ฟิลเลอร์ (Filler) คืออะไร?

ฟิลเลอร์ (Filler) คือสารสังเคราะห์ที่มีความคงตัวสูง สลายได้เองตามธรรมชาติและก่อให้เกิดอาการแพ้น้อย โดยสารที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือกรดไฮยาลูโลนิก (Hyaluronic Acid) หรือเอชเอ (HA) เป็นสารที่พบได้ในชั้นผิวปกติและจะมีปริมาณลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้นในทางการแพทย์จึงมีการคิดค้น ไฮยาลูโลนิก (Hyaluronic) สังเคราะห์ขึ้นมา เพื่อใช้ฉีดเติมเต็มเข้าไปในชั้นผิวหนังเพื่อทดแทนเส้นใยคอลลาเจนที่สลายไป ช่วยในการเติมเต็มรูปหน้า เติมร่องลึกต่าง ๆ และปรับรูปหน้าให้สมส่วนมากยิ่งขึ้น

กลไกการออกฤทธิ์ของฟิลเลอร์ (Filler)

กลไกการออกฤทธิ์ของกรดไฮยาลูโลนิก (Hyaluronic Acid) หรือเอชเอ (HA) คือการที่สารไปจับตัวกับน้ำในชั้นผิวหนังเกิดการคงรูปของฟิลเลอร์ ช่วยทำให้บริเวณที่เป็นร่องลึกดูตื้นขึ้น แลดูอ่อนเยาว์ลง และปรับรูปหน้าให้สมส่วน

หลังฉีดฟิลเลอร์ (Filler) จะอยู่ได้นานเท่าไร?

สามารถคงอยู่ในร่างกายได้ตั้งแต่ 6 เดือน - 2 ปี และจะสลายไปเองโดยไม่เหลือสารตกค้างขึ้นอยู่กับชนิดของฟิลเลอร์ ตำแหน่งที่ได้รับการฉีด วิธีการฉีด รวมถึงวิธีการดูแลตนเองหลังการฉีดฟิลเลอร์

การเตรียมตัวก่อนฉีดฟิลเลอร์ (Filler)

  1. หากมีประวัติเหล่านี้ควรแจ้งให้แพทย์รับทราบก่อนทำการฉีดฟิลเลอร์ ได้แก่ เคยมีประวัติแพ้ยา มีโรคประจำตัว มียารับประทานประจำ กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในระยะให้นมบุตร
  2. หากรับประทานยา/อาหารเสริมที่มีผลทำให้เลือดออกง่าย เช่น ยากลุ่มแอสไพริน (Aspirin) วาร์ฟาริน (Warfarin) วิตามินอี น้ำมันตับปลา สารสกัดจากใบแปะก๊วย โสม กระเทียม เป็นต้น ควรแจ้งให้แพทย์รับทราบ เนื่องจากอาจทำให้เกิดรอยเขียวช้ำจากอาการเลือดออกใต้ผิวหนังหลังฉีดได้

การปฏิบัติตัวหลังฉีดฟิลเลอร์ (Filler)

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัส บีบนวด หรือคลึงบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ เพราะอาจทำให้เกิดการเคลื่อน (migration) ของฟิลเลอร์ไปจากบริเวณที่ฉีดได้
  2. แนะนำดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 6 - 8 แก้วหรือ 2 ลิตร/วัน โดยเฉพาะช่วง 4 – 5 วันแรก การดื่มน้ำจะช่วยให้ฟิลเลอร์ที่เป็นสารอุ้มน้ำทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. 2 วันแรกหลังฉีด ควรหลีกเลี่ยงการทาผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ที่มีส่วนประกอบของเอเอชเอ (AHA) บีเอชเอ (BHA) หรือวิตามินเอ (Retinoids) เนื่องจากอาจทำให้เกิดการระคายเคืองกับผิวบริเวณที่ฉีดได้
  4. 2 วันแรกหลังฉีด ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะทำให้เลือดสูบฉีดมาก อาจทำให้เกิดเลือดออกภายในเกิดรอยเขียวช้ำบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ได้
  5. 2 วันแรกหลังฉีด ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เนื่องจากทำให้แผลหายช้าลง และในกรณีฉีดฟิลเลอร์ที่ปาก ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือใช้หลอดดูดน้ำ เพราะอาจทำให้รูปร่างของปากผิดรูปหลังฉีดได้
  6. 2 สัปดาห์หลังฉีด ควรงดการอบไอน้ำ ซาวน่า ทำทรีตเมนต์ หรือทำเลเซอร์ เพราะจะทำให้ฟิลเลอร์สลายตัวเร็วขึ้น
  7. หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวด บวมแดงมาก ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีซีดหรือคล้ำขึ้น มีความผิดปกติของการมองเห็น ควรรีบมาพบแพทย์ทันที

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังการฉีดฟิลเลอร์ (Filler)

  1. อาจมีอาการบวมแดงเล็กน้อยบริเวณที่ฉีด สามารถหายได้เองภายใน 2 - 3 วัน
  2. อาจเกิดผื่นแดงหรือรอยช้ำบริเวณที่ฉีด สามารถหายได้เองภายใน 1 - 2 สัปดาห์
  3. หากมีฟิลเลอร์ (Filler) เข้าไปในหลอดเลือด อาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้อวัยวะเสียหายจากการที่เลือดไม่ไปเลี้ยง
  4. การเกิดรอยนูน/ผิวไม่เรียบ เนื่องจากฟิลเลอร์อยู่ในชั้นที่ตื้นเกินไปหรือฟิลเลอร์ที่ฉีดมีโมเลกุลขนาดใหญ่
  5. เกิดการเคลื่อนย้าย (migration) ซึ่งเกิดจากการนวดคลึงทำให้รูปร่างเสียไป
  6. อาจเกิดอาการแพ้เป็นก้อนนูนแดงอักเสบหลังฉีดฟิลเลอร์ ซึ่งอาจพบได้ภายหลังการฉีดฟิลเลอร์ผ่านไปแล้วเป็นเวลาหลายเดือนหรือเป็นปี ๆ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A

บทความที่เกี่ยวข้อง

ริ้วรอย ปัญหาที่ดูแลได้ด้วยโบท็อกซ์

ริ้วรอย ปัญหาที่ดูแลได้ด้วยโบท็อกซ์ >>คลิก<<

ฟิลเลอร์ (Filler) คือสารสังเคราะห์ที่มีความคงตัวสูง สลายได้เองตามธรรมชาติและก่อให้เกิดอาการแพ้น้อย โดยสารที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือกรดไฮยาลูโลนิก (Hyaluronic Acid) หรือเอชเอ (HA) เป็นสารที่พบได้ในชั้นผิวปกติและจะมีปริมาณลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้นในทางการแพทย์จึงมีการคิดค้น ไฮยาลูโลนิก (Hyaluronic) สังเคราะห์ขึ้นมา เพื่อใช้ฉีดเติมเต็มเข้าไปในชั้นผิวหนังเพื่อทดแทนเส้นใยคอลลาเจนที่สลายไป ช่วยในการเติมเต็มรูปหน้า เติมร่องลึกต่าง ๆ และปรับรูปหน้าให้สมส่วนมากยิ่งขึ้น

กลไกการออกฤทธิ์ของฟิลเลอร์ (Filler)

กลไกการออกฤทธิ์ของกรดไฮยาลูโลนิก (Hyaluronic Acid) หรือเอชเอ (HA) คือการที่สารไปจับตัวกับน้ำในชั้นผิวหนังเกิดการคงรูปของฟิลเลอร์ ช่วยทำให้บริเวณที่เป็นร่องลึกดูตื้นขึ้น แลดูอ่อนเยาว์ลง และปรับรูปหน้าให้สมส่วน

หลังฉีดฟิลเลอร์ (Filler) จะอยู่ได้นานเท่าไร?

สามารถคงอยู่ในร่างกายได้ตั้งแต่ 6 เดือน - 2 ปี และจะสลายไปเองโดยไม่เหลือสารตกค้างขึ้นอยู่กับชนิดของฟิลเลอร์ ตำแหน่งที่ได้รับการฉีด วิธีการฉีด รวมถึงวิธีการดูแลตนเองหลังการฉีดฟิลเลอร์

การเตรียมตัวก่อนฉีดฟิลเลอร์ (Filler)

  1. หากมีประวัติเหล่านี้ควรแจ้งให้แพทย์รับทราบก่อนทำการฉีดฟิลเลอร์ ได้แก่ เคยมีประวัติแพ้ยา มีโรคประจำตัว มียารับประทานประจำ กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในระยะให้นมบุตร
  2. หากรับประทานยา/อาหารเสริมที่มีผลทำให้เลือดออกง่าย เช่น ยากลุ่มแอสไพริน (Aspirin) วาร์ฟาริน (Warfarin) วิตามินอี น้ำมันตับปลา สารสกัดจากใบแปะก๊วย โสม กระเทียม เป็นต้น ควรแจ้งให้แพทย์รับทราบ เนื่องจากอาจทำให้เกิดรอยเขียวช้ำจากอาการเลือดออกใต้ผิวหนังหลังฉีดได้

การปฏิบัติตัวหลังฉีดฟิลเลอร์ (Filler)

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัส บีบนวด หรือคลึงบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ เพราะอาจทำให้เกิดการเคลื่อน (migration) ของฟิลเลอร์ไปจากบริเวณที่ฉีดได้
  2. แนะนำดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 6 - 8 แก้วหรือ 2 ลิตร/วัน โดยเฉพาะช่วง 4 – 5 วันแรก การดื่มน้ำจะช่วยให้ฟิลเลอร์ที่เป็นสารอุ้มน้ำทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. 2 วันแรกหลังฉีด ควรหลีกเลี่ยงการทาผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ที่มีส่วนประกอบของเอเอชเอ (AHA) บีเอชเอ (BHA) หรือวิตามินเอ (Retinoids) เนื่องจากอาจทำให้เกิดการระคายเคืองกับผิวบริเวณที่ฉีดได้
  4. 2 วันแรกหลังฉีด ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะทำให้เลือดสูบฉีดมาก อาจทำให้เกิดเลือดออกภายในเกิดรอยเขียวช้ำบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ได้
  5. 2 วันแรกหลังฉีด ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เนื่องจากทำให้แผลหายช้าลง และในกรณีฉีดฟิลเลอร์ที่ปาก ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือใช้หลอดดูดน้ำ เพราะอาจทำให้รูปร่างของปากผิดรูปหลังฉีดได้
  6. 2 สัปดาห์หลังฉีด ควรงดการอบไอน้ำ ซาวน่า ทำทรีตเมนต์ หรือทำเลเซอร์ เพราะจะทำให้ฟิลเลอร์สลายตัวเร็วขึ้น
  7. หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวด บวมแดงมาก ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีซีดหรือคล้ำขึ้น มีความผิดปกติของการมองเห็น ควรรีบมาพบแพทย์ทันที

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังการฉีดฟิลเลอร์ (Filler)

  1. อาจมีอาการบวมแดงเล็กน้อยบริเวณที่ฉีด สามารถหายได้เองภายใน 2 - 3 วัน
  2. อาจเกิดผื่นแดงหรือรอยช้ำบริเวณที่ฉีด สามารถหายได้เองภายใน 1 - 2 สัปดาห์
  3. หากมีฟิลเลอร์ (Filler) เข้าไปในหลอดเลือด อาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้อวัยวะเสียหายจากการที่เลือดไม่ไปเลี้ยง
  4. การเกิดรอยนูน/ผิวไม่เรียบ เนื่องจากฟิลเลอร์อยู่ในชั้นที่ตื้นเกินไปหรือฟิลเลอร์ที่ฉีดมีโมเลกุลขนาดใหญ่
  5. เกิดการเคลื่อนย้าย (migration) ซึ่งเกิดจากการนวดคลึงทำให้รูปร่างเสียไป
  6. อาจเกิดอาการแพ้เป็นก้อนนูนแดงอักเสบหลังฉีดฟิลเลอร์ ซึ่งอาจพบได้ภายหลังการฉีดฟิลเลอร์ผ่านไปแล้วเป็นเวลาหลายเดือนหรือเป็นปี ๆ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A

บทความที่เกี่ยวข้อง

ริ้วรอย ปัญหาที่ดูแลได้ด้วยโบท็อกซ์

ริ้วรอย ปัญหาที่ดูแลได้ด้วยโบท็อกซ์ >>คลิก<<


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง