เมลาโทนิน (Melatonin) ช่วยให้นอนหลับได้จริงหรือ?

     ในยุคที่การนอนหลับเป็นเรื่องที่ยากขึ้นด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น ความเครียดหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ทำให้หลายคนเริ่มหาแนวทางการนอนหลับที่มีคุณภาพมากขึ้น และทุกคนคงเคยได้ยินผลิตภัณฑ์ที่ชื่อเมลาโทนิน (melatonin) ซึ่งเป็นยารักษาผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับ

เมลาโทนิน (melatonin) คืออะไร?

     เมลาโทนินคือฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้น โดยจะหลั่งสารนี้ออกมาจากสมองในช่วงพระอาทิตย์ตกดิน ซึ่งมีการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินสูงสุดในเวลากลางคืน ทำให้รู้สึกง่วงนอน เป็นกลไกการทำงานของร่างกายที่บ่งบอกว่าถึงเวลานอนหลับได้แล้ว

เมลาโทนินช่วยให้นอนหลับได้อย่างไร?

     ทางการแพทย์นำเมลาโทนินที่สังเคราะห์ขึ้นมาช่วยในการรักษาสมดุลการนอน เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการนอน เช่น นอนดึก นอนไม่หลับ นอนหลับยาก ช่วยในเรื่องของการนอนหลับผิดเวลาจากการทำงานเป็นกะ Jet lag จากการเดินทางข้ามประเทศ หรือผู้มีปัญหาร่างกายผลิตฮอร์โมนเมลาโทนินตามธรรมชาติได้ไม่ดีเท่าที่ควร ช่วยให้รู้สึกง่วงนอน แก้ไขปัญหาการนอนหลับที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากสภาวะทางจิต

 

 

เมลาโทนินมีรูปแบบใดบ้าง?

  1. รูปแบบปลดปล่อยทันที คือเมลาโทนินที่ออกฤทธิ์ทันทีที่ใช้ มีทั้งแบบยาเม็ดหรือแบบอื่น เช่น กัมมี่ (gummies) ความแรง 3 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม, 10 มิลลิกรัม เป็นต้น โดยรูปแบบนี้ไม่มีการขึ้นทะเบียนเป็นยาในประเทศไทย
  2. รูปแบบออกฤทธิ์เนิ่น คือจะค่อยๆ ออกฤทธิ์ทีละน้อย เลียนแบบการหลั่งของเมลาโทนินธรรมชาติ ความแรง 2 มิลลิกรัม เป็นรูปแบบที่มีจำหน่ายเป็นยาในประเทศไทย มีข้อบ่งใช้รักษาอาการนอนไม่หลับปฐมภูมิระยะสั้นในผู้ป่วยอายุ 55 ปีขึ้นไป โดยใช้ขนาด 2 มิลลิกรัม รับประทานก่อนเข้านอนประมาณ 1 ชั่วโมง โดยสามารถใช้ติดต่อกันได้สูงสุดเป็นเวลา 13 สัปดาห์ เหมาะสำหรับภาวะการนอนไม่หลับแบบที่มีการตื่นกลางดึกบ่อยๆ

เทคนิคการใช้เมลาโทนินป้องกัน Jet Lag

     ในการป้องกันภาวะเจ็ทแลค (Jet Lag) พบว่าเมลาโทนินมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเมื่อใช้ในระยะสั้น โดยใช้ยาขนาด 1.5 – 3 มิลลิกรัม รับประทานก่อนเวลานอนของประเทศเป้าหมายที่เดินทางไปเล็กน้อย

ข้อควรระวังในการใช้เมลาโทนิน

     ในประเทศไทยเมลาโทนินนั้นขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย ส่งผลให้สามารถจำหน่ายได้ในร้านยาหรือจ่ายตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น การใช้ยาฮอร์โมนเมลาโทนินจึงควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร ขณะใช้อาจมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงซึม ปวดศีรษะ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหะและการทำงานที่มีความเสี่ยงสูง และมีข้อควรระวังในผู้ป่วยบางกลุ่มเช่น ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง ผู้ป่วยลมชัก ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่มีปัญหาเรื่องโรคตับและไต และผู้หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับยาที่มีผลกดระบบประสาทและแอลกอฮอล์

คำแนะนำในการนอนหลับควบคู่กับการใช้ยาเมลาโทนิน

     เมลาโทนินไม่ใช่ยานอนหลับครอบจักรวาล หากมีอาการนอนไม่หลับอาจปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติควบคู่กับการใช้ยา เพื่อการนอนหลับที่ดี (sleep hygiene) เช่น

  • พยายามนอนให้เป็นเวลาทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด
  • นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 7 - 8 ชั่วโมงต่อวัน
  • ปิดโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดก่อนเข้านอนอย่างน้อย 30 นาที

     อย่างไรก็ตามหากนอนไม่หลับ แนะนำให้ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แต่หากสนใจที่จะใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเพื่อใช้ยาได้อย่างปลอดภัยสูงสุด

บทความที่เกี่ยวข้อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลยา ฝ่ายวิชาการเภสัชสนเทศ
โทร. 1474 กด 2 ตามด้วยกด 2 หรือ 02-419-2222

     ในยุคที่การนอนหลับเป็นเรื่องที่ยากขึ้นด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น ความเครียดหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ทำให้หลายคนเริ่มหาแนวทางการนอนหลับที่มีคุณภาพมากขึ้น และทุกคนคงเคยได้ยินผลิตภัณฑ์ที่ชื่อเมลาโทนิน (melatonin) ซึ่งเป็นยารักษาผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับ

เมลาโทนิน (melatonin) คืออะไร?

     เมลาโทนินคือฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้น โดยจะหลั่งสารนี้ออกมาจากสมองในช่วงพระอาทิตย์ตกดิน ซึ่งมีการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินสูงสุดในเวลากลางคืน ทำให้รู้สึกง่วงนอน เป็นกลไกการทำงานของร่างกายที่บ่งบอกว่าถึงเวลานอนหลับได้แล้ว

เมลาโทนินช่วยให้นอนหลับได้อย่างไร?

     ทางการแพทย์นำเมลาโทนินที่สังเคราะห์ขึ้นมาช่วยในการรักษาสมดุลการนอน เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการนอน เช่น นอนดึก นอนไม่หลับ นอนหลับยาก ช่วยในเรื่องของการนอนหลับผิดเวลาจากการทำงานเป็นกะ Jet lag จากการเดินทางข้ามประเทศ หรือผู้มีปัญหาร่างกายผลิตฮอร์โมนเมลาโทนินตามธรรมชาติได้ไม่ดีเท่าที่ควร ช่วยให้รู้สึกง่วงนอน แก้ไขปัญหาการนอนหลับที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากสภาวะทางจิต

 

 

เมลาโทนินมีรูปแบบใดบ้าง?

  1. รูปแบบปลดปล่อยทันที คือเมลาโทนินที่ออกฤทธิ์ทันทีที่ใช้ มีทั้งแบบยาเม็ดหรือแบบอื่น เช่น กัมมี่ (gummies) ความแรง 3 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม, 10 มิลลิกรัม เป็นต้น โดยรูปแบบนี้ไม่มีการขึ้นทะเบียนเป็นยาในประเทศไทย
  2. รูปแบบออกฤทธิ์เนิ่น คือจะค่อยๆ ออกฤทธิ์ทีละน้อย เลียนแบบการหลั่งของเมลาโทนินธรรมชาติ ความแรง 2 มิลลิกรัม เป็นรูปแบบที่มีจำหน่ายเป็นยาในประเทศไทย มีข้อบ่งใช้รักษาอาการนอนไม่หลับปฐมภูมิระยะสั้นในผู้ป่วยอายุ 55 ปีขึ้นไป โดยใช้ขนาด 2 มิลลิกรัม รับประทานก่อนเข้านอนประมาณ 1 ชั่วโมง โดยสามารถใช้ติดต่อกันได้สูงสุดเป็นเวลา 13 สัปดาห์ เหมาะสำหรับภาวะการนอนไม่หลับแบบที่มีการตื่นกลางดึกบ่อยๆ

เทคนิคการใช้เมลาโทนินป้องกัน Jet Lag

     ในการป้องกันภาวะเจ็ทแลค (Jet Lag) พบว่าเมลาโทนินมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเมื่อใช้ในระยะสั้น โดยใช้ยาขนาด 1.5 – 3 มิลลิกรัม รับประทานก่อนเวลานอนของประเทศเป้าหมายที่เดินทางไปเล็กน้อย

ข้อควรระวังในการใช้เมลาโทนิน

     ในประเทศไทยเมลาโทนินนั้นขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย ส่งผลให้สามารถจำหน่ายได้ในร้านยาหรือจ่ายตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น การใช้ยาฮอร์โมนเมลาโทนินจึงควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร ขณะใช้อาจมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงซึม ปวดศีรษะ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหะและการทำงานที่มีความเสี่ยงสูง และมีข้อควรระวังในผู้ป่วยบางกลุ่มเช่น ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง ผู้ป่วยลมชัก ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่มีปัญหาเรื่องโรคตับและไต และผู้หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับยาที่มีผลกดระบบประสาทและแอลกอฮอล์

คำแนะนำในการนอนหลับควบคู่กับการใช้ยาเมลาโทนิน

     เมลาโทนินไม่ใช่ยานอนหลับครอบจักรวาล หากมีอาการนอนไม่หลับอาจปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติควบคู่กับการใช้ยา เพื่อการนอนหลับที่ดี (sleep hygiene) เช่น

  • พยายามนอนให้เป็นเวลาทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด
  • นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 7 - 8 ชั่วโมงต่อวัน
  • ปิดโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดก่อนเข้านอนอย่างน้อย 30 นาที

     อย่างไรก็ตามหากนอนไม่หลับ แนะนำให้ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แต่หากสนใจที่จะใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเพื่อใช้ยาได้อย่างปลอดภัยสูงสุด

บทความที่เกี่ยวข้อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลยา ฝ่ายวิชาการเภสัชสนเทศ
โทร. 1474 กด 2 ตามด้วยกด 2 หรือ 02-419-2222


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง