ไตบวมน้ำ (Hydronephrosis)
ไตบวมน้ำ (Hydronephrosis) เกิดจากการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะระดับที่ต่ำกว่าไต จนทำให้ปัสสาวะไหลออกจากไตไม่สะดวก ปัสสาวะที่ท้นกลับจะดันไตให้บวมขึ้น ส่งผลทำให้การทำงานของไตแย่ลง อาการแสดงของภาวะไตบวมน้ำมีหลายอย่าง เช่น ปวดหลัง ปวดบั้นเอว ปัสสาวะเป็นเลือด มีไข้ ค่าไตผิดปกติหรืออาจไม่มีอาการเลยก็เป็นได้
ไตบวมน้ำเป็นภาวะที่สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ทั้งผู้ใหญ่ เด็ก และทารกในครรภ์ หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ ภาวะไตบวมน้ำมักรักษาให้หายขาดได้โดยไม่ส่งผลเสียใด ๆ ต่อร่างกายในระยะยาว แต่หากผู้ป่วยไม่ได้ไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาหรือปล่อยอาการทิ้งไว้นานเกินไป ภาวะไตบวมน้ำอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการทำงานของไตอย่างถาวรได้
อาการไตบวมน้ำ
ผู้ที่มีภาวะไตบวมน้ำจึงอาจพบอาการแสดงได้หลากหลายขึ้นกับสาเหตุและระยะเวลาที่เป็นซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละคน เช่น
- ปวดหลังหรือปวดบั้นเอวร้าวไปหลังหรือขาหนีบ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปัสสาวะเป็นเลือด
- มีไข้ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- ค่าไตสูงผิดปกติ หรือไตวาย
- ไม่แสดงอาการผิดปกติ แต่พบจากการตรวจร่างกายประจำปี การฝากครรภ์ หรือการตรวจพบโดยบังเอิญเมื่อตรวจวินิจฉัยโรคอื่น
ผู้ที่มีอาการในลักษณะข้างต้นหรือเริ่มสังเกตพบอาการผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยและได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
สาเหตุของไตบวมน้ำ
โดยปกติแล้วระบบทางเดินปัสสาวะของร่างกาย ซึ่งประกอบไปด้วยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ไตมีหน้าที่กรองของเสียออกจากร่างกายในรูปแบบปัสสาวะ ขับออกมาทางท่อไตและส่งไปยังตำแหน่งถัดมาคือ กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ ก่อนขับออกสู่นอกร่างกาย หากเกิดการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะตำแหน่งใดก็ตาม ปัสสาวะที่ผลิตจากไตจะท้นกลับ ทำให้ความดันในไตสูงขึ้น เกิดไตบวมน้ำขึ้น เนื่องจากทางเดินปัสสาวะวางตัวอยู่หลังช่องท้อง ในตำแหน่งที่ยาวตั้งแต่ ระดับใต้ลิ้นปี่ จนถึงระดับกระดูกหัวหน่าว การอุดกั้นทางเดินปัสสาวะเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ก้อนนิ่วอาจอุดตันอยู่ในไตท่อ ไต ท่อปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไหลออกได้ไม่สะดวก
- มะเร็งบางชนิดอาจส่งผลให้เกิดการกดเบียดหรือเกิดการอุดตันของท่อไต เช่น มะเร็งไตและท่อไต มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งมดลูก ปากมดลูกและรังไข่ มะเร็งลำไส้ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือต่อมน้ำเหลืองโตในช่องท้อง
- โรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia) ต่อมลูกหมากที่โตผิดปกติจะกดเบียดท่อปัสสาวะให้ปัสสาวะออกได้ยาก
- ทางเดินปัสสาวะตีบตัน โดยอาจเป็นผลมาจากการติดเชื้อ การผ่าตัด อาการบาดเจ็บ หรืออาจเป็นโดยกำเนิด
- อวัยวะบริเวณอุ้งเชิงกรานหย่อน เช่น ภาวะกระเพาะปัสสาวะหย่อน หรือภาวะมดลูกหย่อน จะกดบริเวณท่อปัสสาวะและท่อไตส่วนปลาย ทำให้ปัสสาวะออกจากท่อไตไม่สะดวก
- การตั้งครรภ์ มดลูกที่ขยายตัวในช่วงตั้งครรภ์อาจไปกดทับท่อไตที่อยู่ข้างเคียง
- ความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น เส้นเลือดทับท่อไต ท่อไตอุดกั้น ท่อปัสสาวะอุดกั้น ปัสสาวะไหลย้อนกลับทางท่อไต และท่อไตอยู่ผิดตำแหน่งตั้งแต่กำเนิด
การวินิจฉัยไตบวมน้ำ
ในการวินิจฉัยภาวะไตบวมน้ำ แพทย์จะสอบถามประวัติและอาการผิดปกติต่าง ๆ ของผู้ป่วย และตรวจร่างกายทั่วไป โดยเฉพาะการคลำบริเวณไตและกระเพาะปัสสาวะ ร่วมกับการใช้วิธีตรวจทางการแพทย์อื่นเพิ่มเติมเพื่อหาสัญญาณและสาเหตุของภาวะไตบวมน้ำ เช่น
- การตรวจร่างกายทางหน้าท้อง กรณีผู้ชาย แพทย์อาจสอดนิ้วผ่านทางทวารหนักเพื่อตรวจดูขนาดของต่อมลูกหมาก (Rectal Exam) และในกรณีผู้หญิง แพทย์อาจใช้วิธีตรวจภายใน (Pelvic Exam) เพื่อตรวจดูความผิดปกติของมดลูกและรังไข่
- การตรวจเลือด เพื่อตรวจดูการทำงานของไต
- การตรวจปัสสาวะ แพทย์อาจตรวจปัสสาวะเพื่อหาภาวะเลือดออกในทางเดินปัสสาวะและการติดเชื้อร่วมด้วย
- การใช้ภาพวินิจฉัย แพทย์อาจใช้วิธีอัลตราซาวด์เพื่อหาภาวะไตบวมน้ำ หากพบจะส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับการฉีดสารทึบรังสี (CT scan) หรือ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อช่วยให้แพทย์พบสาเหตุของความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะต่อไป
การรักษาไตบวมน้ำ
การรักษาภาวะไตบวมน้ำ ทำได้โดยการระบายปัสสาวะที่ค้างในไตร่วมกับการแก้ไขการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ โดยวิธีการรักษาจะแตกต่างกันขึ้นกับสาเหตุและตำแหน่งที่อุดกั้น เช่น
- โรคก้อนนิ่วในทางเดินปัสสาวะ เมื่อมีการอุดกั้น จำเป็นที่จะต้องเร่งนำนิ่วที่อุดกั้นออกจากร่างกาย เพื่อการรักษาการทำงานของไตไว้ วิธีที่นิยมในปัจจุบันคือ การส่องกล้องทางท่อไตและใช้เลเซอร์สลายนิ่ว เนื่องจากเป็นวิธีที่ได้ผลดีและไม่มีแผลผ่าตัด
- มะเร็งหรือต่อมน้ำเหลืองกดท่อไต ต้องเร่งใส่สายระบายท่อไต เพื่อลดความดันในไตแก้ไขภาวะไตบวมน้ำ เพื่อการรักษาการทำงานของไตไว้ หลังจากนั้นจึงรักษามะเร็งต้นกำเนิดตามชนิดของมะเร็งที่เป็นต่อไป
- ต่อมลูกหมากโต หากมีภาวะต่อมลูกหมากโตจนมีไตบวมน้ำ การรักษามาตรฐานในปัจจุบันคือการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อนำต่อมลูกหมากที่เบียดท่อปัสสาวะออก หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะมีการปัสสาวะออกได้คล่องขึ้นและไม่มีการท้นกลับไปที่ไตอีก
- ความผิดปกติแต่กำเนิดหรือ ท่อไตอุดกั้นบางชนิด ต้องได้รับการแก้ไข้โดยการผ่าตัดเพื่อให้ทางเดินปัสสาวะไม่มีการอุดกั้นอีก
อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อในระบบปัสสาวะหรือไตวายจากไตบวมน้ำ เป็นภาวะฉุกเฉินที่ แพทย์จะพิจารณาส่องกล้องใส่สายระบายท่อไตหรือ เจาะระบายปัสสาวะในไต เพื่อรักษาการทำงานของไต และลดการติดเชื้อที่อาจลุกลามเข้ากระแสเลือด
ภาวะแทรกซ้อนของไตบวมน้ำ
ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาตั้งแต่การอุดกั้นยังกินเวลาไม่นาน มักไม่พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรง การทำงานของไตสามารถกลับมาทำงานได้ดังเดิมหลังแก้ไขการอุดกั้น แต่หากการอุดกั้นดำเนินไปเป็นเวลานานแล้ว ความเสื่อมของไตอาจเกิดขึ้นอย่างถาวร หากเป็นอย่างรุนแรงจะเกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้
บางกรณี ภาวะไตบวมน้ำทำให้ปัสสาวะที่ค้างไม่เกิดการหมุนเวียน อาจส่งผลให้ผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะนั้น ซึ่งสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอื่น เช่น ภาวะกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง หรือติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด (Sepsis) อาการที่พบ คือ ปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดหลัง ไข้ หนาวสั่น
การป้องกันไตบวมน้ำ
เนื่องจากภาวะไตบวมน้ำเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมักเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่น การป้องกันจึงอาจทำได้ยาก แต่ในเบื้องต้นอาจลดความเสี่ยงได้โดยการป้องกันตัวเองจากโรคหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่ภาวะไตบวมน้ำ คือ ควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ หากพบอาการปวดเอว ปวดหลัง ปัสสาวะปนเลือด ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรืออาการผิดปกติใดๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่ระยะแรก และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ขอบคุณข้อมูลจาก พญ.กานติมา จงจิตอารี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A
ไตบวมน้ำ (Hydronephrosis) เกิดจากการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะระดับที่ต่ำกว่าไต จนทำให้ปัสสาวะไหลออกจากไตไม่สะดวก ปัสสาวะที่ท้นกลับจะดันไตให้บวมขึ้น ส่งผลทำให้การทำงานของไตแย่ลง อาการแสดงของภาวะไตบวมน้ำมีหลายอย่าง เช่น ปวดหลัง ปวดบั้นเอว ปัสสาวะเป็นเลือด มีไข้ ค่าไตผิดปกติหรืออาจไม่มีอาการเลยก็เป็นได้
ไตบวมน้ำเป็นภาวะที่สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ทั้งผู้ใหญ่ เด็ก และทารกในครรภ์ หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ ภาวะไตบวมน้ำมักรักษาให้หายขาดได้โดยไม่ส่งผลเสียใด ๆ ต่อร่างกายในระยะยาว แต่หากผู้ป่วยไม่ได้ไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาหรือปล่อยอาการทิ้งไว้นานเกินไป ภาวะไตบวมน้ำอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการทำงานของไตอย่างถาวรได้
อาการไตบวมน้ำ
ผู้ที่มีภาวะไตบวมน้ำจึงอาจพบอาการแสดงได้หลากหลายขึ้นกับสาเหตุและระยะเวลาที่เป็นซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละคน เช่น
- ปวดหลังหรือปวดบั้นเอวร้าวไปหลังหรือขาหนีบ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปัสสาวะเป็นเลือด
- มีไข้ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- ค่าไตสูงผิดปกติ หรือไตวาย
- ไม่แสดงอาการผิดปกติ แต่พบจากการตรวจร่างกายประจำปี การฝากครรภ์ หรือการตรวจพบโดยบังเอิญเมื่อตรวจวินิจฉัยโรคอื่น
ผู้ที่มีอาการในลักษณะข้างต้นหรือเริ่มสังเกตพบอาการผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยและได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
สาเหตุของไตบวมน้ำ
โดยปกติแล้วระบบทางเดินปัสสาวะของร่างกาย ซึ่งประกอบไปด้วยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ไตมีหน้าที่กรองของเสียออกจากร่างกายในรูปแบบปัสสาวะ ขับออกมาทางท่อไตและส่งไปยังตำแหน่งถัดมาคือ กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ ก่อนขับออกสู่นอกร่างกาย หากเกิดการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะตำแหน่งใดก็ตาม ปัสสาวะที่ผลิตจากไตจะท้นกลับ ทำให้ความดันในไตสูงขึ้น เกิดไตบวมน้ำขึ้น เนื่องจากทางเดินปัสสาวะวางตัวอยู่หลังช่องท้อง ในตำแหน่งที่ยาวตั้งแต่ ระดับใต้ลิ้นปี่ จนถึงระดับกระดูกหัวหน่าว การอุดกั้นทางเดินปัสสาวะเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ก้อนนิ่วอาจอุดตันอยู่ในไตท่อ ไต ท่อปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไหลออกได้ไม่สะดวก
- มะเร็งบางชนิดอาจส่งผลให้เกิดการกดเบียดหรือเกิดการอุดตันของท่อไต เช่น มะเร็งไตและท่อไต มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งมดลูก ปากมดลูกและรังไข่ มะเร็งลำไส้ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือต่อมน้ำเหลืองโตในช่องท้อง
- โรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia) ต่อมลูกหมากที่โตผิดปกติจะกดเบียดท่อปัสสาวะให้ปัสสาวะออกได้ยาก
- ทางเดินปัสสาวะตีบตัน โดยอาจเป็นผลมาจากการติดเชื้อ การผ่าตัด อาการบาดเจ็บ หรืออาจเป็นโดยกำเนิด
- อวัยวะบริเวณอุ้งเชิงกรานหย่อน เช่น ภาวะกระเพาะปัสสาวะหย่อน หรือภาวะมดลูกหย่อน จะกดบริเวณท่อปัสสาวะและท่อไตส่วนปลาย ทำให้ปัสสาวะออกจากท่อไตไม่สะดวก
- การตั้งครรภ์ มดลูกที่ขยายตัวในช่วงตั้งครรภ์อาจไปกดทับท่อไตที่อยู่ข้างเคียง
- ความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น เส้นเลือดทับท่อไต ท่อไตอุดกั้น ท่อปัสสาวะอุดกั้น ปัสสาวะไหลย้อนกลับทางท่อไต และท่อไตอยู่ผิดตำแหน่งตั้งแต่กำเนิด
การวินิจฉัยไตบวมน้ำ
ในการวินิจฉัยภาวะไตบวมน้ำ แพทย์จะสอบถามประวัติและอาการผิดปกติต่าง ๆ ของผู้ป่วย และตรวจร่างกายทั่วไป โดยเฉพาะการคลำบริเวณไตและกระเพาะปัสสาวะ ร่วมกับการใช้วิธีตรวจทางการแพทย์อื่นเพิ่มเติมเพื่อหาสัญญาณและสาเหตุของภาวะไตบวมน้ำ เช่น
- การตรวจร่างกายทางหน้าท้อง กรณีผู้ชาย แพทย์อาจสอดนิ้วผ่านทางทวารหนักเพื่อตรวจดูขนาดของต่อมลูกหมาก (Rectal Exam) และในกรณีผู้หญิง แพทย์อาจใช้วิธีตรวจภายใน (Pelvic Exam) เพื่อตรวจดูความผิดปกติของมดลูกและรังไข่
- การตรวจเลือด เพื่อตรวจดูการทำงานของไต
- การตรวจปัสสาวะ แพทย์อาจตรวจปัสสาวะเพื่อหาภาวะเลือดออกในทางเดินปัสสาวะและการติดเชื้อร่วมด้วย
- การใช้ภาพวินิจฉัย แพทย์อาจใช้วิธีอัลตราซาวด์เพื่อหาภาวะไตบวมน้ำ หากพบจะส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับการฉีดสารทึบรังสี (CT scan) หรือ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อช่วยให้แพทย์พบสาเหตุของความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะต่อไป
การรักษาไตบวมน้ำ
การรักษาภาวะไตบวมน้ำ ทำได้โดยการระบายปัสสาวะที่ค้างในไตร่วมกับการแก้ไขการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ โดยวิธีการรักษาจะแตกต่างกันขึ้นกับสาเหตุและตำแหน่งที่อุดกั้น เช่น
- โรคก้อนนิ่วในทางเดินปัสสาวะ เมื่อมีการอุดกั้น จำเป็นที่จะต้องเร่งนำนิ่วที่อุดกั้นออกจากร่างกาย เพื่อการรักษาการทำงานของไตไว้ วิธีที่นิยมในปัจจุบันคือ การส่องกล้องทางท่อไตและใช้เลเซอร์สลายนิ่ว เนื่องจากเป็นวิธีที่ได้ผลดีและไม่มีแผลผ่าตัด
- มะเร็งหรือต่อมน้ำเหลืองกดท่อไต ต้องเร่งใส่สายระบายท่อไต เพื่อลดความดันในไตแก้ไขภาวะไตบวมน้ำ เพื่อการรักษาการทำงานของไตไว้ หลังจากนั้นจึงรักษามะเร็งต้นกำเนิดตามชนิดของมะเร็งที่เป็นต่อไป
- ต่อมลูกหมากโต หากมีภาวะต่อมลูกหมากโตจนมีไตบวมน้ำ การรักษามาตรฐานในปัจจุบันคือการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อนำต่อมลูกหมากที่เบียดท่อปัสสาวะออก หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะมีการปัสสาวะออกได้คล่องขึ้นและไม่มีการท้นกลับไปที่ไตอีก
- ความผิดปกติแต่กำเนิดหรือ ท่อไตอุดกั้นบางชนิด ต้องได้รับการแก้ไข้โดยการผ่าตัดเพื่อให้ทางเดินปัสสาวะไม่มีการอุดกั้นอีก
อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อในระบบปัสสาวะหรือไตวายจากไตบวมน้ำ เป็นภาวะฉุกเฉินที่ แพทย์จะพิจารณาส่องกล้องใส่สายระบายท่อไตหรือ เจาะระบายปัสสาวะในไต เพื่อรักษาการทำงานของไต และลดการติดเชื้อที่อาจลุกลามเข้ากระแสเลือด
ภาวะแทรกซ้อนของไตบวมน้ำ
ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาตั้งแต่การอุดกั้นยังกินเวลาไม่นาน มักไม่พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรง การทำงานของไตสามารถกลับมาทำงานได้ดังเดิมหลังแก้ไขการอุดกั้น แต่หากการอุดกั้นดำเนินไปเป็นเวลานานแล้ว ความเสื่อมของไตอาจเกิดขึ้นอย่างถาวร หากเป็นอย่างรุนแรงจะเกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้
บางกรณี ภาวะไตบวมน้ำทำให้ปัสสาวะที่ค้างไม่เกิดการหมุนเวียน อาจส่งผลให้ผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะนั้น ซึ่งสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอื่น เช่น ภาวะกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง หรือติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด (Sepsis) อาการที่พบ คือ ปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดหลัง ไข้ หนาวสั่น
การป้องกันไตบวมน้ำ
เนื่องจากภาวะไตบวมน้ำเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมักเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่น การป้องกันจึงอาจทำได้ยาก แต่ในเบื้องต้นอาจลดความเสี่ยงได้โดยการป้องกันตัวเองจากโรคหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่ภาวะไตบวมน้ำ คือ ควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ หากพบอาการปวดเอว ปวดหลัง ปัสสาวะปนเลือด ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรืออาการผิดปกติใดๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่ระยะแรก และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ขอบคุณข้อมูลจาก พญ.กานติมา จงจิตอารี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A