หนัก นาน บ่อย หลักการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก
ในปัจจุบันผู้คนหันมาสนใจในเรื่องของการมีสุขภาพที่ดี SiPH จึงเห็นว่าการที่เราจะมีสุขภาพที่ดีได้นั้น มาจากพฤติกรรมหลายอย่าง หลายคนนั้นทำทุกอย่างเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง บ้างก็ออกกำลังกาย กินอาหารเสริม ควบคุมอาหาร แต่ถึงอย่างไรนั้น วิธีที่ดีที่สุดที่ SiPH จะแนะนำก็คือ การออกกำลังกาย นั่นเอง ฉะนั้นวันนี้ SiPH ก็มีเทคนิคง่าย ๆ 3 คำ ท่องไว้ สำหรับที่อยากจะออกกำลังกาย เพื่อการลดน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพและสุขภาพที่ดี นั่นก็คือ หนัก นาน บ่อย
หนัก (Intensity) โดยปกติเราใช้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นตัววัดความหนักของงาน ถ้าเป็นการออกกำลังกาย เพื่อลดน้ำหนักหรือเพื่อสุขภาพ อัตราการเต้นของหัวใจของผู้ออกกำลังกายควรอยู่ในอัตรา 60 - 80% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ซึ่งการออกกำลังกายก็มีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน
- คาร์ดิโอ (Cardio Exercise) เป็นหนึ่งในการออกกำลังกาย ที่เป็นการเสริมความแข็งแรงของระบบไหลเวียนเลือด หัวใจและปอด ให้สามารถนำออกซิเจนมาใช้ได้มากขึ้น เพิ่มศักยภาพในการออกกำลังกายให้ดีขึ้น และช่วยในการเผาผลาญแคลอรี่ เพื่อการลดน้ำหนักได้ดี
- เวทเทรนนิ่ง (Weight training) หรืออาจจะเรียกอีกอย่างว่า Resistance training หรือ การออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เช่น การยกน้ำหนักที่เราสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นดัมเบลล์ บาร์เบล ยางยืด หรือน้ำหนักตัวของเราเอง
รู้ได้อย่างไรว่าแค่ไหนหนักพอ?
โดยคำนวณจาก ชีพจรสูงสุดของแต่ละอายุ = 220 – อายุ
ตัวอย่างเช่น : อายุ 40 ปี ชีพจรสูงสุดของคนอายุ 40 ปี = 220 - 40 = 180 ครั้ง/นาที
ต้องการออกกำลังกายที่ 60-80% ของชีพจรสูงสุด สามารถคำนวณได้ดังนี้
- ชีพจรเป้าหมาย ( Target Heart Rate ) 60% = 60/100*180 = 108 ครั้ง/นาที
- ชีพจรเป้าหมาย ( Target Heart Rate ) 80% = 80/100*180 = 144 ครั้ง/นาที
ดังนั้น คนอายุ 40 ปี หากจะออกกำลังเพื่อลดน้ำหนักควรให้หัวใจเต้นระหว่าง 108 – 144 ครั้งต่อนาที หรือสามารถดูได้จากตารางนี้
นาน (Duration) โดยทั่วไปแล้วการออกกำลังกายให้มีประสิทธิภาพ จะแนะนำให้ทำอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ วันละประมาณ 20 - 30 นาที หรือสามารถเพิ่มได้ถึงครั้งละ 60 นาที
บ่อย (Frequency) ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ หรือสามารถออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักได้มากกว่า 5 วัน/สัปดาห์
เคล็ดลับ
- ชนิดของการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก (Type) ควรเป็นแบบแอโรบิค (Aerobic Exercise) เน้นการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่
- จัดให้มีความสมดุลกันระหว่างการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรง การออกกำลังการเพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้ร่างกาย
การออกกำลังกายแบบแอโรบิค คือ การออกกำลังกายที่ร่างกายต้องการใช้ออกซิเจน โดยการออกกำลังกายแบบแอโรบิค จะออกกำลังกายด้วยระดับความหนักที่กำลังพอดี คือทำให้ระบบหลอดเลือดหัวใจของคุณ สามารถส่งออกซิเจนไปให้กล้ามเนื้อและคงระดับการออกกำลังกายขณะนั้นต่อไปได้เรื่อย ๆ โดยให้ระดับความหนักในการออกกำลังกายอยู่ประมาณ 60-80 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด ตัวอย่างการออกกำลังแอโรบิค เช่น การเดิน (เร็วๆ) การวิ่ง ว่ายน้ำ กระโดดเชือก เต้นแอโรบิค ถีบจักรยาน เป็นต้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 3 โซน C
ในปัจจุบันผู้คนหันมาสนใจในเรื่องของการมีสุขภาพที่ดี SiPH จึงเห็นว่าการที่เราจะมีสุขภาพที่ดีได้นั้น มาจากพฤติกรรมหลายอย่าง หลายคนนั้นทำทุกอย่างเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง บ้างก็ออกกำลังกาย กินอาหารเสริม ควบคุมอาหาร แต่ถึงอย่างไรนั้น วิธีที่ดีที่สุดที่ SiPH จะแนะนำก็คือ การออกกำลังกาย นั่นเอง ฉะนั้นวันนี้ SiPH ก็มีเทคนิคง่าย ๆ 3 คำ ท่องไว้ สำหรับที่อยากจะออกกำลังกาย เพื่อการลดน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพและสุขภาพที่ดี นั่นก็คือ หนัก นาน บ่อย
หนัก (Intensity) โดยปกติเราใช้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นตัววัดความหนักของงาน ถ้าเป็นการออกกำลังกาย เพื่อลดน้ำหนักหรือเพื่อสุขภาพ อัตราการเต้นของหัวใจของผู้ออกกำลังกายควรอยู่ในอัตรา 60 - 80% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ซึ่งการออกกำลังกายก็มีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน
- คาร์ดิโอ (Cardio Exercise) เป็นหนึ่งในการออกกำลังกาย ที่เป็นการเสริมความแข็งแรงของระบบไหลเวียนเลือด หัวใจและปอด ให้สามารถนำออกซิเจนมาใช้ได้มากขึ้น เพิ่มศักยภาพในการออกกำลังกายให้ดีขึ้น และช่วยในการเผาผลาญแคลอรี่ เพื่อการลดน้ำหนักได้ดี
- เวทเทรนนิ่ง (Weight training) หรืออาจจะเรียกอีกอย่างว่า Resistance training หรือ การออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เช่น การยกน้ำหนักที่เราสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นดัมเบลล์ บาร์เบล ยางยืด หรือน้ำหนักตัวของเราเอง
รู้ได้อย่างไรว่าแค่ไหนหนักพอ?
โดยคำนวณจาก ชีพจรสูงสุดของแต่ละอายุ = 220 – อายุ
ตัวอย่างเช่น : อายุ 40 ปี ชีพจรสูงสุดของคนอายุ 40 ปี = 220 - 40 = 180 ครั้ง/นาที
ต้องการออกกำลังกายที่ 60-80% ของชีพจรสูงสุด สามารถคำนวณได้ดังนี้
- ชีพจรเป้าหมาย ( Target Heart Rate ) 60% = 60/100*180 = 108 ครั้ง/นาที
- ชีพจรเป้าหมาย ( Target Heart Rate ) 80% = 80/100*180 = 144 ครั้ง/นาที
ดังนั้น คนอายุ 40 ปี หากจะออกกำลังเพื่อลดน้ำหนักควรให้หัวใจเต้นระหว่าง 108 – 144 ครั้งต่อนาที หรือสามารถดูได้จากตารางนี้
นาน (Duration) โดยทั่วไปแล้วการออกกำลังกายให้มีประสิทธิภาพ จะแนะนำให้ทำอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ วันละประมาณ 20 - 30 นาที หรือสามารถเพิ่มได้ถึงครั้งละ 60 นาที
บ่อย (Frequency) ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ หรือสามารถออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักได้มากกว่า 5 วัน/สัปดาห์
เคล็ดลับ
- ชนิดของการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก (Type) ควรเป็นแบบแอโรบิค (Aerobic Exercise) เน้นการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่
- จัดให้มีความสมดุลกันระหว่างการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรง การออกกำลังการเพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้ร่างกาย
การออกกำลังกายแบบแอโรบิค คือ การออกกำลังกายที่ร่างกายต้องการใช้ออกซิเจน โดยการออกกำลังกายแบบแอโรบิค จะออกกำลังกายด้วยระดับความหนักที่กำลังพอดี คือทำให้ระบบหลอดเลือดหัวใจของคุณ สามารถส่งออกซิเจนไปให้กล้ามเนื้อและคงระดับการออกกำลังกายขณะนั้นต่อไปได้เรื่อย ๆ โดยให้ระดับความหนักในการออกกำลังกายอยู่ประมาณ 60-80 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด ตัวอย่างการออกกำลังแอโรบิค เช่น การเดิน (เร็วๆ) การวิ่ง ว่ายน้ำ กระโดดเชือก เต้นแอโรบิค ถีบจักรยาน เป็นต้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 3 โซน C