ขนมไหว้พระจันทร์ ทานมากเสี่ยงอ้วน

ที่มาของขนมไหว้พระจันทร์

     เทศกาลไหว้พระจันทร์ จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่า เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติเป็นประจำทุกปี เพื่อเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวพืชผลและไหว้ตอบแทนพระจันทร์ที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง ช่วยให้น้ำอุดมสมบูรณ์สามารถทำการเกษตรได้เป็นอย่างดีตามความเชื่อของชาวจีนที่ปฏิบัติต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 29 กันยายน 2566

     ขนมไหว้พระจันทร์ ในภาษาจีนกลางเรียกว่า เยว่ปิ่ง (月饼) ที่มาจากคำศัพท์ 2 คำประกอบกัน เยว่ (月) ที่แปลว่าพระจันทร์ และ ปิ่ง (饼) ที่หมายถึงขนมลักษณะกลมแบนที่ทำมาจากแป้ง ด้านบนปั๊มลวดลายสวยงามหรือมีตัวอักษรจีนที่มีความหมายมงคล ด้านนอกทำมาจากแป้ง ด้านในมีไส้ชนิดต่าง ๆ เช่น โหงวยิ้ง, ถั่วแดง, เมล็ดบัว หรือในปัจจุบันมีการดัดแปลงทำไส้แปลกใหม่ เช่น ไส้ครีม ไส้ช็อกโกแลต ไส้ชาเขียว หรือไส้ทุเรียน เป็นต้น

ตัวอย่างพลังงานและสารอาหารในขนมไหว้พระจันทร์แต่ละไส้ จำนวน 1 ชิ้น น้ำหนัก 150 กรัม* (เรียงลำดับพลังงานจากน้อยไปหามาก)

     1. ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้พุทรา 1 ชิ้น ให้พลังงาน 523 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 93 กรัม, น้ำตาล 32 กรัม, โปรตีน 7 กรัม, ไขมัน 14 กรัม

     2. ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้ทุเรียน 1 ชิ้น ให้พลังงาน 529 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 91 กรัม, น้ำตาล 41 กรัม, โปรตีน 8 กรัม, ไขมัน 15 กรัม

     3. ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้ทุเรียนหมอนทอง และไข่ 1 ฟอง 1 ชิ้น ให้พลังงาน 573 กิโลแคลอรี, คาร์โบไฮเดรต 85 กรัม, น้ำตาล 38 กรัม, โปรตีน 11 กรัม, ไขมัน 21 กรัม

     4. ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้เมล็ดบัว 1 ชิ้น ให้พลังงาน 583 กิโลแคลอรี, คาร์โบไฮเดรต 87 กรัม, น้ำตาล 40 กรัม, โปรตีน 9 กรัม, ไขมัน 22 กรัม

     5. ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้เมล็ดบัว และไข่ 1 ชิ้น ให้พลังงาน 611 กิโลแคลอรี, คาร์โบไฮเดรต 81 กรัม, น้ำตาล 43 กรัม, โปรตีน 10 กรัม, ไขมัน 27 กรัม

     6. ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้โหงวยิ้ง 1 ชิ้น ให้พลังงาน 682 กิโลแคลอรี, คาร์โบไฮเดรต 73 กรัม, น้ำตาล 41 กรัม, โปรตีน 17 กรัม, ไขมัน 36 กรัม

*อ้างอิงข้อมูลจาก: INMUCAL-Nutrients v.4.0

     จากข้อมูลทางโภชนาการของขนมไหว้พระจันทร์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าเป็นขนมที่มีพลังงาน น้ำตาล และไขมันสูง โดย 1 ชิ้น (น้ำหนัก 150 กรัม) ให้พลังงานสูงถึง 500 - 600 กิโลแคลอรี หรืออาจเทียบเท่ากับอาหารจานเดียวทั่วไป 1 จาน และมีปริมาณน้ำตาลเฉลี่ยสูงถึง 8 ช้อนชาซึ่งมากกว่าปริมาณน้ำตาลที่ควรบริโภค ตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำไว้ว่า “ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา” หากท่านรับประทานขนมไหว้พระจันทร์วันละ 1 ชิ้น ร่วมกับการรับประทานอาหารปกติ จะทำให้ได้รับพลังงานภาพรวมต่อวันมากขึ้น ซึ่งในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

ทางทีมนักกำหนดอาหารจึงมีคำแนะนำในการรับประทานขนมไหว้พระจันทร์ให้ดีต่อสุขภาพมาฝากดังนี้ค่ะ

คำแนะนำการรับประทาน

     1. ควรดูวันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุก่อนรับประทาน หากหมดอายุ มีกลิ่น และสีที่ผิดปกติไป ไม่แนะนำให้รับประทานต่อ

     2. ควรแบ่งรับประทาน โดยหั่นขนมไหว้พระจันทร์ออกเป็น 6 ชิ้นเล็ก และรับประทานไม่เกินวันละ 1 - 2 ชิ้นเล็ก เพื่อกระจายพลังงาน โดยพลังงานเฉลี่ยจะอยู่ที่ 100 กิโลแคลอรีต่อชิ้นเล็ก ให้คาร์โบไฮเดรตรวมเฉลี่ยเทียบเท่าข้าว 1 ทัพพี (1 คาร์บ) และมีน้ำตาลต่อชิ้นประมาณ 1.5 ช้อนชา

     3. หากรับประทานขนมไหว้พระจันทร์แล้ว แนะนำเลี่ยงการรับประทานขนมหวาน น้ำหวานเพิ่มในวันนั้น ๆ เนื่องจากอาจทาให้ได้รับพลังงาน น้ำตาล และไขมันมากเกินความต้องการ

     4. ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ต้องจำกัดปริมาณฟอสฟอรัสในอาหาร แนะนำให้หลีกเลี่ยงการรับประทาน หรือรับประทานร่วมกับยาจับฟอสฟอรัส (ประมาณ 1 - 2 คำเล็กต่อวัน) หรือปรึกษาแพทย์หรือนักกำหนดอาหาร ณ โรงพยาบาลที่ท่านรักษาอยู่

     5. เมื่อรับประทานแล้ว แนะนำให้เพิ่มการขยับตัว ออกกำลังกายมากขึ้น เพื่อเผาผลาญพลังงานส่วนเกิน

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร

ที่มาของขนมไหว้พระจันทร์

     เทศกาลไหว้พระจันทร์ จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่า เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติเป็นประจำทุกปี เพื่อเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวพืชผลและไหว้ตอบแทนพระจันทร์ที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง ช่วยให้น้ำอุดมสมบูรณ์สามารถทำการเกษตรได้เป็นอย่างดีตามความเชื่อของชาวจีนที่ปฏิบัติต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 29 กันยายน 2566

     ขนมไหว้พระจันทร์ ในภาษาจีนกลางเรียกว่า เยว่ปิ่ง (月饼) ที่มาจากคำศัพท์ 2 คำประกอบกัน เยว่ (月) ที่แปลว่าพระจันทร์ และ ปิ่ง (饼) ที่หมายถึงขนมลักษณะกลมแบนที่ทำมาจากแป้ง ด้านบนปั๊มลวดลายสวยงามหรือมีตัวอักษรจีนที่มีความหมายมงคล ด้านนอกทำมาจากแป้ง ด้านในมีไส้ชนิดต่าง ๆ เช่น โหงวยิ้ง, ถั่วแดง, เมล็ดบัว หรือในปัจจุบันมีการดัดแปลงทำไส้แปลกใหม่ เช่น ไส้ครีม ไส้ช็อกโกแลต ไส้ชาเขียว หรือไส้ทุเรียน เป็นต้น

ตัวอย่างพลังงานและสารอาหารในขนมไหว้พระจันทร์แต่ละไส้ จำนวน 1 ชิ้น น้ำหนัก 150 กรัม* (เรียงลำดับพลังงานจากน้อยไปหามาก)

     1. ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้พุทรา 1 ชิ้น ให้พลังงาน 523 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 93 กรัม, น้ำตาล 32 กรัม, โปรตีน 7 กรัม, ไขมัน 14 กรัม

     2. ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้ทุเรียน 1 ชิ้น ให้พลังงาน 529 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 91 กรัม, น้ำตาล 41 กรัม, โปรตีน 8 กรัม, ไขมัน 15 กรัม

     3. ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้ทุเรียนหมอนทอง และไข่ 1 ฟอง 1 ชิ้น ให้พลังงาน 573 กิโลแคลอรี, คาร์โบไฮเดรต 85 กรัม, น้ำตาล 38 กรัม, โปรตีน 11 กรัม, ไขมัน 21 กรัม

     4. ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้เมล็ดบัว 1 ชิ้น ให้พลังงาน 583 กิโลแคลอรี, คาร์โบไฮเดรต 87 กรัม, น้ำตาล 40 กรัม, โปรตีน 9 กรัม, ไขมัน 22 กรัม

     5. ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้เมล็ดบัว และไข่ 1 ชิ้น ให้พลังงาน 611 กิโลแคลอรี, คาร์โบไฮเดรต 81 กรัม, น้ำตาล 43 กรัม, โปรตีน 10 กรัม, ไขมัน 27 กรัม

     6. ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้โหงวยิ้ง 1 ชิ้น ให้พลังงาน 682 กิโลแคลอรี, คาร์โบไฮเดรต 73 กรัม, น้ำตาล 41 กรัม, โปรตีน 17 กรัม, ไขมัน 36 กรัม

*อ้างอิงข้อมูลจาก: INMUCAL-Nutrients v.4.0

     จากข้อมูลทางโภชนาการของขนมไหว้พระจันทร์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าเป็นขนมที่มีพลังงาน น้ำตาล และไขมันสูง โดย 1 ชิ้น (น้ำหนัก 150 กรัม) ให้พลังงานสูงถึง 500 - 600 กิโลแคลอรี หรืออาจเทียบเท่ากับอาหารจานเดียวทั่วไป 1 จาน และมีปริมาณน้ำตาลเฉลี่ยสูงถึง 8 ช้อนชาซึ่งมากกว่าปริมาณน้ำตาลที่ควรบริโภค ตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำไว้ว่า “ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา” หากท่านรับประทานขนมไหว้พระจันทร์วันละ 1 ชิ้น ร่วมกับการรับประทานอาหารปกติ จะทำให้ได้รับพลังงานภาพรวมต่อวันมากขึ้น ซึ่งในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

ทางทีมนักกำหนดอาหารจึงมีคำแนะนำในการรับประทานขนมไหว้พระจันทร์ให้ดีต่อสุขภาพมาฝากดังนี้ค่ะ

คำแนะนำการรับประทาน

     1. ควรดูวันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุก่อนรับประทาน หากหมดอายุ มีกลิ่น และสีที่ผิดปกติไป ไม่แนะนำให้รับประทานต่อ

     2. ควรแบ่งรับประทาน โดยหั่นขนมไหว้พระจันทร์ออกเป็น 6 ชิ้นเล็ก และรับประทานไม่เกินวันละ 1 - 2 ชิ้นเล็ก เพื่อกระจายพลังงาน โดยพลังงานเฉลี่ยจะอยู่ที่ 100 กิโลแคลอรีต่อชิ้นเล็ก ให้คาร์โบไฮเดรตรวมเฉลี่ยเทียบเท่าข้าว 1 ทัพพี (1 คาร์บ) และมีน้ำตาลต่อชิ้นประมาณ 1.5 ช้อนชา

     3. หากรับประทานขนมไหว้พระจันทร์แล้ว แนะนำเลี่ยงการรับประทานขนมหวาน น้ำหวานเพิ่มในวันนั้น ๆ เนื่องจากอาจทาให้ได้รับพลังงาน น้ำตาล และไขมันมากเกินความต้องการ

     4. ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ต้องจำกัดปริมาณฟอสฟอรัสในอาหาร แนะนำให้หลีกเลี่ยงการรับประทาน หรือรับประทานร่วมกับยาจับฟอสฟอรัส (ประมาณ 1 - 2 คำเล็กต่อวัน) หรือปรึกษาแพทย์หรือนักกำหนดอาหาร ณ โรงพยาบาลที่ท่านรักษาอยู่

     5. เมื่อรับประทานแล้ว แนะนำให้เพิ่มการขยับตัว ออกกำลังกายมากขึ้น เพื่อเผาผลาญพลังงานส่วนเกิน

ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง