3 วิธีตรวจมะเร็งเต้านม
ผู้หญิงเมื่ออายุเพิ่มขึ้นโรคภัยและปัญหาด้านสุขภาพมักเริ่มถามหา ในปัจจุปัน “มะเร็งเต้านม” ถือเป็นภัยเงียบของผู้หญิงเพราะมักมาโดยไม่มีสัญญาณเตือน ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้ การตรวจคัดกรองจึงมีความสำคัญ เพราะหากตรวจพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ย่อมช่วยไม่ให้แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ และมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ คุณเองก็สามารถสังเกตอาการที่เปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ดังนี้
อาการมะเร็งเต้านมที่พบบ่อย
1. คลำพบก้อนที่เต้านม
2. มีการเปลี่ยนแปลงขนาด และรูปร่างของเต้านม
3. ผิวหนังเปลี่ยนแปลง เช่น รอยบุ๋ม ย่น หดตัวหรือมีความหนาผิดปกติ
4. หัวนมมีการหดตัว คัน หรือมีผื่นแดงผิดปกติ
5. มีเลือด หรือของเหลวไหลออกจากหัวนม
การที่เราตรวจสอบสุขภาพตัวเองโดยใช้วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ เมื่อคลำเจอก้อนในเต้านมอย่าเพิ่งตกใจเพราะก้อนส่วนใหญ่ไม่ใช่เนื้อร้าย แต่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงของความผิดปกตินั้น
วิธีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านมมีอะไรบ้าง?
1. ตรวจมะเร็งด้วยตนเอง 3 ท่าง่ายๆ
1.1 ท่ายืนหน้ากระจก
- ปล่อยแขนไว้ข้างลำตัวตามสบาย สังเกตเปรียบเทียบขนาดเต้านมทั้งสองข้างว่ามีการบิดเบี้ยวของหัวนม หรือมีสิ่งผิดปกติหรือไม่
- สำรวจหาความผิดปรกติในท่าประสานมือเหนือศีรษะและท่าเท้าเอว
- โน้มตัวไปข้างหน้าโดยวางมือทั้ง 2 ข้างบนเข่าหรือเก้าอี้ แล้วสังเกตความปกติ
1.2 ท่านอนราบ
- นอนราบในท่าที่สบาย
- ยกแขนข้างที่จะตรวจขึ้นเหนือศีรษะเพื่อให้เต้านมแผ่ราบ โดยเฉพาะบริเวณส่วนบนด้านนอกซึ่งมีเนื้อหนาที่สุด
- ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางของมืออีกข้างหนึ่ง คลำให้ทั่วเต้านมและรักแร้ โดยห้ามบีบเนื้อเต้านม เพราะจะรู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่
- เมื่อตรวจเสร็จข้างหนึ่งแล้วให้ย้ายมาตรวจอีกข้างหนึ่งด้วยวิธีเดียวกัน
1.3 ขณะอาบน้ำ
- ผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดเล็ก ให้ยกแขนข้างที่จะตรวจไว้เหนือศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งคลำแบบเดียวกับท่านอนราบ
- ผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดใหญ่ให้ใช้มือข้างที่จะตรวจประคอง และตรวจคลำเต้านมจากด้านล่าง ส่วนมืออีกข้างหนึ่งตรวจคลำจากด้านบน
2. การตรวจด้วยวิธีแมมโมแกรม (Mammogram)
การตรวจ “แมมโมแกรม” เป็นการตรวจทางรังสีชนิดพิเศษคล้ายการตรวจเอกซเรย์ มีประสิทธิภาพในการตรวจมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ทำให้การรักษาได้ผลดีและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงจากการเป็นมะเร็งเต้านม การตรวจแมมโมแกรมเป็นวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ดีที่สุดในปัจจุบัน สามารถตรวจพบหินปูนที่มีลักษณะผิดปกติในเต้านม หรือรอยโรคที่มีขนาดเล็กได้ ใช้เวลาตรวจเพียง 30 นาที และไม่ต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนเข้ารับการตรวจอีกด้วย
ใครควรตรวจแมมโมแกรมบ้าง?
- ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ขึ้นไป ควรเริ่มตรวจเป็นประจำทุกปี
- ในกรณีที่บุคคลในครอบครัวมีประวัติสายตรง การป่วยเป็นมะเร็งเต้านมก่อนวัยหมดประจำเดือน ควรเริ่มตรวจเร็วขึ้นตั้งแต่อายุ 30 ปี
- บุคคลที่มีประวัติตรวจยีนผิดปกติ (Gene mutation) ได้แก่ ยีน BRCA1 และ BRCA2 หรือมีญาติสายตรงที่ตรวจพบยีนผิดปกติให้เริ่มตรวจเป็นประจำทุกปีตั้งแต่อายุ 25 ปี
- บุคคลที่มีประวัติฉายแสงบริเวณทรวงอก ขณะอายุ 10-30 ปี ให้เริ่มตรวจเป็นประจำทุกปี หลังจากได้รับการฉายแสงเสร็จสิ้นแล้ว 8 ปี (แต่อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี)
- บุคคลที่คลำพบก้อนเนื้อ มีเลือดออกที่หัวนม หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ที่เต้านม
- บุคคลที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเนื้องอกในเต้านม เพื่อติดตามผลการรักษา
การตรวจด้วยอัลตราซาวนด์ร่วมด้วย
การตรวจอัลตราซาวด์ควบคู่กับแมมโมแกรมจะช่วยเพิ่มความแม่นยำและการวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น การตรวจอัลตราซาวด์เป็นการใช้คลื่นความถี่สูงผ่านเข้าไปในเนื้อเต้านม เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ จะสะท้อนกลับมาเกิดเป็นสภาพที่เครื่องตรวจ ทำให้สามารถดูองค์ประกอบได้ว่า สิ่งแปลกปลอมในเต้านมนั้นเป็นถุงน้ำหรือก้อนเนื้อ โดยเฉพาะกรณีผู้ที่มีเนื้อเต้านมแน่น เช่น ในผู้หญิงอายุน้อย แต่การอัลตราซาวด์ไม่สามารถแทนที่การตรวจแมมโมแกรมได้ เพราะไม่สามารถตรวจพบหินปูนได้
3. ตรวจเจาะชิ้นเนื้อ
ทันทีที่ตรวจพบความผิดปกติที่สงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งเต้านม ศัลยแพทย์จะพิจารณาส่งตรวจชิ้นเนื้อ ซึ่งทำได้ 2 วิธีคือ การใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อหรือการผ่าตัดเพื่อเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อพิสูจน์ทางพยาธิวิทยา การใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อ รังสีแพทย์จะพิจารณาว่าควรใช้เครื่องมือสำหรับการระบุตำแหน่งที่ผิดปกติเป็นเครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound) หรือสเตอริโอแทคติก แมมโมแกรม (Stereotactic Mammogram) เพื่อทำให้การเจาะชิ้นเนื้อได้ตำแหน่งที่ถูกต้องแม่นยำ
ดังนั้นเมื่อถึงวัยอันควรควรเข้ารับตรวจร่างกายรวมถึงตรวจแมมโมแกรม เพราะเมื่ออายุมากขึ้นก็มีโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมากกว่าคนอายุน้อย ด้วยเหตุนี้จึงควรตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ และตรวจเอกซเรย์เต้านมเมื่อถึงวัยอันควร เพื่อที่จะวินิจฉัยมะเร็งให้ได้แต่เนิ่นๆ การรักษาจึงจะได้ผลดี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E
ผู้หญิงเมื่ออายุเพิ่มขึ้นโรคภัยและปัญหาด้านสุขภาพมักเริ่มถามหา ในปัจจุปัน “มะเร็งเต้านม” ถือเป็นภัยเงียบของผู้หญิงเพราะมักมาโดยไม่มีสัญญาณเตือน ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้ การตรวจคัดกรองจึงมีความสำคัญ เพราะหากตรวจพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ย่อมช่วยไม่ให้แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ และมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ คุณเองก็สามารถสังเกตอาการที่เปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ดังนี้
อาการมะเร็งเต้านมที่พบบ่อย
1. คลำพบก้อนที่เต้านม
2. มีการเปลี่ยนแปลงขนาด และรูปร่างของเต้านม
3. ผิวหนังเปลี่ยนแปลง เช่น รอยบุ๋ม ย่น หดตัวหรือมีความหนาผิดปกติ
4. หัวนมมีการหดตัว คัน หรือมีผื่นแดงผิดปกติ
5. มีเลือด หรือของเหลวไหลออกจากหัวนม
การที่เราตรวจสอบสุขภาพตัวเองโดยใช้วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ เมื่อคลำเจอก้อนในเต้านมอย่าเพิ่งตกใจเพราะก้อนส่วนใหญ่ไม่ใช่เนื้อร้าย แต่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงของความผิดปกตินั้น
วิธีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านมมีอะไรบ้าง?
1. ตรวจมะเร็งด้วยตนเอง 3 ท่าง่ายๆ
1.1 ท่ายืนหน้ากระจก
- ปล่อยแขนไว้ข้างลำตัวตามสบาย สังเกตเปรียบเทียบขนาดเต้านมทั้งสองข้างว่ามีการบิดเบี้ยวของหัวนม หรือมีสิ่งผิดปกติหรือไม่
- สำรวจหาความผิดปรกติในท่าประสานมือเหนือศีรษะและท่าเท้าเอว
- โน้มตัวไปข้างหน้าโดยวางมือทั้ง 2 ข้างบนเข่าหรือเก้าอี้ แล้วสังเกตความปกติ
1.2 ท่านอนราบ
- นอนราบในท่าที่สบาย
- ยกแขนข้างที่จะตรวจขึ้นเหนือศีรษะเพื่อให้เต้านมแผ่ราบ โดยเฉพาะบริเวณส่วนบนด้านนอกซึ่งมีเนื้อหนาที่สุด
- ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางของมืออีกข้างหนึ่ง คลำให้ทั่วเต้านมและรักแร้ โดยห้ามบีบเนื้อเต้านม เพราะจะรู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่
- เมื่อตรวจเสร็จข้างหนึ่งแล้วให้ย้ายมาตรวจอีกข้างหนึ่งด้วยวิธีเดียวกัน
1.3 ขณะอาบน้ำ
- ผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดเล็ก ให้ยกแขนข้างที่จะตรวจไว้เหนือศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งคลำแบบเดียวกับท่านอนราบ
- ผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดใหญ่ให้ใช้มือข้างที่จะตรวจประคอง และตรวจคลำเต้านมจากด้านล่าง ส่วนมืออีกข้างหนึ่งตรวจคลำจากด้านบน
2. การตรวจด้วยวิธีแมมโมแกรม (Mammogram)
การตรวจ “แมมโมแกรม” เป็นการตรวจทางรังสีชนิดพิเศษคล้ายการตรวจเอกซเรย์ มีประสิทธิภาพในการตรวจมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ทำให้การรักษาได้ผลดีและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงจากการเป็นมะเร็งเต้านม การตรวจแมมโมแกรมเป็นวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ดีที่สุดในปัจจุบัน สามารถตรวจพบหินปูนที่มีลักษณะผิดปกติในเต้านม หรือรอยโรคที่มีขนาดเล็กได้ ใช้เวลาตรวจเพียง 30 นาที และไม่ต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนเข้ารับการตรวจอีกด้วย
ใครควรตรวจแมมโมแกรมบ้าง?
- ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ขึ้นไป ควรเริ่มตรวจเป็นประจำทุกปี
- ในกรณีที่บุคคลในครอบครัวมีประวัติสายตรง การป่วยเป็นมะเร็งเต้านมก่อนวัยหมดประจำเดือน ควรเริ่มตรวจเร็วขึ้นตั้งแต่อายุ 30 ปี
- บุคคลที่มีประวัติตรวจยีนผิดปกติ (Gene mutation) ได้แก่ ยีน BRCA1 และ BRCA2 หรือมีญาติสายตรงที่ตรวจพบยีนผิดปกติให้เริ่มตรวจเป็นประจำทุกปีตั้งแต่อายุ 25 ปี
- บุคคลที่มีประวัติฉายแสงบริเวณทรวงอก ขณะอายุ 10-30 ปี ให้เริ่มตรวจเป็นประจำทุกปี หลังจากได้รับการฉายแสงเสร็จสิ้นแล้ว 8 ปี (แต่อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี)
- บุคคลที่คลำพบก้อนเนื้อ มีเลือดออกที่หัวนม หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ที่เต้านม
- บุคคลที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเนื้องอกในเต้านม เพื่อติดตามผลการรักษา
การตรวจด้วยอัลตราซาวนด์ร่วมด้วย
การตรวจอัลตราซาวด์ควบคู่กับแมมโมแกรมจะช่วยเพิ่มความแม่นยำและการวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น การตรวจอัลตราซาวด์เป็นการใช้คลื่นความถี่สูงผ่านเข้าไปในเนื้อเต้านม เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ จะสะท้อนกลับมาเกิดเป็นสภาพที่เครื่องตรวจ ทำให้สามารถดูองค์ประกอบได้ว่า สิ่งแปลกปลอมในเต้านมนั้นเป็นถุงน้ำหรือก้อนเนื้อ โดยเฉพาะกรณีผู้ที่มีเนื้อเต้านมแน่น เช่น ในผู้หญิงอายุน้อย แต่การอัลตราซาวด์ไม่สามารถแทนที่การตรวจแมมโมแกรมได้ เพราะไม่สามารถตรวจพบหินปูนได้
3. ตรวจเจาะชิ้นเนื้อ
ทันทีที่ตรวจพบความผิดปกติที่สงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งเต้านม ศัลยแพทย์จะพิจารณาส่งตรวจชิ้นเนื้อ ซึ่งทำได้ 2 วิธีคือ การใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อหรือการผ่าตัดเพื่อเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อพิสูจน์ทางพยาธิวิทยา การใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อ รังสีแพทย์จะพิจารณาว่าควรใช้เครื่องมือสำหรับการระบุตำแหน่งที่ผิดปกติเป็นเครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound) หรือสเตอริโอแทคติก แมมโมแกรม (Stereotactic Mammogram) เพื่อทำให้การเจาะชิ้นเนื้อได้ตำแหน่งที่ถูกต้องแม่นยำ
ดังนั้นเมื่อถึงวัยอันควรควรเข้ารับตรวจร่างกายรวมถึงตรวจแมมโมแกรม เพราะเมื่ออายุมากขึ้นก็มีโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมากกว่าคนอายุน้อย ด้วยเหตุนี้จึงควรตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ และตรวจเอกซเรย์เต้านมเมื่อถึงวัยอันควร เพื่อที่จะวินิจฉัยมะเร็งให้ได้แต่เนิ่นๆ การรักษาจึงจะได้ผลดี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E