การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัส (Influenza) ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ เชื้อไข้หวัดใหญ่จะอยู่ในน้ำมูก เสมหะของผู้ป่วย ติดต่อทางการหายใจ การไอ จาม รดกัน หรือการสัมผัสกับน้ำมูก เสมหะของผู้ป่วย ทำให้มีอาการใช้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บคอ น้ำมูกไหล คล้ายไข้หวัดธรรมดา แต่อาการรุนแรงกว่าและอาจมีโรคแทรกซ้อน เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ทำให้เสียชีวิตได้สำหรับประเทศไทย โรคไข้หวัดใหญ่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี แต่ในดูฝนมักจะมีผู้ป่วยมากกว่าฤดูอื่น

โรคไข้หวัดใหญ่ สามารถป้องกันได้ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ หลีกเลี่ยงสถานที่ชุมชนหรือพื้นที่แออัด ไม่ไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่ และที่สำคัญป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี

การป้องกันไข้หวัดใหญ่ ทำได้โดย

1. ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลทุกปี โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสียง คือ

  • ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน เป็นต้น
  • ผู้สูงอายุ
  • บุคคลทั่วไปที่ประสงค์จะฉีดเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
  • บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย

2. กรณีผู้ไม่ได้รับวัคซีน สามารถป้องกันตนเองจากโรคไข้หวัดใหญ่ได้โดยยึดหลัก "กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ”

2.1 กลุ่มที่ไม่ควรฉีดวัคชีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่

  • ผู้ที่เคยฉีดวัคชีนไข้หวัดใหญ่แล้วมีอาการแพ้

*** ผู้ที่มีไข้หรือกำลังเจ็บป่วยเฉียบพลัน หรือเพิ่งหายจากการเจ็บป่วยมาไม่เกิน 7 วัน หรือเพิ่งนอนโรงพยาบาลและออกจากโรงพยาบาลในเกิน 14 วัน แนะนำให้เลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อน ***

2.2 กรณีเป็นหวัดเล็กน้อย ไม่มีไข้ สามารถรับการฉีดวัคซีนได้

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ผลิตออกมาจะถูกปรับเปลี่ยนไปตามความคาดการณ์ขององค์การอนามัยโลกว่าสายพันธุ์ไหนจะระบาดในปีนั้น ๆ จึงต้องมีการฉีดเป็นประจำทุกปี ซึ่งการระบาดของประเทศไทยมีตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมของประเทศไทยตามความชุกของผู้ป่วย คือช่วงฤดูฝน เพราะเป็นช่วงที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสูด จึงแนะนำให้ฉีดช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ก่อนเข้าช่วงฤดูฝน และระยะห่างระหว่างแต่ละเข็มไม่น้อยกว่า 6 เดือน

ปัจจุบันมีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดมากกว่ามาตรฐานปกติ 4 เท่า ซึ่งอาจพิจารณาฉีดให้สำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดความแรงสูงนี้ จะช่วยป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น ลดการเกิดปอดอักเสบหรือภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ และช่วยลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากไข้หวัดใหญ่ได้มากกว่า

ผลข้างเคียงของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทั้งวัคซีนขนาดมาตรฐาน และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสูง

1. อาการปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีด เป็นไข้ ปวดเมื่อย ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถหายไปได้เองภายใน 1 - 2 วันหลังฉีดยา อาจใช้ผ้าเย็นประคบบริเวณที่บวมแดงได้ หรือรับประทานยาลดไข้ได้ตามอาการ

2. อาการแพ้วัคซีน พบได้น้อยมาก อาการแพ้ส่วนใหญ่มักจะปรากฏให้เห็นภายใน 2 - 3 นาที ถึงครึ่งชั่วโมงแต่อาจพบได้ถึง 4 ชั่วโมงหลังฉีด โดยอาจมีอาการผื่นลมพิษ ตาบวม ปากบวม หายใจไม่ออก หายใจมีเสียงดัง เวียนศีรษะหน้ามืด เป็นลม หมดสติ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

3. ผลข้างเคียงที่รุนแรงแต่พบได้น้อยมากๆ พบได้ 1 - 2 ราย ต่อฉีดวัคซีน 1 ล้านคน คือทำให้เกิดการอักเสบ  เฉียบพลันของเส้นประสาท  หรือโรคกิลแลง-บาร์เร่ ซินโดรม (Guillain–Barré syndrome) ซึ่งทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงได้ โดยเกิดภายใน 6 สัปดาห์หลังได้รับวัคซีน

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสูงพบว่ามีความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ โดยผลข้างเคียงจากวัคซีนไม่แตกต่างจากการรับวัคซีนในขนาดมาตรฐาน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก พญ.จริยา คุณมงคลวุฒิ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกตรวจสุขภาพ ชั้น 4 โซน E

โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัส (Influenza) ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ เชื้อไข้หวัดใหญ่จะอยู่ในน้ำมูก เสมหะของผู้ป่วย ติดต่อทางการหายใจ การไอ จาม รดกัน หรือการสัมผัสกับน้ำมูก เสมหะของผู้ป่วย ทำให้มีอาการใช้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บคอ น้ำมูกไหล คล้ายไข้หวัดธรรมดา แต่อาการรุนแรงกว่าและอาจมีโรคแทรกซ้อน เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ทำให้เสียชีวิตได้สำหรับประเทศไทย โรคไข้หวัดใหญ่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี แต่ในดูฝนมักจะมีผู้ป่วยมากกว่าฤดูอื่น

โรคไข้หวัดใหญ่ สามารถป้องกันได้ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ หลีกเลี่ยงสถานที่ชุมชนหรือพื้นที่แออัด ไม่ไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่ และที่สำคัญป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี

การป้องกันไข้หวัดใหญ่ ทำได้โดย

1. ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลทุกปี โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสียง คือ

  • ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน เป็นต้น
  • ผู้สูงอายุ
  • บุคคลทั่วไปที่ประสงค์จะฉีดเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
  • บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย

2. กรณีผู้ไม่ได้รับวัคซีน สามารถป้องกันตนเองจากโรคไข้หวัดใหญ่ได้โดยยึดหลัก "กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ”

2.1 กลุ่มที่ไม่ควรฉีดวัคชีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่

  • ผู้ที่เคยฉีดวัคชีนไข้หวัดใหญ่แล้วมีอาการแพ้

*** ผู้ที่มีไข้หรือกำลังเจ็บป่วยเฉียบพลัน หรือเพิ่งหายจากการเจ็บป่วยมาไม่เกิน 7 วัน หรือเพิ่งนอนโรงพยาบาลและออกจากโรงพยาบาลในเกิน 14 วัน แนะนำให้เลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อน ***

2.2 กรณีเป็นหวัดเล็กน้อย ไม่มีไข้ สามารถรับการฉีดวัคซีนได้

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ผลิตออกมาจะถูกปรับเปลี่ยนไปตามความคาดการณ์ขององค์การอนามัยโลกว่าสายพันธุ์ไหนจะระบาดในปีนั้น ๆ จึงต้องมีการฉีดเป็นประจำทุกปี ซึ่งการระบาดของประเทศไทยมีตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมของประเทศไทยตามความชุกของผู้ป่วย คือช่วงฤดูฝน เพราะเป็นช่วงที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสูด จึงแนะนำให้ฉีดช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ก่อนเข้าช่วงฤดูฝน และระยะห่างระหว่างแต่ละเข็มไม่น้อยกว่า 6 เดือน

ปัจจุบันมีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดมากกว่ามาตรฐานปกติ 4 เท่า ซึ่งอาจพิจารณาฉีดให้สำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดความแรงสูงนี้ จะช่วยป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น ลดการเกิดปอดอักเสบหรือภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ และช่วยลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากไข้หวัดใหญ่ได้มากกว่า

ผลข้างเคียงของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทั้งวัคซีนขนาดมาตรฐาน และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสูง

1. อาการปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีด เป็นไข้ ปวดเมื่อย ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถหายไปได้เองภายใน 1 - 2 วันหลังฉีดยา อาจใช้ผ้าเย็นประคบบริเวณที่บวมแดงได้ หรือรับประทานยาลดไข้ได้ตามอาการ

2. อาการแพ้วัคซีน พบได้น้อยมาก อาการแพ้ส่วนใหญ่มักจะปรากฏให้เห็นภายใน 2 - 3 นาที ถึงครึ่งชั่วโมงแต่อาจพบได้ถึง 4 ชั่วโมงหลังฉีด โดยอาจมีอาการผื่นลมพิษ ตาบวม ปากบวม หายใจไม่ออก หายใจมีเสียงดัง เวียนศีรษะหน้ามืด เป็นลม หมดสติ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

3. ผลข้างเคียงที่รุนแรงแต่พบได้น้อยมากๆ พบได้ 1-2 ราย ต่อฉีดวัคซีน 1 ล้านคน คือทำให้เกิดการอักเสบ  เฉียบพลันของเส้นประสาท  หรือโรคกิลแลง-บาร์เร่ ซินโดรม (Guillain–Barré syndrome) ซึ่งทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงได้ โดยเกิดภายใน 6 สัปดาห์หลังได้รับวัคซีน

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสูงพบว่ามีความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ โดยผลข้างเคียงจากวัคซีนไม่แตกต่างจากการรับวัคซีนในขนาดมาตรฐาน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก พญ.จริยา คุณมงคลวุฒิ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกตรวจสุขภาพ ชั้น 4 โซน E

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง