มะเร็งไต รู้ไว รักษาได้!!
ไตเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ หน้าที่หลัก คือ การกำจัดของเสียออกจากร่างกายผ่านทางระบบปัสสาวะ ควบคุมสมดุลน้ำในร่างกาย และผลิตฮอร์โมนที่จำเป็น ซึ่งหากเกิดความผิดปกติขึ้นกับไต ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายตามไปด้วย โดยโรคเกี่ยวกับไตที่เรามักจะพบบ่อย ๆ ได้แก่ ไตเรื้อรัง ไตวายเฉียบพลัน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม โรคไตที่เกี่ยวข้องกับระบบปัสสาวะ ถือได้ว่ามีความสำคัญ และไม่ควรละเลย คือ โรคมะเร็งไต
มะเร็งไต คืออะไร?
มะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติเกิดเป็นก้อนเนื้อที่มีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง ซึ่งเราเรียกชื่อมะเร็งตามอวัยวะของร่างกายที่มะเร็งเกิดขึ้น เช่น มะเร็งตับ มะเร็งสมอง มะเร็งปอด เมื่อก้อนมะเร็งเกิดขึ้นที่ไต เราจึงเรียกว่า “มะเร็งไต” ซึ่งมะเร็งไต จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ มะเร็งเนื้อไตและมะเร็งกรวยไต
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งไต
แม้โรคมะเร็งไตจะพบได้ไม่บ่อยเท่ามะเร็งชนิดอื่น ๆ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ โดยปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งไต ได้แก่ การสูบบุหรี่ โรคประจำตัว ได้แก่ โรคอ้วน โรคความดันเลือดสูง หรือโรคทางพันธุกรรมบางชนิด ผู้ที่ทำงานกับสารเคมี โดยจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
อาการเป็นอย่างไร?
อาการของโรคมะเร็งไต มักไม่แสดงอาการเด่นชัด ทำให้ผู้ที่เป็นมะเร็งไตจะไม่ทราบว่าตนเองเป็น โดยส่วนมากผู้ป่วยจะบังเอิญตรวจเจอจากการตรวจสุขภาพประจำปี อาการของมะเร็งไต สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท
- อาการที่เกิดขึ้นในมะเร็งที่เกิดจากเนื้อไต ในระยะแรกๆ จะไม่มีอาการ จึงมักจะตรวจพบได้จากการตรวจสุขภาพประจำปี เช่น การตรวจอัลตร้าซาวด์ ช่องท้อง แต่หากก้อนมะเร็งเริ่มขยายใหญ่ มักจะมีอาการ โดยผู้ป่วยสามารถคลำเจอก้อนเนื้อ หรือมีอาการปวด โดยอาการปวดมักเป็นบริเวณเอว หรือท้องบริเวณใต้ชายโครงด้านใดด้านหนึ่ง บางรายอาจมีปัสสาวะเป็นเลือดร่วมด้วย
- อาการที่เกิดขึ้นในมะเร็งที่เกิดจากกรวยไต มักจะมีปัสสาวะเป็นเลือด โดยสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือตรวจเจอเม็ดเลือดแดงในน้ำปัสสาวะจากการส่งตรวจน้ำปัสสาวะทางห้องปฏิบัติการ
การรักษาทำได้อย่างไรบ้าง?
- การผ่าตัด ถือได้ว่าเป็นการรักษาหลัก
- การฉายรังสี เป็นการบรรเทาอาการ แต่ไม่ใช่การรักษาหลัก
- การให้ยาเพื่อมีผลทั่วร่างกาย เช่น การให้ยาเคมีบำบัด, การให้ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน และการให้เฉพาะเจาะจงมุ่งเป้า โดยการให้ยามักจะให้ในกรณีทีมีเซลล์มะเร็งกระจายไปที่ระยะอื่นแล้ว หรือให้ร่วมกับการรักษาด้วยการผ่าตัด
**อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยได้รับการรักษาแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องมาพบแพทย์ เพื่อตรวจติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง
วิธีป้องกัน
แนะนำเหมือนมะเร็งชนิดอื่น ๆ คือ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเช่น การสูบบุหรี่ ดูแลรักษาสุขภาพ ไม่ให้เกิดโรคประจำตัว และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ร่วมกับหมั่นตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อมูลจาก : อ.นพ. ศิรส จิตประไพ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A
ไตเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ หน้าที่หลัก คือ การกำจัดของเสียออกจากร่างกายผ่านทางระบบปัสสาวะ ควบคุมสมดุลน้ำในร่างกาย และผลิตฮอร์โมนที่จำเป็น ซึ่งหากเกิดความผิดปกติขึ้นกับไต ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายตามไปด้วย โดยโรคเกี่ยวกับไตที่เรามักจะพบบ่อย ๆ ได้แก่ ไตเรื้อรัง ไตวายเฉียบพลัน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม โรคไตที่เกี่ยวข้องกับระบบปัสสาวะ ถือได้ว่ามีความสำคัญ และไม่ควรละเลย คือ โรคมะเร็งไต
มะเร็งไต คืออะไร?
มะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติเกิดเป็นก้อนเนื้อที่มีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง ซึ่งเราเรียกชื่อมะเร็งตามอวัยวะของร่างกายที่มะเร็งเกิดขึ้น เช่น มะเร็งตับ มะเร็งสมอง มะเร็งปอด เมื่อก้อนมะเร็งเกิดขึ้นที่ไต เราจึงเรียกว่า “มะเร็งไต” ซึ่งมะเร็งไต จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ มะเร็งเนื้อไตและมะเร็งกรวยไต
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งไต
แม้โรคมะเร็งไตจะพบได้ไม่บ่อยเท่ามะเร็งชนิดอื่น ๆ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ โดยปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งไต ได้แก่ การสูบบุหรี่ โรคประจำตัว ได้แก่ โรคอ้วน โรคความดันเลือดสูง หรือโรคทางพันธุกรรมบางชนิด ผู้ที่ทำงานกับสารเคมี โดยจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
อาการเป็นอย่างไร?
อาการของโรคมะเร็งไต มักไม่แสดงอาการเด่นชัด ทำให้ผู้ที่เป็นมะเร็งไตจะไม่ทราบว่าตนเองเป็น โดยส่วนมากผู้ป่วยจะบังเอิญตรวจเจอจากการตรวจสุขภาพประจำปี อาการของมะเร็งไต สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท
- อาการที่เกิดขึ้นในมะเร็งที่เกิดจากเนื้อไต ในระยะแรกๆ จะไม่มีอาการ จึงมักจะตรวจพบได้จากการตรวจสุขภาพประจำปี เช่น การตรวจอัลตร้าซาวด์ ช่องท้อง แต่หากก้อนมะเร็งเริ่มขยายใหญ่ มักจะมีอาการ โดยผู้ป่วยสามารถคลำเจอก้อนเนื้อ หรือมีอาการปวด โดยอาการปวดมักเป็นบริเวณเอว หรือท้องบริเวณใต้ชายโครงด้านใดด้านหนึ่ง บางรายอาจมีปัสสาวะเป็นเลือดร่วมด้วย
- อาการที่เกิดขึ้นในมะเร็งที่เกิดจากกรวยไต มักจะมีปัสสาวะเป็นเลือด โดยสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือตรวจเจอเม็ดเลือดแดงในน้ำปัสสาวะจากการส่งตรวจน้ำปัสสาวะทางห้องปฏิบัติการ
การรักษาทำได้อย่างไรบ้าง?
- การผ่าตัด ถือได้ว่าเป็นการรักษาหลัก
- การฉายรังสี เป็นการบรรเทาอาการ แต่ไม่ใช่การรักษาหลัก
- การให้ยาเพื่อมีผลทั่วร่างกาย เช่น การให้ยาเคมีบำบัด, การให้ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน และการให้เฉพาะเจาะจงมุ่งเป้า โดยการให้ยามักจะให้ในกรณีทีมีเซลล์มะเร็งกระจายไปที่ระยะอื่นแล้ว หรือให้ร่วมกับการรักษาด้วยการผ่าตัด
**อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยได้รับการรักษาแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องมาพบแพทย์ เพื่อตรวจติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง
วิธีป้องกัน
แนะนำเหมือนมะเร็งชนิดอื่น ๆ คือ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเช่น การสูบบุหรี่ ดูแลรักษาสุขภาพ ไม่ให้เกิดโรคประจำตัว และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ร่วมกับหมั่นตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อมูลจาก : อ.นพ. ศิรส จิตประไพ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A