โรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน โรคสุดฮิตของคนเวียนหัว

โรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน (Benign Paroxysmal Positional Vertigo : BPPV) เป็นสาเหตุของอาการเวียนศีรษะที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะจากโรคหู พบได้ประมาณร้อยละ 20-30 ของผู้ป่วยที่มาด้วยความผิดปกติของการเวียนศีรษะ โดยผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนมักเป็นแบบเฉียบพลัน สัมพันธ์กับท่าทางหรือการขยับศีรษะ

ตะกอนหินปูนหูชั้นใน (otoconia) คืออะไร

  ตะกอนหินปูนหูชั้นในเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัวของร่างกาย ประกอบด้วยผลึกแคลเซียมคาร์บอเนต และเนื้อโปรตีน (Protein Matrix) เมื่ออายุมากขึ้นผลึกแคลเซียมหรือตะกอนหินปูนหูชั้นในจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเช่น แข็งขึ้น เปราะง่ายขึ้น การเกิดโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อนนั้นเป็นผลมาจากเปลี่ยนตำแหน่งของตะกอนหินปูนหูชั้นในที่ผิดไปจากตำแหน่งปกติ

 

ภาพแสดงตัวอย่างตำแหน่งของตะกอนหินปูนหูชั้นในและตำแหน่งผิดปกติ

 

 

สาเหตุของโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน

  ส่วนใหญ่เกิดขึ้นแบบไม่มีสาเหตุ มีบางปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน ได้แก่ อุบัติเหตุศีรษะกระแทก โรคทางหูชั้นในบางอย่างที่พบร่วมกับโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน การผ่าตัดหูบางชนิด อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาวิจัยพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการเกิดโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน เช่น อายุมาก เพศหญิง โรคความดันโลหิตสูง ไขมันโลหิตสูง ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ โรคเบาหวาน กระดูกพรุน ภาวะขาดวิตามินดี เป็นต้น

อาการของโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน

  ผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนมักเป็นแบบเฉียบพลัน โดยอาการบ้านหมุนมักเป็นไม่นาน ประมาณไม่กี่นาที แต่อาจมีอาการมึนศีรษะตามมาได้ อาการบ้านหมุนสัมพันธ์กับท่าทางหรือการขยับศีรษะ เช่น ลุกจากที่นอน พลิกตะแคงตัว ก้มเงย หรือ นอนสระผม เป็นต้น ในบางครั้งผู้ป่วยจะสามารถระบุข้างที่มีอาการได้ เช่น นอนตะแคงข้างขวาและมีบ้านหมุนซ้ำ ๆ เป็นไม่นาน เมื่อเปลี่ยนข้างอาการดีขึ้นหรือหายไป ทั้งนี้อาการเวียนศีรษะต้องไม่มีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางอื่น เช่น อ่อนแรง ภาพซ้อน หรือการได้ยินผิดปกติร่วมด้วย

การวินิจฉัยโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน

  โรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อนนั้นสามารถวินิจฉัยได้จากประวัติและการตรวจร่างกายที่จำเพาะ การตรวจร่างกายสำหรับการวินิจฉัยโรคอาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการบ้านหมุนในขณะตรวจร่างกายได้

การรักษาโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน

  แม้ว่าโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในจะหายเองได้ในผู้ป่วยบางราย แต่บางครั้งอาการอาจจะคงอยู่นานทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน การรักษาหลักคือการทำกายภาพบำบัด ทั้งนี้อาจเป็นการทำกายภาพบำบัดโดยแพทย์หากตรวจพบตากระตุกในขณะตรวจร่างกายที่จำเพาะ ซึ่งการรักษาชนิดนี้ได้ผลดี สามารถทำให้อาการดีขึ้นได้ถึง 80% ในการรักษาครั้งแรก และหากต้องทำซ้ำ โอกาสหายเพิ่มขึ้นถึง 92% ในการรักษาซ้ำ หรือ อาจจะเป็นการให้คำแนะนำเป็นท่าบริหารที่บ้านเพื่อปรับสภาพสมองให้อาการเวียนศีรษะดีขึ้น ปัจจุบันยังไม่มียาที่จำเพาะต่อโรค โดยทั่วไป ยาที่ผู้ป่วยได้รับนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอาการเวียนศีรษะชั่วคราว สำหรับการผ่าตัดมีข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น

ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน

  โรคนี้เป็นได้กับทุกเพศ ทุกวัย เกิดได้เอง หายได้เองในบางราย เป็นโรคที่รักษาหายขาด เพียงแต่มีโอกาสเกิดซ้ำได้ โดยโอกาสเกิดซ้ำประมาณ 15-20% ต่อปี

  ผู้ป่วยมักมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนชั่วคราวและสัมพันธ์กับท่าทาง หากอาการเวียนศีรษะเกิดขึ้นตลอดเวลา หรือ ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางอื่น เช่น อ่อนแรง ภาพซ้อน หรือการได้ยินผิดปกติร่วมด้วย ควรรีบมาพบแพทย์เนื่องจากลักษณะดังกล่าวไม่ใช่อาการปกติของผู้ป่วยโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน เนื่องจากผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบอาจมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนร่วมกับมีความผิดปกติของระบบประสาทร่วมด้วยได้

  เนื่องจากโรคดังกล่าวไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด จึงยังไม่มีการป้องกันที่สาเหตุ นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายเมื่อหายจากโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน อาจมีอาการโคลง เวียนศีรษะสัมพันธ์กับการขยับศีรษะเร็วๆ อาการดังกล่าวจะค่อยๆ ดีขึ้น แนะนำหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่างที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือ พลัดตกหกล้มหากมีอาการดังกล่าว

ข้อมูลจาก : พญ. กนกรัตน์ สุวรรณสิทธิ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์หู คอ จมูก ชั้น 3 โซน D

โรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน (Benign Paroxysmal Positional Vertigo : BPPV) เป็นสาเหตุของอาการเวียนศีรษะที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะจากโรคหู พบได้ประมาณร้อยละ 20-30 ของผู้ป่วยที่มาด้วยความผิดปกติของการเวียนศีรษะ โดยผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนมักเป็นแบบเฉียบพลัน สัมพันธ์กับท่าทางหรือการขยับศีรษะ

ตะกอนหินปูนหูชั้นใน (otoconia) คืออะไร

  ตะกอนหินปูนหูชั้นในเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัวของร่างกาย ประกอบด้วยผลึกแคลเซียมคาร์บอเนต และเนื้อโปรตีน (Protein Matrix) เมื่ออายุมากขึ้นผลึกแคลเซียมหรือตะกอนหินปูนหูชั้นในจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเช่น แข็งขึ้น เปราะง่ายขึ้น การเกิดโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อนนั้นเป็นผลมาจากเปลี่ยนตำแหน่งของตะกอนหินปูนหูชั้นในที่ผิดไปจากตำแหน่งปกติ

ภาพแสดงตัวอย่างตำแหน่งของตะกอนหินปูนหูชั้นในและตำแหน่งผิดปกติ

 

สาเหตุของโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน

  ส่วนใหญ่เกิดขึ้นแบบไม่มีสาเหตุ มีบางปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน ได้แก่ อุบัติเหตุศีรษะกระแทก โรคทางหูชั้นในบางอย่างที่พบร่วมกับโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน การผ่าตัดหูบางชนิด อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาวิจัยพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการเกิดโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน เช่น อายุมาก เพศหญิง โรคความดันโลหิตสูง ไขมันโลหิตสูง ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ โรคเบาหวาน กระดูกพรุน ภาวะขาดวิตามินดี เป็นต้น

อาการของโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน

  ผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนมักเป็นแบบเฉียบพลัน โดยอาการบ้านหมุนมักเป็นไม่นาน ประมาณไม่กี่นาที แต่อาจมีอาการมึนศีรษะตามมาได้ อาการบ้านหมุนสัมพันธ์กับท่าทางหรือการขยับศีรษะ เช่น ลุกจากที่นอน พลิกตะแคงตัว ก้มเงย หรือ นอนสระผม เป็นต้น ในบางครั้งผู้ป่วยจะสามารถระบุข้างที่มีอาการได้ เช่น นอนตะแคงข้างขวาและมีบ้านหมุนซ้ำ ๆ เป็นไม่นาน เมื่อเปลี่ยนข้างอาการดีขึ้นหรือหายไป ทั้งนี้อาการเวียนศีรษะต้องไม่มีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางอื่น เช่น อ่อนแรง ภาพซ้อน หรือการได้ยินผิดปกติร่วมด้วย

การวินิจฉัยโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน

  โรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อนนั้นสามารถวินิจฉัยได้จากประวัติและการตรวจร่างกายที่จำเพาะ การตรวจร่างกายสำหรับการวินิจฉัยโรคอาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการบ้านหมุนในขณะตรวจร่างกายได้

การรักษาโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน

  แม้ว่าโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในจะหายเองได้ในผู้ป่วยบางราย แต่บางครั้งอาการอาจจะคงอยู่นานทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน การรักษาหลักคือการทำกายภาพบำบัด ทั้งนี้อาจเป็นการทำกายภาพบำบัดโดยแพทย์หากตรวจพบตากระตุกในขณะตรวจร่างกายที่จำเพาะ ซึ่งการรักษาชนิดนี้ได้ผลดี สามารถทำให้อาการดีขึ้นได้ถึง 80% ในการรักษาครั้งแรก และหากต้องทำซ้ำ โอกาสหายเพิ่มขึ้นถึง 92% ในการรักษาซ้ำ หรือ อาจจะเป็นการให้คำแนะนำเป็นท่าบริหารที่บ้านเพื่อปรับสภาพสมองให้อาการเวียนศีรษะดีขึ้น ปัจจุบันยังไม่มียาที่จำเพาะต่อโรค โดยทั่วไป ยาที่ผู้ป่วยได้รับนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอาการเวียนศีรษะชั่วคราว สำหรับการผ่าตัดมีข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น

ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน

  โรคนี้เป็นได้กับทุกเพศ ทุกวัย เกิดได้เอง หายได้เองในบางราย เป็นโรคที่รักษาหายขาด เพียงแต่มีโอกาสเกิดซ้ำได้ โดยโอกาสเกิดซ้ำประมาณ 15-20% ต่อปี

  ผู้ป่วยมักมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนชั่วคราวและสัมพันธ์กับท่าทาง หากอาการเวียนศีรษะเกิดขึ้นตลอดเวลา หรือ ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางอื่น เช่น อ่อนแรง ภาพซ้อน หรือการได้ยินผิดปกติร่วมด้วย ควรรีบมาพบแพทย์เนื่องจากลักษณะดังกล่าวไม่ใช่อาการปกติของผู้ป่วยโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน เนื่องจากผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบอาจมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนร่วมกับมีความผิดปกติของระบบประสาทร่วมด้วยได้

  เนื่องจากโรคดังกล่าวไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด จึงยังไม่มีการป้องกันที่สาเหตุ นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายเมื่อหายจากโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน อาจมีอาการโคลง เวียนศีรษะสัมพันธ์กับการขยับศีรษะเร็วๆ อาการดังกล่าวจะค่อยๆ ดีขึ้น แนะนำหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่างที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือ พลัดตกหกล้มหากมีอาการดังกล่าว

ข้อมูลจาก : พญ. กนกรัตน์ สุวรรณสิทธิ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์หู คอ จมูก ชั้น 3 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง