
การดูแลบาดแผลด้วยตัวเอง (Self-Wound Care)
บาดแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด หรือการทำหัตถการต่างๆ เมื่อได้รับการตรวจรักษาทำความสะอาดหรือเย็บแผลแล้ว มีความจำเป็นจะต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำในการดูแลรักษาบาดแผลต่อเนื่องจนแผลหายสามารถตัดใหมได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการหายและความสวยงามของบาดแผล
วิธีการดูแลบาดแผลด้วยตัวเอง
- ห้ามแผลถูกน้ำ ยกเว้นกรณีได้รับการปิดแผลด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ หรือกาว สามารถถูกน้ำได้ แต่ห้ามถู บริเวณพลาสเตอร์หรือแช่น้ำเป็นเวลานาน หากน้ำเข้าแผลควรเปลี่ยนที่ปิดแผลทันที
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวด บวม แดง ร้อนหรือเจ็บตึงแผลมากขึ้น มีเลือดหรือมีหนองไหล มีไข้ หนาวสั่น ไม่ทราบสาเหตุ ให้กลับมาพบแพทย์
- ไม่ควรเปิดแผลหรือทำแผลเอง ยกเว้นแพทย์มีคำสั่งให้เปิดแผล ล้างแผลด้วยตัวเองที่บ้านได้
- อาการปวดแผลอาจจะยังมีอยู่ สามารถลดอาการปวดแผลได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวด หรือการผ่อนคลาย เช่น การพลิกตะแคงตัว เปลี่ยนท่าเบาๆ กรณีที่แพทย์สั่งยาฆ่าเชื้อให้ ควรรับประทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง
- หากเกิดอาการคันหรือแพ้พลาสเตอร์ ไม่ควรเกาเพราะจะทำให้ผิวหนังรอบแผลถลอก และอาจเกิดการอักเสบติดเชื้อ ลุกลามขยายเป็นแผลกว้างได้ ควรแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาลทราบเพื่อเปลี่ยนชนิดของพลาสเตอร์
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่ เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ ผัก เป็นต้น เพื่อซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บและเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค งดดื่มเหล้า เบียร์ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- การอยู่ในที่อากาศชื้น ร้อน อบอ้าว มีเหงื่อออก อาจทำให้มีความชื้นบริเวณแผลมากเกินไป ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อบริเวณบาดแผลได้
- หากพบอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที
อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์
- ปวดแผลมาก
- มีเลือดซึมผ้าปิดแผลมากขึ้นเรื่อยๆ
- ส่วนที่บาดเจ็บบวม แดง มากขึ้น
- มีไข้
- มีก้อนเลือด บวม ช้ำ
- ผื่นขึ้น หรือเป็นถุงน้ำ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน ชั้น 1 โซน A
บาดแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด หรือการทำหัตถการต่างๆ เมื่อได้รับการตรวจรักษาทำความสะอาดหรือเย็บแผลแล้ว มีความจำเป็นจะต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำในการดูแลรักษาบาดแผลต่อเนื่องจนแผลหายสามารถตัดใหมได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการหายและความสวยงามของบาดแผล
วิธีการดูแลบาดแผลด้วยตัวเอง
- ห้ามแผลถูกน้ำ ยกเว้นกรณีได้รับการปิดแผลด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ หรือกาว สามารถถูกน้ำได้ แต่ห้ามถู บริเวณพลาสเตอร์หรือแช่น้ำเป็นเวลานาน หากน้ำเข้าแผลควรเปลี่ยนที่ปิดแผลทันที
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวด บวม แดง ร้อนหรือเจ็บตึงแผลมากขึ้น มีเลือดหรือมีหนองไหล มีไข้ หนาวสั่น ไม่ทราบสาเหตุ ให้กลับมาพบแพทย์
- ไม่ควรเปิดแผลหรือทำแผลเอง ยกเว้นแพทย์มีคำสั่งให้เปิดแผล ล้างแผลด้วยตัวเองที่บ้านได้
- อาการปวดแผลอาจจะยังมีอยู่ สามารถลดอาการปวดแผลได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวด หรือการผ่อนคลาย เช่น การพลิกตะแคงตัว เปลี่ยนท่าเบาๆ กรณีที่แพทย์สั่งยาฆ่าเชื้อให้ ควรรับประทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง
- หากเกิดอาการคันหรือแพ้พลาสเตอร์ ไม่ควรเกาเพราะจะทำให้ผิวหนังรอบแผลถลอก และอาจเกิดการอักเสบติดเชื้อ ลุกลามขยายเป็นแผลกว้างได้ ควรแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาลทราบเพื่อเปลี่ยนชนิดของพลาสเตอร์
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่ เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ ผัก เป็นต้น เพื่อซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บและเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค งดดื่มเหล้า เบียร์ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- การอยู่ในที่อากาศชื้น ร้อน อบอ้าว มีเหงื่อออก อาจทำให้มีความชื้นบริเวณแผลมากเกินไป ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อบริเวณบาดแผลได้
- หากพบอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที
อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์
- ปวดแผลมาก
- มีเลือดซึมผ้าปิดแผลมากขึ้นเรื่อยๆ
- ส่วนที่บาดเจ็บบวม แดง มากขึ้น
- มีไข้
- มีก้อนเลือด บวม ช้ำ
- ผื่นขึ้น หรือเป็นถุงน้ำ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน ชั้น 1 โซน A