โรคเกาต์ ความเจ็บปวดที่เลี่ยงได้ (Gout)

#ศูนย์อายุรกรรม #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #โรคเกาต์ #โรคข้ออักเสบ #กรดยูริกในเลือดสูง #โรคที่พบบ่อยในผู้ชาย #กรดยูริกสูงผิดปกติ #อาการของโรคเกาต์ #ข้ออักเสบเฉียบพลัน #ข้ออักเสบเรื้อรัง #การรักษาโรคเกาต์ #รักษาโรคเกาต์โดยไม่ใช้ยา #Gout

โรคเกาต์

หมายถึง โรคข้ออักเสบจำเพาะที่เกิดเนื่องจากมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติ ทำให้มีการตกผลึกยูเรต (Monosodium Urate, MSU) ในข้อ ก่อให้เกิดอาการข้ออักเสบขึ้น หากมีการตกตะกอนในเนื้อเยื่อต่างๆ และใต้ผิวหนัง จะเกิดเป็นก้อนตะปุ่มตะป่ำตามตำแหน่งต่างๆ เรียกว่า โทฟัส (tophus)

ปัจจัยการเกิดโรคเกาต์

โรคเกาต์ เป็นโรคข้ออักเสบที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงเป็นสัดส่วน 9:1 โดยในเพศชายมักพบช่วงอายุระหว่าง 30-50 ปี เพศหญิงพบได้มากขึ้นในช่วงอายุมากกว่า 50 ปี หรือวัยหลังหมดประจำเดือน

ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง หมายถึง ภาวะที่มีกรดยูริกสูงผิดปกติมากกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐาน โดยค่าสูงสุดที่ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติในเพศชายคือ 7.0 มก./ดล. และเพศหญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนคือ 6.0 มก./ดล. หรือมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่า 6.8 มก./ดล. เมื่ออิงตามคุณสมบัติทางเคมี

อาการของโรคเกาต์

1.ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน

   ลักษณะเด่นของโรคในระยะนี้ คือ การเกิดข้ออักเสบเฉียบพลันที่บริเวณข้อในส่วนล่างของร่างกาย โดยครั้งแรกมักเกิดที่บริเวณหัวแม่เท้าข้างใดข้างหนึ่งหรือที่ตำแหน่งข้อเท้า

2.ระยะที่ไม่มีอาการข้ออักเสบและระยะเป็นซ้ำ

   ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการปกติทุกอย่าง มักมีประวัติข้ออักเสบระยะเฉียบพลันมาก่อน ระยะเวลาตั้งแต่การมีข้ออักเสบครั้งแรกถึงระยะต่อไปอาจกินเวลาแตกต่างกันในแต่ละราย

   หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีโอกาสเกิดข้ออักเสบซ้ำภายใน 1 - 2 ปี เมื่อเป็นซ้ำบ่อยๆ จำนวนข้ออักเสบจะเพิ่มมากขึ้นและรุนแรงมากขึ้น ระยะเวลาในแต่ละครั้งที่มีข้ออักเสบยาวนานขึ้น อาจมีอาการทางกายอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาการไข้

3.ระยะข้ออักเสบเรื้อรังจากโรคเกาต์

   ลักษณะจำเพาะ คือ พบข้ออักเสบหลายข้อแบบเรื้อรังร่วมกับการตรวจพบก้อนที่เกิดจากการสะสมของผลึกยูเรตตามเนื้อเยื่อต่างๆ หรือเรียกว่า โทฟัส (tophus) บางครั้งอาจแตกออกมาเห็นเป็นสารสีขาวคล้ายชอล์ก ตำแหน่งที่พบโทฟัสได้บ่อยนอกจากบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าและข้อเท้า คือ ปุ่มปลายศอก เอ็นร้อยหวาย ปลายนิ้ว และอาจพบที่ใบหูร่วมด้วย ในระยะนี้จะพบข้ออักเสบหลายข้อ และอาจมีไข้จากการอักเสบได้

การรักษาโรคเกาต์

1.การรักษาโรคเกาต์โดยไม่ใช้ยา

   ประกอบด้วย การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเกาต์ และการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเกาต์ เช่น

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหาร และเครื่องดื่ม
  • การรักษาโรคร่วมและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ เป็นต้น
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

2.การรักษาโดยการใช้ยา

   ผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจพิจารณาการใช้ยาร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาให้ดียิ่งขึ้น

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์

  1. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  2. หลีกเลี่ยงอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ เช่น ตับ  ไต หัวใจ ปอด ไส้
  3. ลดเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม น้ำหวาน เป็นต้น
  4. หยุดนวด ทายา ประคบร้อนหรือเย็น บริเวณที่มีอาการอักเสบของข้อ
  5. แนะนำให้รักษาโรคร่วมที่เป็นอยู่ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ภาวะอ้วน เป็นต้น
  6. รับประทานยาลดกรดยูริก และยาป้องกันเกาต์กำเริบอย่างต่อเนื่อง การขาดยาอาจทำให้โรคกำเริบได้
  7. ตรวจระดับกรดยูริกในเลือด และพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D

#ศูนย์อายุรกรรม #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #โรคเกาต์ #โรคข้ออักเสบ #กรดยูริกในเลือดสูง #โรคที่พบบ่อยในผู้ชาย #กรดยูริกสูงผิดปกติ #อาการของโรคเกาต์ #ข้ออักเสบเฉียบพลัน #ข้ออักเสบเรื้อรัง #การรักษาโรคเกาต์ #รักษาโรคเกาต์โดยไม่ใช้ยา #Gout

โรคเกาต์

หมายถึง โรคข้ออักเสบจำเพาะที่เกิดเนื่องจากมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติ ทำให้มีการตกผลึกยูเรต (Monosodium Urate, MSU) ในข้อ ก่อให้เกิดอาการข้ออักเสบขึ้น หากมีการตกตะกอนในเนื้อเยื่อต่างๆ และใต้ผิวหนัง จะเกิดเป็นก้อนตะปุ่มตะป่ำตามตำแหน่งต่างๆ เรียกว่า โทฟัส (tophus)

ปัจจัยการเกิดโรคเกาต์

โรคเกาต์ เป็นโรคข้ออักเสบที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงเป็นสัดส่วน 9:1 โดยในเพศชายมักพบช่วงอายุระหว่าง 30-50 ปี เพศหญิงพบได้มากขึ้นในช่วงอายุมากกว่า 50 ปี หรือวัยหลังหมดประจำเดือน

ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง หมายถึง ภาวะที่มีกรดยูริกสูงผิดปกติมากกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐาน โดยค่าสูงสุดที่ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติในเพศชายคือ 7.0 มก./ดล. และเพศหญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนคือ 6.0 มก./ดล. หรือมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่า 6.8 มก./ดล. เมื่ออิงตามคุณสมบัติทางเคมี

อาการของโรคเกาต์

1.ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน

   ลักษณะเด่นของโรคในระยะนี้ คือ การเกิดข้ออักเสบเฉียบพลันที่บริเวณข้อในส่วนล่างของร่างกาย โดยครั้งแรกมักเกิดที่บริเวณหัวแม่เท้าข้างใดข้างหนึ่งหรือที่ตำแหน่งข้อเท้า

2.ระยะที่ไม่มีอาการข้ออักเสบและระยะเป็นซ้ำ

   ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการปกติทุกอย่าง มักมีประวัติข้ออักเสบระยะเฉียบพลันมาก่อน ระยะเวลาตั้งแต่การมีข้ออักเสบครั้งแรกถึงระยะต่อไปอาจกินเวลาแตกต่างกันในแต่ละราย

   หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีโอกาสเกิดข้ออักเสบซ้ำภายใน 1 - 2 ปี เมื่อเป็นซ้ำบ่อยๆ จำนวนข้ออักเสบจะเพิ่มมากขึ้นและรุนแรงมากขึ้น ระยะเวลาในแต่ละครั้งที่มีข้ออักเสบยาวนานขึ้น อาจมีอาการทางกายอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาการไข้

3.ระยะข้ออักเสบเรื้อรังจากโรคเกาต์

   ลักษณะจำเพาะ คือ พบข้ออักเสบหลายข้อแบบเรื้อรังร่วมกับการตรวจพบก้อนที่เกิดจากการสะสมของผลึกยูเรตตามเนื้อเยื่อต่างๆ หรือเรียกว่า โทฟัส (tophus) บางครั้งอาจแตกออกมาเห็นเป็นสารสีขาวคล้ายชอล์ก ตำแหน่งที่พบโทฟัสได้บ่อยนอกจากบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าและข้อเท้า คือ ปุ่มปลายศอก เอ็นร้อยหวาย ปลายนิ้ว และอาจพบที่ใบหูร่วมด้วย ในระยะนี้จะพบข้ออักเสบหลายข้อ และอาจมีไข้จากการอักเสบได้

การรักษาโรคเกาต์

1.การรักษาโรคเกาต์โดยไม่ใช้ยา

   ประกอบด้วย การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเกาต์ และการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเกาต์ เช่น

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหาร และเครื่องดื่ม
  • การรักษาโรคร่วมและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ เป็นต้น
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

2.การรักษาโดยการใช้ยา

   ผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจพิจารณาการใช้ยาร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาให้ดียิ่งขึ้น

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์

  1. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  2. หลีกเลี่ยงอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ เช่น ตับ  ไต หัวใจ ปอด ไส้
  3. ลดเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม น้ำหวาน เป็นต้น
  4. หยุดนวด ทายา ประคบร้อนหรือเย็น บริเวณที่มีอาการอักเสบของข้อ
  5. แนะนำให้รักษาโรคร่วมที่เป็นอยู่ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ภาวะอ้วน เป็นต้น
  6. รับประทานยาลดกรดยูริก และยาป้องกันเกาต์กำเริบอย่างต่อเนื่อง การขาดยาอาจทำให้โรคกำเริบได้
  7. ตรวจระดับกรดยูริกในเลือด และพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง