
สะเก็ดเงิน โรคผิวหนังที่รักษาไม่หายขาด
สะเก็ดเงิน (Psoriasis) โรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เซลล์ผิวหนังมีการแบ่งตัวของเซลล์รวดเร็วผิดปกติ จนผิวหนังเกิดการอักเสบนูนหนาขึ้น โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคไม่ติดต่อ ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมโรคได้
สาเหตุของโรคสะเก็ดเงิน
ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ร่วมกับความผิดปกติของสารพันธุกรรมกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังเจริญเร็วกว่าปกติ และพบว่ามีปัจจัยภายนอกที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดโรคได้ มีดังนี้
- การบาดเจ็บของผิวหนัง เช่น การเกา การถู การเสียดสี รอยถลอก แผลผ่าตัด เป็นต้น
- ภาวะเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เช่น ในขณะตั้งครรภ์ ขณะมีรอบเดือน หรือการรับประทานยาคุมกำเนิด
- การติดเชื้อโดยเฉพาะเชื้อสเตปโตคอคคัสในระบบทางเดินหายใจ
- โรคอ้วน
- ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ยารักษาโรคซึมเศร้า
- อาหารบางชนิดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ความเครียดรุนแรง
- แสงแดดที่ร้อนเกินไปจนทำให้เกิดผิวไหม้
- การสัมผัสสารเคมี หรือสารระคายเคืองต่าง ๆ
- ภูมิอากาศ
อาการของโรคสะเก็ดเงิน
- ผื่นที่มีวงขอบเขตชัดเจนมีสะเก็ด
- ผิวแห้งมากจนแตกและมีเลือดออก
- เจ็บคันหรือรู้สึกแสบร้อนบริเวณผิวหนัง
- หนังศีรษะลอกเป็นขุย
- เล็บมือและเท้าหนาขึ้น มีรอยบุ๋มผิดรูปทรง
- ปวดข้อต่อและมีอาการบวมตามข้อต่อ
การรักษาโรคสะเก็ดเงิน
วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยที่มีอาการผื่นผิวหนังเล็กน้อยถึงปานกลาง (≤10% ของพื้นที่ผิวหนังทั้งหมด) อาจรักษาด้วยการใช้ยาทาภายนอก เช่น ยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์ น้ำมันดิน แอนทราลิน อนุพันธ์ของวิตามินดี ยาทากลุ่ม Calcineurin inhibitor (แคลซินูริน อินฮิบิเตอร์) และ Keratolytic agents (สารลอกเคอราติน) และในรายที่มีอาการผื่นผิวหนังปานกลางไปจนถึงมาก หรือมีข้ออักเสบร่วมด้วย แพทย์อาจรักษาด้วยการใช้ยารับประทาน ยาฉีด หรือการฉายแสงด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต ดังนี้
- การรักษาด้วยยาชนิดรับประทาน เช่น เมทโทเทรกเสท อาซิเทรติน ไซโคลสปอริน
- การรักษาด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต จัดเป็นอีกวิธีที่ได้ผลดีในการรักษาสะเก็ดเงิน โดยที่ใช้ในการรักษามี 2 ชนิด คือ ยูวีเอและยูวีบี ซึ่งผู้ป่วยต้องมารับการรักษา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน
- การรักษาด้วยยาชนิดฉีดกลุ่มชีวภาพ เช่น Etanercept (อีทาเนอเซปท์), Infliximab (อินฟลิซิแมบ), Adalimumab (อะดาลิมูแมบ), Ustekinumab (อุสเตคินูแมบ), Secukinumab (ซีคูคินูแมบ), Ixekizumab (อิเซคิซซูแมบ), Brodalumab (โบรดาลูแมบ), Guselkumab (กูเซลคูแมบ)
การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคสะเก็ดเงิน
- กรณีได้รับยาทาภายนอก ควรทาจากบนลงล่างหรือตามแนวขน เพื่อให้ยาเกิดการดูดซึมได้ดี ไม่ทายาหนาหรือบ่อยจนเกินไป
- การอาบน้ำ สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องใช้สบู่ที่เป็นยาหรือสบู่ชนิดพิเศษ และควรหลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น เนื่องจากทำให้ผิวแห้งมากขึ้น
- ควรทาครีมหรือโลชั่นที่ให้ความชุ่มชื้นบ่อยๆ วันละ 2-3 ครั้ง เพื่อช่วยลดการระคายเคืองของผิวหนัง กรณีมีรอยโรคบริเวณหนังศีรษะ ห้ามเกาหรือขูดหนังศีรษะ งดใช้น้ำยาที่เป็นสารเคมีดัด ย้อม หรือโกรกผม เพราะอาจเกิดการแพ้ระคายเคือง
- ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ เพราะโรคสะเก็ดเงินมักมีอาการคัน หากเล็บยาวไม่สะอาด เมื่อเกาด้วยความรุนแรงจะทำให้เกิดแผลและติดเชื้อได้
- แนะนำควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน หมั่นออกกำลังกายและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง ไขมันสูง
- แนะนำหลีกเลี่ยงความเครียด การอดนอน งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- หากรับประทานยาหรือฉีดยาที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันอยู่ ควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด และเมื่อเจ็บป่วยไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เนื่องจากยาบางชนิดมีปฏิกิริยาต่อกัน
- มาตรวจติดตามอาการตามนัด หากมีอาการผิดปกติควรรีบมาพบแพทย์
ข้อมูลจาก พญ. ธนวรรณ เอี่ยมพรรัตน์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A
สะเก็ดเงิน (Psoriasis) โรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เซลล์ผิวหนังมีการแบ่งตัวของเซลล์รวดเร็วผิดปกติ จนผิวหนังเกิดการอักเสบนูนหนาขึ้น โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคไม่ติดต่อ ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมโรคได้
สาเหตุของโรคสะเก็ดเงิน
ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ร่วมกับความผิดปกติของสารพันธุกรรมกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังเจริญเร็วกว่าปกติ และพบว่ามีปัจจัยภายนอกที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดโรคได้ มีดังนี้
- การบาดเจ็บของผิวหนัง เช่น การเกา การถู การเสียดสี รอยถลอก แผลผ่าตัด เป็นต้น
- ภาวะเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เช่น ในขณะตั้งครรภ์ ขณะมีรอบเดือน หรือการรับประทานยาคุมกำเนิด
- การติดเชื้อโดยเฉพาะเชื้อสเตปโตคอคคัสในระบบทางเดินหายใจ
- โรคอ้วน
- ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ยารักษาโรคซึมเศร้า
- อาหารบางชนิดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ความเครียดรุนแรง
- แสงแดดที่ร้อนเกินไปจนทำให้เกิดผิวไหม้
- การสัมผัสสารเคมี หรือสารระคายเคืองต่าง ๆ
- ภูมิอากาศ
อาการของโรคสะเก็ดเงิน
- ผื่นที่มีวงขอบเขตชัดเจนมีสะเก็ด
- ผิวแห้งมากจนแตกและมีเลือดออก
- เจ็บคันหรือรู้สึกแสบร้อนบริเวณผิวหนัง
- หนังศีรษะลอกเป็นขุย
- เล็บมือและเท้าหนาขึ้น มีรอยบุ๋มผิดรูปทรง
- ปวดข้อต่อและมีอาการบวมตามข้อต่อ
การรักษาโรคสะเก็ดเงิน
วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยที่มีอาการผื่นผิวหนังเล็กน้อยถึงปานกลาง (≤10% ของพื้นที่ผิวหนังทั้งหมด) อาจรักษาด้วยการใช้ยาทาภายนอก เช่น ยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์ น้ำมันดิน แอนทราลิน อนุพันธ์ของวิตามินดี ยาทากลุ่ม Calcineurin inhibitor (แคลซินูริน อินฮิบิเตอร์) และ Keratolytic agents (สารลอกเคอราติน) และในรายที่มีอาการผื่นผิวหนังปานกลางไปจนถึงมาก หรือมีข้ออักเสบร่วมด้วย แพทย์อาจรักษาด้วยการใช้ยารับประทาน ยาฉีด หรือการฉายแสงด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต ดังนี้
- การรักษาด้วยยาชนิดรับประทาน เช่น เมทโทเทรกเสท อาซิเทรติน ไซโคลสปอริน
- การรักษาด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต จัดเป็นอีกวิธีที่ได้ผลดีในการรักษาสะเก็ดเงิน โดยที่ใช้ในการรักษามี 2 ชนิด คือ ยูวีเอและยูวีบี ซึ่งผู้ป่วยต้องมารับการรักษา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน
- การรักษาด้วยยาชนิดฉีดกลุ่มชีวภาพ เช่น Etanercept (อีทาเนอเซปท์), Infliximab (อินฟลิซิแมบ), Adalimumab (อะดาลิมูแมบ), Ustekinumab (อุสเตคินูแมบ), Secukinumab (ซีคูคินูแมบ), Ixekizumab (อิเซคิซซูแมบ), Brodalumab (โบรดาลูแมบ), Guselkumab (กูเซลคูแมบ)
การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคสะเก็ดเงิน
- กรณีได้รับยาทาภายนอก ควรทาจากบนลงล่างหรือตามแนวขน เพื่อให้ยาเกิดการดูดซึมได้ดี ไม่ทายาหนาหรือบ่อยจนเกินไป
- การอาบน้ำ สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องใช้สบู่ที่เป็นยาหรือสบู่ชนิดพิเศษ และควรหลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น เนื่องจากทำให้ผิวแห้งมากขึ้น
- ควรทาครีมหรือโลชั่นที่ให้ความชุ่มชื้นบ่อยๆ วันละ 2-3 ครั้ง เพื่อช่วยลดการระคายเคืองของผิวหนัง กรณีมีรอยโรคบริเวณหนังศีรษะ ห้ามเกาหรือขูดหนังศีรษะ งดใช้น้ำยาที่เป็นสารเคมีดัด ย้อม หรือโกรกผม เพราะอาจเกิดการแพ้ระคายเคือง
- ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ เพราะโรคสะเก็ดเงินมักมีอาการคัน หากเล็บยาวไม่สะอาด เมื่อเกาด้วยความรุนแรงจะทำให้เกิดแผลและติดเชื้อได้
- แนะนำควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน หมั่นออกกำลังกายและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง ไขมันสูง
- แนะนำหลีกเลี่ยงความเครียด การอดนอน งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- หากรับประทานยาหรือฉีดยาที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันอยู่ ควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด และเมื่อเจ็บป่วยไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เนื่องจากยาบางชนิดมีปฏิกิริยาต่อกัน
- มาตรวจติดตามอาการตามนัด หากมีอาการผิดปกติควรรีบมาพบแพทย์
ข้อมูลจาก พญ. ธนวรรณ เอี่ยมพรรัตน์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A