การบาดเจ็บทางกระดูกและข้อในกีฬาโอลิมปิก

การบาดเจ็บภายหลังจากการเล่นกีฬา สามารถพบได้บ่อย โดยเฉพาะการเล่นกีฬาในระดับการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นกีฬาที่เล่นในลักษณะทีมหรือกีฬาเดี่ยว สำหรับการบาดเจ็บทางกระดูกและข้อสามารถพบได้บ่อยมากที่สุดโดยเฉพาะการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก

จากงานศึกษารายงานอุบัติการณ์การเกิดการบาดเจ็บในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่เมือง Rio de Janeiro ที่ประเทศบราซิลในปี 2016 โดย Soligard และคณะ พบอุบัติการณ์การเกิดการบาดเจ็บที่บริเวณหัวเข่าได้มากที่สุด ตามมาด้วยการบาดเจ็บบริเวณต้นขา กระดูกข้อเท้า การบาดเจ็บบริเวณใบหน้า และกระดูกขา ซึ่งการบาดเจ็บมักพบในกีฬาที่มีความเร็วสูง มีโอกาสการปะทะที่มาก เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการบาดเจ็บ ซึ่งถ้าศึกษาถึงชนิดของการบาดเจ็บทางกระดูกและข้อจะพบ 5 ชนิดของการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยตามนี้

     1. การแพลงหรือการฉีกขาดของเส้นเอ็นยึด (sprain ligament or rupture) เช่น ข้อเท้าแพลงอักเสบ เอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาด หรือการขาดของเส้นเอ็นยึดเข่าด้านใน เป็นต้น

     2. ภาวะฟกช้ำของกระดูกและกล้ามเนื้อ (contusion) เช่น ภาวะฟกช้ำบริเวณข้อเท้า ข้อเข่า หรือข้อมือ เป็นต้น มักเกิดจากอุบัติเหตุระหว่างการฝึกซ้อมหรือการแข่งขัน

     3. การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ (strain muscle) โดยมักพบบริเวณกล้ามเนื้อต้นขา กล้ามเนื้อ hamstring หรือกล้ามเนื้อบริเวณหน้าแข้ง

     4. การบาดเจ็บของผิวหนัง ตั้งแต่ภาวะบวม แผลถลอก หรือแผลฉีกขาดที่สามารถพบได้บ่อยในกีฬาที่มีการปะทะ เช่น กีฬาชกมวย หรือรักบี้

     5. ภาวะการบาดเจ็บของเส้นเอ็น (tendon injury) ได้แก่ การบาดเจ็บของเอ็นกล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็นอักเสบ  

การเล่นกีฬามีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ โดยเฉพาะกีฬาที่มีความเร็ว การปะทะ และมีการแข่งขัน หากมีอาการบาดเจ็บภายหลังจากการเล่นกีฬา หรือมีข้อสงสัยที่เกี่ยวกับการบาดเจ็บทางกีฬา สามารถปรึกษาแพทย์ที่ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ รพ. ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

บทความโดย ผศ. นพ. ภพ กนกโรจน์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

การบาดเจ็บภายหลังจากการเล่นกีฬา สามารถพบได้บ่อย โดยเฉพาะการเล่นกีฬาในระดับการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นกีฬาที่เล่นในลักษณะทีมหรือกีฬาเดี่ยว สำหรับการบาดเจ็บทางกระดูกและข้อสามารถพบได้บ่อยมากที่สุดโดยเฉพาะการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก

จากงานศึกษารายงานอุบัติการณ์การเกิดการบาดเจ็บในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่เมือง Rio de Janeiro ที่ประเทศบราซิลในปี 2016 โดย Soligard และคณะ พบอุบัติการณ์การเกิดการบาดเจ็บที่บริเวณหัวเข่าได้มากที่สุด ตามมาด้วยการบาดเจ็บบริเวณต้นขา กระดูกข้อเท้า การบาดเจ็บบริเวณใบหน้า และกระดูกขา ซึ่งการบาดเจ็บมักพบในกีฬาที่มีความเร็วสูง มีโอกาสการปะทะที่มาก เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการบาดเจ็บ ซึ่งถ้าศึกษาถึงชนิดของการบาดเจ็บทางกระดูกและข้อจะพบ 5 ชนิดของการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยตามนี้

     1. การแพลงหรือการฉีกขาดของเส้นเอ็นยึด (sprain ligament or rupture) เช่น ข้อเท้าแพลงอักเสบ เอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาด หรือการขาดของเส้นเอ็นยึดเข่าด้านใน เป็นต้น

     2. ภาวะฟกช้ำของกระดูกและกล้ามเนื้อ (contusion) เช่น ภาวะฟกช้ำบริเวณข้อเท้า ข้อเข่า หรือข้อมือ เป็นต้น มักเกิดจากอุบัติเหตุระหว่างการฝึกซ้อมหรือการแข่งขัน

     3. การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ (strain muscle) โดยมักพบบริเวณกล้ามเนื้อต้นขา กล้ามเนื้อ hamstring หรือกล้ามเนื้อบริเวณหน้าแข้ง

     4. การบาดเจ็บของผิวหนัง ตั้งแต่ภาวะบวม แผลถลอก หรือแผลฉีกขาดที่สามารถพบได้บ่อยในกีฬาที่มีการปะทะ เช่น กีฬาชกมวย หรือรักบี้

     5. ภาวะการบาดเจ็บของเส้นเอ็น (tendon injury) ได้แก่ การบาดเจ็บของเอ็นกล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็นอักเสบ  

การเล่นกีฬามีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ โดยเฉพาะกีฬาที่มีความเร็ว การปะทะ และมีการแข่งขัน หากมีอาการบาดเจ็บภายหลังจากการเล่นกีฬา หรือมีข้อสงสัยที่เกี่ยวกับการบาดเจ็บทางกีฬา สามารถปรึกษาแพทย์ที่ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ รพ. ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

บทความโดย ผศ. นพ. ภพ กนกโรจน์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง