ต้อกระจก... โรคเสี่ยงผู้สูงวัย
ภาวะเลนส์แก้วตาขุ่น ส่งผลต่อแสงที่ผ่านเข้าไปในตาทำให้เกิดปัญหาในการมอง เช่น ตามัว มองรอบดวงไฟเป็นแสงสะท้อน มองเห็นภาพเป็นเงาซ้อนกัน ส่วนใหญ่มักเกิดจากการเสื่อมตามอายุ โดยเลนส์แก้วตาจะเริ่มขุ่นเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป
ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีผลทำให้เกิดต้อกระจกได้เร็วขึ้น
- การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์
- โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน
- การเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา หรือ โรคตาบางชนิด
- สภาวะแวดล้อม และการดำเนินชีวิตที่ทำให้ดวงตาได้รับแสงอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานานโดยไม่ใส่อุปกรณ์ป้องกัน
- ความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น ทารกที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์
การรักษาโรคต้อกระจกด้วยการผ่าตัด
จักษุแพทย์จะทำการรักษาโรคต้อกระจกด้วยการผ่าตัดนำเลนส์แก้วตาที่ขุ่นออก แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ วิธีการผ่าตัดต้อกระจกที่นิยม
ได้แก่
- การผ่าตัดสลายต้อกระจกโดยใช้คลื่นอัลตราซาวนด์ (Phacoemulsification) โดยการหยอดยาชาหรือฉีดยาชา แล้วนำเครื่องมือที่มีขนาดเท่ากับปลายปากกาสอดผ่านแผลขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตรบริเวณขอบตาดำ เพื่อเข้าไปสลายเลนส์แก้วตาที่ขุ่นแล้วดูดออกมา หลังจากนั้นจะใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไป ซึ่งแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กทำให้ไม่ต้องเย็บแผล
- การผ่าตัดโดยเอาเลนส์ออกแบบเหลือถุงหุ้มเลนส์ไว้ (Extra capsular cataract extraction) กรณีที่ต้อกระจกเป็นมากทำให้ไม่สามารถผ่าตัดลอกต้อกระจกด้วยวิธีสลายต้อได้ จักษุแพทย์จำเป็นต้องผ่าตัดนำเลนส์ออกโดยเหลือถุงหุ้มเลนส์ไว้ใส่เลนส์แก้วตาเทียม ซึ่งแผลผ่าตัดจะมีขนาดใหญ่กว่าวิธีแรกและต้องมีการเย็บแผล
ข้อควรรู้ก่อนรับการผ่าตัดต้อกระจก
การให้ยาระงับความรู้สึก มีหลายวิธี ได้แก่
- การใช้ยาชาหยอด นิยมใช้กับการผ่าตัดสลายต้อกระจกเท่านั้น
- การใช้ยาชาฉีด ใช้กับการผ่าตัดเอาเลนส์ออก รวมถึงการผ่าตัดสลายต้อกระจกในบางราย
- การดมยาสลบ ใช้ในกรณีที่จักษุแพทย์พิจารณาแล้วว่าผู้ป่วยไม่สามารถผ่าตัดได้โดยการใช้ยาชาในรูปแบบหยอดหรือฉีดได้
เลนส์แก้วตาเทียม
หลังผ่าตัดนำเลนส์ที่เป็นต้อกระจกออกแล้ว จักษุแพทย์จะใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ ปัจจุบันมีเลนส์แก้วตาเทียมหลายประเภท การเลือกประเภทของเลนส์ที่จะใส่นั้นขึ้นอยู่กับการใช้สายตาในชีวิตประจำวัน และความเหมาะสมของตาในผู้ป่วยแต่ละราย โดยจักษุแพทย์และผู้ป่วยจะร่วมกันพิจารณาข้อดี-ข้อเสียของเลนส์แต่ละประเภท
การเตรียมความพร้อม ในการผ่าตัดต้อกระจก
โรคประจำตัว
หากท่านมีโรคประจำตัวและมียารับประทานเป็นประจำ ควรแจ้งให้จักษุแพทย์ทราบ เนื่องจากอาจมีการพิจารณาให้หยุดยาบางชนิดก่อนผ่าตัด
การเตรียมความพร้อมสำหรับการคลุมผ้าขณะผ่าตัด
เนื่องจากขณะทำผ่าตัดผู้ป่วยต้องนอนราบ ไม่หนุนหมอน และถูกคลุมที่ใบหน้า เปิดเฉพาะตาข้างที่ผ่าตัด ซึ่งอาจทำให้เกิดความอึดอัดได้ ทางศูนย์ตาจึงได้จัดให้มีการฝึกนอนราบ และลองคลุมผ้าที่ใบหน้าเป็นเวลา 30 นาที ก่อนวันผ่าตัดจริง เพื่อพิจารณาว่าผู้ป่วยมีความพร้อมสำหรับการนอนคลุมผ้าขณะผ่าตัดหรือไม่ หากผู้ป่วยไม่สะดวกฝึกที่โรงพยาบาล พยาบาลจะให้คำแนะนำเพื่อไปฝึกเองที่บ้าน
เตรียมร่างกายให้สะอาด
เนื่องจากปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า เป็นส่วนหนึ่งที่จักษุแพทย์ใช้สังเกตเรื่องการไหลเวียนของเลือดในขณะผ่าตัด ดังนั้น ในวันผ่าตัดจึงไม่ควรทาสีเล็บ ควรตัดเล็บมือให้สั้น และควรอาบน้ำสระผมให้สะอาด ไม่ควรทาครีมหรือแต่งหน้าเนื่องจากต้องมีการล้างหน้าก่อนเข้าห้องผ่าตัด
การปฏิบัติตัวในวันผ่าตัดต้อกระจก
- ในวันผ่าตัดไม่แนะนำให้ผู้ป่วยขับรถกลับเอง และต้องมีญาติหรือเพื่อนที่สามารถช่วยดูแลหลังผ่าตัด และควรเตรียมแว่นกันแดดมาด้วย
- ผู้ป่วยที่ผ่าตัดด้วยการดมยาสลบ ต้องงดน้ำ และอาหารตามเวลาที่แพทย์กำหนด
- ควรถอดฟันปลอมก่อนเข้าห้องผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการสำลักในระหว่างผ่าตัด
- ควรนำยาโรคประจำตัวและยาหยอดตาที่จักษุแพทย์ให้หยอดก่อนผ่าตัดมาด้วย
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดต้อกระจก
1. หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการปิดตาข้างที่ผ่าตัด ซึ่งในวันรุ่งขึ้นท่านจะได้รับการเปิดตา วัดสายตาและพบจักษุแพทย์พร้อมรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัว การสอนเช็ดตาและหยอดตาร่วมกับการชมวิดีโอการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดต้อกระจก
2. หากมียาที่จักษุแพทย์แนะนำให้งดก่อนผ่าตัด จักษุแพทย์จะแจ้งให้ท่านทราบว่าจะเริ่มรับประทานได้เมื่อใด
3. หลังการผ่าตัดแพทย์จะนัดตรวจที่ 1 สัปดาห์ 1 เดือน และ 3 เดือน หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดตา ตามัวลง เปลือกตาบวมแดง มีขี้ตา ให้ท่านมาพบจักษุแพทย์โดยไม่ต้องรอถึงวันนัด
4. เช็ดทำความสะอาดบริเวณรอบตาข้างที่ผ่าตัด อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง นาน 2 – 4 สัปดาห์ ตามคำแนะนำของจักษุแพทย์
5. ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง ไม่นำยาหยอดที่ใช้ก่อนผ่าตัดมาหยอดตาหลังผ่าตัด
6. ภายใน 1 เดือนหลังผ่าตัด
- ระวังไม่ให้น้ำเข้าตา ควรใช้วิธีเช็ดหน้าแทนการล้างหน้า และสระผมที่ร้าน หรือให้ผู้อื่นสระให้โดยสวมที่ครอบตาไว้
- ระวังไม่ให้ฝุ่น ลม หรือควันเข้าตา และไม่ควรขยี้ตา
- ควรระวังไม่ให้ตาข้างที่ผ่าตัดถูกกระทบกระเทือน
- ควรสวมที่ครอบตาก่อนนอนเพื่อป้องกันการเผลอขยี้ตา
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
7. สามารถใช้สายตาได้ตามปกติ แต่หากมีอาการเมื่อยล้า หรือแสบตาควรหยุดพัก
คำแนะนำเพิ่มเติม
วิธีการเช็ดตา ควรเช็ดตาวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 – 4 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา
- ก่อนสัมผัสบริเวณรอบดวงตา ควรล้างมือให้สะอาด และเช็ดมือให้แห้งทุกครั้ง
- ใช้สำลีชุบน้ำเกลือบีบพอหมาด
- ทำความสะอาดตาโดยเริ่มเช็ดจากเปลือกตาบน วางสำลีที่หัวตาแล้วเช็ดจากหัวตาไปหางตาอย่างเบามือ
- จากนั้นเช็ดที่เปลือกตาล่าง โดยเช็ดจากหัวตา ไปหางตาเช่นเดียวกัน ห้ามเช็ดกลับไปกลับมาเป็นอันขาด
- หลังเช็ดตาเรียบร้อยแล้ว นำที่ครอบตาที่เตรียมไว้มาครอบตาหรือสวมแว่นตากันแดดก็ได้
วิธีการหยอดตา
- ก่อนสัมผัสบริเวณรอบดวงตา ควรล้างมือให้สะอาด และเช็ดมือให้แห้งทุกครั้ง
- ตรวจสอบชื่อยาให้ถูกต้องก่อนนำมาหยอดตา และยาบางชนิดควรเขย่าขวดยาก่อนนำมาหยอดตา
- นอนราบหรือนั่งพิงให้ศีรษะเอนไปด้านหลัง เงยหน้ามองด้านบน ดึงเปลือกตาลงมาให้เป็นกระพุ้ง
- หยอดยาลงด้านในกระพุ้งเปลือกตาล่าง 1 หยด ปิดฝาขวดให้สนิทโดยไม่ต้องเช็ดปลายหลอด ระวังอย่าให้ปลายหลอดสัมผัสขนตาหรือเปลือกตา และอย่าให้นิ้วมือสัมผัสปลายหลอด
- หลับตาค้างไว้สักครู่เพื่อให้ยากระจายไปทั่วตา หากมีน้ำยาไหลออกมานอกตาให้ใช้สำลีปลอดเชื้อซับอย่างระมัดระวัง
หากต้องหยอดตา 2 ชนิดขึ้นไป ควรทิ้งระยะการหยอดให้ห่างกันอย่างน้อย 3 – 5 นาที เพื่อให้ยาที่หยอดได้รับการดูดซึมเต็มที่
วิธีการป้ายยา กรณีแพทย์จ่ายยาป้ายตาให้
- ก่อนสัมผัสบริเวณรอบดวงตา ควรล้างมือให้สะอาดและเช็ดมือให้แห้งทุกครั้ง
- ใช้มือดึงเปลือกตาล่างลงมาให้เป็นกระพุ้ง แล้วเหลือบตาขึ้นด้านบนใช้มืออีกข้างบีบขี้ผึ้งลงด้านในเปลือกตาล่าง
- เริ่มป้ายยาจากหัวตาไปหางตา ระวังอย่าให้ปลายหลอดยาสัมผัสขนตาหรือเปลือกตา ปิดฝาหลอดยาให้สนิทโดยไม่ต้องเช็ด
- หลับตาให้สนิทเพื่อให้ยากระจายไปทั่วตา
หากผู้ป่วยรู้สึกมีอาการผิดปกติที่ดวงตา ควรรีบมาพบจักษุแพทย์ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด
สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A
ภาวะเลนส์แก้วตาขุ่น ส่งผลต่อแสงที่ผ่านเข้าไปในตาทำให้เกิดปัญหาในการมอง เช่น ตามัว มองรอบดวงไฟเป็นแสงสะท้อน มองเห็นภาพเป็นเงาซ้อนกัน ส่วนใหญ่มักเกิดจากการเสื่อมตามอายุ โดยเลนส์แก้วตาจะเริ่มขุ่นเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป
ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีผลทำให้เกิดต้อกระจกได้เร็วขึ้น
- การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์
- โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน
- การเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา หรือ โรคตาบางชนิด
- สภาวะแวดล้อม และการดำเนินชีวิตที่ทำให้ดวงตาได้รับแสงอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานานโดยไม่ใส่อุปกรณ์ป้องกัน
- ความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น ทารกที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์
การรักษาโรคต้อกระจกด้วยการผ่าตัด
จักษุแพทย์จะทำการรักษาโรคต้อกระจกด้วยการผ่าตัดนำเลนส์แก้วตาที่ขุ่นออก แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ วิธีการผ่าตัดต้อกระจกที่นิยม
ได้แก่
- การผ่าตัดสลายต้อกระจกโดยใช้คลื่นอัลตราซาวนด์ (Phacoemulsification) โดยการหยอดยาชาหรือฉีดยาชา แล้วนำเครื่องมือที่มีขนาดเท่ากับปลายปากกาสอดผ่านแผลขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตรบริเวณขอบตาดำ เพื่อเข้าไปสลายเลนส์แก้วตาที่ขุ่นแล้วดูดออกมา หลังจากนั้นจะใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไป ซึ่งแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กทำให้ไม่ต้องเย็บแผล
- การผ่าตัดโดยเอาเลนส์ออกแบบเหลือถุงหุ้มเลนส์ไว้ (Extra capsular cataract extraction) กรณีที่ต้อกระจกเป็นมากทำให้ไม่สามารถผ่าตัดลอกต้อกระจกด้วยวิธีสลายต้อได้ จักษุแพทย์จำเป็นต้องผ่าตัดนำเลนส์ออกโดยเหลือถุงหุ้มเลนส์ไว้ใส่เลนส์แก้วตาเทียม ซึ่งแผลผ่าตัดจะมีขนาดใหญ่กว่าวิธีแรกและต้องมีการเย็บแผล
ข้อควรรู้ก่อนรับการผ่าตัดต้อกระจก
การให้ยาระงับความรู้สึก มีหลายวิธี ได้แก่
- การใช้ยาชาหยอด นิยมใช้กับการผ่าตัดสลายต้อกระจกเท่านั้น
- การใช้ยาชาฉีด ใช้กับการผ่าตัดเอาเลนส์ออก รวมถึงการผ่าตัดสลายต้อกระจกในบางราย
- การดมยาสลบ ใช้ในกรณีที่จักษุแพทย์พิจารณาแล้วว่าผู้ป่วยไม่สามารถผ่าตัดได้โดยการใช้ยาชาในรูปแบบหยอดหรือฉีดได้
เลนส์แก้วตาเทียม
หลังผ่าตัดนำเลนส์ที่เป็นต้อกระจกออกแล้ว จักษุแพทย์จะใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ ปัจจุบันมีเลนส์แก้วตาเทียมหลายประเภท การเลือกประเภทของเลนส์ที่จะใส่นั้นขึ้นอยู่กับการใช้สายตาในชีวิตประจำวัน และความเหมาะสมของตาในผู้ป่วยแต่ละราย โดยจักษุแพทย์และผู้ป่วยจะร่วมกันพิจารณาข้อดี-ข้อเสียของเลนส์แต่ละประเภท
การเตรียมความพร้อม ในการผ่าตัดต้อกระจก
โรคประจำตัว
หากท่านมีโรคประจำตัวและมียารับประทานเป็นประจำ ควรแจ้งให้จักษุแพทย์ทราบ เนื่องจากอาจมีการพิจารณาให้หยุดยาบางชนิดก่อนผ่าตัด
การเตรียมความพร้อมสำหรับการคลุมผ้าขณะผ่าตัด
เนื่องจากขณะทำผ่าตัดผู้ป่วยต้องนอนราบ ไม่หนุนหมอน และถูกคลุมที่ใบหน้า เปิดเฉพาะตาข้างที่ผ่าตัด ซึ่งอาจทำให้เกิดความอึดอัดได้ ทางศูนย์ตาจึงได้จัดให้มีการฝึกนอนราบ และลองคลุมผ้าที่ใบหน้าเป็นเวลา 30 นาที ก่อนวันผ่าตัดจริง เพื่อพิจารณาว่าผู้ป่วยมีความพร้อมสำหรับการนอนคลุมผ้าขณะผ่าตัดหรือไม่ หากผู้ป่วยไม่สะดวกฝึกที่โรงพยาบาล พยาบาลจะให้คำแนะนำเพื่อไปฝึกเองที่บ้าน
เตรียมร่างกายให้สะอาด
เนื่องจากปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า เป็นส่วนหนึ่งที่จักษุแพทย์ใช้สังเกตเรื่องการไหลเวียนของเลือดในขณะผ่าตัด ดังนั้น ในวันผ่าตัดจึงไม่ควรทาสีเล็บ ควรตัดเล็บมือให้สั้น และควรอาบน้ำสระผมให้สะอาด ไม่ควรทาครีมหรือแต่งหน้าเนื่องจากต้องมีการล้างหน้าก่อนเข้าห้องผ่าตัด
การปฏิบัติตัวในวันผ่าตัดต้อกระจก
- ในวันผ่าตัดไม่แนะนำให้ผู้ป่วยขับรถกลับเอง และต้องมีญาติหรือเพื่อนที่สามารถช่วยดูแลหลังผ่าตัด และควรเตรียมแว่นกันแดดมาด้วย
- ผู้ป่วยที่ผ่าตัดด้วยการดมยาสลบ ต้องงดน้ำ และอาหารตามเวลาที่แพทย์กำหนด
- ควรถอดฟันปลอมก่อนเข้าห้องผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการสำลักในระหว่างผ่าตัด
- ควรนำยาโรคประจำตัวและยาหยอดตาที่จักษุแพทย์ให้หยอดก่อนผ่าตัดมาด้วย
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดต้อกระจก
1. หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการปิดตาข้างที่ผ่าตัด ซึ่งในวันรุ่งขึ้นท่านจะได้รับการเปิดตา วัดสายตาและพบจักษุแพทย์พร้อมรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัว การสอนเช็ดตาและหยอดตาร่วมกับการชมวิดีโอการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดต้อกระจก
2. หากมียาที่จักษุแพทย์แนะนำให้งดก่อนผ่าตัด จักษุแพทย์จะแจ้งให้ท่านทราบว่าจะเริ่มรับประทานได้เมื่อใด
3. หลังการผ่าตัดแพทย์จะนัดตรวจที่ 1 สัปดาห์ 1 เดือน และ 3 เดือน หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดตา ตามัวลง เปลือกตาบวมแดง มีขี้ตา ให้ท่านมาพบจักษุแพทย์โดยไม่ต้องรอถึงวันนัด
4. เช็ดทำความสะอาดบริเวณรอบตาข้างที่ผ่าตัด อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง นาน 2 – 4 สัปดาห์ ตามคำแนะนำของจักษุแพทย์
5. ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง ไม่นำยาหยอดที่ใช้ก่อนผ่าตัดมาหยอดตาหลังผ่าตัด
6. ภายใน 1 เดือนหลังผ่าตัด
- ระวังไม่ให้น้ำเข้าตา ควรใช้วิธีเช็ดหน้าแทนการล้างหน้า และสระผมที่ร้าน หรือให้ผู้อื่นสระให้โดยสวมที่ครอบตาไว้
- ระวังไม่ให้ฝุ่น ลม หรือควันเข้าตา และไม่ควรขยี้ตา
- ควรระวังไม่ให้ตาข้างที่ผ่าตัดถูกกระทบกระเทือน
- ควรสวมที่ครอบตาก่อนนอนเพื่อป้องกันการเผลอขยี้ตา
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
7. สามารถใช้สายตาได้ตามปกติ แต่หากมีอาการเมื่อยล้า หรือแสบตาควรหยุดพัก
คำแนะนำเพิ่มเติม
วิธีการเช็ดตา ควรเช็ดตาวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 – 4 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา
- ก่อนสัมผัสบริเวณรอบดวงตา ควรล้างมือให้สะอาด และเช็ดมือให้แห้งทุกครั้ง
- ใช้สำลีชุบน้ำเกลือบีบพอหมาด
- ทำความสะอาดตาโดยเริ่มเช็ดจากเปลือกตาบน วางสำลีที่หัวตาแล้วเช็ดจากหัวตาไปหางตาอย่างเบามือ
- จากนั้นเช็ดที่เปลือกตาล่าง โดยเช็ดจากหัวตา ไปหางตาเช่นเดียวกัน ห้ามเช็ดกลับไปกลับมาเป็นอันขาด
- หลังเช็ดตาเรียบร้อยแล้ว นำที่ครอบตาที่เตรียมไว้มาครอบตาหรือสวมแว่นตากันแดดก็ได้
วิธีการหยอดตา
- ก่อนสัมผัสบริเวณรอบดวงตา ควรล้างมือให้สะอาด และเช็ดมือให้แห้งทุกครั้ง
- ตรวจสอบชื่อยาให้ถูกต้องก่อนนำมาหยอดตา และยาบางชนิดควรเขย่าขวดยาก่อนนำมาหยอดตา
- นอนราบหรือนั่งพิงให้ศีรษะเอนไปด้านหลัง เงยหน้ามองด้านบน ดึงเปลือกตาลงมาให้เป็นกระพุ้ง
- หยอดยาลงด้านในกระพุ้งเปลือกตาล่าง 1 หยด ปิดฝาขวดให้สนิทโดยไม่ต้องเช็ดปลายหลอด ระวังอย่าให้ปลายหลอดสัมผัสขนตาหรือเปลือกตา และอย่าให้นิ้วมือสัมผัสปลายหลอด
- หลับตาค้างไว้สักครู่เพื่อให้ยากระจายไปทั่วตา หากมีน้ำยาไหลออกมานอกตาให้ใช้สำลีปลอดเชื้อซับอย่างระมัดระวัง
หากต้องหยอดตา 2 ชนิดขึ้นไป ควรทิ้งระยะการหยอดให้ห่างกันอย่างน้อย 3 – 5 นาที เพื่อให้ยาที่หยอดได้รับการดูดซึมเต็มที่
วิธีการป้ายยา กรณีแพทย์จ่ายยาป้ายตาให้
- ก่อนสัมผัสบริเวณรอบดวงตา ควรล้างมือให้สะอาดและเช็ดมือให้แห้งทุกครั้ง
- ใช้มือดึงเปลือกตาล่างลงมาให้เป็นกระพุ้ง แล้วเหลือบตาขึ้นด้านบนใช้มืออีกข้างบีบขี้ผึ้งลงด้านในเปลือกตาล่าง
- เริ่มป้ายยาจากหัวตาไปหางตา ระวังอย่าให้ปลายหลอดยาสัมผัสขนตาหรือเปลือกตา ปิดฝาหลอดยาให้สนิทโดยไม่ต้องเช็ด
- หลับตาให้สนิทเพื่อให้ยากระจายไปทั่วตา
หากผู้ป่วยรู้สึกมีอาการผิดปกติที่ดวงตา ควรรีบมาพบจักษุแพทย์ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด
สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A