มือชา… ปัญหาคนออฟฟิศ

    ในวัยทำงาน หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าอาการมือชา ก็เป็นหนึ่งในโรคออฟฟิศซินโดรม ยิ่งในปัจจุบันมีอาชีพที่หลากหลายมากขึ้น หากใช้งานนิ้วมือมากเกินไปอาจเกิดการเกร็ง การกดเบียด และสั่นสะเทือนถึงเส้นประสาท ทำให้มีอาการมือชาเกิดขึ้นได้ หรือบางคนอาจทำอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง เป็นเวลานาน เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือในการอ่านหนังสือ หรือการพิมพ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เพราะพฤติกรรมเหล่านี้ มีการใช้กล้ามเนื้อหรือการเกร็งกล้ามเนื้ออยู่บ่อยครั้ง ทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งจริง ๆ แล้วอาการมือชา มักพบบ่อยในวัยทำงาน โดยส่วนมาก มักเกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และเกิดจากการใช้งานของมือ ในลักษณะที่ต้องมีการกระดกข้อมือ หรือกำยืดนิ้วมือตลอดทั้งวัน ซึ่งก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดอาการมือชาได้

อาการ

จะเริ่มชาที่ฝ่ามือและนิ้วมือ ในขณะที่ใช้มือทำงานอย่างต่อเนื่อง  และถ้าเป็นมากอาจมีอาการชาจนเป็นเหน็บในขณะที่ไม่ได้ใช้งาน และมีอาการปวดตอนกลางคืนจนต้องตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อขยับมือหรือบีบนวดฝ่ามือ และถ้าปล่อยไว้นานจะมีการอ่อนกำลังของมือหยิบจับสิ่งของแล้วร่วงหล่น  จนถึงขั้นมีการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อมือในที่สุด

สาเหตุของมือชา 

ส่วนมากเกิดจากการหนาตัวของเอ็นกระดูกบริเวณข้อมือหรือที่บริเวณอุโมงค์ข้อมือ เอ็นจะไปกดรัดเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่ฝ่ามือ และเส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกที่ฝ่ามือ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อมือมาก ๆ จึงทำให้เกิดการระคายมากขึ้น

กลุ่มที่พบอาการมือชา

  • คนทำงานในออฟฟิศที่ต้องรับโทรศัพท์ หรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
  • แม่ครัว  
  • ช่างทำผม
  • แม่บ้านทำความสะอาด  กวาดบ้าน   
  • กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์  
  • สตรีที่ตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง  
  • ผู้ป่วยที่มีข้อต่อกระดูกคอเสื่อม รวมถึงการขาดวิตามินบี 

 

 

วิธีป้องกันอาการมือชา

  • ลดการใช้งานข้อมือลง
  • ปรับท่าทางการทำงานของมือให้เหมาะสม ระหว่างทำงานข้อมือต้องไม่งอมากเกินไป 
  • ใช้อุปกรณ์ช่วยประคองข้อมือสำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้ข้อมือมีที่พัก  เมาส์ที่ใช้ก็ต้องมีขนาดพอดีมือ ไม่เล็กจนเกินไป  เพราะจะทำให้ข้อมือเกร็งมากขึ้น

การรักษา

  • ถ้าผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง จะให้ยาต้านการอักเสบของเส้นเอ็นและเส้นประสาท
  • กำจัดปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุ เช่น ถ้าเกิดจากการใช้งานเยอะ ก็พักการใช้ชั่วคราว ลดการสั่นสะเทือน
  • ใช้งานแขนและมือให้ถูกท่า
  • บริหารยืดกล้ามเนื้อบริเวณแขนและมือ เพื่อลดความตึงพังผืดระหว่างเส้นเอ็นและเส้นประสาท
  • อาจใช้ยากิน ยานวด หรือทำกายภาพด้วย
  • การให้วิตามินบี
  • การผ่าตัดเอ็นที่ไปกดรัดเส้นประสาทนั้น  

ฉะนั้นการดูแล ป้องกัน และถนอมข้อมือ เพื่อให้เราได้ใช้งานนาน ๆ จึงเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ   หากใช้งานข้อมือที่ผิดท่า ผิดวิธี อาจนำมาซึ่งการรักษาที่ซับซ้อนมากขึ้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 3 โซน C

    ในวัยทำงาน หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าอาการมือชา ก็เป็นหนึ่งในโรคออฟฟิศซินโดรม ยิ่งในปัจจุบันมีอาชีพที่หลากหลายมากขึ้น หากใช้งานนิ้วมือมากเกินไปอาจเกิดการเกร็ง การกดเบียด และสั่นสะเทือนถึงเส้นประสาท ทำให้มีอาการมือชาเกิดขึ้นได้ หรือบางคนอาจทำอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง เป็นเวลานาน เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือในการอ่านหนังสือ หรือการพิมพ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เพราะพฤติกรรมเหล่านี้ มีการใช้กล้ามเนื้อหรือการเกร็งกล้ามเนื้ออยู่บ่อยครั้ง ทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งจริง ๆ แล้วอาการมือชา มักพบบ่อยในวัยทำงาน โดยส่วนมาก มักเกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และเกิดจากการใช้งานของมือ ในลักษณะที่ต้องมีการกระดกข้อมือ หรือกำยืดนิ้วมือตลอดทั้งวัน ซึ่งก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดอาการมือชาได้

อาการ

จะเริ่มชาที่ฝ่ามือและนิ้วมือ ในขณะที่ใช้มือทำงานอย่างต่อเนื่อง  และถ้าเป็นมากอาจมีอาการชาจนเป็นเหน็บในขณะที่ไม่ได้ใช้งาน และมีอาการปวดตอนกลางคืนจนต้องตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อขยับมือหรือบีบนวดฝ่ามือ และถ้าปล่อยไว้นานจะมีการอ่อนกำลังของมือหยิบจับสิ่งของแล้วร่วงหล่น  จนถึงขั้นมีการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อมือในที่สุด

สาเหตุของมือชา 

ส่วนมากเกิดจากการหนาตัวของเอ็นกระดูกบริเวณข้อมือหรือที่บริเวณอุโมงค์ข้อมือ เอ็นจะไปกดรัดเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่ฝ่ามือ และเส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกที่ฝ่ามือ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อมือมาก ๆ จึงทำให้เกิดการระคายมากขึ้น

กลุ่มที่พบอาการมือชา

  • คนทำงานในออฟฟิศที่ต้องรับโทรศัพท์ หรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
  • แม่ครัว  
  • ช่างทำผม
  • แม่บ้านทำความสะอาด  กวาดบ้าน   
  • กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์  
  • สตรีที่ตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง  
  • ผู้ป่วยที่มีข้อต่อกระดูกคอเสื่อม รวมถึงการขาดวิตามินบี 

 

 

วิธีป้องกันอาการมือชา

  • ลดการใช้งานข้อมือลง
  • ปรับท่าทางการทำงานของมือให้เหมาะสม ระหว่างทำงานข้อมือต้องไม่งอมากเกินไป 
  • ใช้อุปกรณ์ช่วยประคองข้อมือสำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้ข้อมือมีที่พัก  เมาส์ที่ใช้ก็ต้องมีขนาดพอดีมือ ไม่เล็กจนเกินไป  เพราะจะทำให้ข้อมือเกร็งมากขึ้น

การรักษา

  • ถ้าผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง จะให้ยาต้านการอักเสบของเส้นเอ็นและเส้นประสาท
  • กำจัดปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุ เช่น ถ้าเกิดจากการใช้งานเยอะ ก็พักการใช้ชั่วคราว ลดการสั่นสะเทือน
  • ใช้งานแขนและมือให้ถูกท่า
  • บริหารยืดกล้ามเนื้อบริเวณแขนและมือ เพื่อลดความตึงพังผืดระหว่างเส้นเอ็นและเส้นประสาท
  • อาจใช้ยากิน ยานวด หรือทำกายภาพด้วย
  • การให้วิตามินบี
  • การผ่าตัดเอ็นที่ไปกดรัดเส้นประสาทนั้น  

ฉะนั้นการดูแล ป้องกัน และถนอมข้อมือ เพื่อให้เราได้ใช้งานนาน ๆ จึงเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ   หากใช้งานข้อมือที่ผิดท่า ผิดวิธี อาจนำมาซึ่งการรักษาที่ซับซ้อนมากขึ้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 3 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง