ปัสสาวะบ่อยเกิดจากอะไร?

   อาการปัสสาวะบ่อย (Frequency urination) เป็นอาการหนึ่งที่รบกวนคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีสาเหตุต่าง ๆ มากมายที่ทำให้เกิดอาการ ทำให้ผลการรักษาที่ออกมายังไม่เป็นที่น่าพอใจ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะบ่อยมักจะได้รับการส่งมาปรึกษาศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากคิดว่ามีสาเหตุมาจากความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะเป็นหลัก ลองมาดูกันว่าท่านมีปัญหาปัสสาวะบ่อยหรือไม่ และน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง    

อาการอย่างไรถึงเรียกว่าปัสสาวะบ่อย?

   ในภาวะปกติ คนเราจะมีการผลิตน้ำปัสสาวะในแต่ละวันไม่เท่ากัน แต่โดยเฉลี่ยเราจะอ้างอิงตามน้ำหนักตัว ตัวอย่างเช่น ในผู้ใหญ่น้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม จะมีการผลิตน้ำปัสสาวะอย่างน้อย 0.5 – 1.0 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อชั่วโมง (หากร่างกายอยู่ในสภาวะไม่ขาดน้ำ) จึงเท่ากับ 600 – 1,200 มิลลิลิตรต่อวัน โดยความจุของกระเพาะปัสสาวะปกติจะเท่ากับ 300 – 500 มิลลิลิตร แต่ในภาวะปกติ เราจะเริ่มรู้สึกปวดปัสสาวะครั้งแรกที่ประมาณ 150 – 200 มิลลิลิตร ดังนั้นในภาวะปกติคนเราจะมีจำนวนครั้งในการปัสสาวะมากที่สุดไม่เกิน 8 ครั้งต่อวัน ทั้งนี้อาจจะมีจำนวนครั้งน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ได้ในบางวัน    

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราปัสสาวะบ่อย?

   วิธีการที่นิยมในปัจจุบัน คือการจดบันทึกปริมาณการดื่มน้ำและปริมาณน้ำปัสสาวะ หรือเรียกว่า Frequency-Volume Chart (FVC) เป็นวิธีการที่ผู้ป่วยสามารถทำได้เองก่อนการมาพบแพทย์ เนื่องจากทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และราคาถูก อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาการหลงลืมเมื่อได้รับการซักประวัติจากแพทย์ ผู้ป่วยจะต้องทำการจดบันทึกเวลาและปริมาณน้ำที่ดื่มในแต่ละครั้ง ร่วมกับการจดบันทึกเวลาที่ปัสสาวะและปริมาณน้ำปัสสาวะที่ออกมาในแต่ละครั้ง ติดต่อกัน 24 ชั่วโมง จำนวนอย่างน้อย 3 รอบ โดยสุ่มวันในแต่ละสัปดาห์ หากผู้ป่วยชอบรับประทานอาหารประเภทที่มีน้ำมากเช่น น้ำแกง ก๋วยเตี๋ยว แนะนำให้จดแค่ชนิดของอาหารในวันนั้น ๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องตวงปริมาณน้ำจากอาหาร นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจจะสามารถจดข้อมูลเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ตัวอย่างเช่น มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในช่วงเวลาใด 

ตัวอย่างการจดบันทึกปริมาณการดื่มน้ำและปริมาณน้ำปัสสาวะ หรือ “Frequency-Volume Chart (FVC)

สาเหตุของอาการปัสสาวะบ่อยคืออะไร?

1. จากปริมาณน้ำปัสสาวะต่อวันมากกว่าปกติ ได้แก่

  • การดื่มน้ำหรือของเหลวต่าง ๆ (ไม่รวมอาหาร) มากกว่าปกติ ค่าปกติอยู่ที่ประมาณ 30 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน (30 ml/kg/day)
  • โรคประจำตัวที่ทำให้มีการขับน้ำปัสสาวะมากกว่าปกติ เช่น โรคเบาจืด โรคเบาหวาน โรคไต
  • ยารักษาโรคประจำตัว เช่น ยาขับปัสสาวะ ยารักษาโรคเบาหวานบางกลุ่ม

2. จากความจุของกระเพาะปัสสาวะลดลง ได้แก่

  • โรคของอวัยวะอื่น ๆ ในอุ้งเชิงกราน เช่น เนื้องอกมดลูก เนื้องอกลำไส้ใหญ่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ มดลูกและกระบังลมหย่อน
  • กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน จากการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ จากความรู้สึกของกระเพาะปัสสาวะไว จากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ หรือจากระบบประสาทควบคุมการปัสสาวะทั้งสมองและไขสันหลัง
  • ขนาดกระเพาะปัสสาวะหดเล็กจากการฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกรานหรือจากการอักเสบเรื้อรัง
  • พื้นที่ภายในกระเพาะปัสสาวะหายไป เช่น ปัสสาวะเหลือค้าง นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ
  • ความผิดปกติของทางออกและท่อปัสสาวะ เช่น ท่อปัสสาวะตีบ ต่อมลูกหมากโต หูรูดท่อปัสสาวะหลวม

3. สภาพอากาศ สภาวะแวดล้อม การรับรู้ของผู้ป่วย ความวิตกกังวลและสภาพจิตใจ

   จะเห็นได้ว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อยนั้นมีมากมาย และเกิดจากหลากหลายสาเหตุร่วมกัน ผู้ป่วยสามารถเก็บข้อมูลการดื่มน้ำและการปัสสาวะก่อนมาพบแพทย์ จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุดและช่วยให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยจนพบสาเหตุหลักที่แท้จริง ทำให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

ข้อมูลจาก : รศ. นพ. ภควัฒน์ ระมาตร์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A

 

   อาการปัสสาวะบ่อย (Frequency urination) เป็นอาการหนึ่งที่รบกวนคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีสาเหตุต่าง ๆ มากมายที่ทำให้เกิดอาการ ทำให้ผลการรักษาที่ออกมายังไม่เป็นที่น่าพอใจ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะบ่อยมักจะได้รับการส่งมาปรึกษาศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากคิดว่ามีสาเหตุมาจากความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะเป็นหลัก ลองมาดูกันว่าท่านมีปัญหาปัสสาวะบ่อยหรือไม่ และน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง    

อาการอย่างไรถึงเรียกว่าปัสสาวะบ่อย?

   ในภาวะปกติ คนเราจะมีการผลิตน้ำปัสสาวะในแต่ละวันไม่เท่ากัน แต่โดยเฉลี่ยเราจะอ้างอิงตามน้ำหนักตัว ตัวอย่างเช่น ในผู้ใหญ่น้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม จะมีการผลิตน้ำปัสสาวะอย่างน้อย 0.5 – 1.0 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อชั่วโมง (หากร่างกายอยู่ในสภาวะไม่ขาดน้ำ) จึงเท่ากับ 600 – 1,200 มิลลิลิตรต่อวัน โดยความจุของกระเพาะปัสสาวะปกติจะเท่ากับ 300 – 500 มิลลิลิตร แต่ในภาวะปกติ เราจะเริ่มรู้สึกปวดปัสสาวะครั้งแรกที่ประมาณ 150 – 200 มิลลิลิตร ดังนั้นในภาวะปกติคนเราจะมีจำนวนครั้งในการปัสสาวะมากที่สุดไม่เกิน 8 ครั้งต่อวัน ทั้งนี้อาจจะมีจำนวนครั้งน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ได้ในบางวัน    

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราปัสสาวะบ่อย?

   วิธีการที่นิยมในปัจจุบัน คือการจดบันทึกปริมาณการดื่มน้ำและปริมาณน้ำปัสสาวะ หรือเรียกว่า Frequency-Volume Chart (FVC) เป็นวิธีการที่ผู้ป่วยสามารถทำได้เองก่อนการมาพบแพทย์ เนื่องจากทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และราคาถูก อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาการหลงลืมเมื่อได้รับการซักประวัติจากแพทย์ ผู้ป่วยจะต้องทำการจดบันทึกเวลาและปริมาณน้ำที่ดื่มในแต่ละครั้ง ร่วมกับการจดบันทึกเวลาที่ปัสสาวะและปริมาณน้ำปัสสาวะที่ออกมาในแต่ละครั้ง ติดต่อกัน 24 ชั่วโมง จำนวนอย่างน้อย 3 รอบ โดยสุ่มวันในแต่ละสัปดาห์ หากผู้ป่วยชอบรับประทานอาหารประเภทที่มีน้ำมากเช่น น้ำแกง ก๋วยเตี๋ยว แนะนำให้จดแค่ชนิดของอาหารในวันนั้น ๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องตวงปริมาณน้ำจากอาหาร นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจจะสามารถจดข้อมูลเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ตัวอย่างเช่น มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในช่วงเวลาใด 

ตัวอย่างการจดบันทึกปริมาณการดื่มน้ำและปริมาณน้ำปัสสาวะ หรือ “Frequency-Volume Chart (FVC)

สาเหตุของอาการปัสสาวะบ่อยคืออะไร?

1. จากปริมาณน้ำปัสสาวะต่อวันมากกว่าปกติ ได้แก่

  • การดื่มน้ำหรือของเหลวต่าง ๆ (ไม่รวมอาหาร) มากกว่าปกติ ค่าปกติอยู่ที่ประมาณ 30 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน (30 ml/kg/day)
  • โรคประจำตัวที่ทำให้มีการขับน้ำปัสสาวะมากกว่าปกติ เช่น โรคเบาจืด โรคเบาหวาน โรคไต
  • ยารักษาโรคประจำตัว เช่น ยาขับปัสสาวะ ยารักษาโรคเบาหวานบางกลุ่ม

2. จากความจุของกระเพาะปัสสาวะลดลง ได้แก่

  • โรคของอวัยวะอื่น ๆ ในอุ้งเชิงกราน เช่น เนื้องอกมดลูก เนื้องอกลำไส้ใหญ่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ มดลูกและกระบังลมหย่อน
  • กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน จากการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ จากความรู้สึกของกระเพาะปัสสาวะไว จากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ หรือจากระบบประสาทควบคุมการปัสสาวะทั้งสมองและไขสันหลัง
  • ขนาดกระเพาะปัสสาวะหดเล็กจากการฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกรานหรือจากการอักเสบเรื้อรัง
  • พื้นที่ภายในกระเพาะปัสสาวะหายไป เช่น ปัสสาวะเหลือค้าง นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ
  • ความผิดปกติของทางออกและท่อปัสสาวะ เช่น ท่อปัสสาวะตีบ ต่อมลูกหมากโต หูรูดท่อปัสสาวะหลวม

3. สภาพอากาศ สภาวะแวดล้อม การรับรู้ของผู้ป่วย ความวิตกกังวลและสภาพจิตใจ

   จะเห็นได้ว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อยนั้นมีมากมาย และเกิดจากหลากหลายสาเหตุร่วมกัน ผู้ป่วยสามารถเก็บข้อมูลการดื่มน้ำและการปัสสาวะก่อนมาพบแพทย์ จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุดและช่วยให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยจนพบสาเหตุหลักที่แท้จริง ทำให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

ข้อมูลจาก : รศ. นพ. ภควัฒน์ ระมาตร์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง