ปวดหลัง ปวดเอวเรื้อรัง ระวังนิ่วในไตมาเยือน

  นิ่วในระบบปัสสาวะ เกิดจากการตกตะกอนของสารในปัสสาวะ ในภาวะปกติสารเหล่านี้จะละลายไม่จับตัวกันเป็นนิ่ว แต่ในผู้ป่วยโรคนิ่วจะมีภาวะที่ทำให้เกิดการตกตะกอนของสารละลายต่าง ๆ ง่ายกว่าปกติ จนจับตัวเป็นก้อน และปรากฏเป็นนิ่วในที่สุด นิ่วในระบบปัสสาวะเกิดได้หลายตำแหน่ง คือ ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ที่พบได้บ่อยที่สุดคือนิ่วในไต

อาการ

   นิ่วในไตหากมีขนาดใหญ่ อาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดเอวเรื้อรัง มีการติดเชื้อในระบบปัสสาวะ และทำให้ไตสูญเสียการทำงานจนเกิดภาวะไตวายได้ ส่วนนิ่วในไตที่มีขนาดเล็กมักไม่แสดงอาการ อาจเจอได้ด้วยความบังเอิญหรือจากการตรวจร่างกายประจำปี แต่นิ่วในไตที่มีขนาดเล็กหากไหลออกมาตามน้ำปัสสาวะแล้วมาค้างบริเวณท่อไต จะทำให้เกิดการอุดกั้น ไตบวม และเกิดอาการปวดแบบเฉียบพลันจนผู้ป่วยต้องมาโรงพยาบาลฉุกเฉินได้

ใครเสี่ยงเป็นโรคนิ่วในไต?

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ่วในไต คือ ผู้ที่มีสารละลายต่าง ๆ ในปัสสาวะมากผิดปกติ มีความเป็นกรดด่างในปัสสาวะที่เปลี่ยนไปหรือมีสารป้องกันนิ่วลดลง ได้แก่

  • ที่มีโรคทางกรรมพันธุ์หรือมีประวัติครอบครัวเป็นนิ่วซีสทีน (cystine)
  • มีภาวะอ้วนและน้ำหนักตัวที่มาก
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่เป็นโรคไต
  • ผู้ที่มีภาวะยูริกในปัสสาวะสูง เช่น กรรมพันธุ์ ผู้ป่วยโรคเลือด ได้รับยาขับยูริก
  • ยาบางชนิด เช่น วิตามินซีในขนาดสูง ยาลดความดันบางชนิด ยาสเตียรอยด์ (steroids)
  • ผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดในระบบปัสสาวะ
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนควบคุมแคลเซียม
  • ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของการย่อยอาหารและผู้ที่เคยตัดต่อลำไส้บางชนิด

นอกจากนี้พฤติกรรมบางอย่างยังเพิ่มความเสี่ยงการเป็นนิ่ว แม้จะไม่มีประวัติเสี่ยงอื่นมาก่อน คือ ดื่มน้ำในปริมาณน้อย ซึ่งจะทำให้สารในปัสสาวะมีความเข้มข้นสูง และการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมหรือโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในปริมาณมาก

นิ่วในไตรักษาได้อย่างไร?

   การรักษานิ่วในไตในปัจจุบันมีหลายวิธี ทั้งนี้ควรได้รับคำแนะนำและการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ วิธีการรักษาขึ้นกับขนาดและตำแหน่งของนิ่วดังนี้

1. เฝ้าติดตามอาการ

ใช้กับนิ่วในไตที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ซม. ที่ผู้ป่วยยังไม่ต้องการกำจัดนิ่วออก การติดตามทำโดยภาพทางรังสีวิทยา เช่น อัลตร้าซาวด์หรือเอกซเรย์ หากพบว่านิ่วมีขนาดใหญ่ขึ้น ควรกำจัดนิ่วออกด้วยวิธีอื่น ๆ

2. สลายนิ่วด้วยคลื่อนกระแทกจากภายนอก (ESWL)

เป็นการใช้คลื่นกระแทกสลายนิ่วจากภายนอกร่างกาย เพื่อให้นิ่วมีขนาดเล็กลงจนสามารถหลุดออกมาได้เอง เป็นวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด ผู้ป่วยไม่แผลเป็นภายนอก อย่างไรก็ตาม วิธีนี้มีอัตราความสำเร็จในการกำจัดนิ่วไม่สูงนัก

3. ส่องด้วยกล้องขนาดเล็กผ่านท่อไต (URS)

เป็นการรักษาโดยการใช้กล้องขนาดเล็กสอดผ่านท่อไต เพื่อไปสลายนิ่วในไตด้วยเลเซอร์โดยตรง มีอัตราความสำเร็จสูงในนิ่วที่มีขนาด 1-2 ซม. เป็นการผ่าตัดที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน เนื่องจากไม่มีแผลภายนอกร่างกายและใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน

4. ส่องกล้องเพื่อสลายนิ่วผ่านแผลที่เจาะทางผิวหนัง (PCNL)

เป็นการรักษาโดยการส่องกล้องที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เข้าไปในไตผ่านทางแผลขนาดเล็กบริเวณผิวหนัง เพื่อนำอุปกรณ์ที่ใช้ในการสลายนิ่วเข้าสู่ไตโดยตรง เนื่องจากอุปกรณ์สลายนิ่วมีขนาดใหญ่กว่าการส่องด้วยกล้องขนาดเล็กผ่านท่อไต จึงสามารถกำจัดนิ่วได้อย่างรวดเร็ว มีอัตราความสำเร็จสูงในนิ่วที่มีขนาดใหญ่มากกว่า 2 ซม.

5. ผ่าตัดแบบเปิด

เป็นการผ่าตัดเปิดไตและนำนิ่วออกโดยตรง การรักษาในวิธีนี้ผู้ป่วยจะมีแผลผ่าตัดขนาดใหญ่และใช้เวลาในการพักฟื้นนานกว่าวิธีอื่น จึงได้รับความนิยมลดลงในปัจจุบัน

ป้องกันอย่างไรไม่ให้นิ่วถามหา?

   การป้องกันการเกิดนิ่วเป็นสิ่งที่สำคัญ สามารถทำได้โดยทั่วไปคือ การดื่มน้ำอย่างเพียงพอในแต่ละวัน เพื่อลดความเข้มข้นของสารละลายในน้ำปัสสาวะ ลดปริมาณการบริโภคโซเดียม เลือกการรับประทานโปรตีนจากพืชแทนเนื้อสัตว์

   ในผู้ป่วยที่เคยเป็นนิ่วแล้ว การป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำต้องแก้ไขที่สาเหตุของการเกิดนิ่วเป็นรายบุคคล การรับประทานยาเพื่อป้องกันนิ่วนั้น ต้องขึ้นกับชนิดของนิ่วและความผิดปกติของปัสสาวะที่ตรวจพบ ซึ่งการเก็บตัวอย่างนิ่วและปัสสาวะ ควรได้รับคำแนะนำและการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญในระบบปัสสาวะต่อไป

ข้อมูลจาก : พญ. กานติมา จงจิตอารี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A

  นิ่วในระบบปัสสาวะ เกิดจากการตกตะกอนของสารในปัสสาวะ ในภาวะปกติสารเหล่านี้จะละลายไม่จับตัวกันเป็นนิ่ว แต่ในผู้ป่วยโรคนิ่วจะมีภาวะที่ทำให้เกิดการตกตะกอนของสารละลายต่าง ๆ ง่ายกว่าปกติ จนจับตัวเป็นก้อน และปรากฏเป็นนิ่วในที่สุด นิ่วในระบบปัสสาวะเกิดได้หลายตำแหน่ง คือ ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ที่พบได้บ่อยที่สุดคือนิ่วในไต

อาการ

   นิ่วในไตหากมีขนาดใหญ่ อาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดเอวเรื้อรัง มีการติดเชื้อในระบบปัสสาวะ และทำให้ไตสูญเสียการทำงานจนเกิดภาวะไตวายได้ ส่วนนิ่วในไตที่มีขนาดเล็กมักไม่แสดงอาการ อาจเจอได้ด้วยความบังเอิญหรือจากการตรวจร่างกายประจำปี แต่นิ่วในไตที่มีขนาดเล็กหากไหลออกมาตามน้ำปัสสาวะแล้วมาค้างบริเวณท่อไต จะทำให้เกิดการอุดกั้น ไตบวม และเกิดอาการปวดแบบเฉียบพลันจนผู้ป่วยต้องมาโรงพยาบาลฉุกเฉินได้

ใครเสี่ยงเป็นโรคนิ่วในไต?

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ่วในไต คือ ผู้ที่มีสารละลายต่าง ๆ ในปัสสาวะมากผิดปกติ มีความเป็นกรดด่างในปัสสาวะที่เปลี่ยนไปหรือมีสารป้องกันนิ่วลดลง ได้แก่

  • ที่มีโรคทางกรรมพันธุ์หรือมีประวัติครอบครัวเป็นนิ่วซีสทีน (cystine)
  • มีภาวะอ้วนและน้ำหนักตัวที่มาก
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่เป็นโรคไต
  • ผู้ที่มีภาวะยูริกในปัสสาวะสูง เช่น กรรมพันธุ์ ผู้ป่วยโรคเลือด ได้รับยาขับยูริก
  • ยาบางชนิด เช่น วิตามินซีในขนาดสูง ยาลดความดันบางชนิด ยาสเตียรอยด์ (steroids)
  • ผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดในระบบปัสสาวะ
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนควบคุมแคลเซียม
  • ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของการย่อยอาหารและผู้ที่เคยตัดต่อลำไส้บางชนิด

นอกจากนี้พฤติกรรมบางอย่างยังเพิ่มความเสี่ยงการเป็นนิ่ว แม้จะไม่มีประวัติเสี่ยงอื่นมาก่อน คือ ดื่มน้ำในปริมาณน้อย ซึ่งจะทำให้สารในปัสสาวะมีความเข้มข้นสูง และการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมหรือโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในปริมาณมาก

นิ่วในไตรักษาได้อย่างไร?

   การรักษานิ่วในไตในปัจจุบันมีหลายวิธี ทั้งนี้ควรได้รับคำแนะนำและการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ วิธีการรักษาขึ้นกับขนาดและตำแหน่งของนิ่วดังนี้

1. เฝ้าติดตามอาการ

ใช้กับนิ่วในไตที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ซม. ที่ผู้ป่วยยังไม่ต้องการกำจัดนิ่วออก การติดตามทำโดยภาพทางรังสีวิทยา เช่น อัลตร้าซาวด์หรือเอกซเรย์ หากพบว่านิ่วมีขนาดใหญ่ขึ้น ควรกำจัดนิ่วออกด้วยวิธีอื่น ๆ

2. สลายนิ่วด้วยคลื่อนกระแทกจากภายนอก (ESWL)

เป็นการใช้คลื่นกระแทกสลายนิ่วจากภายนอกร่างกาย เพื่อให้นิ่วมีขนาดเล็กลงจนสามารถหลุดออกมาได้เอง เป็นวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด ผู้ป่วยไม่แผลเป็นภายนอก อย่างไรก็ตาม วิธีนี้มีอัตราความสำเร็จในการกำจัดนิ่วไม่สูงนัก

3. ส่องด้วยกล้องขนาดเล็กผ่านท่อไต (URS)

เป็นการรักษาโดยการใช้กล้องขนาดเล็กสอดผ่านท่อไต เพื่อไปสลายนิ่วในไตด้วยเลเซอร์โดยตรง มีอัตราความสำเร็จสูงในนิ่วที่มีขนาด 1-2 ซม. เป็นการผ่าตัดที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน เนื่องจากไม่มีแผลภายนอกร่างกายและใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน

4. ส่องกล้องเพื่อสลายนิ่วผ่านแผลที่เจาะทางผิวหนัง (PCNL)

เป็นการรักษาโดยการส่องกล้องที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เข้าไปในไตผ่านทางแผลขนาดเล็กบริเวณผิวหนัง เพื่อนำอุปกรณ์ที่ใช้ในการสลายนิ่วเข้าสู่ไตโดยตรง เนื่องจากอุปกรณ์สลายนิ่วมีขนาดใหญ่กว่าการส่องด้วยกล้องขนาดเล็กผ่านท่อไต จึงสามารถกำจัดนิ่วได้อย่างรวดเร็ว มีอัตราความสำเร็จสูงในนิ่วที่มีขนาดใหญ่มากกว่า 2 ซม.

5. ผ่าตัดแบบเปิด

เป็นการผ่าตัดเปิดไตและนำนิ่วออกโดยตรง การรักษาในวิธีนี้ผู้ป่วยจะมีแผลผ่าตัดขนาดใหญ่และใช้เวลาในการพักฟื้นนานกว่าวิธีอื่น จึงได้รับความนิยมลดลงในปัจจุบัน

ป้องกันอย่างไรไม่ให้นิ่วถามหา?

   การป้องกันการเกิดนิ่วเป็นสิ่งที่สำคัญ สามารถทำได้โดยทั่วไปคือ การดื่มน้ำอย่างเพียงพอในแต่ละวัน เพื่อลดความเข้มข้นของสารละลายในน้ำปัสสาวะ ลดปริมาณการบริโภคโซเดียม เลือกการรับประทานโปรตีนจากพืชแทนเนื้อสัตว์

   ในผู้ป่วยที่เคยเป็นนิ่วแล้ว การป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำต้องแก้ไขที่สาเหตุของการเกิดนิ่วเป็นรายบุคคล การรับประทานยาเพื่อป้องกันนิ่วนั้น ต้องขึ้นกับชนิดของนิ่วและความผิดปกติของปัสสาวะที่ตรวจพบ ซึ่งการเก็บตัวอย่างนิ่วและปัสสาวะ ควรได้รับคำแนะนำและการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญในระบบปัสสาวะต่อไป

ข้อมูลจาก : พญ. กานติมา จงจิตอารี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง