ฝ้า กระ ปัญหาผิวจากแสงแดด
รังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดดเป็นตัวกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน ส่งผลให้ผิวคล้ำขึ้นและเกิด ฝ้า กระ ได้ นอกจากนี้การโดนแสงแดดสะสมเป็นเวลานานโดยไม่มีการป้องกันอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง หากป้องกันและดูแลผิวพรรณโดยหลีกเลี่ยงแสงแดดและใช้ครีมกันแดดสม่ำเสมอ จะช่วยลดปัจจัยที่ทำให้เกิดฝ้ากระและมะเร็งผิวหนังได้
สาเหตุของการเกิดฝ้า กระ
- ฝ้า มีลักษณะเป็นปื้น มักเกิดขึ้นบริเวณหน้า โดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดด เช่น โหนกแก้ม หน้าผาก คาง ไรหนวด สาเหตุเกิดจาก แสงแดด พันธุกรรม และการได้รับฮอร์โมนบางชนิดโดยเฉพาะฮอร์โมนเพศหญิง เช่น ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิด ฉีดยาคุมกำเนิด หรือภาวะตั้งครรภ์ นอกจากนี้ แสงที่ตามองเห็น (visible light) ก็อาจเป็นสาเหตุของการเกิดฝ้าในคนที่ผิวเข้มได้
- กระ มีหลายชนิด ได้แก่ กระแดด กระตื้น กระลึก และกระเนื้อเป็นต้น
- กระแดด มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล ขอบชัด ขนาด 0.3-2 เซนติเมตร มักเกิดบริเวณที่ถูกแสงแดด พบได้ในวัยกลางคนถึงสูงอายุ
- กระตื้น (Freckles) มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลอ่อน ขนาดเล็ก มักเกิดบริเวณผิวที่ถูกแสงแดด พบได้ในคนผิวขาว ตั้งแต่อายุน้อย
- กระลึก มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเทา ขนาดเล็กที่โหนกแก้ม 2 ข้าง มักพบในคนเอเชีย
- กระเนื้อ เป็นตุ่มนูน สีน้ำตาล ดำ พบได้บ่อยในคนสูงวัย และผู้ที่ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้ง
การรักษาฝ้า กระ
- ยังไม่มีวิธีการรักษาฝ้าให้หายขาด และฝ้าสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีกหลังหยุดการรักษา สิ่งสำคัญในการรักษาฝ้า คือ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดฝ้า ได้แก่ การหลีกเลี่ยงแสงแดด และทาครีมกันแดดเป็นประจำ รวมถึงงดการรับประทานยาคุมกำเนิด หรือฮอร์โมน
- การรักษาด้วยยาทา ประเภทไวท์เทนนิ่ง ช่วยให้ฝ้าจางลงได้
- การรับประทานยา ช่วยให้ฝ้าจางลงได้แต่ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง
- การรักษาอื่นๆ ที่ใช้ร่วมกับยาทา ได้แก่ การผลัดเซลล์ผิว (Chemical peeling) และเลเซอร์
กระ
- ยาทา สามารถทำให้กระแดดและกระตื้นจางลงได้เล็กน้อย แต่ไม่สามารถรักษากระให้หายได้ 100%
- กระ จึงควรรักษาด้วยการทำเลเซอร์ เช่น Picosecond Laser , Q- Switched Laser หรือ Carbon dioxide laser ตามแต่ละชนิดของกระ
- การรักษาอื่นๆ ได้แก่ การผลัดเซลล์ผิว (Chemical peeling)
- หลังการรักษาควรหลีกเลี่ยงแสงแดดเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ
การป้องกันฝ้า กระ
1. ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดให้ได้มากที่สุด สวมหมวกหรือกางร่มเพื่อป้องกันแดด เนื่องจากการใช้ครีมกันแดดอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ
2. ควรเลือกครีมกันแดดที่ป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB โดยมีค่า SPF 50+ ขึ้นไป ปริมาณครีมกันแดดที่เหมาะสมคือ บีบครีมให้ยาวประมาณ 2 ข้อนิ้วมือ แต่หากเป็นกันแดดชนิดน้ำหรือโลชั่นควรบีบขนาดประมาณ 1-2 เหรียญ 10 บาท
3. หากจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2 ชั่วโมง
บทความโดย พญ.อารยา มานะผจญ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โชน A
บทความที่เกี่ยวข้อง
รังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดดเป็นตัวกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน ส่งผลให้ผิวคล้ำขึ้นและเกิด ฝ้า กระ ได้ นอกจากนี้การโดนแสงแดดสะสมเป็นเวลานานโดยไม่มีการป้องกันอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง หากป้องกันและดูแลผิวพรรณโดยหลีกเลี่ยงแสงแดดและใช้ครีมกันแดดสม่ำเสมอ จะช่วยลดปัจจัยที่ทำให้เกิดฝ้ากระและมะเร็งผิวหนังได้
สาเหตุของการเกิดฝ้า กระ
- ฝ้า มีลักษณะเป็นปื้น มักเกิดขึ้นบริเวณหน้า โดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดด เช่น โหนกแก้ม หน้าผาก คาง ไรหนวด สาเหตุเกิดจาก แสงแดด พันธุกรรม และการได้รับฮอร์โมนบางชนิดโดยเฉพาะฮอร์โมนเพศหญิง เช่น ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิด ฉีดยาคุมกำเนิด หรือภาวะตั้งครรภ์ นอกจากนี้ แสงที่ตามองเห็น (visible light) ก็อาจเป็นสาเหตุของการเกิดฝ้าในคนที่ผิวเข้มได้
- กระ มีหลายชนิด ได้แก่ กระแดด กระตื้น กระลึก และกระเนื้อเป็นต้น
- กระแดด มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล ขอบชัด ขนาด 0.3-2 เซนติเมตร มักเกิดบริเวณที่ถูกแสงแดด พบได้ในวัยกลางคนถึงสูงอายุ
- กระตื้น (Freckles) มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลอ่อน ขนาดเล็ก มักเกิดบริเวณผิวที่ถูกแสงแดด พบได้ในคนผิวขาว ตั้งแต่อายุน้อย
- กระลึก มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเทา ขนาดเล็กที่โหนกแก้ม 2 ข้าง มักพบในคนเอเชีย
- กระเนื้อ เป็นตุ่มนูน สีน้ำตาล ดำ พบได้บ่อยในคนสูงวัย และผู้ที่ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้ง
การรักษาฝ้า กระ
- ยังไม่มีวิธีการรักษาฝ้าให้หายขาด และฝ้าสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีกหลังหยุดการรักษา สิ่งสำคัญในการรักษาฝ้า คือ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดฝ้า ได้แก่ การหลีกเลี่ยงแสงแดด และทาครีมกันแดดเป็นประจำ รวมถึงงดการรับประทานยาคุมกำเนิด หรือฮอร์โมน
- การรักษาด้วยยาทา ประเภทไวท์เทนนิ่ง ช่วยให้ฝ้าจางลงได้
- การรับประทานยา ช่วยให้ฝ้าจางลงได้แต่ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง
- การรักษาอื่นๆ ที่ใช้ร่วมกับยาทา ได้แก่ การผลัดเซลล์ผิว (Chemical peeling) และเลเซอร์
กระ
- ยาทา สามารถทำให้กระแดดและกระตื้นจางลงได้เล็กน้อย แต่ไม่สามารถรักษากระให้หายได้ 100%
- กระ จึงควรรักษาด้วยการทำเลเซอร์ เช่น Picosecond Laser , Q- Switched Laser หรือ Carbon dioxide laser ตามแต่ละชนิดของกระ
- การรักษาอื่นๆ ได้แก่ การผลัดเซลล์ผิว (Chemical peeling)
- หลังการรักษาควรหลีกเลี่ยงแสงแดดเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ
การป้องกันฝ้า กระ
1. ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดให้ได้มากที่สุด สวมหมวกหรือกางร่มเพื่อป้องกันแดด เนื่องจากการใช้ครีมกันแดดอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ
2. ควรเลือกครีมกันแดดที่ป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB โดยมีค่า SPF 50+ ขึ้นไป ปริมาณครีมกันแดดที่เหมาะสมคือ บีบครีมให้ยาวประมาณ 2 ข้อนิ้วมือ แต่หากเป็นกันแดดชนิดน้ำหรือโลชั่นควรบีบขนาดประมาณ 1-2 เหรียญ 10 บาท
3. หากจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2 ชั่วโมง
บทความโดย พญ.อารยา มานะผจญ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โชน A
บทความที่เกี่ยวข้อง