ทำไมควรตรวจมะเร็งปากมดลูก? (Cervical cancer screening)

มะเร็งปากมดลูก เป็น 1 ใน 3 อันดับแรกของมะเร็งในผู้หญิงไทย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแพปพิลโลมา (Human Papillomavirus หรือเชื้อ HPV) สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง ซึ่งมีไม่ต่ำกว่า 14 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ 16 และ 18 พบบ่อยถึงร้อยละ 70

เชื้อ HPV ติดต่อผ่านอะไรบ้าง?

     หลังการมีเพศสัมพันธ์ ร่างกายสามารถติดเชื้อผ่านรอยถลอกหรือบาดแผลเล็ก ๆ บริเวณต่อไปนี้

  • เยื่อบุผิวปากมดลูก / ผิวช่องคลอด
  • ปากช่องคลอด
  • รอบทวารหนัก
  • ปลายองคชาติ

     ร้อยละ 80 - 90 ของผู้ที่ติดเชื้อไวรัส จะหายได้เองภายใน 2 ปี แต่ในกรณีที่เชื้อไวรัสไม่หายและติดเชื้อแบบฝังแน่นเป็นระยะเวลานาน 5 - 15 ปี จะทำให้เซลล์ปากมดลูกเกิดความผิดปกติ และอาจกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก

วิธีการตรวจคัดกรอง

     1. การตรวจหาเชื้อ HPV

     Primary HPV testing คือ การตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก เพื่อระบุสายพันธุ์จำเพาะของเชื้อ high-risk HPV โดยเฉพาะสายพันธุ์ 16 และ 18 และตรวจหาเชื้อ HPV โดยไม่มีการระบุสายพันธุ์จำเพาะ

     2. การตรวจเซลล์วิทยาของปากมดลูก

     Cytology คือ การตรวจเซลล์ปากมดลูก มี 2 วิธี ได้แก่ การตรวจแบบดั้งเดิม Papanicolaou smear (Pap smear) และการตรวจแบบ liquid-based cytology

คำแนะนำในการตรวจคัดกรอง

     การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย (RTCOG) สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย ร่วมกับชมรมคอลโปสโคปีและพยาธิสภาพปากมดลูกแห่งประเทศไทย ค.ศ. 2020 มีคำแนะนำในการตรวจคัดกรอง ดังนี้

  • อายุน้อยกว่า 25 ปี

     ไม่แนะนำให้ตรวจคัดกรอง ยกเว้นในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ติดเชื้อเอชไอวี มีคู่นอนหลายคน เป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

  • อายุ 25 - 65 ปี

     เริ่มตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่อายุ 25 ปี เมื่อมีเพศสัมพันธ์แล้ว หรือ 30 ปี เมื่อยังไม่มีเพศสัมพันธ์ ด้วยวิธีดังนี้

  • Primary HPV testing (HPV test) หรือ Co-testing (HPV test + Cytology) ทุก 5 ปี
  • Cytology หรือ Pap smear อย่างเดียว ทุก 2 ปี

     ทั้งนี้ความถี่ในการตรวจคัดกรองอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม เช่น ควรตรวจคัดกรองทุก 1 ปี ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงของโรคมะเร็งปากมดลูกสูง หรือในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก

  • อายุมากกว่า 65 ปี

     สามารถหยุดตรวจคัดกรองได้ ถ้าผลตรวจคัดกรองก่อนหน้านี้ปกติติดต่อกันในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ผู้ที่ยังคงมีเพศสัมพันธ์ หรือมีคู่นอนหลายคน ควรตรวจคัดกรองต่อไปตามปกติ

  • หลังตัดมดลูกและปากมดลูก

     ผู้ที่ตัดมดลูกพร้อมกับปากมดลูกออกแล้ว และไม่มีประวัติเซลล์ปากมดลูกผิดปกติหรือเป็นมะเร็งปากมดลูก ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรอง

การป้องกัน

  • ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ตั้งแต่อายุ 9 – 45 ปี
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หรือเปลี่ยนคู่นอนหลายคน
  • งดสูบบุหรี่
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกประจำปี
  • เมื่อพบเซลล์ผิดปกติควรรับการรักษาและติดตามอย่างเคร่งครัด

ขอบคุณข้อมูลจาก ผศ. นพ. บุญเลิศ วิริยะภาค และพญ. เพ็ญพรรณ ศิริสุทธิ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E

มะเร็งปากมดลูก เป็น 1 ใน 3 อันดับแรกของมะเร็งในผู้หญิงไทย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแพปพิลโลมา (Human Papillomavirus หรือเชื้อ HPV) สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง ซึ่งมีไม่ต่ำกว่า 14 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ 16 และ 18 พบบ่อยถึงร้อยละ 70

เชื้อ HPV ติดต่อผ่านอะไรบ้าง?

     หลังการมีเพศสัมพันธ์ ร่างกายสามารถติดเชื้อผ่านรอยถลอกหรือบาดแผลเล็ก ๆ บริเวณต่อไปนี้

  • เยื่อบุผิวปากมดลูก / ผิวช่องคลอด
  • ปากช่องคลอด
  • รอบทวารหนัก
  • ปลายองคชาติ

     ร้อยละ 80 - 90 ของผู้ที่ติดเชื้อไวรัส จะหายได้เองภายใน 2 ปี แต่ในกรณีที่เชื้อไวรัสไม่หายและติดเชื้อแบบฝังแน่นเป็นระยะเวลานาน 5 - 15 ปี จะทำให้เซลล์ปากมดลูกเกิดความผิดปกติ และอาจกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก

วิธีการตรวจคัดกรอง

     1. การตรวจหาเชื้อ HPV

     Primary HPV testing คือ การตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก เพื่อระบุสายพันธุ์จำเพาะของเชื้อ high-risk HPV โดยเฉพาะสายพันธุ์ 16 และ 18 และตรวจหาเชื้อ HPV โดยไม่มีการระบุสายพันธุ์จำเพาะ

     2. การตรวจเซลล์วิทยาของปากมดลูก

     Cytology คือ การตรวจเซลล์ปากมดลูก มี 2 วิธี ได้แก่ การตรวจแบบดั้งเดิม Papanicolaou smear (Pap smear) และการตรวจแบบ liquid-based cytology

คำแนะนำในการตรวจคัดกรอง

     การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย (RTCOG) สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย ร่วมกับชมรมคอลโปสโคปีและพยาธิสภาพปากมดลูกแห่งประเทศไทย ค.ศ. 2020 มีคำแนะนำในการตรวจคัดกรอง ดังนี้

  • อายุน้อยกว่า 25 ปี

     ไม่แนะนำให้ตรวจคัดกรอง ยกเว้นในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ติดเชื้อเอชไอวี มีคู่นอนหลายคน เป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

  • อายุ 25 - 65 ปี

     เริ่มตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่อายุ 25 ปี เมื่อมีเพศสัมพันธ์แล้ว หรือ 30 ปี เมื่อยังไม่มีเพศสัมพันธ์ ด้วยวิธีดังนี้

  • Primary HPV testing (HPV test) หรือ Co-testing (HPV test + Cytology) ทุก 5 ปี
  • Cytology หรือ Pap smear อย่างเดียว ทุก 2 ปี

     ทั้งนี้ความถี่ในการตรวจคัดกรองอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม เช่น ควรตรวจคัดกรองทุก 1 ปี ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงของโรคมะเร็งปากมดลูกสูง หรือในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก

  • อายุมากกว่า 65 ปี

     สามารถหยุดตรวจคัดกรองได้ ถ้าผลตรวจคัดกรองก่อนหน้านี้ปกติติดต่อกันในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ผู้ที่ยังคงมีเพศสัมพันธ์ หรือมีคู่นอนหลายคน ควรตรวจคัดกรองต่อไปตามปกติ

  • หลังตัดมดลูกและปากมดลูก

     ผู้ที่ตัดมดลูกพร้อมกับปากมดลูกออกแล้ว และไม่มีประวัติเซลล์ปากมดลูกผิดปกติหรือเป็นมะเร็งปากมดลูก ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรอง

การป้องกัน

  • ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ตั้งแต่อายุ 9 – 45 ปี
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หรือเปลี่ยนคู่นอนหลายคน
  • งดสูบบุหรี่
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกประจำปี
  • เมื่อพบเซลล์ผิดปกติควรรับการรักษาและติดตามอย่างเคร่งครัด

ขอบคุณข้อมูลจาก ผศ. นพ. บุญเลิศ วิริยะภาค และพญ. เพ็ญพรรณ ศิริสุทธิ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง