กำลังใจ เริ่มได้บนโต๊ะอาหาร (Family dinner)

ลูกๆ หลานๆ หลายครอบครัวเมื่อคนในครอบครัวมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงหรือโรคไขมันในเลือดสูง ก็เริ่มที่จะจำกัดอาหารให้ผู้ป่วย ห้ามกินของหวานนะ เค็มก็ไม่ได้ อันนั้นมันมีไขมันสูง จนทำให้อาหารที่ผู้ป่วยจะรับประทานเหลือน้อยลง อาจส่งผลต่อภาวะโภชนาการของผู้ป่วยในระยะยาวได้ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ทั้งกายและใจจากการจำกัดอาหารมากเกินไป เพื่อนำรอยยิ้มคืนกลับมาบนโต๊ะอาหารอีกครั้ง นักกำหนดอาหารจึงขอแนะนำวิธีแนวทางสร้างรอยยิ้มในการจัดเตรียมโต๊ะอาหารให้อบอุ่นมาเสนอ

1. ลองลดปริมาณหรือลดชนิดของเครื่องปรุงที่ใส่ในอาหารลง

เช่น ผัดผัก 1 จาน เดิมเคยใส่ ซีอิ๊ว น้ำปลา ซอสหอยนางรม ผงปรุงรส อย่างละ 1 ช้อนชา ลองเปลี่ยนมาเป็น ซีอิ๊ว น้ำปลา ซอสหอยนางรม อย่างละครึ่งช้อนชา

2. ปรับวิธีการรับประทานน้ำแกง หรือราดน้ำผัด ลงบนข้าว

แนะนำให้ตักกับข้าวที่เป็นน้ำใส่ถ้วยแบ่ง อาจจะใส่น้ำแกงประมาณ 1/3 ของถ้วยน้ำแกง เพราะการลดการรับประทานน้ำแกง หรือราดน้ำผัดผักลงบนข้าว จะสามารถลดปริมาณเครื่องปรุงรส น้ำตาล และน้ำมันส่วนเกินลงได้ ในที่นี้รวมถึงแกงกะทิ หรือต้มยำน้ำข้นด้วย

3. เลือกเมนูอาหาร

หากมีกับข้าว 3 อย่างบนโต๊ะอาหาร ให้เลือกเป็นอาหารที่มีผักเป็นหลัก 1 – 2 อย่าง เช่น ผัดผัก แกงส้มผักรวม แกงจืดใส่ผัก ต้มยำเห็ด และกับข้าวที่เป็นเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไม่ติดหนังเป็นหลัก 1 อย่าง ในส่วนของอาหารทอด แกงกะทิ ให้เลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งต่อมื้อ

4. เลือกชนิดของเนื้อสัตว์

เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ให้หลากหลายหมุนเวียน เน้นเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง หรือเนื้อสัตว์ที่มีมันแทรกน้อยๆ เช่น หมู ปลา ไก่ กุ้ง สลับสับเปลี่ยนกัน เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเบื่อ และได้รับแร่ธาตุที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ในส่วนอาหารทะเล สำหรับผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูงสามารถรับประทานเนื้อปู หรือเนื้อกุ้งได้ โดยให้เลี่ยงส่วนที่เป็นไข่ หรือมันของสัตว์ดังกล่าว หากวันนั้นรับประทานอาหารทะเลก็ให้เลี่ยงไข่แดงไป

5. ไข่

แนะนำให้รับประทานไข่ไก่ทั้งฟอง เช่น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไม่เกิน 1 – 2 ฟองต่อวันในคนที่มีสุขภาพแข็งแรงและ ไม่เกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว

6. เลือกใช้น้ำมันที่เหมาะสมกับการปรุงประกอบอาหาร

น้ำมันแต่ละชนิดมีความสามารถในการทนความร้อนได้ไม่เท่ากัน โดยสามารถเลือกใช้ตามอุณหภูมิของการปรุงประกอบอาหารดังนี้

  • อาหารประเภททอดที่ต้องใช้อุณหภูมิสูง : น้ำมันปาล์ม น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก (Extra light)
  • อาหารประเภทผัดต้องใช้อุณหภูมิปานกลาง : น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันคาโนล่า            น้ำมันมะกอก (Classico)
  • สลัด หรือ อาหารที่ไม่ผ่านความร้อน : น้ำมันมะกอก (Extra virgin)

7. ตะกร้าผลไม้ที่วางไว้บนโต๊ะอาหาร

แนะนำแบ่งรับประทานและจัดจานผลไม้เป็นมื้อๆ มื้อละ 1 จานรองแก้วกาแฟ ดีกว่าการหั่นผลไม้ใส่จานใหญ่ ให้จิ้มรับประทานไปเรื่อยๆ เพราะจะทำให้ยากต่อการควบคุมปริมาณผลไม้แต่ละมื้อ พยายามเลี่ยงผลไม้แปรรูป เช่น ผลไม้เชื่อม ดอง แช่อิ่ม กวน เป็นต้น รวมถึงน้ำผลไม้ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของน้ำผลไม้กล่อง น้ำผลไม้ปั่นแยกกากและไม่แยกกาก เพราะในน้ำผลไม้ 1 แก้วจะมีปริมาณน้ำตาลสูงกว่าการรับประทานผลไม้สดตามปริมาณที่แนะนำต่อมื้อ

จากแนวทางดังกล่าวเป็นแนวทางการเลือกรับประทานอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล ไขมันในเลือด รวมถึงความดันโลหิตได้อีกด้วย เพียงปรับการรับประทานอาหารเพียงเล็กน้อยก็จะเป็นการนำความสุขกลับมาสู่ครอบครัวและโต๊ะอาหารอีกครั้ง ทำให้ภาวะทางโภชนาการและภาวะจิตใจของผู้ป่วยดีขึ้นกว่าเดิม เพราะกำลังใจที่ดีที่สุด ควรเริ่มต้นด้วยความเข้าใจของครอบครัว

หมายเหตุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด และไตเสื่อม ควรรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับโรค ตามที่แพทย์และนักกำหนดอาหารแนะนำ

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร

ลูกๆ หลานๆ หลายครอบครัวเมื่อคนในครอบครัวมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงหรือโรคไขมันในเลือดสูง ก็เริ่มที่จะจำกัดอาหารให้ผู้ป่วย ห้ามกินของหวานนะ เค็มก็ไม่ได้ อันนั้นมันมีไขมันสูง จนทำให้อาหารที่ผู้ป่วยจะรับประทานเหลือน้อยลง อาจส่งผลต่อภาวะโภชนาการของผู้ป่วยในระยะยาวได้ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ทั้งกายและใจจากการจำกัดอาหารมากเกินไป เพื่อนำรอยยิ้มคืนกลับมาบนโต๊ะอาหารอีกครั้ง นักกำหนดอาหารจึงขอแนะนำวิธีแนวทางสร้างรอยยิ้มในการจัดเตรียมโต๊ะอาหารให้อบอุ่นมาเสนอ

1. ลองลดปริมาณหรือลดชนิดของเครื่องปรุงที่ใส่ในอาหารลง

เช่น ผัดผัก 1 จาน เดิมเคยใส่ ซีอิ๊ว น้ำปลา ซอสหอยนางรม ผงปรุงรส อย่างละ 1 ช้อนชา ลองเปลี่ยนมาเป็น ซีอิ๊ว น้ำปลา ซอสหอยนางรม อย่างละครึ่งช้อนชา

2. ปรับวิธีการรับประทานน้ำแกง หรือราดน้ำผัด ลงบนข้าว

แนะนำให้ตักกับข้าวที่เป็นน้ำใส่ถ้วยแบ่ง อาจจะใส่น้ำแกงประมาณ 1/3 ของถ้วยน้ำแกง เพราะการลดการรับประทานน้ำแกง หรือราดน้ำผัดผักลงบนข้าว จะสามารถลดปริมาณเครื่องปรุงรส น้ำตาล และน้ำมันส่วนเกินลงได้ ในที่นี้รวมถึงแกงกะทิ หรือต้มยำน้ำข้นด้วย

3. เลือกเมนูอาหาร

หากมีกับข้าว 3 อย่างบนโต๊ะอาหาร ให้เลือกเป็นอาหารที่มีผักเป็นหลัก 1 – 2 อย่าง เช่น ผัดผัก แกงส้มผักรวม แกงจืดใส่ผัก ต้มยำเห็ด และกับข้าวที่เป็นเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไม่ติดหนังเป็นหลัก 1 อย่าง ในส่วนของอาหารทอด แกงกะทิ ให้เลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งต่อมื้อ

4. เลือกชนิดของเนื้อสัตว์

เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ให้หลากหลายหมุนเวียน เน้นเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง หรือเนื้อสัตว์ที่มีมันแทรกน้อยๆ เช่น หมู ปลา ไก่ กุ้ง สลับสับเปลี่ยนกัน เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเบื่อ และได้รับแร่ธาตุที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ในส่วนอาหารทะเล สำหรับผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูงสามารถรับประทานเนื้อปู หรือเนื้อกุ้งได้ โดยให้เลี่ยงส่วนที่เป็นไข่ หรือมันของสัตว์ดังกล่าว หากวันนั้นรับประทานอาหารทะเลก็ให้เลี่ยงไข่แดงไป

5. ไข่

แนะนำให้รับประทานไข่ไก่ทั้งฟอง เช่น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไม่เกิน 1 – 2 ฟองต่อวันในคนที่มีสุขภาพแข็งแรงและ ไม่เกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว

6. เลือกใช้น้ำมันที่เหมาะสมกับการปรุงประกอบอาหาร

น้ำมันแต่ละชนิดมีความสามารถในการทนความร้อนได้ไม่เท่ากัน โดยสามารถเลือกใช้ตามอุณหภูมิของการปรุงประกอบอาหารดังนี้

  • อาหารประเภททอดที่ต้องใช้อุณหภูมิสูง : น้ำมันปาล์ม น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก (Extra light)
  • อาหารประเภทผัดต้องใช้อุณหภูมิปานกลาง : น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันคาโนล่า            น้ำมันมะกอก (Classico)
  • สลัด หรือ อาหารที่ไม่ผ่านความร้อน : น้ำมันมะกอก (Extra virgin)

7. ตะกร้าผลไม้ที่วางไว้บนโต๊ะอาหาร

แนะนำแบ่งรับประทานและจัดจานผลไม้เป็นมื้อๆ มื้อละ 1 จานรองแก้วกาแฟ ดีกว่าการหั่นผลไม้ใส่จานใหญ่ ให้จิ้มรับประทานไปเรื่อยๆ เพราะจะทำให้ยากต่อการควบคุมปริมาณผลไม้แต่ละมื้อ พยายามเลี่ยงผลไม้แปรรูป เช่น ผลไม้เชื่อม ดอง แช่อิ่ม กวน เป็นต้น รวมถึงน้ำผลไม้ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของน้ำผลไม้กล่อง น้ำผลไม้ปั่นแยกกากและไม่แยกกาก เพราะในน้ำผลไม้ 1 แก้วจะมีปริมาณน้ำตาลสูงกว่าการรับประทานผลไม้สดตามปริมาณที่แนะนำต่อมื้อ

จากแนวทางดังกล่าวเป็นแนวทางการเลือกรับประทานอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล ไขมันในเลือด รวมถึงความดันโลหิตได้อีกด้วย เพียงปรับการรับประทานอาหารเพียงเล็กน้อยก็จะเป็นการนำความสุขกลับมาสู่ครอบครัวและโต๊ะอาหารอีกครั้ง ทำให้ภาวะทางโภชนาการและภาวะจิตใจของผู้ป่วยดีขึ้นกว่าเดิม เพราะกำลังใจที่ดีที่สุด ควรเริ่มต้นด้วยความเข้าใจของครอบครัว

หมายเหตุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด และไตเสื่อม ควรรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับโรค ตามที่แพทย์และนักกำหนดอาหารแนะนำ

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง