ปวดหลังแบบไหนอันตราย?

คำถาม - คำตอบ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  

1. อาการปวดหลังเกิดจากอะไร?

     สาเหตุของอาการปวดหลังเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การบาดเจ็บจากการใช้งาน เล่นกีฬาหรือใช้งานในท่าทางที่ผิดสุขลักษณะ ความเสื่อมเนื่องจากวัย อุบัติเหตุ การติดเชื้อ หรือมะเร็งแพร่กระจายมายังกระดูกสันหลัง   ทั้งนี้สามารถเกิดขึ้นกับโครงสร้างของกระดูกสันหลังได้หลายส่วน เช่น ข้อกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อ หรือ เส้นเอ็น นอกจากนี้ยังมีสาเหตุนอกกระดูกสันหลังที่ทำให้มีอาการปวดหลังได้เช่น โรคเส้นเลือดโป่งพองในช่องท้อง ตับอ่อนอักเสบ กรวยไตอักเสบ เป็นต้น

 

2. มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง?

     ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง คือ การใช้งานในท่าทาง และปริมาณไม่เหมาะสมกับความแข็งแรงของโครงสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื่อง เรื้อรัง นอกจากนี้ ความเสื่อมของข้อต่อจากวัย การมีโครงสร้างผิดรูปทั้งหลังค่อมและคด ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรังได้เช่นกัน

 

3. อาการปวดหลังสามารถเกิดในวัยอื่นได้ไหม เช่น เด็ก หรือ วัยรุ่น?

     ในเด็กจะพบอาการปวดหลังได้น้อยกว่าผู้ใหญ่วัยทำงาน ส่วนใหญ่มักเกิดจาก อุบัติเหตุ  ออกกำลังกายและเล่นกีฬา อย่างไรก็ตามหากมีอาการปวดหลังต่อเนื่องเรื้อรังโดยเฉพาะที่ไม่ตอบสนองต่อการพัก หรือยาแก้ปวดเบื้องต้น แนะนำให้ผู้ปกครองนำผู้ป่วยมาพบแพทย์เพื่อประเมิน เนื่องจากอาจพบสาเหตุอื่นของการปวดหลังในเด็กเช่น กระดูกสันหลังบาดเจ็บ การติดเชื้อ หรือ เนื้องอกกระดูกสันหลังบางชนิด

 

4. เราจะมีวิธีการตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังได้อย่างไรบ้าง?

วิธีการตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังมีอยู่ 4 ขั้นตอนได้แก่

  1. แพทย์ทำการซักประวัติเพื่อค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำแหน่งที่ปวด ความรุนแรง ลักษณะการปวด ปัจจัยที่ทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง โรคประจำตัว อาการร่วม การรักษาก่อนหน้านี้และผลการรักษา เป็นต้น
  2. แพทย์ทำการตรวจร่างกายเพื่อประเมินตำแหน่งและสาเหตุของการปวด รวมถึงการตรวจทางระบบประสาทที่เกี่ยวข้อง
  3. แพทย์ทำการส่งตรวจทางรังสีวิทยา เช่น เอกเรย์กระดูกสันหลัง เอกเรย์คอมพิวเตอร์หรือการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระดูกสันหลัง
  4. ในผู้ป่วยบางกลุ่มที่ไม่สามารถหาตำแหน่งของการปวดที่ชัดเจนได้ อาจพิจารณาส่งตัวเพื่อปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระงับปวดทำการฉีดยาชาเพื่อประเมินตำแหน่งอาการปวดให้ละเอียดมากขึ้น

 

5.แนวทางการรักษาอาการปวดหลังมีกี่วิธี?

     การรักษาแบ่งออกเป็น 3 วิธีใหญ่ได้แก่ การรักษาโดยการไม่ผ่าตัดหรืออนุรักษ์นิยมประกอบไปด้วยเช่น การใช้ยารับประทานหรือทานวดเพื่อลดอาการปวด การทำกายภาพบำบัด การใช้ที่พยุงหลัง รวมถึง การออกกำลังกายเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรง ร่วมกับการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงาน  ต่อมาจะเป็นวิธีการรักษาด้วยหัตถการระงับปวด เช่น การฉีดยาลดการอักเสบหรือ steroid เฉพาะที่ เข้าไปในบริเวณที่มีการอักเสบเรื้อรังหรือรอบเส้นประสาทที่มีการกดทับ อักเสบ นอกจากนี้ยังมีการใช้ลวดคลื่นความถี่สูง (Radio Frequent  abrasion, RFA) จี้ไปบริเวณเส้นประสาทที่เลี้ยงข้อต่อที่มีอาการอักเสบ เพื่อลดอาการปวด และวิธีสุดท้ายคือการผ่าตัดเพื่อลดการกดทับเส้นประสาท ซึ่งอาจทำร่วมกับการเชื่อมกระดูกสันหลัง และ ใส่โลหะดามยึด ในกรณีที่อาการปวดไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้น

 

6. ปวดหลังแบบไหนถึงจำเป็นต้องผ่าตัด?

     ข้อบ่งชี้ของการผ่าตัด ได้แก่ ผู้ป่วยยังมีอาการปวดหลังไม่ลดลงหรือมีแนวโน้มเพิ่มขื้นแม้ว่าจะได้รับการรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์นิยมอย่างต่อเนื่องจนกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน หรือ ผู้ป่วยมีอาการทางระบบประสาทที่เกิดจากการกดทับ เช่น ปวดร้าวไปตามแนวเส้นประสาท ชา อ่อนแรง หรือ กลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่อยู่

 

7. การผ่าตัดมีกี่วิธี?

     วัตถุประสงค์ของการผ่าตัดกระดูกสันหลังมี 3 ข้อ ได้แก่ การกำจัดโครงสร้างที่กดทับเส้นประสาทออกเพื่อลดอาการและส่งเสริมให้เกิดการฟื้นตัวของการทำงานของระบบประสาท การเชื่อมยึดปล้องกระดูกสันหลังเพื่อแก้ไขความไม่มั่นคงทำให้กระดูกสันหลังอยู่นิ่งซึ่งอาจมีการใส่โลหะดามยึดร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ และ แก้ไขความผิดรูป (หลังโก่งค่อม หลังคด) เพื่อให้แนวกระดูกสันหลังกลับมาอยู่ในสมดุล ทั้งนี้ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีชนิดและจำนวนปัญหาที่ต้องการผ่าตัดแก้ไขแตกต่างกัน ทำให้การผ่าตัดกระดูกสันหลังจึงมีหลายวิธีขึ้นกับวัตถุประสงค์ ซึ่งอาจแบ่งออกได้ดังนี้

     1.การผ่าตัดลดการกดทับเพียงอย่างเดียว และ/หรือ เชื่อมยึดกระดูกสันหลังร่วมด้วย

     2.การผ่าตัดแบบปกติ หรือ การผ่าตัดแผลเล็กโดยใช้อุปกรณ์พิเศษ เช่น กล้องจุลทรรศน์ กล้องส่องผ่าตัดกระดูกสันหลังชนิดท่อเล็ก การผ่าตัดใส่โลหะยึดโดยวิธีเจาะผ่านผิวหนัง เป็นต้น

     ทั้งนี้ชนิดของการผ่าตัด ขนาดและตำแหน่งของแผลผ่าตัด ขึ้นกับหลายปัจจัยได้แก่ ตำแหน่งของการกดทับ จำนวนปล้องของการกดทับ วิธีการและจำนวนปล้องของเชื่อมยึดกระดูกสันหลังรวมถึงเทคนิคการใส่โลหะดามยึด โดยศัลยแพทย์และผู้ป่วยจะร่วมหารือเพื่อตัดสินใจร่วมกันก่อนการผ่าตัด      

 

8. หลังจากผ่าตัด ต้องใช้เวลาพักฟื้นที่ รพ. นานไหม?

ระยะเวลาการพักฟื้นที่โรงพยาบาลหลังการผ่าตัดอยู่ระหว่าง 2-7 วันขึ้นกับ โรค ลักษณะวิธีการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด และความสามารถในการฟื้นตัวของผู้ป่วย

 

9. เราจะมีวิธีป้องกันอาการปวดหลังได้อย่างไร?

วิธีป้องกันอาการปวดหลังมีดังนี้  เรียนรู้วิธีการออกกำลังกายโดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อหลังที่ถูกต้องและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ  หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เป็นอันตรายต่อหลัง เช่น การยกของหนัก และ งดสูบบุหรี่ เนื่องจากพบว่าบุหรี่ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมได้อย่างรวดเร็ว

 

10. ปวดหลังแบบไหนที่อันตราย?

     ลักษณะของอาการร่วมกับปวดหลังที่อาจสัมพันธ์กับสาเหตุการปวดที่รุนแรงเช่น การติดเชื้อ  เนื้องอก หรือ การบาดเจ็บของกระดูกสันหลังที่ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมได้แก่

  • อาการปวดชาร้าวลงขา หรือร่วมกับอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา
  • ชารอบทวารหนัก กลั้นอุจจาระปัสสาวะได้ลดลง เมื่อไอจามมีปัสสาวะเล็ด
  • อาการปวดหลังรุนแรงไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้นจากยาและกายภาพบำบัด
  • ปวดหลังรุนแรงจนต้องตื่นเมื่อหลับสนิท
  • อาการปวดหลังไม่ทุเลาแม้ว่าจะนอนพักนิ่ง ๆ แล้วก็ตาม
  • น้ำหนักลดลง มีไข้
  • มีประวัติโรคประจำตัวหรือใช้ยาบางชนิดเช่น ยากดภูมิคุ้มกัน ยาเสตียรอยด์เป็นเวลานาน
  • มีความผิดรูปของกระดูกสันหลัง เช่น หลังค่อมหรือคดมากขึ้น

อ้างอิงบทความโดย ผศ. นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

คำถาม - คำตอบ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  

1. อาการปวดหลังเกิดจากอะไร?

     สาเหตุของอาการปวดหลังเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การบาดเจ็บจากการใช้งาน เล่นกีฬาหรือใช้งานในท่าทางที่ผิดสุขลักษณะ ความเสื่อมเนื่องจากวัย อุบัติเหตุ การติดเชื้อ หรือมะเร็งแพร่กระจายมายังกระดูกสันหลัง   ทั้งนี้สามารถเกิดขึ้นกับโครงสร้างของกระดูกสันหลังได้หลายส่วน เช่น ข้อกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อ หรือ เส้นเอ็น นอกจากนี้ยังมีสาเหตุนอกกระดูกสันหลังที่ทำให้มีอาการปวดหลังได้เช่น โรคเส้นเลือดโป่งพองในช่องท้อง ตับอ่อนอักเสบ กรวยไตอักเสบ เป็นต้น

 

2. มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง?

     ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง คือ การใช้งานในท่าทาง และปริมาณไม่เหมาะสมกับความแข็งแรงของโครงสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื่อง เรื้อรัง นอกจากนี้ ความเสื่อมของข้อต่อจากวัย การมีโครงสร้างผิดรูปทั้งหลังค่อมและคด ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรังได้เช่นกัน

 

3. อาการปวดหลังสามารถเกิดในวัยอื่นได้ไหม เช่น เด็ก หรือ วัยรุ่น?

     ในเด็กจะพบอาการปวดหลังได้น้อยกว่าผู้ใหญ่วัยทำงาน ส่วนใหญ่มักเกิดจาก อุบัติเหตุ  ออกกำลังกายและเล่นกีฬา อย่างไรก็ตามหากมีอาการปวดหลังต่อเนื่องเรื้อรังโดยเฉพาะที่ไม่ตอบสนองต่อการพัก หรือยาแก้ปวดเบื้องต้น แนะนำให้ผู้ปกครองนำผู้ป่วยมาพบแพทย์เพื่อประเมิน เนื่องจากอาจพบสาเหตุอื่นของการปวดหลังในเด็กเช่น กระดูกสันหลังบาดเจ็บ การติดเชื้อ หรือ เนื้องอกกระดูกสันหลังบางชนิด

 

4. เราจะมีวิธีการตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังได้อย่างไรบ้าง?

วิธีการตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังมีอยู่ 4 ขั้นตอนได้แก่

  1. แพทย์ทำการซักประวัติเพื่อค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำแหน่งที่ปวด ความรุนแรง ลักษณะการปวด ปัจจัยที่ทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง โรคประจำตัว อาการร่วม การรักษาก่อนหน้านี้และผลการรักษา เป็นต้น
  2. แพทย์ทำการตรวจร่างกายเพื่อประเมินตำแหน่งและสาเหตุของการปวด รวมถึงการตรวจทางระบบประสาทที่เกี่ยวข้อง
  3. แพทย์ทำการส่งตรวจทางรังสีวิทยา เช่น เอกเรย์กระดูกสันหลัง เอกเรย์คอมพิวเตอร์หรือการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระดูกสันหลัง
  4. ในผู้ป่วยบางกลุ่มที่ไม่สามารถหาตำแหน่งของการปวดที่ชัดเจนได้ อาจพิจารณาส่งตัวเพื่อปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระงับปวดทำการฉีดยาชาเพื่อประเมินตำแหน่งอาการปวดให้ละเอียดมากขึ้น

 

5.แนวทางการรักษาอาการปวดหลังมีกี่วิธี?

     การรักษาแบ่งออกเป็น 3 วิธีใหญ่ได้แก่ การรักษาโดยการไม่ผ่าตัดหรืออนุรักษ์นิยมประกอบไปด้วยเช่น การใช้ยารับประทานหรือทานวดเพื่อลดอาการปวด การทำกายภาพบำบัด การใช้ที่พยุงหลัง รวมถึง การออกกำลังกายเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรง ร่วมกับการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงาน  ต่อมาจะเป็นวิธีการรักษาด้วยหัตถการระงับปวด เช่น การฉีดยาลดการอักเสบหรือ steroid เฉพาะที่ เข้าไปในบริเวณที่มีการอักเสบเรื้อรังหรือรอบเส้นประสาทที่มีการกดทับ อักเสบ นอกจากนี้ยังมีการใช้ลวดคลื่นความถี่สูง (Radio Frequent  abrasion, RFA) จี้ไปบริเวณเส้นประสาทที่เลี้ยงข้อต่อที่มีอาการอักเสบ เพื่อลดอาการปวด และวิธีสุดท้ายคือการผ่าตัดเพื่อลดการกดทับเส้นประสาท ซึ่งอาจทำร่วมกับการเชื่อมกระดูกสันหลัง และ ใส่โลหะดามยึด ในกรณีที่อาการปวดไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้น

 

6. ปวดหลังแบบไหนถึงจำเป็นต้องผ่าตัด?

     ข้อบ่งชี้ของการผ่าตัด ได้แก่ ผู้ป่วยยังมีอาการปวดหลังไม่ลดลงหรือมีแนวโน้มเพิ่มขื้นแม้ว่าจะได้รับการรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์นิยมอย่างต่อเนื่องจนกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน หรือ ผู้ป่วยมีอาการทางระบบประสาทที่เกิดจากการกดทับ เช่น ปวดร้าวไปตามแนวเส้นประสาท ชา อ่อนแรง หรือ กลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่อยู่

 

7. การผ่าตัดมีกี่วิธี?

     วัตถุประสงค์ของการผ่าตัดกระดูกสันหลังมี 3 ข้อ ได้แก่ การกำจัดโครงสร้างที่กดทับเส้นประสาทออกเพื่อลดอาการและส่งเสริมให้เกิดการฟื้นตัวของการทำงานของระบบประสาท การเชื่อมยึดปล้องกระดูกสันหลังเพื่อแก้ไขความไม่มั่นคงทำให้กระดูกสันหลังอยู่นิ่งซึ่งอาจมีการใส่โลหะดามยึดร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ และ แก้ไขความผิดรูป (หลังโก่งค่อม หลังคด) เพื่อให้แนวกระดูกสันหลังกลับมาอยู่ในสมดุล ทั้งนี้ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีชนิดและจำนวนปัญหาที่ต้องการผ่าตัดแก้ไขแตกต่างกัน ทำให้การผ่าตัดกระดูกสันหลังจึงมีหลายวิธีขึ้นกับวัตถุประสงค์ ซึ่งอาจแบ่งออกได้ดังนี้

     1.การผ่าตัดลดการกดทับเพียงอย่างเดียว และ/หรือ เชื่อมยึดกระดูกสันหลังร่วมด้วย

     2.การผ่าตัดแบบปกติ หรือ การผ่าตัดแผลเล็กโดยใช้อุปกรณ์พิเศษ เช่น กล้องจุลทรรศน์ กล้องส่องผ่าตัดกระดูกสันหลังชนิดท่อเล็ก การผ่าตัดใส่โลหะยึดโดยวิธีเจาะผ่านผิวหนัง เป็นต้น

     ทั้งนี้ชนิดของการผ่าตัด ขนาดและตำแหน่งของแผลผ่าตัด ขึ้นกับหลายปัจจัยได้แก่ ตำแหน่งของการกดทับ จำนวนปล้องของการกดทับ วิธีการและจำนวนปล้องของเชื่อมยึดกระดูกสันหลังรวมถึงเทคนิคการใส่โลหะดามยึด โดยศัลยแพทย์และผู้ป่วยจะร่วมหารือเพื่อตัดสินใจร่วมกันก่อนการผ่าตัด      

 

8. หลังจากผ่าตัด ต้องใช้เวลาพักฟื้นที่ รพ. นานไหม?

ระยะเวลาการพักฟื้นที่โรงพยาบาลหลังการผ่าตัดอยู่ระหว่าง 2-7 วันขึ้นกับ โรค ลักษณะวิธีการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด และความสามารถในการฟื้นตัวของผู้ป่วย

 

9. เราจะมีวิธีป้องกันอาการปวดหลังได้อย่างไร?

วิธีป้องกันอาการปวดหลังมีดังนี้  เรียนรู้วิธีการออกกำลังกายโดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อหลังที่ถูกต้องและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ  หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เป็นอันตรายต่อหลัง เช่น การยกของหนัก และ งดสูบบุหรี่ เนื่องจากพบว่าบุหรี่ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมได้อย่างรวดเร็ว

 

10. ปวดหลังแบบไหนที่อันตราย?

     ลักษณะของอาการร่วมกับปวดหลังที่อาจสัมพันธ์กับสาเหตุการปวดที่รุนแรงเช่น การติดเชื้อ  เนื้องอก หรือ การบาดเจ็บของกระดูกสันหลังที่ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมได้แก่

  • อาการปวดชาร้าวลงขา หรือร่วมกับอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา
  • ชารอบทวารหนัก กลั้นอุจจาระปัสสาวะได้ลดลง เมื่อไอจามมีปัสสาวะเล็ด
  • อาการปวดหลังรุนแรงไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้นจากยาและกายภาพบำบัด
  • ปวดหลังรุนแรงจนต้องตื่นเมื่อหลับสนิท
  • อาการปวดหลังไม่ทุเลาแม้ว่าจะนอนพักนิ่ง ๆ แล้วก็ตาม
  • น้ำหนักลดลง มีไข้
  • มีประวัติโรคประจำตัวหรือใช้ยาบางชนิดเช่น ยากดภูมิคุ้มกัน ยาเสตียรอยด์เป็นเวลานาน
  • มีความผิดรูปของกระดูกสันหลัง เช่น หลังค่อมหรือคดมากขึ้น

อ้างอิงบทความโดย ผศ. นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง