สัญญาณเตือนข้อสะโพกเสื่อม

   โรคข้อสะโพกเสื่อม คือโรคที่เกิดจากการที่ผิวข้อสะโพกถูกทำลาย ด้วยสาเหตุต่าง ๆ ซึ่งอาจเกิดจากภาวะหัวกระดูกสะโพกตายจากการขาดเลือด ภาวะข้อสะโพกผิดรูปแต่กำเนิด ภาวะหัวและเบ้าสะโพกไม่พอดีกัน ข้ออักเสบรูมาตอยด์ การเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อกระดูกและเนื้อเยื่อรอบข้อสะโพก การติดเชื้อ

 

   ผู้ป่วยที่มีภาวะข้อสะโพกเสื่อม มักจะมีอาการเจ็บบริเวณข้อสะโพก โดยเฉพาะบริเวณโคนขาหนีบ รู้สึกติดขัดในข้อสะโพก มีอาการปวดหรือติดขัดในท่านั่งบางท่า เช่น พับเพียบไม่ได้ นั่งไขว่ห้างไม่ได้ นั่งขัดสมาธิโดยกางขาได้ไม่สุดเนื่องจากข้อสะโพกติด มีความลำบากในการลุกจากการนั่งเก้าอี้หรือโซฟาเตี้ย ๆ อาจมีการปวดในขณะยืน เดิน โดยขณะเดินอาจมีภาวะที่ลำตัวจะโยกเอียงไปทางด้านที่ข้อสะโพกเสื่อม หากข้อสะโพกเสื่อมเป็นมาก อาจพบว่าขาข้างที่มีข้อสะโพกเสื่อมอาจสั้นลงกว่าขาข้างปกติ

   หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น อาจสงสัยว่ามีภาวะข้อสะโพกเสื่อม ผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์ศัลยกรรมกระดูก โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และอาจทำการ เอ็กซเรย์เพื่อทำการวินิจฉัย และในบางกรณีอาจต้องทำการตรวจ MRI เพื่อหาสาเหตุของภาวะข้อสะโพกเสื่อมในกรณีที่ภาพเอ็กซเรย์ไม่สามารถให้รายละเอียดที่จำเป็นได้เพียงพอ

การรักษาแบ่งได้เป็นสองวิธีคือ

1. วิธีไม่ผ่าตัด ให้พักการใช้งานข้อสะโพก ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม งดเว้นการยกของหนัก การนั่งในท่าที่ต้องบิดงอข้อสะโพกมาก การนั่งเก้าอี้หรือโซฟาเตี้ยๆ การนั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ การก้มเก็บของที่พื้น และบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกให้แข็งแรง หากไม่ดีขึ้น แพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับประทานยาแก้ปวด การทำกายภาพบำบัด และในกรณีที่ไม่ได้ผล อาจมีการฉีดยาเข้าข้อสะโพกเพื่อลดความเจ็บปวด

2. วิธีผ่าตัด ในกรณีที่การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการให้ยาไม่ได้ผล ผู้ป่วยมีอาการปวดและไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ ร่วมกับผล Xray และ/หรือ MRI พบว่ามีการเสื่อมของข้อสะโพกอย่างรุนแรง แพทย์อาจแนะนำวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

 

   คือ การรักษาภาวะข้อสะโพกเสื่อมรุนแรงด้วยการเอาผิวข้อสะโพกที่เสียหายออกและแทนที่ด้วยผิวข้อเทียม ซึ่งจะสามารถทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ ความเจ็บปวดลดลงหรือหายไป

   การผ่าตัดควรทำโดยศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญ เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดี ข้อแทรกซ้อนต่ำ ฟื้นตัวได้ โดยในปัจจุบัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถเดินลงน้ำหนัก ในข้อสะโพกที่ผ่าตัดได้ภายใน 12 - 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด และควรมีการดูแลโดยสหวิชาชีพ เช่น พยาบาล และนักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัดเพื่อผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น

ปัจจุบัน ยังมีการรักษาโดยใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ที่จะทำให้ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดได้แม่นยำมากขึ้น และอาจช่วยลดเวลาการผ่าตัดรวมถึงการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อขณะผ่าตัด เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น

ข้อมูลจาก นพ. สรฤทธิ์ สรีระศรีฤทธิ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

ปัจจุบัน ยังมีการรักษาโดยใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ที่จะทำให้ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดได้แม่นยำมากขึ้น และอาจช่วยลดเวลาการผ่าตัดรวมถึงการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อขณะผ่าตัด เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น

ข้อมูลจาก นพ. สรฤทธิ์ สรีระศรีฤทธิ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง