อวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

อวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือกระบังลมหย่อน หมายถึง การเคลื่อนหรือหย่อนของอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน ได้แก่ มดลูก ผนังช่องคลอด หรือทั้ง 2 อย่างลงมาต่ำกว่าตำแหน่งปกติ ซึ่งบางครั้งอาจหย่อนมากจนโผล่พ้นปากช่องคลอดออกมาภายนอกได้

สาเหตุของอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

  เกิดจากเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเสื่อมสภาพ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มารับการรักษาเพราะไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่มาก แต่บางรายไม่มารับการรักษาเนื่องจากอาย หรือไม่ทราบว่าสามารถรักษาได้

ปัจจัยเสี่ยงของอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

  • ผู้ที่ตั้งครรภ์และคลอดทางช่องคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีคลอดยากหรือใช้เครื่องมือช่วยคลอด
  • อายุที่มากขึ้น
  • ภาวะที่มีแรงดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น เช่น ไอเรื้อรัง ท้องผูก ยกของหนัก และภาวะโรคอ้วน

อาการของอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

ผู้ป่วยที่มีอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อนเล็กน้อยอาจไม่แสดงอาการ ในรายที่มีการหย่อนชัดเจนจะมาพบแพทย์ด้วยอาการต่อไปนี้

  1. ปวดหน่วงในท้องน้อย
  2. รู้สึกถ่วงในช่องคลอดเหมือนมีอะไรจะหลุด
  3. ปวดหลังบริเวณบั้นเอว
  4. คลำพบก้อนยื่นออกมาทางปากช่องคลอด
  5. ถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระลำบาก ต้องใช้นิ้วดันส่วนของช่องคลอดที่ยื่นออกมาให้เข้าไปก่อนจึงจะปัสสาวะหรืออุจจาระได้ตามปกติ
  6. ตกขาวหรือมีเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งเกิดจากการเสียดสีกับภายนอก
  7. อาการผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจาม เป็นต้น
  8. อาการผิดปกติเกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระ เช่น ถ่ายอุจจาระไม่สุด กลั้นอุจจาระไม่ได้ เป็นต้น
  9. รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์

การวินิจฉัยโรคอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

  แพทย์สามารถให้การวินิจฉัยอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อนได้จากการสอบถามอาการผิดปกติร่วมกับการตรวจภายใน และการตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการ โดยแพทย์จะทำการประเมินระดับความรุนแรงของภาวะดังกล่าวเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป

การรักษาอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

การรักษาแบบประคับประคอง

  1. การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยการฝึกขมิบช่องคลอด (Kegel exercise) ซึ่งได้ผลดีสำหรับผู้ป่วยที่อวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อนไม่มาก ส่วนในรายที่เป็นมากแม้การขมิบช่องคลอดอาจไม่ทำให้หาย แต่สามารถช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น และช่วยลดอาการปัสสาวะเล็ดได้ด้วย
  2. การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงในช่องคลอด เป็นการช่วยพยุงอวัยวะอุ้งเชิงกรานที่หย่อนด้วยการใส่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Pessary ในช่องคลอด ซึ่งทำจากซิลิโคนและมีหลากหลายรูปแบบ โดยผู้ป่วยสามารถใส่และถอดได้ด้วยตนเอง

การรักษาโดยการผ่าตัด

   เป็นการรักษาเพื่อแก้ไขให้อวัยวะอุ้งเชิงกรานที่หย่อนกลับมาอยู่ในตำแหน่งเดิม ซึ่งแพทย์จะเลือกทำการผ่าตัดแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับว่าส่วนใดที่หย่อน นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงสภาพร่างกายของผู้ป่วยด้วยว่ามีความพร้อมสำหรับการผ่าตัดหรือไม่ การผ่าตัดส่วนใหญ่สามารถทำผ่านทางช่องคลอดได้ ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้ค่อนข้างเร็ว มีเพียงบางกรณีเท่านั้นที่จำเป็นต้องทำผ่านทางหน้าท้อง

การป้องกันอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

1. ฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทั้งในเวลาปกติ

2. หลีกเลี่ยงอาการท้องผูก ไอเรื้อรัง และยกของหนัก

3. ควบคุมน้ำหนัก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E

อวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือกระบังลมหย่อน หมายถึง การเคลื่อนหรือหย่อนของอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน ได้แก่ มดลูก ผนังช่องคลอด หรือทั้ง 2 อย่างลงมาต่ำกว่าตำแหน่งปกติ ซึ่งบางครั้งอาจหย่อนมากจนโผล่พ้นปากช่องคลอดออกมาภายนอกได้

สาเหตุของอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

  เกิดจากเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเสื่อมสภาพ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มารับการรักษาเพราะไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่มาก แต่บางรายไม่มารับการรักษาเนื่องจากอาย หรือไม่ทราบว่าสามารถรักษาได้

ปัจจัยเสี่ยงของอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

  • ผู้ที่ตั้งครรภ์และคลอดทางช่องคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีคลอดยากหรือใช้เครื่องมือช่วยคลอด
  • อายุที่มากขึ้น
  • ภาวะที่มีแรงดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น เช่น ไอเรื้อรัง ท้องผูก ยกของหนัก และภาวะโรคอ้วน

อาการของอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

ผู้ป่วยที่มีอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อนเล็กน้อยอาจไม่แสดงอาการ ในรายที่มีการหย่อนชัดเจนจะมาพบแพทย์ด้วยอาการต่อไปนี้

  1. ปวดหน่วงในท้องน้อย
  2. รู้สึกถ่วงในช่องคลอดเหมือนมีอะไรจะหลุด
  3. ปวดหลังบริเวณบั้นเอว
  4. คลำพบก้อนยื่นออกมาทางปากช่องคลอด
  5. ถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระลำบาก ต้องใช้นิ้วดันส่วนของช่องคลอดที่ยื่นออกมาให้เข้าไปก่อนจึงจะปัสสาวะหรืออุจจาระได้ตามปกติ
  6. ตกขาวหรือมีเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งเกิดจากการเสียดสีกับภายนอก
  7. อาการผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจาม เป็นต้น
  8. อาการผิดปกติเกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระ เช่น ถ่ายอุจจาระไม่สุด กลั้นอุจจาระไม่ได้ เป็นต้น
  9. รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์

การวินิจฉัยโรคอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

   แพทย์สามารถให้การวินิจฉัยอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อนได้จากการสอบถามอาการผิดปกติร่วมกับการตรวจภายใน และการตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการ โดยแพทย์จะทำการประเมินระดับความรุนแรงของภาวะดังกล่าวเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป

การรักษาอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

การรักษาแบบประคับประคอง

  1. การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยการฝึกขมิบช่องคลอด (Kegel exercise) ซึ่งได้ผลดีสำหรับผู้ป่วยที่อวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อนไม่มาก ส่วนในรายที่เป็นมากแม้การขมิบช่องคลอดอาจไม่ทำให้หาย แต่สามารถช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น และช่วยลดอาการปัสสาวะเล็ดได้ด้วย
  2. การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงในช่องคลอด เป็นการช่วยพยุงอวัยวะอุ้งเชิงกรานที่หย่อนด้วยการใส่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Pessary ในช่องคลอด ซึ่งทำจากซิลิโคนและมีหลากหลายรูปแบบ โดยผู้ป่วยสามารถใส่และถอดได้ด้วยตนเอง

การรักษาโดยการผ่าตัด

   เป็นการรักษาเพื่อแก้ไขให้อวัยวะอุ้งเชิงกรานที่หย่อนกลับมาอยู่ในตำแหน่งเดิม ซึ่งแพทย์จะเลือกทำการผ่าตัดแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับว่าส่วนใดที่หย่อน นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงสภาพร่างกายของผู้ป่วยด้วยว่ามีความพร้อมสำหรับการผ่าตัดหรือไม่ การผ่าตัดส่วนใหญ่สามารถทำผ่านทางช่องคลอดได้ ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้ค่อนข้างเร็ว มีเพียงบางกรณีเท่านั้นที่จำเป็นต้องทำผ่านทางหน้าท้อง

การป้องกันอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

1. ฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทั้งในเวลาปกติ

2. หลีกเลี่ยงอาการท้องผูก ไอเรื้อรัง และยกของหนัก

3. ควบคุมน้ำหนัก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง