ฝ้า กระ ปัญหาผิวจากแสงแดด

รังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดดเป็นตัวกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน ส่งผลให้ผิวคล้ำขึ้นและเกิด ฝ้า กระ ได้ นอกจากนี้การโดนแสงแดดสะสมเป็นเวลานานโดยไม่มีการป้องกันอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง หากป้องกันและดูแลผิวพรรณโดยหลีกเลี่ยงแสงแดดและใช้ครีมกันแดดสม่ำเสมอ จะช่วยลดปัจจัยที่ทำให้เกิดฝ้ากระและมะเร็งผิวหนังได้

สาเหตุของการเกิดฝ้า กระ

1. ฝ้า มีลักษณะเป็นปื้น มักเกิดขึ้นบริเวณหน้า โดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดด เช่น โหนกแก้ม หน้าผาก คาง ไรหนวด สาเหตุเกิดจาก แสงแดด พันธุกรรม และการได้รับฮอร์โมนบางชนิดโดยเฉพาะฮอร์โมนเพศหญิง เช่น ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิด ฉีดยาคุมกำเนิด หรือภาวะตั้งครรภ์ นอกจากนี้ แสงที่ตามองเห็น (visible light) ก็อาจเป็นสาเหตุของการเกิดฝ้าในคนที่ผิวเข้มได้

2. กระ มีหลายชนิด ได้แก่ กระแดด กระตื้น กระลึก และกระเนื้อเป็นต้น

  • กระแดด มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล ขอบชัด ขนาด 0.3-2 เซนติเมตร มักเกิดบริเวณที่ถูกแสงแดด พบได้ในวัยกลางคนถึงสูงอายุ
  • กระตื้น (Freckles) มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลอ่อน ขนาดเล็ก มักเกิดบริเวณผิวที่ถูกแสงแดด พบได้ในคนผิวขาว ตั้งแต่อายุน้อย
  • กระลึก มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเทา ขนาดเล็กที่โหนกแก้ม 2 ข้าง มักพบในคนเอเชีย
  • กระเนื้อ เป็นตุ่มนูน สีน้ำตาล ดำ พบได้บ่อยในคนสูงวัย และผู้ที่ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้ง

การรักษาฝ้า กระ

1. ฝ้า

  • ยังไม่มีวิธีการรักษาฝ้าให้หายขาด และฝ้าสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีกหลังหยุดการรักษา สิ่งสำคัญในการรักษาฝ้า คือ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดฝ้า ได้แก่ การหลีกเลี่ยงแสงแดด และทาครีมกันแดดเป็นประจำ รวมถึงงดการรับประทานยาคุมกำเนิด หรือฮอร์โมน
  • การรักษาด้วยยาทา ประเภทไวท์เทนนิ่ง ช่วยให้ฝ้าจางลงได้
  • การรับประทานยา ช่วยให้ฝ้าจางลงได้แต่ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง
  • การรักษาอื่นๆ ที่ใช้ร่วมกับยาทา ได้แก่ การผลัดเซลล์ผิว (Chemical peeling) และเลเซอร์

2. กระ

  • ยาทา สามารถทำให้กระแดดและกระตื้นจางลงได้เล็กน้อย แต่ไม่สามารถรักษากระให้หายได้ 100%
  • กระ จึงควรรักษาด้วยการทำเลเซอร์ เช่น Picosecond Laser , Q- Switched Laser หรือ Carbon dioxide laser ตามแต่ละชนิดของกระ 
  • การรักษา อื่น ๆ ได้แก่ การผลัดเซลล์ผิว (Chemical peeling)
  • หลังการรักษาควรหลีกเลี่ยงแสงแดดเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ

การป้องกันฝ้า กระ

1. ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดให้ได้มากที่สุด สวมหมวกหรือกางร่มเพื่อป้องกันแดด เนื่องจากการใช้ครีมกันแดดอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ

2. ควรเลือกครีมกันแดดที่ป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB โดยมีค่า SPF 50+ ขึ้นไป ปริมาณครีมกันแดดที่เหมาะสมคือ บีบครีมให้ยาวประมาณ 2 ข้อนิ้วมือ แต่หากเป็นกันแดดชนิดน้ำหรือโลชั่นควรบีบขนาดประมาณ 1-2 เหรียญ 10 บาท

3. หากจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2 ชั่วโมง

บทความโดย พญ.อารยา มานะผจญ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โชน A

รังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดดเป็นตัวกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน ส่งผลให้ผิวคล้ำขึ้นและเกิด ฝ้า กระ ได้ นอกจากนี้การโดนแสงแดดสะสมเป็นเวลานานโดยไม่มีการป้องกันอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง หากป้องกันและดูแลผิวพรรณโดยหลีกเลี่ยงแสงแดดและใช้ครีมกันแดดสม่ำเสมอ จะช่วยลดปัจจัยที่ทำให้เกิดฝ้ากระและมะเร็งผิวหนังได้

สาเหตุของการเกิดฝ้า กระ

1. ฝ้า มีลักษณะเป็นปื้น มักเกิดขึ้นบริเวณหน้า โดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดด เช่น โหนกแก้ม หน้าผาก คาง ไรหนวด สาเหตุเกิดจาก แสงแดด พันธุกรรม และการได้รับฮอร์โมนบางชนิดโดยเฉพาะฮอร์โมนเพศหญิง เช่น ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิด ฉีดยาคุมกำเนิด หรือภาวะตั้งครรภ์ นอกจากนี้ แสงที่ตามองเห็น (visible light) ก็อาจเป็นสาเหตุของการเกิดฝ้าในคนที่ผิวเข้มได้

2. กระ มีหลายชนิด ได้แก่ กระแดด กระตื้น กระลึก และกระเนื้อเป็นต้น

  • กระแดด มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล ขอบชัด ขนาด 0.3-2 เซนติเมตร มักเกิดบริเวณที่ถูกแสงแดด พบได้ในวัยกลางคนถึงสูงอายุ
  • กระตื้น (Freckles) มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลอ่อน ขนาดเล็ก มักเกิดบริเวณผิวที่ถูกแสงแดด พบได้ในคนผิวขาว ตั้งแต่อายุน้อย
  • กระลึก มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเทา ขนาดเล็กที่โหนกแก้ม 2 ข้าง มักพบในคนเอเชีย
  • กระเนื้อ เป็นตุ่มนูน สีน้ำตาล ดำ พบได้บ่อยในคนสูงวัย และผู้ที่ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้ง

การรักษาฝ้า กระ

1. ฝ้า

  • ยังไม่มีวิธีการรักษาฝ้าให้หายขาด และฝ้าสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีกหลังหยุดการรักษา สิ่งสำคัญในการรักษาฝ้า คือ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดฝ้า ได้แก่ การหลีกเลี่ยงแสงแดด และทาครีมกันแดดเป็นประจำ รวมถึงงดการรับประทานยาคุมกำเนิด หรือฮอร์โมน
  • การรักษาด้วยยาทา ประเภทไวท์เทนนิ่ง ช่วยให้ฝ้าจางลงได้
  • การรับประทานยา ช่วยให้ฝ้าจางลงได้แต่ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง
  • การรักษาอื่นๆ ที่ใช้ร่วมกับยาทา ได้แก่ การผลัดเซลล์ผิว (Chemical peeling) และเลเซอร์

2. กระ

  • ยาทา สามารถทำให้กระแดดและกระตื้นจางลงได้เล็กน้อย แต่ไม่สามารถรักษากระให้หายได้ 100%
  • กระ จึงควรรักษาด้วยการทำเลเซอร์ เช่น Picosecond Laser , Q- Switched Laser หรือ Carbon dioxide laser ตามแต่ละชนิดของกระ 
  • การรักษา อื่น ๆ ได้แก่ การผลัดเซลล์ผิว (Chemical peeling)
  • หลังการรักษาควรหลีกเลี่ยงแสงแดดเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ

การป้องกันฝ้า กระ

1. ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดให้ได้มากที่สุด สวมหมวกหรือกางร่มเพื่อป้องกันแดด เนื่องจากการใช้ครีมกันแดดอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ

2. ควรเลือกครีมกันแดดที่ป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB โดยมีค่า SPF 50+ ขึ้นไป ปริมาณครีมกันแดดที่เหมาะสมคือ บีบครีมให้ยาวประมาณ 2 ข้อนิ้วมือ แต่หากเป็นกันแดดชนิดน้ำหรือโลชั่นควรบีบขนาดประมาณ 1-2 เหรียญ 10 บาท

3. หากจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2 ชั่วโมง

บทความโดย พญ.อารยา มานะผจญ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โชน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง