รีบไปพบแพทย์

สิ่งที่ต้องรู้

1. ผู้ป่วยควรนอนราบและยกขาสูงเล็กน้อย ยกเว้นผู้ที่มีอาการเหนื่อย หายใจลำบากให้นั่งได้ ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ควรนอนตะแคงซ้าย ห้ามลุกขึ้นยืนเร็วเกินไป

2. หากมีความจำเป็นในทุกกรณีสามารถฉีดอะดรีนาลีนหรืออีพิเพ็น (Adrenaline / Epipen) ทะลุผ่านเสื้อได้เลย

3. การฉีดอะดรีนาลีนหรืออีพิเพ็น (Adrenaline / Epipen) ต้องฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นขาด้านข้าง หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 5 นาที สามารถฉีดซ้ำได้อีกครั้ง

4. สามารถให้ยาแก้แพ้และยาขยายหลอดลมได้ตามอาการ แต่ยาเหล่านี้ไม่สามารถรักษาอาการแพ้รุนแรงได้

5. หากมีอาการรุนแรงหรืออาการมากกว่า 1 ระบบ ผู้ป่วยหรือญาติควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด อย่าประมาทเพราะอาการอาจแย่ลงอย่างเฉียบพลันได้

สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคภูมิแพ้ ชั้น 3 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง