ฮีโมฟีเลีย โรคเลือดออกง่ายหยุดยาก

     โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) หรือ “โรคเลือดออกง่ายหยุดยาก” เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อย สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกได้ ซึ่งพบเป็นปัญหาในเพศชาย ส่วนเพศหญิงมักเป็นพาหะไม่แสดงอาการ แต่สามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติได้

 

สาเหตุการเกิด

     โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) เกิดจากการขาดโปรตีนที่มีหน้าที่ทำให้เลือดแข็งตัวและหยุดไหล เรียกว่า แฟคเตอร์ (coagulation factors)  มี 2 ชนิด  คือ โรคฮีโมฟีเลียเอเกิดจากร่างกายขาดแฟคเตอร์ 8 และโรคฮีโมฟีเลียบีซึ่งเกิดจากร่างกายขาดแฟคเตอร์ 9

 

ลักษณะอาการของโรคฮีโมฟีเลียเป็นอย่างไร ?

     อาการเลือดออกของโรคฮีโมฟีเลียได้แก่ เลือดออกในข้อ และเลือดออกในกล้ามเนื้อ เกิดได้หลังประสบอุบัติเหตุ หรือการกระแทก เช่น การเล่นกีฬา ซึ่งความรุนแรงของโรคขึ้นกับระดับแฟคเตอร์ 8 หรือแฟคเตอร์ 9 ที่ผู้ป่วยมีอยู่สามารถแบ่งความรุนแรงของโรคตามอาการได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

  • ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก (มีระดับแฟคเตอร์ต่ำกว่าร้อยละ 1 ของคนปกติ) จะเริ่มแสดงอาการเป็นจ้ำเขียวตามร่างกายให้เห็นตั้งแต่เด็ก(อายุ 6 เดือน – 1 ปี) มีเลือดออกในข้อหรือกล้ามเนื้อได้เองโดยไม่ได้รับอุบัติเหตุหรือการกระแทกใดๆ
  • ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงปานกลาง (มีระดับแฟคเตอร์ร้อยละ 1-5) มีเลือดออกในข้อและกล้ามเนื้อเมื่อได้รับอุบัติเหตุเล็กน้อย แต่บางรายก็อาจมีเลือดออกในข้อเองโดยไม่ได้มีประวัติกระทบกระแทก
  •  ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงน้อย (มีระดับแฟคเตอร์ร้อยละ 5-40) อาจไม่แสดงอาการเลือดออกจนเมื่อได้รับการกระทบกระแทกรุนแรกจากอุบัติเหตุหรือการผ่าตัดเช่น การถอนฟัน เป็นต้น

 

โรคนี้รักษาได้หรือไม่ ?

     เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรมจึงเป็นโรคประจำตัวตลอดชีวิต แต่ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีใกล้เคียงเหมือนปกติด้วยการรักษาแบบ“ป้องกัน”(Prophylaxis) โดยใช้แฟคเตอร์ 8 และ 9 เข้มข้นฉีดเข้าหลอดเลือด ตามกำหนดที่แพทย์สั่ง และทันทีที่มีเลือดออกเมื่อได้รับแฟคเตอร์ก็จะทำให้เลือดแข็งตัวได้ตามปกติ ผู้ป่วยสามารถฝึกฉีดยาที่บ้าน (Home Therapy) ด้วยตนเองได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง และรอพบแพทย์เพื่อสั่งการรักษา ดังนั้นแล้วผู้ป่วยก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีใกล้เคียงปกติ

ขอบคุณข้อมูลจาก รศ.นพ.นัทธี นาคบุญนำ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E

     โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) หรือ “โรคเลือดออกง่ายหยุดยาก” เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อย สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกได้ ซึ่งพบเป็นปัญหาในเพศชาย ส่วนเพศหญิงมักเป็นพาหะไม่แสดงอาการ แต่สามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติได้

 

สาเหตุการเกิด

     โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) เกิดจากการขาดโปรตีนที่มีหน้าที่ทำให้เลือดแข็งตัวและหยุดไหล เรียกว่า แฟคเตอร์ (coagulation factors)  มี 2 ชนิด  คือ โรคฮีโมฟีเลียเอเกิดจากร่างกายขาดแฟคเตอร์ 8 และโรคฮีโมฟีเลียบีซึ่งเกิดจากร่างกายขาดแฟคเตอร์ 9

 

ลักษณะอาการของโรคฮีโมฟีเลียเป็นอย่างไร ?

     อาการเลือดออกของโรคฮีโมฟีเลียได้แก่ เลือดออกในข้อ และเลือดออกในกล้ามเนื้อ เกิดได้หลังประสบอุบัติเหตุ หรือการกระแทก เช่น การเล่นกีฬา ซึ่งความรุนแรงของโรคขึ้นกับระดับแฟคเตอร์ 8 หรือแฟคเตอร์ 9 ที่ผู้ป่วยมีอยู่สามารถแบ่งความรุนแรงของโรคตามอาการได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

  • ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก (มีระดับแฟคเตอร์ต่ำกว่าร้อยละ 1 ของคนปกติ) จะเริ่มแสดงอาการเป็นจ้ำเขียวตามร่างกายให้เห็นตั้งแต่เด็ก(อายุ 6 เดือน – 1 ปี) มีเลือดออกในข้อหรือกล้ามเนื้อได้เองโดยไม่ได้รับอุบัติเหตุหรือการกระแทกใดๆ
  • ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงปานกลาง (มีระดับแฟคเตอร์ร้อยละ 1-5) มีเลือดออกในข้อและกล้ามเนื้อเมื่อได้รับอุบัติเหตุเล็กน้อย แต่บางรายก็อาจมีเลือดออกในข้อเองโดยไม่ได้มีประวัติกระทบกระแทก
  •  ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงน้อย (มีระดับแฟคเตอร์ร้อยละ 5-40) อาจไม่แสดงอาการเลือดออกจนเมื่อได้รับการกระทบกระแทกรุนแรกจากอุบัติเหตุหรือการผ่าตัดเช่น การถอนฟัน เป็นต้น

 

โรคนี้รักษาได้หรือไม่ ?

     เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรมจึงเป็นโรคประจำตัวตลอดชีวิต แต่ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีใกล้เคียงเหมือนปกติด้วยการรักษาแบบ“ป้องกัน”(Prophylaxis) โดยใช้แฟคเตอร์ 8 และ 9 เข้มข้นฉีดเข้าหลอดเลือด ตามกำหนดที่แพทย์สั่ง และทันทีที่มีเลือดออกเมื่อได้รับแฟคเตอร์ก็จะทำให้เลือดแข็งตัวได้ตามปกติ ผู้ป่วยสามารถฝึกฉีดยาที่บ้าน (Home Therapy) ด้วยตนเองได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง และรอพบแพทย์เพื่อสั่งการรักษา ดังนั้นแล้วผู้ป่วยก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีใกล้เคียงปกติ

ขอบคุณข้อมูลจาก รศ.นพ.นัทธี นาคบุญนำ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง