รู้จักมะเร็งเต้านมแต่ละชนิด และแนวทางรักษาที่ต่างกัน

ปัจจุบันความก้าวหน้าในการรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิวัฒนาการและยาใหม่ ๆ ทำให้ผลการรักษามะเร็งเต้านมดีขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีชนิดย่อยของมะเร็งเต้านม (Breast Cancer Subtype) ที่ต่างชนิดกัน สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาได้

การตรวจชนิดย่อยของมะเร็งเต้านม ใช้การตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการจากเนื้อเยื่อมะเร็ง โดยทำการตรวจย้อมพิเศษ 4 อย่าง ได้แก่

  • ตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen receptor: ER)
  • ตัวรับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone receptor: PR)
  • โปรตีนเฮอร์ทู (HER-2; Human epidermal growth factor receptor-2)
  • โปรตีน Ki-67

และแบ่งชนิดย่อยของมะเร็งเต้านม ออกมาได้ 4 ชนิด คือ Luminal A, Luminal B, HER-2 และTriple negative

จากสถิติของสาขาศัลยศาสตร์ศีรษะ คอ และเต้านม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งได้รายงานในวารสารการแพทย์ Asia Pacific Journal of Cancer Prevention เมื่อปี 2012 พบว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในผู้หญิงไทยมีมะเร็งเต้านมที่เป็น Luminal A 59.3%, Luminal B 12.3%, HER-2 13.3% และ Triple negative 15.1%

มะเร็งเต้านมชนิดย่อยแต่ละชนิดจะมีพฤติกรรมความรุนแรงแตกต่างกัน และมีแนวทางในการให้ยารักษาที่แตกต่างกัน ยาที่ใช้ในการรักษามะเร็งเต้านม ประกอบด้วย ยาต้านฮอร์โมน ยาเคมีบำบัด ยาต้าน HER-2 และยาภูมิคุ้มกันบำบัด การเลือกให้ยาชนิดใดถูกกำหนดโดยชนิดย่อยของมะเร็งเต้านม ตามภาพด้านล่าง

 

นอกจากนี้ การแบ่งชนิดย่อยของมะเร็งเต้านม ยังสามารถใช้ในการตัดสินใจเพื่อเลือกผู้ป่วยมะเร็งเต้านมบางราย เพื่อให้เริ่มการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด หรือยามุ่งเป้าต้าน HER-2 หรือยาภูมิคุ้มกันบำบัด ก่อนการผ่าตัด (Neoadjuvant systemic therapy) นั่นคือ ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมในระยะที่ 2 ขึ้นไป หรือมะเร็งมีการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่ต้น และเป็นมะเร็งชนิด HER-2 หรือ Triple negative อาจพิจารณาให้ยาก่อนการผ่าตัด เพื่อช่วยลดขนาดของก้อนมะเร็ง และ/หรือหวังผลให้ก้อนมะเร็งยุบตัวลงให้มากที่สุดก่อนการผ่าตัด ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งเต้านมได้ดียิ่งขึ้น

ข้อมูลจาก : รศ. ดร. นพ.สืบวงศ์ จุฑาภิสิทธิ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

 ปัจจุบันความก้าวหน้าในการรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิวัฒนาการและยาใหม่ ๆ ทำให้ผลการรักษามะเร็งเต้านมดีขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีชนิดย่อยของมะเร็งเต้านม (Breast Cancer Subtype) ที่ต่างชนิดกัน สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาได้

การตรวจชนิดย่อยของมะเร็งเต้านม ใช้การตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการจากเนื้อเยื่อมะเร็ง โดยทำการตรวจย้อมพิเศษ 4 อย่าง ได้แก่

  • ตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen receptor: ER)
  • ตัวรับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone receptor: PR)
  • โปรตีนเฮอร์ทู (HER-2; Human epidermal growth factor receptor-2)
  • โปรตีน Ki-67

และแบ่งชนิดย่อยของมะเร็งเต้านม ออกมาได้ 4 ชนิด คือ Luminal A, Luminal B, HER-2 และTriple negative

จากสถิติของสาขาศัลยศาสตร์ศีรษะ คอ และเต้านม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งได้รายงานในวารสารการแพทย์ Asia Pacific Journal of Cancer Prevention เมื่อปี 2012 พบว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในผู้หญิงไทยมีมะเร็งเต้านมที่เป็น Luminal A 59.3%, Luminal B 12.3%, HER-2 13.3% และ Triple negative 15.1%

มะเร็งเต้านมชนิดย่อยแต่ละชนิดจะมีพฤติกรรมความรุนแรงแตกต่างกัน และมีแนวทางในการให้ยารักษาที่แตกต่างกัน ยาที่ใช้ในการรักษามะเร็งเต้านม ประกอบด้วย ยาต้านฮอร์โมน ยาเคมีบำบัด ยาต้าน HER-2 และยาภูมิคุ้มกันบำบัด การเลือกให้ยาชนิดใดถูกกำหนดโดยชนิดย่อยของมะเร็งเต้านม ตามภาพด้านล่าง

 

นอกจากนี้ การแบ่งชนิดย่อยของมะเร็งเต้านม ยังสามารถใช้ในการตัดสินใจเพื่อเลือกผู้ป่วยมะเร็งเต้านมบางราย เพื่อให้เริ่มการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด หรือยามุ่งเป้าต้าน HER-2 หรือยาภูมิคุ้มกันบำบัด ก่อนการผ่าตัด (Neoadjuvant systemic therapy) นั่นคือ ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมในระยะที่ 2 ขึ้นไป หรือมะเร็งมีการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่ต้น และเป็นมะเร็งชนิด HER-2 หรือ Triple negative อาจพิจารณาให้ยาก่อนการผ่าตัด เพื่อช่วยลดขนาดของก้อนมะเร็ง และ/หรือหวังผลให้ก้อนมะเร็งยุบตัวลงให้มากที่สุดก่อนการผ่าตัด ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งเต้านมได้ดียิ่งขึ้น

ข้อมูลจาก : รศ. ดร. นพ.สืบวงศ์ จุฑาภิสิทธิ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E

บทความที่เกี่ยวข้อง

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง