ปลดล็อก อาการนิ้วล็อก
โรคนิ้วล็อก โรคใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย ส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้หญิงวัยกลางคนในช่วงอายุ 40-50 ปี และในปัจจุบันพบว่ากลุ่มคนทำงานในออฟฟิศมีอาการนิ้วล็อกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของโรคออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากคนกลุ่มนี้ต้องใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ จึงมีโอกาสที่จะเป็นโรคนิ้วล็อกได้ โดยอาการจะเริ่มจากการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ มีอาการสะดุดเวลาขยับนิ้ว งอนิ้ว และเหยียดนิ้ว
สาเหตุของโรคนิ้วล็อก
โรคนิ้วล็อกเกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว ทำให้นิ้วขยับได้ไม่ดี งอข้อนิ้วมือแล้วไม่สามารถเหยียดกลับคืนได้เหมือนเดิม หรือรู้สึกเหมือนนิ้วถูกล็อกไว้
กลุ่มคนที่เสี่ยงเป็นโรคนิ้วล็อก
1. ผู้ที่มีความจำเป็นต้องทำงานในลักษณะเกร็งนิ้วมือบ่อยๆ เป็นระยะเวลานาน เช่น แม่บ้าน, พนักงานออฟฟิศ, คนทำอาหาร, ช่างไฟฟ้า, ช่างไม้, ช่างโทรศัพท์, ช่างทำผม, ทันตแพทย์ หรือคนสวน เป็นต้น
2.ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคเก๊าท์ หรือโรครูมาตอยด์ เป็นต้น จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ้วล็อกมากขึ้น
อาการของโรคนิ้วล็อก
โดยทั่วไปอาการของโรคนิ้วล็อกสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1: มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ ถ้าเอานิ้วกดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้าจะมีอาการปวดมากขึ้น แต่ยังไม่มีอาการสะดุด
ระยะที่ 2: มีอาการสะดุดเวลาขยับนิ้ว งอนิ้ว และเหยียดนิ้ว
ระยะที่ 3: เมื่องอนิ้วลงจะมีอาการติดล็อก ไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้ จึงจำเป็นต้องใช้มืออีกข้างหนึ่งมาช่วยแกะ หากมีอาการมากขึ้นจะไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง
ระยะที่ 4: มีอาการอักเสบและบวม ไม่สามารถเหยียดนิ้วให้ตรงได้ ถ้าใช้มืออีกข้างหนึ่งมาช่วยแกะ จะมีอาการปวดมาก
แนวทางการรักษาโรคนิ้วล็อก
การรักษาโรคนิ้วล็อกมีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค
1. ให้ยารับประทานในกลุ่ม NSAID เพื่อลดอาการปวด บวม อักเสบ และพักการใช้งานของมือ ไม่ใช้งานรุนแรง
2. ใช้เครื่องดามนิ้ว หรือการนวดเบา ๆ การประคบร้อน และการทำกายภาพบำบัด
3. การฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์เฉพาะที่ เพื่อลดการอักเสบ ลดการบวมของเส้นเอ็น แต่การฉีดยาอาจทำให้อาการดีขึ้นได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ และสามารถกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ในระยะเวลาไม่นาน ข้อจำกัดในการรักษานี้คือ ไม่ควรฉีดยาเกิน 2 หรือ 3 ครั้งต่อนิ้วที่เป็นโรค
4. การผ่าตัด โดยการตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาอยู่ให้เปิดกว้าง เพื่อให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านได้สะดวก ไม่ติดขัด หลังผ่าตัดเสร็จผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล โดยแผลหลังผ่าตัดห้ามโดนน้ำประมาณ 1-2 อาทิตย์
ท่าออกกำลังกาย 3 Steps ปลดล็อกนิ้วล็อกแบบง่ายๆ
1. กล้ามเนื้อบริเวณแขน มือ นิ้วมือ โดยยกแขนระดับไหล่ ใช้มือข้างหนึ่งดันให้ข้อมือกระดกขึ้น-ลง ปลายนิ้วเหยียดตรงค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อย ทำ 5-10 ครั้ง/เซต
2.1 บริหารการกำ-แบมือ โดยฝึกกำ-แบ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อนิ้ว และกำลังกล้ามเนื้อภายในมือ โดยทำ 6-10 ครั้ง/เซต (กรณีนิ้วล็อกไปแล้ว งดทำท่า 2.1)
2.2 ค่อย ๆ คลายมือออกร่วมกับการนวดคลึงเบา ๆ บริเวณข้อนิ้วมือที่มีอาการเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อต่อ
3. หากเริ่มมีอาการปวดตึง แนะนำให้นำมือแช่น้ำอุ่นไว้ 15 - 20 นาทีทุกวัน (วันละ 2 รอบ เช้า - เย็น) หากอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้มาพบแพทย์และทำการรักษาทางกายภาพต่อไป
วิธีลดความเสี่ยงการเป็นนิ้วล็อก
1. ไม่หิ้วของหนักเกิน ถ้าจำเป็นต้องหิ้วให้ใช้ผ้าขนหนูรอง และหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ อาจใช้วิธีการอุ้มประคองหรือรถเข็นลากแทนการหิ้วของ เพื่อลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือ
2. ควรใส่ถุงมือ หรือห่อหุ้มด้ามจับเครื่องมือให้นุ่มขึ้นและจัดทำขนาดที่จับเหมาะแก่การใช้งาน ขณะใช้เครื่องมือทุ่นแรง เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน ฯลฯ
3. งานที่ต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่อง ทำให้มือเมื่อยล้า หรือระบม ควรพักมือเป็นระยะๆ และออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อมือบ้าง
4. ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วเล่น เพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น
5. ถ้ามีข้อฝืดตอนเช้า หรือมือเมื่อยล้า ให้แช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือกำแบในน้ำเบาๆ (ไม่ควรกำมือแน่นจนเกินไป) จะทำให้ข้อฝืดลดลง
6. หลีกเลี่ยงการซักผ้าด้วยมือ การบิดผ้าให้แห้งมากๆ หรือกิจกรรมที่ต้องใช้ข้อมือ เพื่อให้กำแน่นๆ
หมายเหตุ : ควรพักการใช้งานในส่วนที่เกิดอาการนิ้วล็อก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A
โรคนิ้วล็อก โรคใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย ส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้หญิงวัยกลางคนในช่วงอายุ 40-50 ปี และในปัจจุบันพบว่ากลุ่มคนทำงานในออฟฟิศมีอาการนิ้วล็อกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของโรคออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากคนกลุ่มนี้ต้องใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ จึงมีโอกาสที่จะเป็นโรคนิ้วล็อกได้ โดยอาการจะเริ่มจากการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ มีอาการสะดุดเวลาขยับนิ้ว งอนิ้ว และเหยียดนิ้ว
สาเหตุของโรคนิ้วล็อก
โรคนิ้วล็อกเกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว ทำให้นิ้วขยับได้ไม่ดี งอข้อนิ้วมือแล้วไม่สามารถเหยียดกลับคืนได้เหมือนเดิม หรือรู้สึกเหมือนนิ้วถูกล็อกไว้
กลุ่มคนที่เสี่ยงเป็นโรคนิ้วล็อก
1. ผู้ที่มีความจำเป็นต้องทำงานในลักษณะเกร็งนิ้วมือบ่อยๆ เป็นระยะเวลานาน เช่น แม่บ้าน, พนักงานออฟฟิศ, คนทำอาหาร, ช่างไฟฟ้า, ช่างไม้, ช่างโทรศัพท์, ช่างทำผม, ทันตแพทย์ หรือคนสวน เป็นต้น
2.ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคเก๊าท์ หรือโรครูมาตอยด์ เป็นต้น จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ้วล็อกมากขึ้น
อาการของโรคนิ้วล็อก
โดยทั่วไปอาการของโรคนิ้วล็อกสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1: มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ ถ้าเอานิ้วกดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้าจะมีอาการปวดมากขึ้น แต่ยังไม่มีอาการสะดุด
ระยะที่ 2: มีอาการสะดุดเวลาขยับนิ้ว งอนิ้ว และเหยียดนิ้ว
ระยะที่ 3: เมื่องอนิ้วลงจะมีอาการติดล็อก ไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้ จึงจำเป็นต้องใช้มืออีกข้างหนึ่งมาช่วยแกะ หากมีอาการมากขึ้นจะไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง
ระยะที่ 4: มีอาการอักเสบและบวม ไม่สามารถเหยียดนิ้วให้ตรงได้ ถ้าใช้มืออีกข้างหนึ่งมาช่วยแกะ จะมีอาการปวดมาก
แนวทางการรักษาโรคนิ้วล็อก
การรักษาโรคนิ้วล็อกมีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค
1. ให้ยารับประทานในกลุ่ม NSAID เพื่อลดอาการปวด บวม อักเสบ และพักการใช้งานของมือ ไม่ใช้งานรุนแรง
2. ใช้เครื่องดามนิ้ว หรือการนวดเบา ๆ การประคบร้อน และการทำกายภาพบำบัด
3. การฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์เฉพาะที่ เพื่อลดการอักเสบ ลดการบวมของเส้นเอ็น แต่การฉีดยาอาจทำให้อาการดีขึ้นได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ และสามารถกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ในระยะเวลาไม่นาน ข้อจำกัดในการรักษานี้คือ ไม่ควรฉีดยาเกิน 2 หรือ 3 ครั้งต่อนิ้วที่เป็นโรค
4. การผ่าตัด โดยการตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาอยู่ให้เปิดกว้าง เพื่อให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านได้สะดวก ไม่ติดขัด หลังผ่าตัดเสร็จผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล โดยแผลหลังผ่าตัดห้ามโดนน้ำประมาณ 1-2 อาทิตย์
ท่าออกกำลังกาย 3 Steps ปลดล็อกนิ้วล็อกแบบง่ายๆ
1. กล้ามเนื้อบริเวณแขน มือ นิ้วมือ โดยยกแขนระดับไหล่ ใช้มือข้างหนึ่งดันให้ข้อมือกระดกขึ้น-ลง ปลายนิ้วเหยียดตรงค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อย ทำ 5-10 ครั้ง/เซต
2.1 บริหารการกำ-แบมือ โดยฝึกกำ-แบ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อนิ้ว และกำลังกล้ามเนื้อภายในมือ โดยทำ 6-10 ครั้ง/เซต (กรณีนิ้วล็อกไปแล้ว งดทำท่า 2.1)
2.2 ค่อย ๆ คลายมือออกร่วมกับการนวดคลึงเบา ๆ บริเวณข้อนิ้วมือที่มีอาการเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อต่อ
3. หากเริ่มมีอาการปวดตึง แนะนำให้นำมือแช่น้ำอุ่นไว้ 15 - 20 นาทีทุกวัน (วันละ 2 รอบ เช้า - เย็น) หากอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้มาพบแพทย์และทำการรักษาทางกายภาพต่อไป
วิธีลดความเสี่ยงการเป็นนิ้วล็อก
1. ไม่หิ้วของหนักเกิน ถ้าจำเป็นต้องหิ้วให้ใช้ผ้าขนหนูรอง และหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ อาจใช้วิธีการอุ้มประคองหรือรถเข็นลากแทนการหิ้วของ เพื่อลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือ
2. ควรใส่ถุงมือ หรือห่อหุ้มด้ามจับเครื่องมือให้นุ่มขึ้นและจัดทำขนาดที่จับเหมาะแก่การใช้งาน ขณะใช้เครื่องมือทุ่นแรง เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน ฯลฯ
3. งานที่ต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่อง ทำให้มือเมื่อยล้า หรือระบม ควรพักมือเป็นระยะๆ และออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อมือบ้าง
4. ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วเล่น เพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น
5. ถ้ามีข้อฝืดตอนเช้า หรือมือเมื่อยล้า ให้แช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือกำแบในน้ำเบาๆ (ไม่ควรกำมือแน่นจนเกินไป) จะทำให้ข้อฝืดลดลง
6. หลีกเลี่ยงการซักผ้าด้วยมือ การบิดผ้าให้แห้งมากๆ หรือกิจกรรมที่ต้องใช้ข้อมือ เพื่อให้กำแน่นๆ
หมายเหตุ : ควรพักการใช้งานในส่วนที่เกิดอาการนิ้วล็อก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A