ภาวะไอ จาม ปัสสาวะเล็ด
ภาวะไอ จาม ปัสสาวะเล็ด หมายถึง ภาวะปัสสาวะเล็ด/รั่ว ซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่มีการเพิ่มขึ้นของความดันในช่องท้อง เช่น ไอ จาม หัวเราะ ออกกำลังกาย หรือยกของหนัก ผู้ป่วยมักไม่มีความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ แต่ปัสสาวะที่เล็ดจะมีปริมาณไม่มาก บางครั้งผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องใส่ผ้าอนามัยรอง เพื่อช่วยขับไม่ให้ปัสสาวะเปรอะเปื้อน หากมีอาการรุนแรงอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
สาเหตุของภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด
เกิดได้ทั้งจากความผิดปกติภายในท่อปัสสาวะหรือกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งอยู่โดยรอบท่อปัสสาวะเกิดความเสียหาย จนไม่สามารถทำหน้าที่ยึดพยุงท่อปัสสาวะไว้ได้
ปัจจัยเสี่ยงของภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด
1. ผู้ที่ตั้งครรภ์และคลอดทางช่องคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีคลอดยาก หรือใช้เครื่องมือช่วยคลอด
2. ภาวะโรคอ้วน
3. ภาวะที่มีแรงดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น เช่น ไอเรื้อรัง ท้องผูก และยกของหนัก
การวินิจฉัยภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด
แพทย์สามารถให้การวินิจฉัยจากการสอบถามอาการผิดปกติ ประเมินจากการจดบันทึกปริมาณปัสสาวะ (Bladder Diary) การตรวจภายใน การตรวจภาวะปัสสาวะเล็ดโดยให้ผู้ป่วยไอ (Cough test) และการตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการ (Urodynamic) โดยแพทย์จะทำการประเมินระดับความรุนแรงเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
การรักษาภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด
1. การรักษาแบบประคับประคอง ได้แก่
- ลดน้ำหนัก
- การฝึกกลั้นปัสสาวะโดยการปรับเปลี่ยนท่าทาง เช่น ไขว้ขา ก้มตัวไปข้างหน้า
- การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานโดยการขมิบช่องคลอด (Kegel exercise)
- การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงในช่องคลอด
2. การรักษาโดยการผ่าตัด ได้แก่
- การผ่าตัดทางหน้าท้อง เป็นการผ่าตัดเพื่อเย็บผนังช่องคลอดทางด้านหน้ามาช่วยเสริมความแข็งแรงของท่อปัสสาวะ (Burch Colposuspension) ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีและราคาไม่แพง แต่ข้อเสีย คือ เจ็บแผล ใช้เวลาในการผ่าตัดนานและอาจมีปัญหาปัสสาวะไม่ออกหลังผ่าตัดได้
- การผ่าตัดทางช่องคลอด โดยใช้วัสดุสังเคราะห์หรือเทปวางใต้ท่อปัสสาวะเพื่อเสริมความแข็งแรงและป้องกันภาวะปัสสาวะเล็ดขณะไอจาม เป็นวิธีมาตรฐานที่นิยมใช้ในการรักษาเนื่องจากใช้เวลาผ่าตัดไม่นาน ไม่มีแผลผ่าตัดทางหน้าท้องและผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ปัจจุบันมีหลายในการผ่าตัด ได้แก่ TVT-O, Monarch, Miniarc และ TVT ซึ่งแต่ละวิธีอาศัยหลักการเดียวกัน
ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
ถึงแม้การรักษาโดยการผ่าตัดจะมีประสิทธิภาพสูง แต่ข้อเสียคือ ค่าใช้จ่ายสูง หลังผ่าตัดอาจมีอาการปวดขาหนีบ ปัสสาวะลำบาก และอาจมีอาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์จากเทปสังเคราะห์ ซึ่งอาจโผล่พ้นบริเวณที่เย็บปิดไว้ (Mesh Extrusion) ทำให้เจ็บและมีเลือดออกได้
อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์หลังผ่าตัด
- เลือดออกมากผิดปกติทางช่องคลอด
- ตกขาวมีกลิ่นเหม็น
- ปัสสาวะไม่ออก ต้องเบ่งขณะปัสสาวะ
- มีไข้สูง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E
ภาวะไอ จาม ปัสสาวะเล็ด หมายถึง ภาวะปัสสาวะเล็ด/รั่ว ซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่มีการเพิ่มขึ้นของความดันในช่องท้อง เช่น ไอ จาม หัวเราะ ออกกำลังกาย หรือยกของหนัก ผู้ป่วยมักไม่มีความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ แต่ปัสสาวะที่เล็ดจะมีปริมาณไม่มาก บางครั้งผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องใส่ผ้าอนามัยรอง เพื่อช่วยขับไม่ให้ปัสสาวะเปรอะเปื้อน หากมีอาการรุนแรงอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
สาเหตุของภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด
เกิดได้ทั้งจากความผิดปกติภายในท่อปัสสาวะหรือกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งอยู่โดยรอบท่อปัสสาวะเกิดความเสียหาย จนไม่สามารถทำหน้าที่ยึดพยุงท่อปัสสาวะไว้ได้
ปัจจัยเสี่ยงของภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด
1. ผู้ที่ตั้งครรภ์และคลอดทางช่องคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีคลอดยาก หรือใช้เครื่องมือช่วยคลอด
2. ภาวะโรคอ้วน
3. ภาวะที่มีแรงดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น เช่น ไอเรื้อรัง ท้องผูก และยกของหนัก
การวินิจฉัยภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด
แพทย์สามารถให้การวินิจฉัยจากการสอบถามอาการผิดปกติ ประเมินจากการจดบันทึกปริมาณปัสสาวะ (Bladder Diary) การตรวจภายใน การตรวจภาวะปัสสาวะเล็ดโดยให้ผู้ป่วยไอ (Cough test) และการตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการ (Urodynamic) โดยแพทย์จะทำการประเมินระดับความรุนแรงเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
การรักษาภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด
1. การรักษาแบบประคับประคอง ได้แก่
- ลดน้ำหนัก
- การฝึกกลั้นปัสสาวะโดยการปรับเปลี่ยนท่าทาง เช่น ไขว้ขา ก้มตัวไปข้างหน้า
- การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานโดยการขมิบช่องคลอด (Kegel exercise)
- การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงในช่องคลอด
2. การรักษาโดยการผ่าตัด ได้แก่
- การผ่าตัดทางหน้าท้อง เป็นการผ่าตัดเพื่อเย็บผนังช่องคลอดทางด้านหน้ามาช่วยเสริมความแข็งแรงของท่อปัสสาวะ (Burch Colposuspension) ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีและราคาไม่แพง แต่ข้อเสีย คือ เจ็บแผล ใช้เวลาในการผ่าตัดนานและอาจมีปัญหาปัสสาวะไม่ออกหลังผ่าตัดได้
- การผ่าตัดทางช่องคลอด โดยใช้วัสดุสังเคราะห์หรือเทปวางใต้ท่อปัสสาวะเพื่อเสริมความแข็งแรงและป้องกันภาวะปัสสาวะเล็ดขณะไอจาม เป็นวิธีมาตรฐานที่นิยมใช้ในการรักษาเนื่องจากใช้เวลาผ่าตัดไม่นาน ไม่มีแผลผ่าตัดทางหน้าท้องและผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ปัจจุบันมีหลายในการผ่าตัด ได้แก่ TVT-O, Monarch, Miniarc และ TVT ซึ่งแต่ละวิธีอาศัยหลักการเดียวกัน
ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
ถึงแม้การรักษาโดยการผ่าตัดจะมีประสิทธิภาพสูง แต่ข้อเสียคือ ค่าใช้จ่ายสูง หลังผ่าตัดอาจมีอาการปวดขาหนีบ ปัสสาวะลำบาก และอาจมีอาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์จากเทปสังเคราะห์ ซึ่งอาจโผล่พ้นบริเวณที่เย็บปิดไว้ (Mesh Extrusion) ทำให้เจ็บและมีเลือดออกได้
อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์หลังผ่าตัด
- เลือดออกมากผิดปกติทางช่องคลอด
- ตกขาวมีกลิ่นเหม็น
- ปัสสาวะไม่ออก ต้องเบ่งขณะปัสสาวะ
- มีไข้สูง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E