
โรคหนังตาตก
โรคหนังตาตก ปัญหาเกี่ยวกับหนังตาสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัยและมีความรุนแรงแตกต่างกัน อาจพบข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ แม้ไม่เจ็บปวดแต่ส่งผลกับการมองเห็น ดังนั้นเมื่อสังเกตเห็นความผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม
ปัญหาของหนังตา
หนังตาตก คือ การที่หนังตาหรือเปลือกตาบนตกลงมาต่ำกว่าปกติ โดยอาจตกลงมาเล็กน้อยไปจนถึงตกลงมาปิดรูม่านตาปกคลุมตาดำ ผู้ป่วยมักมาพบจักษุแพทย์โดยมาปรึกษาเรื่องระดับของตาไม่เท่ากัน ลืมตาไม่ค่อยได้ รู้สึกหนัก ๆ ตา ไปจนถึงการมองเห็นแย่ลงในรายที่เป็นมากได้
อาการหนังตาตก แยกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1. ผิวหนังที่เปลือกตาหย่อน (Dermatochalasis) ขอบเปลือกตาอยู่ในตำแหน่งปกติ แต่ผิวหนังที่เปลือกตาหรือหน้าผากมีการยืดหย่อนลงมาบังลูกตา โดยจะมากขึ้นตามอายุซึ่งพบบ่อยในบางรายที่โดนแดด ขยี้ตาบ่อย ๆ การอักเสบของเนื้อเยื่อรอบตา และโรคของเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องบางชนิด ทำให้ชั้นตาเล็กลง รู้สึกลืมตาไม่ค่อยขึ้น หนักตา ต้องพยายามเบิ่งตา เมื่อใช้มือช่วยดันผิวหนังก็จะลืมตาได้ปกติ บางครั้งอาจมีรอยพับของผิวหนังที่หางตาทำให้เกิดความระคายเคืองเวลาน้ำตาไหลหรือเหงื่อออก ถ้าเป็นมากอาจทำให้ขนตาบนทิ่มลงระคายเคืองกระจกตาได้
2. ภาวะเปลือกตาตก (Ptosis) เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อที่ใช้ลืมตาภายในเปลือกตาบนมีความหย่อนหรือยืดตัวมากหรือหลุดออกจากจุดที่เคยเกาะ ในบางรายอาจเป็นจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อในการลืมตานั้นไม่ปกติ เปลือกตาจะตกลงมาบังตาดำและลานสายตา ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการมองเห็น ซึ่งอาจมีอาการเพียงข้างเดียวหรือเกิดขึ้นทั้งสองข้าง ในบางรายเป็นตั้งแต่กำเนิด แต่บางรายเป็นเมื่ออายุมากขึ้นหรือเป็นผลจากโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย
สาเหตุของภาวะเปลือกตาตก (ptosis)
1. เปลือกตาตกตั้งแต่กำเนิด เป็นภาวะกล้ามเนื้อที่ใช้ลืมตาทำงานผิดปกติหรือกล้ามเนื้อพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ตั้งแต่กำเนิด ส่งผลให้มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา เช่น ลืมตาได้ไม่เต็มที่ ตา 2 ข้างไม่เท่ากัน หรือไม่สามารถเปิดเปลือกตาเพื่อมองเห็นได้ เมื่อหนังตาตกลงมาบดบังการมองเห็น ทำให้ดวงตาข้างนั้นของเด็กไม่ได้เกิดการใช้งาน ส่งผลให้เกิดโรคตาขี้เกียจ (Amblyopia) อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม
2. เปลือกตาตกเมื่ออายุมากขึ้น เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อที่ใช้ลืมตาเกิดการยืดตัว หย่อนหรือหลุดจากที่เคยเกาะ เนื่องจากการใช้งานเป็นเวลานาน หรือมีพฤติกรรมที่ทำให้เกิดเหตุ เช่น การถอดใส่คอนแทคเลนส์ หรือขยี้ตาบ่อย ๆ สังเกตได้จากดวงตาดำที่ดูเล็กลงจากเปลือกตาที่ตกลงมาบังดวงตาดำ สามารถส่งผลต่อการมองเห็นในชีวิตประจำวันได้ในรายที่เป็นมาก
3. เปลือกตาตกด้วยสาเหตุอื่น เกิดจากความผิดปกติของระบบเส้นประสาท มีก้อนเนื้อโตหรือสิ่งผิดปกติในดวงตา กล้ามเนื้อที่ใช้ลืมตาบาดเจ็บจากที่เคยมีประวัติเปลือกตาฉีกขาดหรือเกิดอุบัติเหตุรุนแรงบริเวณดวงตา มีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดดวงตาหรือทำศัลยกรรมบริเวณรอบดวงตา หรือเกิดโรคทางระบบประสาท เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (myasthenia gravis) อาจทำให้กล้ามเนื้อที่ใช้ลืมตาอ่อนแรง ทำให้เปลือกตาตก
อาการของโรคหนังตาหย่อนและเปลือกตาตก
- ในกรณีหนังตาหย่อน (dermatochalasis) จะมีหนังตาห้อยตกลงมาทำให้ชั้นตาดูเล็กลงเหมือนชั้นตาหลบใน หรือตาชั้นเดียว ถ้าเป็นมากอาจมีขนตาทิ่มตาทำให้ระคายเคืองกระจกตาได้
- ในกรณีเปลือกตาตก (ptosis) จะมีความรู้สึกตาปรือ และอาจมีคนชอบทักว่าดูเหมือนเป็นคนที่ง่วงนอนตลอดเวลา
- มีอาการเมื่อยหน้าผากหรือปวดศีรษะ จากการที่ต้องพยายามเบิ่งเปลือกตาขึ้นเพื่อมองเห็นตลอดเวลา
- ปวดบริเวณต้นคอ เพราะต้องเงยหน้าขึ้นเพื่อมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น
- การมองเห็นดีขึ้นเมื่อใช้มือยกเปลือกตาขึ้น
การรักษาแบ่งเป็น 2 วิธี
1. การใช้ยารักษา ในกรณีที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากภาวะ myasthenia gravis โดยต้องมีการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันภาวะนี้
2. การรักษาด้วยการผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเพื่อเก็บหนังตาส่วนเกินหรือกระชับกล้ามเนื้อที่ใช้ลืมตา ส่งผลให้การลืมตาดีขึ้น และลานสายตากว้างขึ้นใกล้เคียงปกติ
ข้อมูลจาก : ผศ. พญ. พิมพ์ขวัญ จารุอำพรพรรณ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A
โรคหนังตาตก ปัญหาเกี่ยวกับหนังตาสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัยและมีความรุนแรงแตกต่างกัน อาจพบข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ แม้ไม่เจ็บปวดแต่ส่งผลกับการมองเห็น ดังนั้นเมื่อสังเกตเห็นความผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม
ปัญหาของหนังตา
หนังตาตก คือ การที่หนังตาหรือเปลือกตาบนตกลงมาต่ำกว่าปกติ โดยอาจตกลงมาเล็กน้อยไปจนถึงตกลงมาปิดรูม่านตาปกคลุมตาดำ ผู้ป่วยมักมาพบจักษุแพทย์โดยมาปรึกษาเรื่องระดับของตาไม่เท่ากัน ลืมตาไม่ค่อยได้ รู้สึกหนัก ๆ ตา ไปจนถึงการมองเห็นแย่ลงในรายที่เป็นมากได้
อาการหนังตาตก แยกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1. ผิวหนังที่เปลือกตาหย่อน (Dermatochalasis) ขอบเปลือกตาอยู่ในตำแหน่งปกติ แต่ผิวหนังที่เปลือกตาหรือหน้าผากมีการยืดหย่อนลงมาบังลูกตา โดยจะมากขึ้นตามอายุซึ่งพบบ่อยในบางรายที่โดนแดด ขยี้ตาบ่อย ๆ การอักเสบของเนื้อเยื่อรอบตา และโรคของเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องบางชนิด ทำให้ชั้นตาเล็กลง รู้สึกลืมตาไม่ค่อยขึ้น หนักตา ต้องพยายามเบิ่งตา เมื่อใช้มือช่วยดันผิวหนังก็จะลืมตาได้ปกติ บางครั้งอาจมีรอยพับของผิวหนังที่หางตาทำให้เกิดความระคายเคืองเวลาน้ำตาไหลหรือเหงื่อออก ถ้าเป็นมากอาจทำให้ขนตาบนทิ่มลงระคายเคืองกระจกตาได้
2. ภาวะเปลือกตาตก (Ptosis) เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อที่ใช้ลืมตาภายในเปลือกตาบนมีความหย่อนหรือยืดตัวมากหรือหลุดออกจากจุดที่เคยเกาะ ในบางรายอาจเป็นจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อในการลืมตานั้นไม่ปกติ เปลือกตาจะตกลงมาบังตาดำและลานสายตา ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการมองเห็น ซึ่งอาจมีอาการเพียงข้างเดียวหรือเกิดขึ้นทั้งสองข้าง ในบางรายเป็นตั้งแต่กำเนิด แต่บางรายเป็นเมื่ออายุมากขึ้นหรือเป็นผลจากโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย
สาเหตุของภาวะเปลือกตาตก (ptosis)
1. เปลือกตาตกตั้งแต่กำเนิด เป็นภาวะกล้ามเนื้อที่ใช้ลืมตาทำงานผิดปกติหรือกล้ามเนื้อพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ตั้งแต่กำเนิด ส่งผลให้มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา เช่น ลืมตาได้ไม่เต็มที่ ตา 2 ข้างไม่เท่ากัน หรือไม่สามารถเปิดเปลือกตาเพื่อมองเห็นได้ เมื่อหนังตาตกลงมาบดบังการมองเห็น ทำให้ดวงตาข้างนั้นของเด็กไม่ได้เกิดการใช้งาน ส่งผลให้เกิดโรคตาขี้เกียจ (Amblyopia) อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม
2. เปลือกตาตกเมื่ออายุมากขึ้น เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อที่ใช้ลืมตาเกิดการยืดตัว หย่อนหรือหลุดจากที่เคยเกาะ เนื่องจากการใช้งานเป็นเวลานาน หรือมีพฤติกรรมที่ทำให้เกิดเหตุ เช่น การถอดใส่คอนแทคเลนส์ หรือขยี้ตาบ่อย ๆ สังเกตได้จากดวงตาดำที่ดูเล็กลงจากเปลือกตาที่ตกลงมาบังดวงตาดำ สามารถส่งผลต่อการมองเห็นในชีวิตประจำวันได้ในรายที่เป็นมาก
3. เปลือกตาตกด้วยสาเหตุอื่น เกิดจากความผิดปกติของระบบเส้นประสาท มีก้อนเนื้อโตหรือสิ่งผิดปกติในดวงตา กล้ามเนื้อที่ใช้ลืมตาบาดเจ็บจากที่เคยมีประวัติเปลือกตาฉีกขาดหรือเกิดอุบัติเหตุรุนแรงบริเวณดวงตา มีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดดวงตาหรือทำศัลยกรรมบริเวณรอบดวงตา หรือเกิดโรคทางระบบประสาท เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (myasthenia gravis) อาจทำให้กล้ามเนื้อที่ใช้ลืมตาอ่อนแรง ทำให้เปลือกตาตก
อาการของโรคหนังตาหย่อนและเปลือกตาตก
- ในกรณีหนังตาหย่อน (dermatochalasis) จะมีหนังตาห้อยตกลงมาทำให้ชั้นตาดูเล็กลงเหมือนชั้นตาหลบใน หรือตาชั้นเดียว ถ้าเป็นมากอาจมีขนตาทิ่มตาทำให้ระคายเคืองกระจกตาได้
- ในกรณีเปลือกตาตก (ptosis) จะมีความรู้สึกตาปรือ และอาจมีคนชอบทักว่าดูเหมือนเป็นคนที่ง่วงนอนตลอดเวลา
- มีอาการเมื่อยหน้าผากหรือปวดศีรษะ จากการที่ต้องพยายามเบิ่งเปลือกตาขึ้นเพื่อมองเห็นตลอดเวลา
- ปวดบริเวณต้นคอ เพราะต้องเงยหน้าขึ้นเพื่อมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น
- การมองเห็นดีขึ้นเมื่อใช้มือยกเปลือกตาขึ้น
การรักษาแบ่งเป็น 2 วิธี
1. การใช้ยารักษา ในกรณีที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากภาวะ myasthenia gravis โดยต้องมีการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันภาวะนี้
2. การรักษาด้วยการผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเพื่อเก็บหนังตาส่วนเกินหรือกระชับกล้ามเนื้อที่ใช้ลืมตา ส่งผลให้การลืมตาดีขึ้น และลานสายตากว้างขึ้นใกล้เคียงปกติ
ข้อมูลจาก : ผศ. พญ. พิมพ์ขวัญ จารุอำพรพรรณ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A