มะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ ภัยเงียบที่ผู้หญิงต้องระวัง
มนุษย์เรานั้นจะมีสุขภาพดีปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เมื่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานอย่างสมดุลโดยมีจำนวนการเกิด การเจริญเติบโตของเซลล์ในร่างกายใกล้เคียงกับจำนวนการตาย มะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของการเกิด การเจริญเติบโตและการตายของเซลล์ร่างกาย ส่งผลทำให้เกิดการเจริญเติบโตมากกว่าการตายโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ก่อให้เกิดความผิดปกติทั้งภายในเซลล์และนอกเซลล์ตลอดจนส่งผลต่อร่างกายทั้งระบบ อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งในคนไทยเท่ากับ 169.3 คนต่อ 100,000 คนต่อปีในเพศชายและ 151.0 คนต่อ 100,000 คนต่อปีในเพศหญิง โดยใน 5 อันดับแรกของมะเร็งในสตรีไทย มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด รองลงมาได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปอด และมะเร็งตับตามลำดับ
การวินิจฉัยโรคของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีค่อนข้างเป็นปัญหาในทางปฏิบัติ เนื่องจากอวัยวะส่วนนี้อยู่ในอุ้งเชิงกราน ซึ่งสามารถให้การวินิจฉัยได้โดยการตรวจภายใน ผู้ป่วยส่วนมากไม่ค่อยอยากไปพบแพทย์เนื่องจากอายหรือกลัวเจ็บจากการตรวจ ทำให้การวินิจฉัยโรคของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีเป็นไปได้อย่างล่าช้าและบางครั้งเป็นผลเสียต่อการให้การรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีที่รักษาในระยะเริ่มแรกจะได้ผลดีกว่าการรักษาในระยะลุกลาม มะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์ที่พบได้บ่อยที่สุดและเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญที่สุดในสตรีไทยได้แก่ มะเร็งปากมดลูกรองลงมา ได้แก่ มะเร็งรังไข่ และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในสตรีทั่วโลก แต่เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดของมะเร็งทั้งหมดในประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย ในสตรีไทยพบมะเร็งปากมดลูกประมาณ 17.8 คน ต่อ 100,000 คนต่อปีซึ่งจัดเป็นมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีที่พบบ่อยที่สุด
ปัจจุบันมีข้อมูลจำนวนมากพอจนสรุปได้ว่า การติดเชื้อฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัสหรือเรียกย่อว่าเชื้อเอชพีวี (HPV) เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ เนื่องจากตรวจพบชิ้นส่วนของไวรัสชนิดนี้ได้บ่อยในมะเร็งปากมดลูก ไวรัสชนิดนี้ถ่ายทอดได้จากการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้น มะเร็งปากมดลูกจึงจัดเป็นมะเร็งที่มีความเกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับการมีเพศสัมพันธ์
อาการ
อาการที่พบบ่อยมากที่สุดคือ เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ส่วนหนึ่งของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้นจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ และตรวจพบโดยบังเอิญ กลุ่มที่เป็นระยะลุกลามส่วนใหญ่จะมีตกขาวผิดปกติหรือเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด เป็นต้น เนื่องจากปากมดลูกเป็นตำแหน่งที่ตรวจได้ง่ายจากการตรวจภายใน การตรวจกรองหาเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกมีความไวและความแม่นยำสูง เสียค่าใช้จ่ายน้อย ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกจนกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกต้องใชเวลานานหลายปี ดังนั้นการตรวจภายในประจำปีร่วมกับการตรวจกรองหาเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกจึงมีประโยชน์อย่างมากในการสืบค้นหาเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกและให้การรักษาก่อนที่เซลล์นั้นจะกลายเป็นมะเร็งเนื่องจากมีโอกาสหายขาดสูงและเป็นการตัดไฟแต่ต้นลมก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก
วิธีการรักษา
สำหรับการรักษามะเร็งปากมดลูกส่วนมากจะเป็นการรักษาโดยรังสีรักษา การผ่าตัดจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อมะเร็งปากมดลูกเป็นระยะแรกๆ (ระยะที่ 1) ปัญหาส่วนใหญ่ของบ้านเราคือ ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกส่วนมากที่ได้รับการวินิจฉัยมักอยู่ในระยะลุกลามแล้ว (ระยะที่ 2, 3 และ4) ซึ่งการรักษามักไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
ในประเทศไทย มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกพบได้บ่อยเป็นอันดับ 3 ของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีรองจากมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งรังไข่ โดยพบประมาณ 3.9 คนต่อ 100,000 คนต่อปี ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศยุโรปบางประเทศพบมะเร็งชนิดนี้เป็นอันดับ 1 ของมะเร็งอวัยวะสืบพันธ์สตรี มะเร็งชนิดนี้มักพบในสตรีสูงอายุโดยเฉพาะสตรีในวัยใกล้หมดระดูหรือหมดระดู
มีข้อมูลสนับสนุนว่า มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับฮอร์โมนเพศหญิงที่เรียกว่า เอสโตรเจน เยื่อบุโพรงมดลูกที่ถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนชนิดนี้เพียงอย่างเดียวเป็นเวลานานๆ จะเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งในที่สุด ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งชนิดนี้คือ การที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ในร่างกายเป็นจำนวนมากและเป็นเวลานานโดยอาจจะได้รับจาการรับประทานยาออร์โมนอย่างผิดวิธีหรือในบางภาวะของร่างกายเช่น ภาวะอ้วนจะมีการสร้างฮอร์โมนชนิดนี้มากกว่าปกติ
อาการ
อาการที่พบบ่อยที่สุดของผู้ป่วยมะเร็งเยื่อโพรงบุมดลูกคือ อาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสตรีวัยใกล้หมดระดูหรือวัยหมดระดู การวินิจฉัยมะเร็งเยื่อบุมดลูกทำได้โดยการเก็บเอาเยื่อบุโพรงมดลูกส่งตรวจทางพยาธิวิทยาซึ่งสามารถทำได้โดยใช้พลาสติกสูญญากาศดูดจากโพรงมดลูกหรือโดยการขูดมดลูก ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจกรองมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกที่แม่นยำพอที่จะนำมาใช้ในสตรีทั่วไปที่ไม่มีอาการผิดปกติ อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์เร็วเมื่อมีอาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ทำให้สามารถวินิจฉัยโรคได้ในระยะเริ่มต้น
วิธีการรักษา
การผ่าตัดเป็นการรักษาหลักของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่มีความเสี่ยงสูงต่อการกลับเป็นซ้ำหรือเสี่ยงต่อการกระจายของโรคหลังการผ่าตัดจะได้รับการักษาต่อด้วยรังสีรักษา ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะอยู่ในระยะเริ่มต้นเมื่อได้รับการวินิจฉัยโรค ผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดนี้จึงมีพยากรณ์โรคค่อนข้างดี
มะเร็งรังไข่
ในประเทศไทย มะเร็งรังไข่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีรองจากมะเร็งปากมดลูก โดยพบประมาณ 5.9 คนต่อ 100,000 คนต่อปีรองจากมะเร็งเต้านม ปากมดลูก ปอด ตับและมะเร็งลำไส้ใหญ่ อย่างไรก็ตามจัดเป็นมะเร็งที่มีอัตราการตายสูงเนื่องจากประมาณสามในสี่ของผู้ป่วยมะเร็งรังไข่จะอยู่ในระยะลุกลามเมื่อวินิจฉัยโรคได้ครั้งแรก ในประเทศที่พัฒนาแล้วเช่น สหรัฐอเมริกาหรือประเทศทางยุโรปบางประเทศ มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่มีอัตราการตายสูงสุดของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของการเกิดมะเร็งรังไข่แต่เชื่อว่าสัมพันธ์กับจำนวนครั้งของการมีไข่ตกในแต่ละรอบเดือนของสตรี ดังนั้นจะพบบ่อยขึ้นในสตรีที่เริ่มมีระดูครั้งแรกเมื่ออายุน้อยและหมดระดูเมื่ออายุมาก ในสตรีกลุ่มนี้จะมีการไข่ตกเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังพบได้บ่อยในสตรีที่มีมีบุตรหรือมีบุตรยาก แต่อุบัติการณ์จะลดลงในสตรีที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเนื่องจากจำนวนครั้งของการมีไข่ตกลดลง
อาการ
ผู้ป่วยอาจจะมาด้วยเรื่องปวด แน่น อึดอัดท้อง หรือคลำพบก้อนในท้อง และบ่อยครั้งที่อาการปวดท้องแน่นท้องไม่เฉพาะเจาะจงโดยอาจมีอาการคล้ายกับโรคทางเดินอาหารผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาเกี่ยวกับโรคทางเดินอาหารผิดปกติเป็นเวลานานก่อนจะตรวจพบว่าอาการดังกล่าวเกิดจากมะเร็งรังไข่
ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจกรองของมะเร็งรังไข่ที่เป็นที่ยอมรับว่าได้ผลดีและได้ผลคุ้มค่าเหมือนการตรวจกรองของมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นในปัจจุบันการตรวจกรองที่ดีที่สุดในสตรีทั่วไปคือการตรวจภายในประจำปี ในรายที่สงสัยสามารถใช้การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือเจาะเลือดดูสารบางอย่างที่สร้างจากมะเร็งไข่
วิธีการรักษา
การผ่าตัดเป็นการรักษาหลักของมะเร็งรังไข่ ผู้ป่วยส่วนมากมักได้รับการรักษาต่อด้วยยาเคมีบำบัดเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การรักษาจะได้ผลดีในกรณีที่เป็นมะเร็งรังไข่ระยะเริ่มแรกแต่ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยมักอยู่ในระยะลุกลามเมื่อวินิจฉัยโรคครั้งแรก ทำให้การรักษาโรคนี้ได้ผลที่ไม่ดี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E
มะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีที่พบบ่อย
มนุษย์เรานั้นจะมีสุขภาพดีปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เมื่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานอย่างสมดุลโดยมีจำนวนการเกิด การเจริญเติบโตของเซลล์ในร่างกายใกล้เคียงกับจำนวนการตาย มะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของการเกิด การเจริญเติบโตและการตายของเซลล์ร่างกาย ส่งผลทำให้เกิดการเจริญเติบโตมากกว่าการตายโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ก่อให้เกิดความผิดปกติทั้งภายในเซลล์และนอกเซลล์ตลอดจนส่งผลต่อร่างกายทั้งระบบ อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งในคนไทยเท่ากับ 169.3 คนต่อ 100,000 คนต่อปีในเพศชายและ 151.0 คนต่อ 100,000 คนต่อปีในเพศหญิง โดยใน 5 อันดับแรกของมะเร็งในสตรีไทย มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด รองลงมาได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปอด และมะเร็งตับตามลำดับ
การวินิจฉัยโรคของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีค่อนข้างเป็นปัญหาในทางปฏิบัติ เนื่องจากอวัยวะส่วนนี้อยู่ในอุ้งเชิงกราน ซึ่งสามารถให้การวินิจฉัยได้โดยการตรวจภายใน ผู้ป่วยส่วนมากไม่ค่อยอยากไปพบแพทย์เนื่องจากอายหรือกลัวเจ็บจากการตรวจ ทำให้การวินิจฉัยโรคของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีเป็นไปได้อย่างล่าช้าและบางครั้งเป็นผลเสียต่อการให้การรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีที่รักษาในระยะเริ่มแรกจะได้ผลดีกว่าการรักษาในระยะลุกลาม มะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์ที่พบได้บ่อยที่สุดและเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญที่สุดในสตรีไทยได้แก่ มะเร็งปากมดลูกรองลงมา ได้แก่ มะเร็งรังไข่ และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในสตรีทั่วโลก แต่เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดของมะเร็งทั้งหมดในประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย ในสตรีไทยพบมะเร็งปากมดลูกประมาณ 17.8 คน ต่อ 100,000 คนต่อปีซึ่งจัดเป็นมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีที่พบบ่อยที่สุด
ปัจจุบันมีข้อมูลจำนวนมากพอจนสรุปได้ว่า การติดเชื้อฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัสหรือเรียกย่อว่าเชื้อเอชพีวี (HPV) เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ เนื่องจากตรวจพบชิ้นส่วนของไวรัสชนิดนี้ได้บ่อยในมะเร็งปากมดลูก ไวรัสชนิดนี้ถ่ายทอดได้จากการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้น มะเร็งปากมดลูกจึงจัดเป็นมะเร็งที่มีความเกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับการมีเพศสัมพันธ์
อาการ
อาการที่พบบ่อยมากที่สุดคือ เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ส่วนหนึ่งของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้นจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ และตรวจพบโดยบังเอิญ กลุ่มที่เป็นระยะลุกลามส่วนใหญ่จะมีตกขาวผิดปกติหรือเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด เป็นต้น เนื่องจากปากมดลูกเป็นตำแหน่งที่ตรวจได้ง่ายจากการตรวจภายใน การตรวจกรองหาเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกมีความไวและความแม่นยำสูง เสียค่าใช้จ่ายน้อย ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกจนกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกต้องใชเวลานานหลายปี ดังนั้นการตรวจภายในประจำปีร่วมกับการตรวจกรองหาเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกจึงมีประโยชน์อย่างมากในการสืบค้นหาเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกและให้การรักษาก่อนที่เซลล์นั้นจะกลายเป็นมะเร็งเนื่องจากมีโอกาสหายขาดสูงและเป็นการตัดไฟแต่ต้นลมก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก
วิธีการรักษา
สำหรับการรักษามะเร็งปากมดลูกส่วนมากจะเป็นการรักษาโดยรังสีรักษา การผ่าตัดจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อมะเร็งปากมดลูกเป็นระยะแรกๆ (ระยะที่ 1) ปัญหาส่วนใหญ่ของบ้านเราคือ ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกส่วนมากที่ได้รับการวินิจฉัยมักอยู่ในระยะลุกลามแล้ว (ระยะที่ 2, 3 และ4) ซึ่งการรักษามักไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
ในประเทศไทย มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกพบได้บ่อยเป็นอันดับ 3 ของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีรองจากมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งรังไข่ โดยพบประมาณ 3.9 คนต่อ 100,000 คนต่อปี ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศยุโรปบางประเทศพบมะเร็งชนิดนี้เป็นอันดับ 1 ของมะเร็งอวัยวะสืบพันธ์สตรี มะเร็งชนิดนี้มักพบในสตรีสูงอายุโดยเฉพาะสตรีในวัยใกล้หมดระดูหรือหมดระดู
มีข้อมูลสนับสนุนว่า มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับฮอร์โมนเพศหญิงที่เรียกว่า เอสโตรเจน เยื่อบุโพรงมดลูกที่ถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนชนิดนี้เพียงอย่างเดียวเป็นเวลานานๆ จะเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งในที่สุด ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งชนิดนี้คือ การที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ในร่างกายเป็นจำนวนมากและเป็นเวลานานโดยอาจจะได้รับจาการรับประทานยาออร์โมนอย่างผิดวิธีหรือในบางภาวะของร่างกายเช่น ภาวะอ้วนจะมีการสร้างฮอร์โมนชนิดนี้มากกว่าปกติ
อาการ
อาการที่พบบ่อยที่สุดของผู้ป่วยมะเร็งเยื่อโพรงบุมดลูกคือ อาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสตรีวัยใกล้หมดระดูหรือวัยหมดระดู การวินิจฉัยมะเร็งเยื่อบุมดลูกทำได้โดยการเก็บเอาเยื่อบุโพรงมดลูกส่งตรวจทางพยาธิวิทยาซึ่งสามารถทำได้โดยใช้พลาสติกสูญญากาศดูดจากโพรงมดลูกหรือโดยการขูดมดลูก ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจกรองมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกที่แม่นยำพอที่จะนำมาใช้ในสตรีทั่วไปที่ไม่มีอาการผิดปกติ อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์เร็วเมื่อมีอาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ทำให้สามารถวินิจฉัยโรคได้ในระยะเริ่มต้น
วิธีการรักษา
การผ่าตัดเป็นการรักษาหลักของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่มีความเสี่ยงสูงต่อการกลับเป็นซ้ำหรือเสี่ยงต่อการกระจายของโรคหลังการผ่าตัดจะได้รับการักษาต่อด้วยรังสีรักษา ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะอยู่ในระยะเริ่มต้นเมื่อได้รับการวินิจฉัยโรค ผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดนี้จึงมีพยากรณ์โรคค่อนข้างดี
มะเร็งรังไข่
ในประเทศไทย มะเร็งรังไข่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีรองจากมะเร็งปากมดลูก โดยพบประมาณ 5.9 คนต่อ 100,000 คนต่อปีรองจากมะเร็งเต้านม ปากมดลูก ปอด ตับและมะเร็งลำไส้ใหญ่ อย่างไรก็ตามจัดเป็นมะเร็งที่มีอัตราการตายสูงเนื่องจากประมาณสามในสี่ของผู้ป่วยมะเร็งรังไข่จะอยู่ในระยะลุกลามเมื่อวินิจฉัยโรคได้ครั้งแรก ในประเทศที่พัฒนาแล้วเช่น สหรัฐอเมริกาหรือประเทศทางยุโรปบางประเทศ มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่มีอัตราการตายสูงสุดของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของการเกิดมะเร็งรังไข่แต่เชื่อว่าสัมพันธ์กับจำนวนครั้งของการมีไข่ตกในแต่ละรอบเดือนของสตรี ดังนั้นจะพบบ่อยขึ้นในสตรีที่เริ่มมีระดูครั้งแรกเมื่ออายุน้อยและหมดระดูเมื่ออายุมาก ในสตรีกลุ่มนี้จะมีการไข่ตกเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังพบได้บ่อยในสตรีที่มีมีบุตรหรือมีบุตรยาก แต่อุบัติการณ์จะลดลงในสตรีที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเนื่องจากจำนวนครั้งของการมีไข่ตกลดลง
อาการ
ผู้ป่วยอาจจะมาด้วยเรื่องปวด แน่น อึดอัดท้อง หรือคลำพบก้อนในท้อง และบ่อยครั้งที่อาการปวดท้องแน่นท้องไม่เฉพาะเจาะจงโดยอาจมีอาการคล้ายกับโรคทางเดินอาหารผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาเกี่ยวกับโรคทางเดินอาหารผิดปกติเป็นเวลานานก่อนจะตรวจพบว่าอาการดังกล่าวเกิดจากมะเร็งรังไข่
ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจกรองของมะเร็งรังไข่ที่เป็นที่ยอมรับว่าได้ผลดีและได้ผลคุ้มค่าเหมือนการตรวจกรองของมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นในปัจจุบันการตรวจกรองที่ดีที่สุดในสตรีทั่วไปคือการตรวจภายในประจำปี ในรายที่สงสัยสามารถใช้การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือเจาะเลือดดูสารบางอย่างที่สร้างจากมะเร็งไข่
วิธีการรักษา
การผ่าตัดเป็นการรักษาหลักของมะเร็งรังไข่ ผู้ป่วยส่วนมากมักได้รับการรักษาต่อด้วยยาเคมีบำบัดเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การรักษาจะได้ผลดีในกรณีที่เป็นมะเร็งรังไข่ระยะเริ่มแรกแต่ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยมักอยู่ในระยะลุกลามเมื่อวินิจฉัยโรคครั้งแรก ทำให้การรักษาโรคนี้ได้ผลที่ไม่ดี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E