ไขข้อสงสัย การตรวจแมมโมแกรม

      เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อผู้หญิงทุกคนอายุเข้าเลข 4 นอกจากการตรวจสุขภาพประจำปีแล้วควรเข้ารับการตรวจ “แมมโมแกรม" ร่วมด้วย แต่เรามักได้ยินบ่อยๆ ว่า “ไม่กล้าตรวจแมมโมแกรมเพราะกลัวเจ็บ” หรืออาจเพราะความอาย รู้ไหมว่าการตรวจแมมโมแกรมมีความสำคัญมาก และทำไมผู้หญิงทุกคนไม่ควรมองข้าม หมอจึงอยากให้ลองทำความเข้าใจให้ถูกต้องค่ะ
 

Q: การตรวจแมมโมแกรมเจ็บมากไหม?

A:  ความเจ็บในการตรวจแมมโมแกรมขึ้นอยู่กับ

•  ความหนาแน่นของเนื้อเต้านม รวมถึงช่วงใกล้มีประจำเดือน ซึ่งจะมีความคัดตึงของเต้านม และไวต่อการเจ็บมากกว่า

•  ปัจจัยอื่นๆ เช่น สรีระที่ยากต่อการจัดท่าถ่ายแมมโมแกรม ผู้ที่มีความผิดปกติของกระดูกหน้าอกหรือกระดูกสันหลัง (สรีระอกไก่ หลังค่อม กระดูกสันหลังคด) เป็นต้น

•  สภาพผิวที่เหนอะ ลื่น หรือแห้ง

   ท่านสามารถลดความเจ็บได้โดย

      •  แนะนำให้ตรวจหลังมีประจำเดือน 7 – 14 วัน

      •  ขณะตรวจให้ปล่อยตัวตามสบาย ไม่เกร็ง ปฏิบัติตามคำแนะนำของนักรังสีเทคนิค เช่น อยู่นิ่งขณะถ่ายเพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด

     •  ระหว่างตรวจหากรู้สึกเจ็บสามารถบอกนักรังสีเทคนิคเพื่อหยุดพัก หรือเปลี่ยนการจัดท่าเพื่อผ่อนคลายอาการเจ็บได้

     •  หากมีอาการเจ็บเต้านมหรือเคยตรวจแมมโมแกรมแล้วบีบเจ็บ สามารถแจ้งนักรังสีเทคนิคก่อนรับการตรวจได้
 

Q: ทำไมต้องตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม?

A: การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมไม่ใช่การลดความเสี่ยงของโรค แต่ความสำคัญคือ การตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้น แมมโมแกรมเป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่ามีประสิทธิภาพมากในการตรวจพบหินปูนในเต้านม หินปูนบางชนิดพบในมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก ซึ่งไม่สามารถค้นพบจากการตรวจร่างกายได้

ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ โดยพบมากในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น การตรวจแมมโมแกรมทุกปีจะทำให้สามารถพบความผิดปกติและวินิจฉัยโรคมะเร็งได้ตั้งแต่ในระยะแรก ช่วยรักษาเต้านมไว้ไม่ให้ถูกตัดทิ้งทั้งหมด เพราะแพทย์สามารถตัดเอามะเร็งออกแค่บางส่วนได้ในกรณีที่ยังไม่ลุกลามมาก มีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่า และมีคุณภาพชีวิตภายหลังการรักษาดีกว่าผู้ป่วยที่มาพบแพทย์เมื่อมีอาการในระยะของโรคที่เป็นมากแล้ว
 

Q: รังสีจากการตรวจแมมโมแกรมอันตรายหรือไม่?

A: เมื่อพูดถึงรังสีทุกคนคงเริ่มกังวล แต่ความจริงรังสีมีอยู่รอบตัวเราไม่ว่าในอากาศ น้ำ พื้นดิน แสงแดด อาหารที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยรังสี เราจึงไม่สามารถหลบเลี่ยงได้ ในการทำแมมโมแกรม 1 ครั้ง ปริมาณรังสีที่ได้รับเทียบเท่ากับรังสีที่ได้รับในชีวิตประจำวันประมาณ 7 สัปดาห์ ซึ่งนับว่าน้อยมาก

อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบความเสี่ยงกับผลประโยชน์ที่ได้รับถือว่าเป็นผลดีต่อการตรวจโรคมะเร็งเต้านม ทำให้ทราบว่ามีมะเร็งเต้านมหรือไม่ ในกรณีที่เป็นมะเร็งจะทำให้แพทย์สามารถผ่าเอาก้อนเนื้อนั้นออกมาตั้งแต่ยังมีขนาดเล็กก่อนเกิดการแพร่กระจายไปยังจุดอื่น


ข้อดีของการตรวจเต้านมด้วยเมมโมแกรม

  • ปริมาณรังสีต่ำ มีความปลอดภัยสูงเนื่องจากมีการควบคุมปริมาณรังสีตามมาตรฐาน
  • ภาพเอกซเรย์คมชัด สามารถแยกความแตกต่างของไขมันและเนื้อเยื่อต่างๆ ของเต้านมได้
  • มีความถูกต้องแม่นยำสูง
  • รวดเร็ว ลดระยะเวลาในการตรวจ
  • มีการบันทึกภาพเต้านมแบบดิจิตอล สามารถมองเห็นภาพบนจอคอมพิวเตอร์ได้เลย
     

Q: ตรวจอัลตราซาวนด์เต้านมแล้วจำเป็นต้องตรวจแมมโมแกรมด้วยหรือไม่?

A: การตรวจอัลตราซาวนด์ควบคู่กับแมมโมแกรมจะช่วยเพิ่มความแม่นยำ เสริมให้การวินิจฉัยโรคได้ดีขึ้นและการวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น

การตรวจอัลตราซาวนด์เป็นการใช้คลื่นความถี่สูงผ่านเข้าไปในเนื้อเต้านม เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ จะสะท้อนกลับมาเกิดเป็นภาพที่เครื่องตรวจ ทำให้สามารถแยกเนื้อเยื่อเต้านมปกติกับก้อนในเต้านมได้ นอกจากนี้ยังสามารถดูองค์ประกอบของก้อนได้ว่าเป็นถุงน้ำหรือก้อนเนื้อ และยังบอกขอบเขตของก้อนได้ แต่ไม่สามารถตรวจพบหินปูนได้

การตรวจแมมโมแกรมเป็นการตรวจทางรังสีชนิดหนึ่งคล้ายการตรวจเอกซเรย์ แต่เครื่องตรวจแมมโมแกรมจะเป็นเครื่องเฉพาะที่ใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่า สามารถเห็นจุดหินปูนในเต้านมได้ ซึ่งในบางครั้งมะเร็งเต้านมอาจมีขนาดเล็กมาก คลำไม่พบ จึงสามารถตรวจพบได้เฉพาะในการตรวจแมมโมแกรมเท่านั้น ดังนั้นแมมโมแกรมจึงมีประโยชน์ในการตรวจหามะเร็งเต้านมขนาดเล็ก แต่จะมีประสิทธิภาพมากในคนที่อายุมากกว่า 40 ปี ซึ่งเนื้อเต้านมไม่หนาแน่นมาก

 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ศัลยกรรม ชั้น 2 โซน E

      เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อผู้หญิงทุกคนอายุเข้าเลข 4 นอกจากการตรวจสุขภาพประจำปีแล้วควรเข้ารับการตรวจ “แมมโมแกรม" ร่วมด้วย แต่เรามักได้ยินบ่อยๆ ว่า “ไม่กล้าตรวจแมมโมแกรมเพราะกลัวเจ็บ” หรืออาจเพราะความอาย รู้ไหมว่าการตรวจแมมโมแกรมมีความสำคัญมาก และทำไมผู้หญิงทุกคนไม่ควรมองข้าม หมอจึงอยากให้ลองทำความเข้าใจให้ถูกต้องค่ะ
 

Q: การตรวจแมมโมแกรมเจ็บมากไหม?

A:  ความเจ็บในการตรวจแมมโมแกรมขึ้นอยู่กับ

•  ความหนาแน่นของเนื้อเต้านม รวมถึงช่วงใกล้มีประจำเดือน ซึ่งจะมีความคัดตึงของเต้านม และไวต่อการเจ็บมากกว่า

•  ปัจจัยอื่นๆ เช่น สรีระที่ยากต่อการจัดท่าถ่ายแมมโมแกรม ผู้ที่มีความผิดปกติของกระดูกหน้าอกหรือกระดูกสันหลัง (สรีระอกไก่ หลังค่อม กระดูกสันหลังคด) เป็นต้น

•  สภาพผิวที่เหนอะ ลื่น หรือแห้ง

   ท่านสามารถลดความเจ็บได้โดย

      •  แนะนำให้ตรวจหลังมีประจำเดือน 7 – 14 วัน

      •  ขณะตรวจให้ปล่อยตัวตามสบาย ไม่เกร็ง ปฏิบัติตามคำแนะนำของนักรังสีเทคนิค เช่น อยู่นิ่งขณะถ่ายเพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด

     •  ระหว่างตรวจหากรู้สึกเจ็บสามารถบอกนักรังสีเทคนิคเพื่อหยุดพัก หรือเปลี่ยนการจัดท่าเพื่อผ่อนคลายอาการเจ็บได้

     •  หากมีอาการเจ็บเต้านมหรือเคยตรวจแมมโมแกรมแล้วบีบเจ็บ สามารถแจ้งนักรังสีเทคนิคก่อนรับการตรวจได้
 

Q: ทำไมต้องตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม?

A: การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมไม่ใช่การลดความเสี่ยงของโรค แต่ความสำคัญคือ การตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้น แมมโมแกรมเป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่ามีประสิทธิภาพมากในการตรวจพบหินปูนในเต้านม หินปูนบางชนิดพบในมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก ซึ่งไม่สามารถค้นพบจากการตรวจร่างกายได้

ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ โดยพบมากในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น การตรวจแมมโมแกรมทุกปีจะทำให้สามารถพบความผิดปกติและวินิจฉัยโรคมะเร็งได้ตั้งแต่ในระยะแรก ช่วยรักษาเต้านมไว้ไม่ให้ถูกตัดทิ้งทั้งหมด เพราะแพทย์สามารถตัดเอามะเร็งออกแค่บางส่วนได้ในกรณีที่ยังไม่ลุกลามมาก มีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่า และมีคุณภาพชีวิตภายหลังการรักษาดีกว่าผู้ป่วยที่มาพบแพทย์เมื่อมีอาการในระยะของโรคที่เป็นมากแล้ว
 

Q: รังสีจากการตรวจแมมโมแกรมอันตรายหรือไม่?

A: เมื่อพูดถึงรังสีทุกคนคงเริ่มกังวล แต่ความจริงรังสีมีอยู่รอบตัวเราไม่ว่าในอากาศ น้ำ พื้นดิน แสงแดด อาหารที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยรังสี เราจึงไม่สามารถหลบเลี่ยงได้ ในการทำแมมโมแกรม 1 ครั้ง ปริมาณรังสีที่ได้รับเทียบเท่ากับรังสีที่ได้รับในชีวิตประจำวันประมาณ 7 สัปดาห์ ซึ่งนับว่าน้อยมาก

อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบความเสี่ยงกับผลประโยชน์ที่ได้รับถือว่าเป็นผลดีต่อการตรวจโรคมะเร็งเต้านม ทำให้ทราบว่ามีมะเร็งเต้านมหรือไม่ ในกรณีที่เป็นมะเร็งจะทำให้แพทย์สามารถผ่าเอาก้อนเนื้อนั้นออกมาตั้งแต่ยังมีขนาดเล็กก่อนเกิดการแพร่กระจายไปยังจุดอื่น


ข้อดีของการตรวจเต้านมด้วยเมมโมแกรม

  • ปริมาณรังสีต่ำ มีความปลอดภัยสูงเนื่องจากมีการควบคุมปริมาณรังสีตามมาตรฐาน
  • ภาพเอกซเรย์คมชัด สามารถแยกความแตกต่างของไขมันและเนื้อเยื่อต่างๆ ของเต้านมได้
  • มีความถูกต้องแม่นยำสูง
  • รวดเร็ว ลดระยะเวลาในการตรวจ
  • มีการบันทึกภาพเต้านมแบบดิจิตอล สามารถมองเห็นภาพบนจอคอมพิวเตอร์ได้เลย
 

Q: ตรวจอัลตราซาวนด์เต้านมแล้วจำเป็นต้องตรวจแมมโมแกรมด้วยหรือไม่?

A: การตรวจอัลตราซาวนด์ควบคู่กับแมมโมแกรมจะช่วยเพิ่มความแม่นยำ เสริมให้การวินิจฉัยโรคได้ดีขึ้นและการวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น

การตรวจอัลตราซาวนด์เป็นการใช้คลื่นความถี่สูงผ่านเข้าไปในเนื้อเต้านม เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ จะสะท้อนกลับมาเกิดเป็นภาพที่เครื่องตรวจ ทำให้สามารถแยกเนื้อเยื่อเต้านมปกติกับก้อนในเต้านมได้ นอกจากนี้ยังสามารถดูองค์ประกอบของก้อนได้ว่าเป็นถุงน้ำหรือก้อนเนื้อ และยังบอกขอบเขตของก้อนได้ แต่ไม่สามารถตรวจพบหินปูนได้

การตรวจแมมโมแกรมเป็นการตรวจทางรังสีชนิดหนึ่งคล้ายการตรวจเอกซเรย์ แต่เครื่องตรวจแมมโมแกรมจะเป็นเครื่องเฉพาะที่ใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่า สามารถเห็นจุดหินปูนในเต้านมได้ ซึ่งในบางครั้งมะเร็งเต้านมอาจมีขนาดเล็กมาก คลำไม่พบ จึงสามารถตรวจพบได้เฉพาะในการตรวจแมมโมแกรมเท่านั้น ดังนั้นแมมโมแกรมจึงมีประโยชน์ในการตรวจหามะเร็งเต้านมขนาดเล็ก แต่จะมีประสิทธิภาพมากในคนที่อายุมากกว่า 40 ปี ซึ่งเนื้อเต้านมไม่หนาแน่นมาก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ศัลยกรรม ชั้น 2 โซน E

ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง