มะเร็งตับ...โรคร้ายอันตรายถึงชีวิต
มะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในเนื้อตับ ซึ่งเกิดจากเซลล์ตับที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติจนกลายเป็นเนื้องอกร้าย เรียกว่า มะเร็งเซลล์ตับ (hepatocellular carcinoma) และถ้าเนื้องอกเกิดจากเซลล์บุท่อน้ำดีเจริญเติบโตผิดปกติจะเรียกว่า มะเร็งท่อน้ำดี (cholangiocarcinoma) ในขณะที่เนื้องอกร้ายในเนื้อตับของผู้ป่วยบางรายเกิดจากเซลล์มะเร็งที่มีต้นกำเนิดในอวัยวะอื่นแล้วแพร่กระจายมายังตับ เรียกมะเร็งกลุ่มนี้ว่า มะเร็งตับแพร่กระจาย (metastatic liver cancer) ซึ่งอาจมีต้นตอของเซลล์มะเร็งมาจากเนื้องอกร้ายของตับอ่อน กระเพาะอาหาร ลำไส้ เต้านม หรือปอด เป็นต้น
สาเหตุ
การค้นหามะเร็งในระยะที่ไม่แสดงอาการในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงมีความสำคัญมาก แพทย์จึงแนะนำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอย่างเรื้อรัง เพศชายอายุ 40 ปีขึ้นไป และเพศหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยตับแข็งที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ ได้แก่
- การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี
- การดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลานาน
- โรคตับคั่งไขมันจากภาวะอ้วน
- ตับอักเสบจากภาวะแพ้ภูมิตนเอง
- โรคตับคั่งน้ำดี
ควรเข้ารับการตรวจเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งตับอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการตรวจอัลตราซาวนด์หารอยโรคผิดปกติในเนื้อตับ หรือร่วมกับการตรวจเลือดวัดระดับ alfa-fetoprotein (AFP) และถ้าการตรวจนี้พบความผิดปกติสงสัยเนื้องอกในตับ แพทย์จะแนะนำให้ตรวจภาพรังสีวินิจฉัยของตับเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography) หรือภาพเสียงสะท้อนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging) เพื่อให้การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง
อาการ
ผู้ป่วยมะเร็งตับส่วนใหญ่ในระยะแรกของโรค มักไม่มีอาการผิดปกติ เมื่อก้อนเนื้อร้ายมีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดังนี้
- ปวดจุกบริเวณชายโครงขวาหรือช่องท้องส่วนบน
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักตัวลดลง
- ท้องมาน
- ขาบวม
- ปัสสาวะมีเหลืองเข้ม
- ตาและตัวเหลือง หรือดีซ่าน
ดังนั้นถ้าผู้ป่วยมะเร็งตับมาพบแพทย์ด้วยอาการเหล่านี้ มักตรวจพบเนื้องอกมีขนาดใหญ่หรือเป็นมะเร็งในระยะลุกลาม การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะมีอาการชัดเจน จะสามารถให้การรักษาด้วยวิธีต่างๆ ได้ผลดีขึ้น
วิธีการตรวจรักษา
ผู้ป่วยที่ผลการตรวจต่างๆ บ่งชี้ว่าเนื้องอกที่เกิดขึ้นภายในตับน่าจะเป็นมะเร็งตับ แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินสมรรถภาพการทำงานของตับ และสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย ร่วมกับข้อมูลขนาด ตำแหน่ง และการแพร่กระจายของเนื้องอกตับ เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป ผู้ป่วยมะเร็งตับบางรายสามารถรับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนตับ หรือผ่าตัดตับเอาเนื้องอกออกได้หมด หรือใช้อุปกรณ์จี้หรือเผาให้เนื้องอกตาย (tumor ablation) หรือฉีดยาเคมีผ่านหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงเนื้องอกร่วมกับฉีดสารอุดหลอดเลือดดังกล่าว (transarterial chemoembolization) หรือการรักษาด้วยยามุ่งเป้า (targeted therapy) ตามความเหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล
อย่างไรก็ตาม การรักษาเหล่านี้จะทำควบคู่ไปกับการรักษาโรคตับพื้นฐาน เพื่อประคับประคองหรือฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของตับให้พร้อมกับการรักษามะเร็งตับต่อไป นอกจากนี้ผู้ป่วยมะเร็งตับควรเลือกรับประทานที่สะอาดให้ครบ 5 หมู่ มีปริมาณสารอาหารจากโปรตีนอย่างเพียงพอ และเป็นอาหารจืดที่ปรุงรสด้วยเกลือหรือน้ำปลาในปริมาณน้อย เพื่อช่วยในการรักษาหรือป้องกันภาวะท้องมานและขาบวม หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเสริม สมุนไพร หรือยาต่างๆ ที่ไม่จำเป็น เนื่องจากสารเหล่านี้อาจทำให้เกิดตับอักเสบรุนแรงจนผู้ป่วยมะเร็งตับเสียชีวิตเร็วก่อนเวลาอันควร
การป้องกัน
ผู้ป่วยจำนวนมากอาจไม่มีอาการใดเลยในระยะที่ตับยังมีสมรรถภาพการทำงานปกติ ด้วยเหตุนี้แพทย์จึงแนะนำให้ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคตับเรื้อรังดังต่อไปนี้ ควรได้รับการตรวจค้นหาสาเหตุและเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งตับ ได้แก่ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง ผู้ที่มีประวัติได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์เลือด ก่อนปี พ.ศ.2533 มีประวัติใช้เข็มและอุปกรณ์ฉีดสารเสพติดเข้าหลอดเลือดร่วมกัน การสักผิวหนังด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ หรือมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบีหรือซี เป็นต้น
สำหรับผู้ที่ไม่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบีและยังไม่มีภิมิคุ้มกันต่อไวรัสดังกล่าว สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อได้ แต่สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันโรคต่างๆ คือการดูแลสุขภาพทั่วไปให้แข็งแรง รับประทานอาหารอย่างเหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และพักผ่อนอย่างเพียงพอ สิ่งเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมสุขภาพในทุกด้านได้ดีที่สุด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A
มะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในเนื้อตับ ซึ่งเกิดจากเซลล์ตับที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติจนกลายเป็นเนื้องอกร้าย เรียกว่า มะเร็งเซลล์ตับ (hepatocellular carcinoma) และถ้าเนื้องอกเกิดจากเซลล์บุท่อน้ำดีเจริญเติบโตผิดปกติจะเรียกว่า มะเร็งท่อน้ำดี (cholangiocarcinoma) ในขณะที่เนื้องอกร้ายในเนื้อตับของผู้ป่วยบางรายเกิดจากเซลล์มะเร็งที่มีต้นกำเนิดในอวัยวะอื่นแล้วแพร่กระจายมายังตับ เรียกมะเร็งกลุ่มนี้ว่า มะเร็งตับแพร่กระจาย (metastatic liver cancer) ซึ่งอาจมีต้นตอของเซลล์มะเร็งมาจากเนื้องอกร้ายของตับอ่อน กระเพาะอาหาร ลำไส้ เต้านม หรือปอด เป็นต้น
สาเหตุ
การค้นหามะเร็งในระยะที่ไม่แสดงอาการในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงมีความสำคัญมาก แพทย์จึงแนะนำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอย่างเรื้อรัง เพศชายอายุ 40 ปีขึ้นไป และเพศหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยตับแข็งที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ ได้แก่
- การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี
- การดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลานาน
- โรคตับคั่งไขมันจากภาวะอ้วน
- ตับอักเสบจากภาวะแพ้ภูมิตนเอง
- โรคตับคั่งน้ำดี
ควรเข้ารับการตรวจเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งตับอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการตรวจอัลตราซาวนด์หารอยโรคผิดปกติในเนื้อตับ หรือร่วมกับการตรวจเลือดวัดระดับ alfa-fetoprotein (AFP) และถ้าการตรวจนี้พบความผิดปกติสงสัยเนื้องอกในตับ แพทย์จะแนะนำให้ตรวจภาพรังสีวินิจฉัยของตับเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography) หรือภาพเสียงสะท้อนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging) เพื่อให้การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง
อาการ
ผู้ป่วยมะเร็งตับส่วนใหญ่ในระยะแรกของโรค มักไม่มีอาการผิดปกติ เมื่อก้อนเนื้อร้ายมีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดังนี้
- ปวดจุกบริเวณชายโครงขวาหรือช่องท้องส่วนบน
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักตัวลดลง
- ท้องมาน
- ขาบวม
- ปัสสาวะมีเหลืองเข้ม
- ตาและตัวเหลือง หรือดีซ่าน
ดังนั้นถ้าผู้ป่วยมะเร็งตับมาพบแพทย์ด้วยอาการเหล่านี้ มักตรวจพบเนื้องอกมีขนาดใหญ่หรือเป็นมะเร็งในระยะลุกลาม การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะมีอาการชัดเจน จะสามารถให้การรักษาด้วยวิธีต่างๆ ได้ผลดีขึ้น
วิธีการตรวจรักษา
ผู้ป่วยที่ผลการตรวจต่างๆ บ่งชี้ว่าเนื้องอกที่เกิดขึ้นภายในตับน่าจะเป็นมะเร็งตับ แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินสมรรถภาพการทำงานของตับ และสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย ร่วมกับข้อมูลขนาด ตำแหน่ง และการแพร่กระจายของเนื้องอกตับ เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป ผู้ป่วยมะเร็งตับบางรายสามารถรับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนตับ หรือผ่าตัดตับเอาเนื้องอกออกได้หมด หรือใช้อุปกรณ์จี้หรือเผาให้เนื้องอกตาย (tumor ablation) หรือฉีดยาเคมีผ่านหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงเนื้องอกร่วมกับฉีดสารอุดหลอดเลือดดังกล่าว (transarterial chemoembolization) หรือการรักษาด้วยยามุ่งเป้า (targeted therapy) ตามความเหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล
อย่างไรก็ตาม การรักษาเหล่านี้จะทำควบคู่ไปกับการรักษาโรคตับพื้นฐาน เพื่อประคับประคองหรือฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของตับให้พร้อมกับการรักษามะเร็งตับต่อไป นอกจากนี้ผู้ป่วยมะเร็งตับควรเลือกรับประทานที่สะอาดให้ครบ 5 หมู่ มีปริมาณสารอาหารจากโปรตีนอย่างเพียงพอ และเป็นอาหารจืดที่ปรุงรสด้วยเกลือหรือน้ำปลาในปริมาณน้อย เพื่อช่วยในการรักษาหรือป้องกันภาวะท้องมานและขาบวม หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเสริม สมุนไพร หรือยาต่างๆ ที่ไม่จำเป็น เนื่องจากสารเหล่านี้อาจทำให้เกิดตับอักเสบรุนแรงจนผู้ป่วยมะเร็งตับเสียชีวิตเร็วก่อนเวลาอันควร
การป้องกัน
ผู้ป่วยจำนวนมากอาจไม่มีอาการใดเลยในระยะที่ตับยังมีสมรรถภาพการทำงานปกติ ด้วยเหตุนี้แพทย์จึงแนะนำให้ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคตับเรื้อรังดังต่อไปนี้ ควรได้รับการตรวจค้นหาสาเหตุและเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งตับ ได้แก่ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง ผู้ที่มีประวัติได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์เลือด ก่อนปี พ.ศ.2533 มีประวัติใช้เข็มและอุปกรณ์ฉีดสารเสพติดเข้าหลอดเลือดร่วมกัน การสักผิวหนังด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ หรือมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบีหรือซี เป็นต้น
สำหรับผู้ที่ไม่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบีและยังไม่มีภิมิคุ้มกันต่อไวรัสดังกล่าว สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อได้ แต่สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันโรคต่างๆ คือการดูแลสุขภาพทั่วไปให้แข็งแรง รับประทานอาหารอย่างเหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และพักผ่อนอย่างเพียงพอ สิ่งเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมสุขภาพในทุกด้านได้ดีที่สุด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A