
อาการเสี่ยง ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์
ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ คืออะไร?
ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือบางครั้งเรียกว่า ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ หรือภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างและหลั่งฮอร์โมนได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์เอง หรือต่อมใต้สมองที่ไม่สามารถหลั่งฮอร์โมนมากระตุ้นต่อมไทรอยด์ ให้สร้างและผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้ตามปกติ
สาเหตุของภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์
เกิดได้จากหลายสาเหตุแต่ที่พบได้บ่อย ได้แก่ เกิดภายหลังการเป็นไทรอยด์อักเสบบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์อักเสบชนิดฮาชิโมโต (Hashimoto’s thyroiditis), เกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วนหรือตัดต่อมไทรอยด์ทั้งหมด, ภายหลังการได้รับน้ำแร่รังสีไอโอดีนสำหรับรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษ, ภาวะขาดสารไอโอดีน, การได้รับการฉายรังสีรักษาบริเวณศีรษะ ลำคอ และบริเวณฐานสมองในผู้ป่วยมะเร็งบางชนิด, ภายหลังการผ่าตัดก้อนเนื้องอกบริเวณต่อมใต้สมอง เป็นต้น
อาการของภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์
อาการขึ้นกับความรุนแรงของการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ ส่วนมากจะมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ในผู้ป่วยบางรายใช้เวลาหลายเดือนถึงจะแสดงอาการ อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ รู้สึกอ่อนเพลีย ทำงานช้าลง คิดช้า รู้สึกไม่สดชื่น หลงลืมมากขี้น หนาวง่ายมากขึ้น ท้องผูก ผิวแห้ง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นไม่สัมพันธ์กับการรับประทาน ใบหน้าอ้วนบวม ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นช้า ในผู้สูงอายุอาจมีอาการซึมเศร้าได้
การวินิจฉัยภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์
อาการของภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นอาการที่ไม่จำเพาะและมีความคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ ได้ ดังนั้นเมื่อมีอาการอันสงสัยร่วมกับมีประวัติที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อซักประวัติตรวจร่างกาย และจำเป็นต้องส่งตรวจเลือดวัดระดับไทรอยด์ฮอร์โมนเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค
การรักษาภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์
ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาไทรอยด์ฮอร์โมนหรือยาเลโวไทรอกซิน (levothyroxine) ซึ่งเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูงถ้าให้ในขนาดที่เหมาะสม การรักษาจำเป็นต้องปรับขนาดยาตามผลการตรวจเลือดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย ดังนั้นแพทย์ผู้รักษาจะนัดติดตามอาการและนัดตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ ในระยะแรกจะนัดติดตามทุก 1 - 2 เดือน เมื่ออาการดีขึ้นหรืออาการคงที่แพทย์จะนัดติดตามห่างขึ้นเป็นทุก 3 - 6 เดือนตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย
ความสำคัญของการรับประทานยาฮอร์โมนไทรอยด์หรือยาเลโวไทรอกซิน คือ การรับประทานยาให้สม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่หยุดยาเองและรับประทานให้ถูกวิธี เนื่องจากอาหารจะขัดขวางการดูดซึมยาฮอร์โมนไทรอยด์ ดังนั้นแนะนำให้รับประทานยาตอนท้องว่าง เช่น รับประทานยาก่อนอาหารเช้าอย่างน้อย 60 นาที หรือช่วงเวลาก่อนนอนอย่างน้อย 4 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารเย็น เป็นต้น และหลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่มีผลรบกวนการดูดซึม ได้แก่ ยาที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก (เช่น ยาบำรุงเลือด) ยาลดกรด ยาแคลเซียมชนิดเม็ด และหลีกเลี่ยงการรับประทานคู่กับอาหารที่มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบ เช่น นมชนิดต่างๆ ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาหรือรับประทานอาหารที่มีผลรบกวนการดูดซึมให้รับประทานยาหรืออาหารดังกล่าวห่างจากรับประทานฮอร์โมนเลโวไทรอกซินอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
ตรวจบทความโดย: นพ.ณัฐพงศ์ เลาห์ทวีรุ่งเรื่อง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D
ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ คืออะไร?
ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือบางครั้งเรียกว่า ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ หรือภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างและหลั่งฮอร์โมนได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์เอง หรือต่อมใต้สมองที่ไม่สามารถหลั่งฮอร์โมนมากระตุ้นต่อมไทรอยด์ ให้สร้างและผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้ตามปกติ
สาเหตุของภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์
เกิดได้จากหลายสาเหตุแต่ที่พบได้บ่อย ได้แก่ เกิดภายหลังการเป็นไทรอยด์อักเสบบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์อักเสบชนิดฮาชิโมโต (Hashimoto’s thyroiditis), เกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วนหรือตัดต่อมไทรอยด์ทั้งหมด, ภายหลังการได้รับน้ำแร่รังสีไอโอดีนสำหรับรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษ, ภาวะขาดสารไอโอดีน, การได้รับการฉายรังสีรักษาบริเวณศีรษะ ลำคอ และบริเวณฐานสมองในผู้ป่วยมะเร็งบางชนิด, ภายหลังการผ่าตัดก้อนเนื้องอกบริเวณต่อมใต้สมอง เป็นต้น
อาการของภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์
อาการขึ้นกับความรุนแรงของการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ ส่วนมากจะมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ในผู้ป่วยบางรายใช้เวลาหลายเดือนถึงจะแสดงอาการ อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ รู้สึกอ่อนเพลีย ทำงานช้าลง คิดช้า รู้สึกไม่สดชื่น หลงลืมมากขี้น หนาวง่ายมากขึ้น ท้องผูก ผิวแห้ง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นไม่สัมพันธ์กับการรับประทาน ใบหน้าอ้วนบวม ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นช้า ในผู้สูงอายุอาจมีอาการซึมเศร้าได้
การวินิจฉัยภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์
อาการของภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นอาการที่ไม่จำเพาะและมีความคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ ได้ ดังนั้นเมื่อมีอาการอันสงสัยร่วมกับมีประวัติที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อซักประวัติตรวจร่างกาย และจำเป็นต้องส่งตรวจเลือดวัดระดับไทรอยด์ฮอร์โมนเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค
การรักษาภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์
ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาไทรอยด์ฮอร์โมนหรือยาเลโวไทรอกซิน (levothyroxine) ซึ่งเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูงถ้าให้ในขนาดที่เหมาะสม การรักษาจำเป็นต้องปรับขนาดยาตามผลการตรวจเลือดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย ดังนั้นแพทย์ผู้รักษาจะนัดติดตามอาการและนัดตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ ในระยะแรกจะนัดติดตามทุก 1 - 2 เดือน เมื่ออาการดีขึ้นหรืออาการคงที่แพทย์จะนัดติดตามห่างขึ้นเป็นทุก 3 - 6 เดือนตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย
ความสำคัญของการรับประทานยาฮอร์โมนไทรอยด์หรือยาเลโวไทรอกซิน คือ การรับประทานยาให้สม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่หยุดยาเองและรับประทานให้ถูกวิธี เนื่องจากอาหารจะขัดขวางการดูดซึมยาฮอร์โมนไทรอยด์ ดังนั้นแนะนำให้รับประทานยาตอนท้องว่าง เช่น รับประทานยาก่อนอาหารเช้าอย่างน้อย 60 นาที หรือช่วงเวลาก่อนนอนอย่างน้อย 4 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารเย็น เป็นต้น และหลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่มีผลรบกวนการดูดซึม ได้แก่ ยาที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก (เช่น ยาบำรุงเลือด) ยาลดกรด ยาแคลเซียมชนิดเม็ด และหลีกเลี่ยงการรับประทานคู่กับอาหารที่มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบ เช่น นมชนิดต่างๆ ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาหรือรับประทานอาหารที่มีผลรบกวนการดูดซึมให้รับประทานยาหรืออาหารดังกล่าวห่างจากรับประทานฮอร์โมนเลโวไทรอกซินอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
ตรวจบทความโดย: นพ.ณัฐพงศ์ เลาห์ทวีรุ่งเรื่อง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D