รู้ทันสัญญาณผิดปกติหัวใจด้วย EVENT RECORDER

เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เช็กสัญญาณหัวใจผิดปกติ (Cardiac event recorder) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการแพทย์ระบบทางไกล (Tele medicine) โดยทำการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจลงบนอุปกรณ์บันทึกที่สามารถพกพาได้ คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะถูกบันทึกและส่งผ่านทางโทรศัพท์ไปยังศูนย์รับข้อมูลได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะได้รับการอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อวินิจฉัย พร้อมลดระยะเวลาและเพิ่มความสะดวกในการติดต่อกับแพทย์ผู้รักษาได้มากขึ้น

เครื่อง Event recorder มี 2 ชนิด คือ

     1. แบบที่สามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้อัตโนมัติ

     2. แบบที่ผู้ป่วยต้องกดบันทึกด้วยตัวเอง เมื่อผู้ป่วยต้องการส่งข้อมูลที่บันทึกไว้ในเครื่อง สามารถส่งข้อมูลมายังศูนย์เพื่อทำการแปลผลได้

เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพามีประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวินิจฉัยจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ ซึ่งมักไม่เกิดขึ้นบ่อยหรือมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติในระยะแรกอาจพบนาน ๆ ครั้ง แต่ผู้ป่วยเองสามารถรู้สึกได้ จึงทำให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยได้รวดเร็วและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

เครื่อง Event recorder มีประโยชน์อย่างไร? 

การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติซึ่งเรียกว่า ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Arrhythmias) ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของความเร็วหรือรูปแบบจังหวะการเต้นของหัวใจ เช่น ขณะเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจอาจเต้นเร็วผิดปกติ (Tachycardia) หรือเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) รวมถึงจังหวะการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอ (Irregular) แพทย์สามารถให้การวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้จากการตรวจดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมักจะทำการตรวจ และบันทึกโดยการตรวจกราฟไฟฟ้าหัวใจที่สถานพยาบาลโดยปกตินั้น การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติมักไม่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ที่ไปตรวจกับแพทย์ บ่อยครั้งที่ความผิดปกติของการเต้นหัวใจมักเกิดในระยะเวลาอันสั้น (น้อยกว่า 1 นาที) ทำให้ไม่สามารถตรวจจับความผิดปกติได้ทันที ดังนั้นเมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยจะมีการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะและผู้ป่วยเองก็มีอาการผิดปกติร่วมด้วย จึงจำเป็นที่จะต้องพยายามบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจในระหว่างการดำเนินชีวิตประจำวันด้วยเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพา ซึ่งจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ในทันทีที่รู้สึกมีอาการผิดปกติ

เครื่อง Event recorder แตกต่างจากเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าชนิดปกติอย่างไร?

  • เครื่องนี้เป็นเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจขนาดเล็กประมาณครึ่งหนึ่งของเครื่องโทรศัพท์มือถือ โดยจะทำหน้าที่บันทึกข้อมูลคลื่นไฟฟ้าหัวใจเมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ จัดเก็บไว้ในหน่วยความจำ และสามารถส่งต่อข้อมูลผ่านสัญญาณโทรศัพท์ไปยังศูนย์รับข้อมูลเพื่อเก็บข้อมูลและทำการพิมพ์ลงในกระดาษเก็บไว้ในเวชระเบียนได้ หรือสามารถที่จะนำเครื่องมือนี้มาส่งให้เจ้าหน้าที่เพื่อดึงข้อมูลออกจากเครื่องได้ ซึ่งแตกต่างจากเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าปกติที่จะต้องมาทำการตรวจที่โรงพยาบาล ซึ่งในหลายครั้งผู้ป่วยไม่ได้มีอาการขณะทำ มีผลทำให้ไม่สามารถจับตัวก่อเหตุที่ทำให้เกิดการเต้นผิดจังหวะ หรือตัวที่ทำให้ผู้ป่วย เกิดอาการได้
  • อุปกรณ์ชิ้นนี้สามารถที่จะช่วยแพทย์ประเมินอาการและอาการแสดงต่างๆที่ผู้ป่วยแจ้ง เช่น เวียนศีรษะ ใจสั่น หน้ามืด หรือเมื่อมีอาการเจ็บ ว่ามีความสัมพันธ์กับจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติหรือไม่ อย่างไร โดยเมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ ผู้ป่วยสามารถที่จะกดปุ่มเพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ทันที ในกรณีที่เป็นการบันทึกอัตโนมัติ เครื่องเหล่านี้จะสามารถบันทึกได้เมื่อมีหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เข้าได้กับที่เครื่องตั้งโปรแกรมไว้  หรือบันทึกเพิ่มเมื่อมีการกดแจ้ง โดยที่จะบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจทั้งก่อนและหลังการกดแจ้งอาการผิดปกติได้ ส่วนเครื่องที่ไม่ใช่อัตโนมัติ จะสามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้เฉพาะเมื่อกดเครื่องและทำการแนบกับหน้าอกเพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ณ ช่วงขณะนั้นเท่านั้น
  • การใช้อุปกรณ์กลุ่มนี้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องทำความเข้าใจการใช้ปุ่มต่างๆ บนตัวเครื่อง รวมถึงขั้นตอนการบันทึกและส่งคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งผู้ป่วยสามารถบันทึกอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น ร่วมกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะที่รู้สึกผิดปกติ ได้มากเท่าที่เกิดอาการ

เครื่อง Event recorder ช่วยคุณได้อย่างไรบ้าง?

  • ติดตามและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจกรณีหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmias) หรือใจสั่น (Evaluation of palpitation)
  • ติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกรณีหลังทำหัตถการทางหัวใจ เช่น ผ่าตัด Coronary Artery Bypass Graft (CABG) หรือกรณีการทำหัตถการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Coronary angioplasty)

วิธีการบันทึกข้อมูลแบบชนิดที่ต้องกดบันทึกด้วยตัวเอง

     1. เมื่อมีอาการให้นำตัวเครื่องวางบริเวณหน้าอก โดยที่ Electrode ทั้ง 4 จุด สัมผัสกับผิวหนังบริเวณนั้น

     2. กดปุ่ม EVENT

     3. เมื่อกดปุ่ม EVENT จะมีเสียงสัญญาณดังขึ้น พยายามถือเครื่องให้นิ่งจนกระทั่งเสียงหยุดดังประมาณ 30 วินาที

     4. เมื่อเสียงหยุดดัง ให้นำเครื่องออกจากหน้าอก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C

เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เช็กสัญญาณหัวใจผิดปกติ (Cardiac event recorder) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการแพทย์ระบบทางไกล (Tele medicine) โดยทำการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจลงบนอุปกรณ์บันทึกที่สามารถพกพาได้ คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะถูกบันทึกและส่งผ่านทางโทรศัพท์ไปยังศูนย์รับข้อมูลได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะได้รับการอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อวินิจฉัย พร้อมลดระยะเวลาและเพิ่มความสะดวกในการติดต่อกับแพทย์ผู้รักษาได้มากขึ้น

เครื่อง Event recorder มี 2 ชนิด คือ

     1. แบบที่สามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้อัตโนมัติ

     2. แบบที่ผู้ป่วยต้องกดบันทึกด้วยตัวเอง เมื่อผู้ป่วยต้องการส่งข้อมูลที่บันทึกไว้ในเครื่อง สามารถส่งข้อมูลมายังศูนย์เพื่อทำการแปลผลได้

เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพามีประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวินิจฉัยจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ ซึ่งมักไม่เกิดขึ้นบ่อยหรือมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติในระยะแรกอาจพบนาน ๆ ครั้ง แต่ผู้ป่วยเองสามารถรู้สึกได้ จึงทำให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยได้รวดเร็วและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

เครื่อง Event recorder มีประโยชน์อย่างไร? 

การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติซึ่งเรียกว่า ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Arrhythmias) ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของความเร็วหรือรูปแบบจังหวะการเต้นของหัวใจ เช่น ขณะเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจอาจเต้นเร็วผิดปกติ (Tachycardia) หรือเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) รวมถึงจังหวะการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอ (Irregular) แพทย์สามารถให้การวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้จากการตรวจดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมักจะทำการตรวจ และบันทึกโดยการตรวจกราฟไฟฟ้าหัวใจที่สถานพยาบาลโดยปกตินั้น การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติมักไม่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ที่ไปตรวจกับแพทย์ บ่อยครั้งที่ความผิดปกติของการเต้นหัวใจมักเกิดในระยะเวลาอันสั้น (น้อยกว่า 1 นาที) ทำให้ไม่สามารถตรวจจับความผิดปกติได้ทันที ดังนั้นเมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยจะมีการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะและผู้ป่วยเองก็มีอาการผิดปกติร่วมด้วย จึงจำเป็นที่จะต้องพยายามบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจในระหว่างการดำเนินชีวิตประจำวันด้วยเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพา ซึ่งจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ในทันทีที่รู้สึกมีอาการผิดปกติ

เครื่อง Event recorder แตกต่างจากเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าชนิดปกติอย่างไร?

  • เครื่องนี้เป็นเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจขนาดเล็กประมาณครึ่งหนึ่งของเครื่องโทรศัพท์มือถือ โดยจะทำหน้าที่บันทึกข้อมูลคลื่นไฟฟ้าหัวใจเมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ จัดเก็บไว้ในหน่วยความจำ และสามารถส่งต่อข้อมูลผ่านสัญญาณโทรศัพท์ไปยังศูนย์รับข้อมูลเพื่อเก็บข้อมูลและทำการพิมพ์ลงในกระดาษเก็บไว้ในเวชระเบียนได้ หรือสามารถที่จะนำเครื่องมือนี้มาส่งให้เจ้าหน้าที่เพื่อดึงข้อมูลออกจากเครื่องได้ ซึ่งแตกต่างจากเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าปกติที่จะต้องมาทำการตรวจที่โรงพยาบาล ซึ่งในหลายครั้งผู้ป่วยไม่ได้มีอาการขณะทำ มีผลทำให้ไม่สามารถจับตัวก่อเหตุที่ทำให้เกิดการเต้นผิดจังหวะ หรือตัวที่ทำให้ผู้ป่วย เกิดอาการได้
  • อุปกรณ์ชิ้นนี้สามารถที่จะช่วยแพทย์ประเมินอาการและอาการแสดงต่างๆที่ผู้ป่วยแจ้ง เช่น เวียนศีรษะ ใจสั่น หน้ามืด หรือเมื่อมีอาการเจ็บ ว่ามีความสัมพันธ์กับจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติหรือไม่ อย่างไร โดยเมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ ผู้ป่วยสามารถที่จะกดปุ่มเพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ทันที ในกรณีที่เป็นการบันทึกอัตโนมัติ เครื่องเหล่านี้จะสามารถบันทึกได้เมื่อมีหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เข้าได้กับที่เครื่องตั้งโปรแกรมไว้  หรือบันทึกเพิ่มเมื่อมีการกดแจ้ง โดยที่จะบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจทั้งก่อนและหลังการกดแจ้งอาการผิดปกติได้ ส่วนเครื่องที่ไม่ใช่อัตโนมัติ จะสามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้เฉพาะเมื่อกดเครื่องและทำการแนบกับหน้าอกเพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ณ ช่วงขณะนั้นเท่านั้น
  • การใช้อุปกรณ์กลุ่มนี้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องทำความเข้าใจการใช้ปุ่มต่างๆ บนตัวเครื่อง รวมถึงขั้นตอนการบันทึกและส่งคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งผู้ป่วยสามารถบันทึกอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น ร่วมกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะที่รู้สึกผิดปกติ ได้มากเท่าที่เกิดอาการ

เครื่อง Event recorder ช่วยคุณได้อย่างไรบ้าง?

  • ติดตามและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจกรณีหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmias) หรือใจสั่น (Evaluation of palpitation)
  • ติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกรณีหลังทำหัตถการทางหัวใจ เช่น ผ่าตัด Coronary Artery Bypass Graft (CABG) หรือกรณีการทำหัตถการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Coronary angioplasty)

วิธีการบันทึกข้อมูลแบบชนิดที่ต้องกดบันทึกด้วยตัวเอง

     1. เมื่อมีอาการให้นำตัวเครื่องวางบริเวณหน้าอก โดยที่ Electrode ทั้ง 4 จุด สัมผัสกับผิวหนังบริเวณนั้น

     2. กดปุ่ม EVENT

     3. เมื่อกดปุ่ม EVENT จะมีเสียงสัญญาณดังขึ้น พยายามถือเครื่องให้นิ่งจนกระทั่งเสียงหยุดดังประมาณ 30 วินาที

     4. เมื่อเสียงหยุดดัง ให้นำเครื่องออกจากหน้าอก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง