โรคภูมิแพ้ รับมืออย่างไรเมื่ออาการรุนแรง?
คำถาม - คำตอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
1. การแพ้รุนแรงหรืออนาฟัยแลกซิส (Anaphylaxis) คืออะไร?
คือ อาการแพ้เฉียบพลันที่เกิดขึ้นมากกว่า 1 ระบบของร่างกายในเวลาเดียวกันหรือเวลาไล่เลี่ยกัน และมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ที่ว่าเฉียบพลันคืออาการจะเกิดขึ้นภายในเวลาไม่กี่นาที ส่วนใหญ่ไม่เกิน 2 ชั่วโมงหลังจากได้รับยา อาหาร หรือสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ระบบของร่างกายที่แสดงอาการแพ้หลัก ๆ มี 4 ระบบ คือ
- ระบบผิวหนังและเยื่อบุ มีอาการผื่นคัน ตัวแดง ลมพิษ มีอาการบวมที่ตา ปาก ใบหน้า
- ระบบทางเดินหายใจ มีอาการหายใจลำบาก แน่นในลำคอ แน่นหน้าอก เสียงแหบเฉียบพลัน
- ระบบทางเดินอาหาร มีอาการปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด มีอาการหน้ามืด เป็นลม หมดสติ ช็อก ความดันต่ำ
การเกิดอนาฟัยแลกซิสอาจเป็นที่ 2 ระบบใด ๆ ก็ได้ หรือเป็นทุกระบบ อาจมีกรณีที่เป็นรุนแรงเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือดคือ มีภาวะความดันเลือดต่ำ ช็อก หรือหมดสติ ผู้ที่มีอาการอาจเสียชีวิตได้จากภาวะช็อก หรือขาดอากาศหายใจจากการมีกล่องเสียงและหลอดลมบวมตีบ
2. อนาฟัยแลกซิสต่างจากอาการแพ้แบบอื่นอย่างไร?
การแพ้แบบทั่ว ๆ ไปมักเกิดที่ระบบใดระบบหนึ่งและอาการมักจะไม่รุนแรง ไม่อันตรายถึงแก่ชีวิต แต่การแพ้แบบอนาฟัยแลกซิสจะเกิดอาการมากกว่า 1 ระบบและมีโอกาสเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต
3. อนาฟัยแลกซิสเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ภาวะนี้เกิดจากการแพ้รุนแรง คือ มีการกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวบางชนิดที่ผิวหนังเยื่อบุ และตามอวัยวะภายในต่าง ๆ รวมถึงภายในหลอดเลือดปล่อยสารฮีสตามีน (Histamine) ออกมา และทำให้เกิดอาการตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ เกิดจากการแพ้อาหาร รองลงไปคือการแพ้ยา นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากการแพ้พิษต่อแมลงบางชนิด เช่น ผึ้ง ต่อ แตน มดคันไฟ บางคนแพ้ถุงมือยางหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทำจากยางลาเท็กซ์ และมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่หาสาเหตุไม่พบ
4. ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้อาการแพ้รุนแรงเป็นอันตรายและรักษายาก?
- อายุ เช่น ทารก เนื่องจากไม่สามารถสื่อสารไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้จึงต้องอาศัยการสังเกตอาการเพียงอย่างเดียว การวินิจฉัยจึงอาจล่าช้า หรือผู้สูงวัยมีความเสี่ยงที่จะแพ้ยาหรือแพ้พิษจากแมลงต่อยจนเกิดอันตราย
- โรคประจำตัว เช่น โรคหืดและโรคหัวใจ ส่งผลทำให้อาการรุนแรง
- ยาที่ใช้ประจำ เช่น ยาลดความดันโลหิตทำให้การรักษาการแพ้รุนแรงยากขึ้นเพราะยาต้านฤทธิ์กัน ส่วนแอลกอฮอล์และยานอนหลับทำให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการระมัดระวังตัวลดลง อาจได้รับสารที่แพ้โดยประมาท นอกจากนี้ยังทำให้การสังเกตอาการและการขอความช่วยเหลือยากขึ้น
5. ปัจจัยใดบ้างที่ส่งเสริมให้เกิดอาการแพ้รุนแรง?
การออกกำลังกาย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID ทำให้มีการดูดซึมสารที่แพ้เพิ่มขึ้นและเร็วขึ้น ส่วนการติดเชื้อ การเดินทางไกล และความเครียดล้วนมีผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน นำไปสู่การเกิดปฏิกิริยาการแพ้ได้
6. วิธีการปฐมพยาบาลหรือการดูแลตนเองเบื้องต้น?
หากเกิดอาการเวียนศีรษะหรือหน้ามืดให้นอนราบลง ห้ามลุกยืนเร็ว ๆ ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือหรือรีบบอกคนที่อยู่รอบข้าง ถ้าหายใจไม่สะดวกให้นั่งเอนตั้งศีรษะสูง หญิงตั้งครรภ์ควรนอนตะแคงลงทางด้านซ้ายหนุนขาสูง หากมียาแก้แพ้อยู่กับตัวสามารถกินยาแก้แพ้ได้ แต่ยาแก้แพ้ชนิดรับประทานจะไม่สามารถแก้อาการแพ้รุนแรงได้ ผู้ที่มียาฉีดอะดรีนาลินหรือ Epipen สามารถฉีดยาให้กับตนเองได้ แล้วรีบไปพบแพทย์เพื่อการรักษาต่อไป ผู้ป่วยต้องระลึกไว้เสมอว่าการฉีดอะดรีนาลินหรือ Epipen ให้กับตนเองไม่ได้ทดแทนการที่ต้องไปพบแพทย์เมื่อเกิดการแพ้รุนแรงเพราะอาการอาจแย่ลงได้อีกอย่างรวดเร็วหรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่นเกิดขึ้น
7. การรักษาโดยแพทย์ในภาวะฉุกเฉินเป็นอย่างไร?
หลังจากทำการประเมินผู้ป่วยแล้วแพทย์จะฉีดยารักษาการแพ้รุนแรง คือ อะดรีนาลิน (Adrenaline) เข้ากล้ามเนื้อต้นขา และอาจต้องฉีดยาอื่น ๆ เข้าทางหลอดเลือด หากมีอาการหอบเหนื่อยจะได้รับการพ่นยาขยายหลอดลม ในรายที่ความดันเลือดต่ำจำเป็นต้องให้น้ำเกลือเร็ว ๆ เข้าทางหลอดเลือด หากอาการยังไม่ดีขึ้นแพทย์อาจต้องฉีดอะดรีนาลินซ้ำอีกหลายครั้ง หรือให้การรักษาอื่น ๆ ตามความเหมาะสม ภายหลังการฉีดอะดรีนาลินผู้ป่วยอาจมีอาการปวดเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อที่ถูกฉีดยา อาจมีอาการตัวสั่นรุนแรงทั้งตัว หรือรู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วและแรง ผู้ป่วยไม่ต้องตกใจเพราะอาการเหล่านี้เกิดจากฤทธิ์ของอะดรีนาลินและอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หมดไป
8. เมื่อใดควรมาพบหมอภูมิแพ้?
หลังจากผ่านเหตุการณ์ฉุกเฉินเมื่อเกิดการแพ้รุนแรงไปแล้ว ผู้ป่วยอาจถูกส่งตัวมาปรึกษาต่อกับหมอภูมิแพ้เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ หาสาเหตุของการแพ้ และหาแนวทางในการป้องกันการเกิดซ้ำ ตลอดจนวางแผนรับมือช่วยเหลือดูแลตนเองหากเกิดอาการซ้ำในครั้งถัดไป
9. แล้วคุณหมอภูมิแพ้จะมีวิธีการวินิจฉัย / รักษา / ป้องกันอย่างไร?
เมื่อมาพบหมอภูมิแพ้แล้วจะต้องทำการซักประวัติโดยละเอียด เช่น ยาหรืออาหารที่ได้รับเข้าไปก่อนเกิดอาการภายใน 2 ชั่วโมง สถานที่และกิจกรรมที่ทำก่อนเกิดอาการ เพื่อนำไปประกอบการวินิจฉัยโรค การทดสอบเพื่อหาสารก่อภูมิแพ้อาจทำได้ทั้งการทดสอบทางผิวหนังและการตรวจเลือด การทดสอบทางผิวหนังจะทำได้หลังจากมีอาการแพ้รุนแรงไปแล้วเกิน 1 เดือน และไม่ได้รับประทานยาที่กดการทดสอบทางผิวหนัง เช่น ยาแก้แพ้ การตรวจเลือดสามารถทำได้ทันทีและไม่ต้องหยุดยาแก้แพ้ ในบางกรณีแพทย์อาจต้องใช้ทั้ง 2 วิธีเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ผู้ป่วยและญาติจะได้รับเอกสารคำแนะนำเกี่ยวกับการสังเกตอาการ การตัดสินใจฉีดยาแก้แพ้ให้ตนเอง และสอนวิธีการฉีดยา ผู้ป่วยควรได้รับบัตรแพ้ยา หากเป็นการแพ้อาหารผู้ป่วยและญาติจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้
10. มีโอกาสเกิดอนาฟัยแลกซิสซ้ำอีกไหม?
โอกาสเกิดซ้ำมีได้ 21 - 43% และอย่างน้อย 1 ใน 3 จะเกิดซ้ำจากการแพ้สารเดิม
11. ผู้ป่วยและญาติจะมีแนวทางในการดูแลตนเองอย่างไร?
หากทราบว่าแพ้อาหารหรือยาชนิดใดควรหลีกเลี่ยงโดยเคร่งครัดเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ ผู้ป่วยควรได้รับบัตรแพ้ยาและต้องแจ้งต่อแพทย์หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง หากเป็นการแพ้อาหารผู้ป่วยและญาติควรสอบถามทางร้านอาหารหากสงสัยในส่วนผสมของอาหาร และควรอ่านฉลากบนอาหารเครื่องดื่มสำเร็จรูปและเครื่องปรุงต่าง ๆ ผู้ปกครองควรแจ้งกับทางโรงเรียนเพื่อการหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้และวางแผนในการรักษาเบื้องต้นหากเกิดอาการในโรงเรียน ผู้ป่วยบางรายอาจเลือกที่จะสวมใส่สร้อยหรือสายรัดข้อมือเพื่อระบุสิ่งที่ตนเองแพ้ในกรณีที่อยู่ตามลำพังและหมดสติ
12. โรงเรียนต้องเตรียมตัวอย่างไร หากมีเด็กนักเรียนที่มีภาวะอนาฟัยแลกซิส?
ทางโรงเรียนควรมีนโยบายเกี่ยวกับการดูแลเด็กที่แพ้อาหารทั้งในแง่การป้องกันและการให้การรักษาเบื้องต้น เช่น การสื่อสารและวางแผนร่วมกันกับผู้ปกครองของเด็กที่แพ้อาหารรุนแรง มีที่จัดเก็บยาฉีดอะดรีนาลินภายในห้องพยาบาล และมีบุคลากรที่พร้อมจะฉีดยาอะดรีนาลินหรือ Epipen ให้กับเด็ก มีนโยบายการไม่แชร์อาหารในเด็กเล็กระหว่างเพื่อนด้วยกันและผู้ปกครอง การอบรมให้ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเด็กควรมีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการแพ้อาหารรุนแรง
สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์โรคภูมิแพ้ ชั้น 3 โซน D
คำถาม - คำตอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
1. การแพ้รุนแรงหรืออนาฟัยแลกซิส (Anaphylaxis) คืออะไร?
คือ อาการแพ้เฉียบพลันที่เกิดขึ้นมากกว่า 1 ระบบของร่างกายในเวลาเดียวกันหรือเวลาไล่เลี่ยกัน และมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ที่ว่าเฉียบพลันคืออาการจะเกิดขึ้นภายในเวลาไม่กี่นาที ส่วนใหญ่ไม่เกิน 2 ชั่วโมงหลังจากได้รับยา อาหาร หรือสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ระบบของร่างกายที่แสดงอาการแพ้หลัก ๆ มี 4 ระบบ คือ
- ระบบผิวหนังและเยื่อบุ มีอาการผื่นคัน ตัวแดง ลมพิษ มีอาการบวมที่ตา ปาก ใบหน้า
- ระบบทางเดินหายใจ มีอาการหายใจลำบาก แน่นในลำคอ แน่นหน้าอก เสียงแหบเฉียบพลัน
- ระบบทางเดินอาหาร มีอาการปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด มีอาการหน้ามืด เป็นลม หมดสติ ช็อก ความดันต่ำ
การเกิดอนาฟัยแลกซิสอาจเป็นที่ 2 ระบบใด ๆ ก็ได้ หรือเป็นทุกระบบ อาจมีกรณีที่เป็นรุนแรงเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือดคือ มีภาวะความดันเลือดต่ำ ช็อก หรือหมดสติ ผู้ที่มีอาการอาจเสียชีวิตได้จากภาวะช็อก หรือขาดอากาศหายใจจากการมีกล่องเสียงและหลอดลมบวมตีบ
2. อนาฟัยแลกซิสต่างจากอาการแพ้แบบอื่นอย่างไร?
การแพ้แบบทั่ว ๆ ไปมักเกิดที่ระบบใดระบบหนึ่งและอาการมักจะไม่รุนแรง ไม่อันตรายถึงแก่ชีวิต แต่การแพ้แบบอนาฟัยแลกซิสจะเกิดอาการมากกว่า 1 ระบบและมีโอกาสเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต
3. อนาฟัยแลกซิสเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ภาวะนี้เกิดจากการแพ้รุนแรง คือ มีการกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวบางชนิดที่ผิวหนังเยื่อบุ และตามอวัยวะภายในต่าง ๆ รวมถึงภายในหลอดเลือดปล่อยสารฮีสตามีน (Histamine) ออกมา และทำให้เกิดอาการตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ เกิดจากการแพ้อาหาร รองลงไปคือการแพ้ยา นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากการแพ้พิษต่อแมลงบางชนิด เช่น ผึ้ง ต่อ แตน มดคันไฟ บางคนแพ้ถุงมือยางหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทำจากยางลาเท็กซ์ และมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่หาสาเหตุไม่พบ
4. ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้อาการแพ้รุนแรงเป็นอันตรายและรักษายาก?
- อายุ เช่น ทารก เนื่องจากไม่สามารถสื่อสารไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้จึงต้องอาศัยการสังเกตอาการเพียงอย่างเดียว การวินิจฉัยจึงอาจล่าช้า หรือผู้สูงวัยมีความเสี่ยงที่จะแพ้ยาหรือแพ้พิษจากแมลงต่อยจนเกิดอันตราย
- โรคประจำตัว เช่น โรคหืดและโรคหัวใจ ส่งผลทำให้อาการรุนแรง
- ยาที่ใช้ประจำ เช่น ยาลดความดันโลหิตทำให้การรักษาการแพ้รุนแรงยากขึ้นเพราะยาต้านฤทธิ์กัน ส่วนแอลกอฮอล์และยานอนหลับทำให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการระมัดระวังตัวลดลง อาจได้รับสารที่แพ้โดยประมาท นอกจากนี้ยังทำให้การสังเกตอาการและการขอความช่วยเหลือยากขึ้น
5. ปัจจัยใดบ้างที่ส่งเสริมให้เกิดอาการแพ้รุนแรง?
การออกกำลังกาย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID ทำให้มีการดูดซึมสารที่แพ้เพิ่มขึ้นและเร็วขึ้น ส่วนการติดเชื้อ การเดินทางไกล และความเครียดล้วนมีผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน นำไปสู่การเกิดปฏิกิริยาการแพ้ได้
6. วิธีการปฐมพยาบาลหรือการดูแลตนเองเบื้องต้น?
หากเกิดอาการเวียนศีรษะหรือหน้ามืดให้นอนราบลง ห้ามลุกยืนเร็ว ๆ ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือหรือรีบบอกคนที่อยู่รอบข้าง ถ้าหายใจไม่สะดวกให้นั่งเอนตั้งศีรษะสูง หญิงตั้งครรภ์ควรนอนตะแคงลงทางด้านซ้ายหนุนขาสูง หากมียาแก้แพ้อยู่กับตัวสามารถกินยาแก้แพ้ได้ แต่ยาแก้แพ้ชนิดรับประทานจะไม่สามารถแก้อาการแพ้รุนแรงได้ ผู้ที่มียาฉีดอะดรีนาลินหรือ Epipen สามารถฉีดยาให้กับตนเองได้ แล้วรีบไปพบแพทย์เพื่อการรักษาต่อไป ผู้ป่วยต้องระลึกไว้เสมอว่าการฉีดอะดรีนาลินหรือ Epipen ให้กับตนเองไม่ได้ทดแทนการที่ต้องไปพบแพทย์เมื่อเกิดการแพ้รุนแรงเพราะอาการอาจแย่ลงได้อีกอย่างรวดเร็วหรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่นเกิดขึ้น
7. การรักษาโดยแพทย์ในภาวะฉุกเฉินเป็นอย่างไร?
หลังจากทำการประเมินผู้ป่วยแล้วแพทย์จะฉีดยารักษาการแพ้รุนแรง คือ อะดรีนาลิน (Adrenaline) เข้ากล้ามเนื้อต้นขา และอาจต้องฉีดยาอื่น ๆ เข้าทางหลอดเลือด หากมีอาการหอบเหนื่อยจะได้รับการพ่นยาขยายหลอดลม ในรายที่ความดันเลือดต่ำจำเป็นต้องให้น้ำเกลือเร็ว ๆ เข้าทางหลอดเลือด หากอาการยังไม่ดีขึ้นแพทย์อาจต้องฉีดอะดรีนาลินซ้ำอีกหลายครั้ง หรือให้การรักษาอื่น ๆ ตามความเหมาะสม ภายหลังการฉีดอะดรีนาลินผู้ป่วยอาจมีอาการปวดเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อที่ถูกฉีดยา อาจมีอาการตัวสั่นรุนแรงทั้งตัว หรือรู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วและแรง ผู้ป่วยไม่ต้องตกใจเพราะอาการเหล่านี้เกิดจากฤทธิ์ของอะดรีนาลินและอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หมดไป
8. เมื่อใดควรมาพบหมอภูมิแพ้?
หลังจากผ่านเหตุการณ์ฉุกเฉินเมื่อเกิดการแพ้รุนแรงไปแล้ว ผู้ป่วยอาจถูกส่งตัวมาปรึกษาต่อกับหมอภูมิแพ้เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ หาสาเหตุของการแพ้ และหาแนวทางในการป้องกันการเกิดซ้ำ ตลอดจนวางแผนรับมือช่วยเหลือดูแลตนเองหากเกิดอาการซ้ำในครั้งถัดไป
9. แล้วคุณหมอภูมิแพ้จะมีวิธีการวินิจฉัย / รักษา / ป้องกันอย่างไร?
เมื่อมาพบหมอภูมิแพ้แล้วจะต้องทำการซักประวัติโดยละเอียด เช่น ยาหรืออาหารที่ได้รับเข้าไปก่อนเกิดอาการภายใน 2 ชั่วโมง สถานที่และกิจกรรมที่ทำก่อนเกิดอาการ เพื่อนำไปประกอบการวินิจฉัยโรค การทดสอบเพื่อหาสารก่อภูมิแพ้อาจทำได้ทั้งการทดสอบทางผิวหนังและการตรวจเลือด การทดสอบทางผิวหนังจะทำได้หลังจากมีอาการแพ้รุนแรงไปแล้วเกิน 1 เดือน และไม่ได้รับประทานยาที่กดการทดสอบทางผิวหนัง เช่น ยาแก้แพ้ การตรวจเลือดสามารถทำได้ทันทีและไม่ต้องหยุดยาแก้แพ้ ในบางกรณีแพทย์อาจต้องใช้ทั้ง 2 วิธีเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ผู้ป่วยและญาติจะได้รับเอกสารคำแนะนำเกี่ยวกับการสังเกตอาการ การตัดสินใจฉีดยาแก้แพ้ให้ตนเอง และสอนวิธีการฉีดยา ผู้ป่วยควรได้รับบัตรแพ้ยา หากเป็นการแพ้อาหารผู้ป่วยและญาติจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้
10. มีโอกาสเกิดอนาฟัยแลกซิสซ้ำอีกไหม?
โอกาสเกิดซ้ำมีได้ 21 - 43% และอย่างน้อย 1 ใน 3 จะเกิดซ้ำจากการแพ้สารเดิม
11. ผู้ป่วยและญาติจะมีแนวทางในการดูแลตนเองอย่างไร?
หากทราบว่าแพ้อาหารหรือยาชนิดใดควรหลีกเลี่ยงโดยเคร่งครัดเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ ผู้ป่วยควรได้รับบัตรแพ้ยาและต้องแจ้งต่อแพทย์หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง หากเป็นการแพ้อาหารผู้ป่วยและญาติควรสอบถามทางร้านอาหารหากสงสัยในส่วนผสมของอาหาร และควรอ่านฉลากบนอาหารเครื่องดื่มสำเร็จรูปและเครื่องปรุงต่าง ๆ ผู้ปกครองควรแจ้งกับทางโรงเรียนเพื่อการหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้และวางแผนในการรักษาเบื้องต้นหากเกิดอาการในโรงเรียน ผู้ป่วยบางรายอาจเลือกที่จะสวมใส่สร้อยหรือสายรัดข้อมือเพื่อระบุสิ่งที่ตนเองแพ้ในกรณีที่อยู่ตามลำพังและหมดสติ
12. โรงเรียนต้องเตรียมตัวอย่างไร หากมีเด็กนักเรียนที่มีภาวะอนาฟัยแลกซิส?
ทางโรงเรียนควรมีนโยบายเกี่ยวกับการดูแลเด็กที่แพ้อาหารทั้งในแง่การป้องกันและการให้การรักษาเบื้องต้น เช่น การสื่อสารและวางแผนร่วมกันกับผู้ปกครองของเด็กที่แพ้อาหารรุนแรง มีที่จัดเก็บยาฉีดอะดรีนาลินภายในห้องพยาบาล และมีบุคลากรที่พร้อมจะฉีดยาอะดรีนาลินหรือ Epipen ให้กับเด็ก มีนโยบายการไม่แชร์อาหารในเด็กเล็กระหว่างเพื่อนด้วยกันและผู้ปกครอง การอบรมให้ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเด็กควรมีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการแพ้อาหารรุนแรง
สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์โรคภูมิแพ้ ชั้น 3 โซน D