ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่

     ติ่งเนื้องอกในสำไส้ใหญ่ เป็นการเจริญเติบโตของก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นที่ผนังลำไส้ใหญ่ มีลักษณะเหมือนก้อนเล็กๆ ที่ยื่นออกมาจากผนังลำไส้ บางครั้งจะมีลักษณะเหมือนเห็ด บางครั้งมีรูปร่างแบน ขนาดของติ่งเนื้อจะแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 – 5 มิลลิเมตร ไปจนกระทั่งหลายเซ็นติเมตร สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายจุดตลอดทางเดินอาหารแต่พบบ่อยที่สุดคือบริเวณลำไส้ใหญ่

ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นจะมีโอกาสพบติ่งเนื้อลักษณะนี้ได้มากขึ้น ในผู้ที่มีอายุอยู่ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปแม้จะไม่มีปัจจัยเสี่ยงใดๆ ก็ยังมีโอกาสที่พบติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ได้ถึง 25%
 

สาเหตุ

     ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ แต่ผู้เชี่ยวชาญบางรายเชื่อว่า อาหารที่มีไขมันสูง อาหารกากใยน้อย อาจเป็นสาเหตุของการก่อตัวของติ่งเนื้อ หรืออาจเป็นเรื่องของพันธุกรรม

 

ผู้ที่มีความเสี่ยง

1. อายุมากกว่า 50 ปี

2. มีประวัติคนในครอบครัวเคยมีติ่งเนื้องอกหรือเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

3. ผู้ที่มีประวัติเคยมีติ่งเนื้อหรือเป็นมะเร็งอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดติ่งเนื้อที่ใหม่ได้อีก

4. การมีติ่งเนื้อหรือมะเร็งบางชนิดที่เป็นกรรมพันธุ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้แม้อายุยังไม่มาก

 

ติ่งเนื้อมีกี่ชนิด?

ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่มี 2 ชนิดหลักๆ คือ

  • ติ่งเนื้อชนิด hyperplastic เป็นติ่งเนื้อชนิดที่ไม่เสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง
  • ติ่งเนื้อชนิด adenoma เป็นชนิดที่เชื่อกันว่าเป็นขั้นเริ่มแรกของมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ติ่งเนื้อชนิด adenoma ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้กลายเป็นมะเร็งเสมอไป พบว่าติ่งเนื้อที่มีขนาดใหญ่มีโอกาสเป็นมะเร็งได้มากกว่า

     ทั้งนี้ การจะแยกว่าติ่งเนื้อนั้นเป็นชนิดใดทำได้โดยการตรวจชิ้นเนื้อ และเนื่องจากแพทย์ไม่สามารถบ่งชี้ชนิดของติ่งเนื้อได้แม่นยำจากการส่องกล้องเท่านั้น แพทย์จึงต้องตัดเอาติ่งเนื้อออกมาตรวจ ยกเว้นติ่งเนื้อขนาดเล็กมากๆ และมีรูปแบบเหมาะกับ hyperplastic เท่านั้นที่สามารถละไว้ได้
 

การวินิจฉัย

     โดยทั่วไปแล้วติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่มักไม่ก่อให้เกิดอาการ แต่ถ้าติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่อาจทำให้มีเลือดปนออกมากับอุจจาระได้ วิธีที่ดีที่สุดในการตรวจหาติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่คือการตรวจคัดกรอง ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น

1. การตรวจอุจจาระเพื่อหาเลือดแฝง

2. การส่องกล้องตรวจบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (sigmoidoscopy) เพื่อดูลำไส้ส่วนล่าง

3. การตรวจทางรังสี เช่น การสวนทวารด้วยแบเรียม หากการตรวจทำให้พบติ่งเนื้อที่น่าสงสัย แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) เพื่อนำติ่งเนื้อออกมา และเนื่องจาก colonoscopy เป็นวิธีที่แม่นยำที่สุดในการตรวจหาติ่งเนื้อ ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญหลายรายจึงแนะนำให้ colonoscopy เป็นหนึ่งในวิธีการตรวจคัดกรอง เนื่องจากวิธีนี้เมื่อพบติ่งเนื้อที่น่าสงสัยแล้วสามารถตัดออกมาได้ทันทีในการทำหัตถการเดียวกัน

 

การตัดติ่งเนื้อจากสำไส้โดยไม่ต้องผ่าตัด

     เมื่อมีการตรวจพบติ่งเนื้อจากการส่องกล้องลำไส้ใหญ่แล้ว แพทย์สามารถทำการตัดติ่งเนื้อออก ก่อนที่ติ่งเนื้อนั้นจะมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคตด้วยเทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่ กรณีที่ติ่งเนื้อใหญ่มากสามารถใช้วิธีที่เรียกว่า Endoscopic Submucosal Dissection หรือ ESD ทำให้สามารถตัดติ่งเนื้อขนาดใหญ่ ที่แม้บางส่วนมีการกลายเป็นมะเร็งแล้ว แต่ยังไม่มีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองออกได้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องมีแผลผ่าตัดหน้าท้อง หลังจากการผ่าตัดผ่านกล้องแล้วผู้ป่วยควรเข้ารับการส่องกล้องติดตามอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์

     การส่องกล้องเพื่อตรวจหาติ่งเนื้อเปรียบเสมือนการตรวจเช็กร่างกาย โดยไม่ต้องรอให้เกิดความผิดปกติ โดยเฉพาะคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรได้รับการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารอย่างสม่ำเสมอ และควรเลือกตรวจกับแพทย์ที่มีความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีการส่องกล้อง เพื่อให้เกิดการวินิจฉัยที่แม่นยำ พร้อมกันนี้ ควรลดพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติกับลำไส้ใหญ่ร่วมด้วย เช่น รับประทานอาหารที่ไม่ได้ปรุงสุกใหม่, อาหารแช่แข็ง, หรืออาหารที่แปรรูปมาแล้ว เช่น เนื้อแดงและไส้กรอก

 

ขอบคุณข้อมูลจาก ผศ. พญ. อวยพร เค้าสมบัติวัฒนา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A

     ติ่งเนื้องอกในสำไส้ใหญ่ เป็นการเจริญเติบโตของก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นที่ผนังลำไส้ใหญ่ มีลักษณะเหมือนก้อนเล็กๆ ที่ยื่นออกมาจากผนังลำไส้ บางครั้งจะมีลักษณะเหมือนเห็ด บางครั้งมีรูปร่างแบน ขนาดของติ่งเนื้อจะแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 – 5 มิลลิเมตร ไปจนกระทั่งหลายเซ็นติเมตร สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายจุดตลอดทางเดินอาหารแต่พบบ่อยที่สุดคือบริเวณลำไส้ใหญ่

ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นจะมีโอกาสพบติ่งเนื้อลักษณะนี้ได้มากขึ้น ในผู้ที่มีอายุอยู่ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปแม้จะไม่มีปัจจัยเสี่ยงใดๆ ก็ยังมีโอกาสที่พบติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ได้ถึง 25%
 

สาเหตุ

     ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ แต่ผู้เชี่ยวชาญบางรายเชื่อว่า อาหารที่มีไขมันสูง อาหารกากใยน้อย อาจเป็นสาเหตุของการก่อตัวของติ่งเนื้อ หรืออาจเป็นเรื่องของพันธุกรรม

 

ผู้ที่มีความเสี่ยง

1. อายุมากกว่า 50 ปี

2. มีประวัติคนในครอบครัวเคยมีติ่งเนื้องอกหรือเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

3. ผู้ที่มีประวัติเคยมีติ่งเนื้อหรือเป็นมะเร็งอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดติ่งเนื้อที่ใหม่ได้อีก

4. การมีติ่งเนื้อหรือมะเร็งบางชนิดที่เป็นกรรมพันธุ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้แม้อายุยังไม่มาก

 

ติ่งเนื้อมีกี่ชนิด?

ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่มี 2 ชนิดหลักๆ คือ

  • ติ่งเนื้อชนิด hyperplastic เป็นติ่งเนื้อชนิดที่ไม่เสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง
  • ติ่งเนื้อชนิด adenoma เป็นชนิดที่เชื่อกันว่าเป็นขั้นเริ่มแรกของมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ติ่งเนื้อชนิด adenoma ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้กลายเป็นมะเร็งเสมอไป พบว่าติ่งเนื้อที่มีขนาดใหญ่มีโอกาสเป็นมะเร็งได้มากกว่า

     ทั้งนี้ การจะแยกว่าติ่งเนื้อนั้นเป็นชนิดใดทำได้โดยการตรวจชิ้นเนื้อ และเนื่องจากแพทย์ไม่สามารถบ่งชี้ชนิดของติ่งเนื้อได้แม่นยำจากการส่องกล้องเท่านั้น แพทย์จึงต้องตัดเอาติ่งเนื้อออกมาตรวจ ยกเว้นติ่งเนื้อขนาดเล็กมากๆ และมีรูปแบบเหมาะกับ hyperplastic เท่านั้นที่สามารถละไว้ได้
 

การวินิจฉัย

     โดยทั่วไปแล้วติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่มักไม่ก่อให้เกิดอาการ แต่ถ้าติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่อาจทำให้มีเลือดปนออกมากับอุจจาระได้ วิธีที่ดีที่สุดในการตรวจหาติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่คือการตรวจคัดกรอง ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น

1. การตรวจอุจจาระเพื่อหาเลือดแฝง

2. การส่องกล้องตรวจบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (sigmoidoscopy) เพื่อดูลำไส้ส่วนล่าง

3. การตรวจทางรังสี เช่น การสวนทวารด้วยแบเรียม หากการตรวจทำให้พบติ่งเนื้อที่น่าสงสัย แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) เพื่อนำติ่งเนื้อออกมา และเนื่องจาก colonoscopy เป็นวิธีที่แม่นยำที่สุดในการตรวจหาติ่งเนื้อ ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญหลายรายจึงแนะนำให้ colonoscopy เป็นหนึ่งในวิธีการตรวจคัดกรอง เนื่องจากวิธีนี้เมื่อพบติ่งเนื้อที่น่าสงสัยแล้วสามารถตัดออกมาได้ทันทีในการทำหัตถการเดียวกัน

 

การตัดติ่งเนื้อจากสำไส้โดยไม่ต้องผ่าตัด

     เมื่อมีการตรวจพบติ่งเนื้อจากการส่องกล้องลำไส้ใหญ่แล้ว แพทย์สามารถทำการตัดติ่งเนื้อออก ก่อนที่ติ่งเนื้อนั้นจะมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคตด้วยเทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่ กรณีที่ติ่งเนื้อใหญ่มากสามารถใช้วิธีที่เรียกว่า Endoscopic Submucosal Dissection หรือ ESD ทำให้สามารถตัดติ่งเนื้อขนาดใหญ่ ที่แม้บางส่วนมีการกลายเป็นมะเร็งแล้ว แต่ยังไม่มีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองออกได้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องมีแผลผ่าตัดหน้าท้อง หลังจากการผ่าตัดผ่านกล้องแล้วผู้ป่วยควรเข้ารับการส่องกล้องติดตามอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์

     การส่องกล้องเพื่อตรวจหาติ่งเนื้อเปรียบเสมือนการตรวจเช็กร่างกาย โดยไม่ต้องรอให้เกิดความผิดปกติ โดยเฉพาะคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรได้รับการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารอย่างสม่ำเสมอ และควรเลือกตรวจกับแพทย์ที่มีความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีการส่องกล้อง เพื่อให้เกิดการวินิจฉัยที่แม่นยำ พร้อมกันนี้ ควรลดพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติกับลำไส้ใหญ่ร่วมด้วย เช่น รับประทานอาหารที่ไม่ได้ปรุงสุกใหม่, อาหารแช่แข็ง, หรืออาหารที่แปรรูปมาแล้ว เช่น เนื้อแดงและไส้กรอก

 

ขอบคุณข้อมูลจาก ผศ. พญ. อวยพร เค้าสมบัติวัฒนา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง