ไบโพลาร์ โรคอารมณ์สองขั้วรับมืออย่างไร?

     โรคอารมณ์สองขั้ว หรือโรคอารมณ์แปรปรวน หรือโรคไบโพล่าร์ (Bipolar disorder) เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น ช่วงอารมณ์ซึมเศร้า (depressive episode)ติดกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ สลับกับช่วงอารมณ์ครึกครื้น (manic episode) จะมีอารมณ์รื่นเริงมาก หรือหงุดหงิดมากกว่าปกติอย่างน้อย 4 วันหรือ 1 สัปดาห์ (ในโรคอารมณ์สองขั้วชนิดที่ 2 และ 1 ตามลำดับ) จนทำให้มีพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น การทำงาน การเรียน เป็นต้น

     จากการศึกษาปัจจุบันพบว่า  โรคนี้เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ พันธุกรรม อาทิ หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมากขึ้น ปัจจัยด้านชีวภาพ เกิดจากสารสื่อประสาทและการทำงานของสมองบางส่วนผิดปกติไป และสุดท้ายคือด้านพฤติกรรม สภาพจิตใจ และสังคม เช่น การอดนอน การใช้สารเสพติด การเผชิญความเครียดและกดดันสูง เป็นต้น

     นอกจากปัญหาด้านอารมณ์ที่เปลี่ยนไป ผู้ป่วยจะมีความคิดที่เปลี่ยนไปจากเดิมได้เช่นกัน ยกตัวอย่างในช่วงอารมณ์ซึมเศร้า ผู้ป่วยมักมีความคิดแง่ลบ รู้สึกผิด โทษตัวเอง หรือไม่อยากมีชีวิตอยู่ ส่วนช่วงอารมณ์ครึกครื้น ผู้ป่วยจะมีความมั่นใจในตนเองสูง มีความคิดแล่นเร็ว อยากทำกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้น ตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อมาภายหลังได้ ในด้านพฤติกรรมเอง อาจสังเกตจากการนอนหลับที่เปลี่ยนไป ภาวะนอนไม่หลับหรือนอนหลับมากเกินไป อ่อนเพลีย มักเกิดช่วงอารมณ์ซึมเศร้า ตรงกันข้ามกับช่วงอารมณ์ครึกครื้น ผู้ป่วยรู้สึกมีพลัง ไม่อยากนอนหรือพักผ่อน และมักกระตือรือร้น หรือกระวนกระวายมากกว่าปกติได้

 

 

     การวินิจฉัยได้จากการประเมินโดยจิตแพทย์ ซึ่งอาศัยประวัติจากทั้งผู้ป่วยและคนใกล้ชิด ประกอบกับการตรวจสภาพจิต การรักษาควรใช้ยาควบคู่กับการปรับพฤติกรรม โดยในระยะแรกของการรักษา หรือช่วงที่อาการมาก เน้นการใช้ยาปรับอารมณ์เป็นหลัก และปรับการนอน โดยให้พักผ่อนเพียงพอ หากมีการใช้สารเสพติด ควรงดใช้สารเสพติดทุกชนิด เนื่องจากอาจมีผลต่ออาการและยาที่ใช้รักษา นอกจากนั้น ควรหาวิธีผ่อนคลายความเครียดอย่างเหมาะสมตามบริบทของผู้ป่วยแต่ละราย

     ข้อแนะนำสำหรับการดูแลตนเองเบื้องต้น ให้ห่างไกลโรคอารมณ์สองขั้ว คือ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การใช้สารเสพติด หรือยาที่ซื้อมารับประทานเองบางประเภท เช่น ยาลดความอ้วน ยาสมุนไพร เป็นต้น การพักผ่อนให้เพียงพอ หากพบว่าตนเองเผชิญกับความเครียด ความกดดันอย่างมากจนรู้สึกว่าไม่สามารถทนกับสถานการณ์เดิมได้ ควรเริ่มจัดการกับปัญหา มองหาตัวช่วย หรือหากปัญหานั้นยังไม่สามารถแก้ไขได้ ควรเน้นทำกิจกรรมที่ช่วยให้ความเครียดลดลงก่อน ผู้ที่สงสัยว่าตนเองมีอาการข้างต้น หรือมีความเครียดสูงสามารถรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยาได้

ขอบคุณข้อมูลจาก: ผศ. พญ.กิติกานต์ ธนะอุดม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D

     โรคอารมณ์สองขั้ว หรือโรคอารมณ์แปรปรวน หรือโรคไบโพล่าร์ (Bipolar disorder) เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น ช่วงอารมณ์ซึมเศร้า (depressive episode)ติดกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ สลับกับช่วงอารมณ์ครึกครื้น (manic episode) จะมีอารมณ์รื่นเริงมาก หรือหงุดหงิดมากกว่าปกติอย่างน้อย 4 วันหรือ 1 สัปดาห์ (ในโรคอารมณ์สองขั้วชนิดที่ 2 และ 1 ตามลำดับ) จนทำให้มีพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น การทำงาน การเรียน เป็นต้น

     จากการศึกษาปัจจุบันพบว่า  โรคนี้เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ พันธุกรรม อาทิ หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมากขึ้น ปัจจัยด้านชีวภาพ เกิดจากสารสื่อประสาทและการทำงานของสมองบางส่วนผิดปกติไป และสุดท้ายคือด้านพฤติกรรม สภาพจิตใจ และสังคม เช่น การอดนอน การใช้สารเสพติด การเผชิญความเครียดและกดดันสูง เป็นต้น

     นอกจากปัญหาด้านอารมณ์ที่เปลี่ยนไป ผู้ป่วยจะมีความคิดที่เปลี่ยนไปจากเดิมได้เช่นกัน ยกตัวอย่างในช่วงอารมณ์ซึมเศร้า ผู้ป่วยมักมีความคิดแง่ลบ รู้สึกผิด โทษตัวเอง หรือไม่อยากมีชีวิตอยู่ ส่วนช่วงอารมณ์ครึกครื้น ผู้ป่วยจะมีความมั่นใจในตนเองสูง มีความคิดแล่นเร็ว อยากทำกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้น ตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อมาภายหลังได้ ในด้านพฤติกรรมเอง อาจสังเกตจากการนอนหลับที่เปลี่ยนไป ภาวะนอนไม่หลับหรือนอนหลับมากเกินไป อ่อนเพลีย มักเกิดช่วงอารมณ์ซึมเศร้า ตรงกันข้ามกับช่วงอารมณ์ครึกครื้น ผู้ป่วยรู้สึกมีพลัง ไม่อยากนอนหรือพักผ่อน และมักกระตือรือร้น หรือกระวนกระวายมากกว่าปกติได้

 

 

     การวินิจฉัยได้จากการประเมินโดยจิตแพทย์ ซึ่งอาศัยประวัติจากทั้งผู้ป่วยและคนใกล้ชิด ประกอบกับการตรวจสภาพจิต การรักษาควรใช้ยาควบคู่กับการปรับพฤติกรรม โดยในระยะแรกของการรักษา หรือช่วงที่อาการมาก เน้นการใช้ยาปรับอารมณ์เป็นหลัก และปรับการนอน โดยให้พักผ่อนเพียงพอ หากมีการใช้สารเสพติด ควรงดใช้สารเสพติดทุกชนิด เนื่องจากอาจมีผลต่ออาการและยาที่ใช้รักษา นอกจากนั้น ควรหาวิธีผ่อนคลายความเครียดอย่างเหมาะสมตามบริบทของผู้ป่วยแต่ละราย

     ข้อแนะนำสำหรับการดูแลตนเองเบื้องต้น ให้ห่างไกลโรคอารมณ์สองขั้ว คือ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การใช้สารเสพติด หรือยาที่ซื้อมารับประทานเองบางประเภท เช่น ยาลดความอ้วน ยาสมุนไพร เป็นต้น การพักผ่อนให้เพียงพอ หากพบว่าตนเองเผชิญกับความเครียด ความกดดันอย่างมากจนรู้สึกว่าไม่สามารถทนกับสถานการณ์เดิมได้ ควรเริ่มจัดการกับปัญหา มองหาตัวช่วย หรือหากปัญหานั้นยังไม่สามารถแก้ไขได้ ควรเน้นทำกิจกรรมที่ช่วยให้ความเครียดลดลงก่อน ผู้ที่สงสัยว่าตนเองมีอาการข้างต้น หรือมีความเครียดสูงสามารถรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยาได้

ขอบคุณข้อมูลจาก: ผศ. พญ.กิติกานต์ ธนะอุดม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง