
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ใครควรฉีดและผลข้างเคียง
โรคไข้หวัดใหญ่ สามารถป้องกันได้ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ หลีกเลี่ยงสถานที่ชุมชนหรือพื้นที่แออัด ไม่ไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่ และที่สำคัญป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ผลิตออกมาจะถูกปรับเปลี่ยนไปตามความคาดการณ์ขององค์การอนามัยโลกว่าสายพันธุ์ไหนจะระบาดในปีนั้น ๆ จึงต้องมีการฉีดเป็นประจำทุกปี ซึ่งการระบาดของประเทศไทยมีตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมของประเทศไทยตามความชุกของผู้ป่วย คือช่วงฤดูฝน เพราะเป็นช่วงที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสูด จึงแนะนำให้ฉีดช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ก่อนเข้าช่วงฤดูฝน และระยะห่างระหว่างแต่ละเข็มไม่น้อยกว่า 6 เดือน
ปัจจุบันมีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดมากกว่ามาตรฐานปกติ 4 เท่า ซึ่งอาจพิจารณาฉีดให้สำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดความแรงสูงนี้ จะช่วยป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น ลดการเกิดปอดอักเสบหรือภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ และช่วยลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากไข้หวัดใหญ่ได้มากกว่า
ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทั้งวัคซีนขนาดมาตรฐาน และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสูง
- ปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีด เป็นไข้ ปวดเมื่อย ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถหายไปได้เองภายใน 1 - 2 วันหลังฉีดยา อาจใช้ผ้าเย็นประคบบริเวณที่บวมแดงได้ หรือรับประทานยาแก้ปวดลดไข้ตามอาการ
- อาการแพ้วัคซีน พบได้น้อยมาก อาการแพ้ส่วนใหญ่มักจะปรากฏให้เห็นภายใน 2 - 3 นาที ถึงครึ่งชั่วโมง แต่อาจพบได้ถึง 4 ชั่วโมงหลังฉีด โดยอาจมีอาการผื่นลมพิษ ตาบวม ปากบวม หายใจไม่ออก หายใจมีเสียงดัง เวียนศีรษะหน้ามืด เป็นลม หมดสติ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- ผลข้างเคียงที่รุนแรงแต่พบได้น้อยมาก ๆ พบได้ 1 - 2 ราย ต่อฉีดวัคซีน 1 ล้านคน คือทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลันของเส้นประสาท หรือโรคกิลแลง-บาร์เร่ ซินโดรม (Guillain–Barré syndrome) ซึ่งทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงได้ โดยเกิดภายใน 6 สัปดาห์หลังได้รับวัคซีน
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสูงพบว่ามีความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ โดยผลข้างเคียงจากวัคซีนไม่แตกต่างจากการรับวัคซีนในขนาดมาตรฐาน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก พญ.จริยา คุณมงคลวุฒิ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกตรวจสุขภาพ ชั้น 4 โซน E
โรคไข้หวัดใหญ่ สามารถป้องกันได้ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ หลีกเลี่ยงสถานที่ชุมชนหรือพื้นที่แออัด ไม่ไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่ และที่สำคัญป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ผลิตออกมาจะถูกปรับเปลี่ยนไปตามความคาดการณ์ขององค์การอนามัยโลกว่าสายพันธุ์ไหนจะระบาดในปีนั้น ๆ จึงต้องมีการฉีดเป็นประจำทุกปี ซึ่งการระบาดของประเทศไทยมีตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมของประเทศไทยตามความชุกของผู้ป่วย คือช่วงฤดูฝน เพราะเป็นช่วงที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสูด จึงแนะนำให้ฉีดช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ก่อนเข้าช่วงฤดูฝน และระยะห่างระหว่างแต่ละเข็มไม่น้อยกว่า 6 เดือน
ปัจจุบันมีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดมากกว่ามาตรฐานปกติ 4 เท่า ซึ่งอาจพิจารณาฉีดให้สำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดความแรงสูงนี้ จะช่วยป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น ลดการเกิดปอดอักเสบหรือภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ และช่วยลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากไข้หวัดใหญ่ได้มากกว่า
ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทั้งวัคซีนขนาดมาตรฐาน และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสูง
- ปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีด เป็นไข้ ปวดเมื่อย ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถหายไปได้เองภายใน 1 - 2 วันหลังฉีดยา อาจใช้ผ้าเย็นประคบบริเวณที่บวมแดงได้ หรือรับประทานยาแก้ปวดลดไข้ตามอาการ
- อาการแพ้วัคซีน พบได้น้อยมาก อาการแพ้ส่วนใหญ่มักจะปรากฏให้เห็นภายใน 2 - 3 นาที ถึงครึ่งชั่วโมง แต่อาจพบได้ถึง 4 ชั่วโมงหลังฉีด โดยอาจมีอาการผื่นลมพิษ ตาบวม ปากบวม หายใจไม่ออก หายใจมีเสียงดัง เวียนศีรษะหน้ามืด เป็นลม หมดสติ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- ผลข้างเคียงที่รุนแรงแต่พบได้น้อยมาก ๆ พบได้ 1 - 2 ราย ต่อฉีดวัคซีน 1 ล้านคน คือทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลันของเส้นประสาท หรือโรคกิลแลง-บาร์เร่ ซินโดรม (Guillain–Barré syndrome) ซึ่งทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงได้ โดยเกิดภายใน 6 สัปดาห์หลังได้รับวัคซีน
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสูงพบว่ามีความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ โดยผลข้างเคียงจากวัคซีนไม่แตกต่างจากการรับวัคซีนในขนาดมาตรฐาน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก พญ.จริยา คุณมงคลวุฒิ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกตรวจสุขภาพ ชั้น 4 โซน E